Fluoxetine เป็นหนึ่งในตัวยาสำคัญในกลุ่มยา SSRIs (Selective serotonin reuptake inhibitor) ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า มีกลไกการออกฤทธิ์โดยช่วยเพิ่มระดับสารสื่อประสาทเซโรโทนิน (Serotonin) ในสมอง
ซึ่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) นั้น เป็นสารสื่อประสาทสำคัญที่มีบทบาทสร้างความตื่นตัว ควบคุมภาวะอารมณ์ พฤติกรรมต่างๆ รวมถึงอุณหภูมิในร่างกาย การเคลื่อนที่ของระบบทางเดินอาหาร การหดตัวของหลอดเลือด และมดลูก เรียกได้ว่า เป็นสารที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างยิ่ง
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
นอกจากการรักษาโรคซึมเศร้าแล้ว ยา Fluoxetine มีข้อบ่งใช้ในการรักษาโรคอื่นๆ ได้ด้วย เช่น
- โรคย้ำคิดย้ำทำ
- โรคกินมากผิดปกติ
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัวอ้วนรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก จนมีอาการอาเจียนออกมาหลังกินอาหาร
- โรคตื่นตระหนก (Panic) ซึ่งเป็นอาการตื่นกลัวต่อบางสิ่งบางอย่างโดยไม่มีเหตุผล เช่น กลัวที่โล่ง หรือกลัวที่ชุมชน
รูปแบบของยา Fluoxetine ที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้ามีจำหน่ายในหลายรูปแบบ ได้แก่ แบบแคปซูล แบบยาเม็ด และแบบยาน้ำ
คำเตือนในการใช้ยา Fluoxetine
การใช้ยา Fluoxetine และยารักษาโรคซึมเศร้าอื่นๆ มีข้อพึงระวังที่สำคัญมาก เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงให้ผู้ป่วยคิดฆ่าตัวตายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นเด็ก วัยรุ่น และวัยกลางคนตอนต้น
ซึ่งในช่วงเดือนแรกๆ ที่เริ่มต้นใช้ยา หรือปรับขนาดยา ผู้ป่วยอาจเกิดความคิดอยากฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตายมากขึ้น ดังนั้นจึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้ยาต่อไปนี้
1. ระมัดระวังเรื่องโรคประจำตัว
หากมีโรคประจำตัว หรือความผิดปกติเหล่านี้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเริ่มรับประทานยา
- โรคลมชัก
- โรคอารมณ์แปรปรวน
- ตับทำงานบกพร่อง
- ความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- เบาหวาน
- โรคต้อหิน
- มีความคิดฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย
2. อย่าหยุดยาเอง
หากคุณรับประทานยานี้เป็นเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น แล้วยังไม่เห็นผลการรักษาที่ชัดเจน คุณอาจจำเป็นต้องหยุดยา
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โดยควรปรึกษาแพทย์ก่อนหยุดใช้ยาทุกครั้ง เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการหยุดยาอย่างปลอดภัย เนื่องจากการหยุดยาทันที จะทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรง
3. หยุดรับประทานยาทันที หากมีอาการแพ้เกิดขึ้น
หากคุณแพ้ยานี้หรือส่วนประกอบอื่นๆ ที่ไม่ใช่ตัวยาในสูตรตำรับ ห้ามรับประทานยานี้ ไม่ว่าเป็นยี่ห้อใดก็ตาม เนื่องจากเคยมีรายงานว่า ยานี้ทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ยาที่รุนแรง ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้
4. ฤทธิ์ยาอาจทำให้ง่วงนอน
ยา Fluoxetine อาจทำให้มีอาการง่วงซึม มีความคิด และการตัดสินใจแย่ลง หรือตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ช้าลง จึงควรหลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องใช้เครื่องจักรกล การขับขี่รถยนต์ หรือการทำงานเสี่ยงอันตรายในระหว่างที่ใช้ยานี้
5. ระมัดระวังการใช้ยาในเด็ก
ถึงแม้ผลข้างเคียงในระยะยาวของ Fluoxetine ต่อพัฒนาการ และการเจริญเติบโตของเด็ก หรือวัยรุ่นจะมีค่อนข้างน้อย แต่หากจำเป็นต้องใช้ยาในเด็ก ผู้ปกครองควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาเพื่อติดตามผลว่า ยานี้ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตด้านความสูง หรือน้ำหนักของเด็กหรือไม่
การใช้ยา Fluoxetine ระหว่างตั้งครรภ์ และให้นมบุตร
ยา Fluoxetine อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ หากคุณกำลังตั้งครรภ์ หรือวางแผนตั้งครรภ์ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเริ่มใช้ยานี้ และควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินประโยชน์ และความเสี่ยงจากการใช้ยา
โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ ทารกที่คลอดออกมาจากมารดาที่ใช้ยา Fluoxetine ในระหว่างตั้งครรภ์ จะได้รับผลข้างเคียงแตกต่างกันไปในแต่ละราย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
และหากคุณกำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเริ่มใช้ยานี้ เนื่องจากตัวยาสามารถซึมผ่านทางน้ำนมได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในช่วงที่ให้นมบุตร
อาการไม่พึงประสงค์ของการใช้ยา Fluoxetine
คุณควรโทรเรียกรถฉุกเฉิน หรือรีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หากมีปฏิกิริยาแพ้ยาเฉียบพลันรุนแรง (Anaphylaxis) ดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นอันตรายถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้
- หายใจลำบาก
- บวมที่ลิ้น ในลำคอ ปาก ใบหน้า หรือตาทั้งสองข้าง
- เกิดผื่นแดง ผื่นคัน หรือผื่นลมพิษ
- อาจมีไข้หรือรู้สึกปวดข้อร่วมด้วย
เช่นเดียวกัน ในกรณีที่มีอาการข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้ ให้รีบพบแพทย์โดยเร่งด่วน
- มีความคิดฆ่าตัวตาย รู้สึกอยากตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย
- มีภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวลเกิดขึ้น หรืออาการที่มีอยู่แย่ลงกว่าเดิม
- อยู่ไม่สุข อยู่นิ่งไม่ได้ ทำโน่นทำนี่ตลอดเวลา
- เกิดอาการตื่นกลัวผิดปกติ
- ขี้โมโห หรือมีพฤติกรรมก้าวร้าว
- ทำเรื่องเสี่ยงอันตราย
- พูดมากขึ้นกว่าปกติมาก
- ประสาทหลอน
- กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวผิดปกติ
- หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
- ระบบประสาทอัตโนมัติไวผิดปกติ
- มีไข้
- คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
- มีเลือดออก หรือมีรอยจ้ำเลือดผิดปกติตามผิวหนัง
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ความจำสับสน
- ชัก
นอกจากนี้ การใช้ยา Fluoxetine อาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยดังต่อไปนี้
- ฝันร้าย
- มีการหลั่งอสุจิผิดปกติ
- เบื่ออาหาร
- วิตกกังวล
- อ่อนเพลีย
- ท้องเสีย
- ปากแห้ง
- ท้องไส้ปั่นป่วน
- มีอาการคล้ายไข้หวัด
- อวัยวะเพศแข็งตัวไม่นาน หรือไม่แข็งตัว
- นอนหลับยาก
- ความต้องการทางเพศลดลง
- คลื่นไส้
- รู้สึกกระสับกระส่าย
- เจ็บคอ
- เกิดผื่นผิวหนัง
- ต่อมน้ำเหลืองบวม
- ง่วงซึม
- เหงื่อออกมากผิดปกติ
- มีอาการสั่น
- ผิวหนังร้อนวูบวาบ
อันตรายจากการใช้ยา Fluoxetine ร่วมกับยาอื่น
ยาบางชนิดสามารถทำปฏิกิริยากับยา Fluoxetine จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายได้ คุณควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบข้อมูลการใช้ยาต่างๆ ซึ่งรวมถึงยาที่ซื้อมารับประทานเอง วิตามิน อาหารเสริม และยาสมุนไพรใดๆ ก็ตามที่กำลังใช้อยู่
ตัวยาเหล่านี้เป็นยาที่เกิดปฏิกิริยากับยา Fluoxetine และทำให้เกิดผลเสียเมื่อใช้ร่วมกัน
- ยาต้านเศร้ากลุ่ม MAOI: ไม่ควรใช้ยา Fluoxetine ในระหว่างที่กำลังใช้ยากลุ่ม MAOI หรือหลังหยุดยา MAOI ไม่เกิน 14 วัน เพราะจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงถึงขั้นอาจทำให้เสียชีวิตได้ ควรรออย่างน้อย 5 สัปดาห์ หลังจากหยุดยา Fluoxetine ก่อนเริ่มใช้ยากลุ่ม MAOI ในการรักษา ตัวอย่างยาในกลุ่ม MAOI ได้แก่ ไอโซคาร์บอกซาซิด (Isocarboxazid) ฟีเนลซีน (Phenelzine) เซเลกิลีน (Selegiline) ทรานิลไซโปรมีน (Tranylcypromine)
- ยาพิโมไซด์ (Pimozide): ไม่ควรใช้ยา Fluoxetine หากคุณกำลังรับประทานยาพิโมไซด์ (Orap) เนื่องจากอาจเกิดทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงจนทำให้หัวใจเต้นผิดปกติได้
- ยาไทโอริดาซีน (Thioridazine): ไม่ควรใช้ยา Fluoxetine หากคุณกำลังรับประทานยาไทโอริดาซีน และรออย่างน้อย 5 สัปดาห์ หลังหยุดยา Fluoxetine ก่อนเริ่มใช้ยาไทโอริดาซีน เนื่องจากอาจเกิดปฏิกิริยารุนแรงจนทำให้หัวใจเต้นผิดปกติได้
- ยาลีเนโซลิด (Linezolid): ไม่ควรใช้ยา Fluoxetine หากคุณกำลังใช้ยาปฏิชีวนะลีเนโซลิด หรือเมธิลีนบลู (Methylene blue) ฉีดเข้าเส้นเลือด
นอกจากนี้ คุณต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเริ่มใช้ยา Fluoxetine หากคุณกำลังใช้ยาเหล่านี้ โดยแพทย์อาจพิจารณาเลือกใช้ยาตัวอื่นแทน Fluoxetine หรือคอยติดตามอาการข้างเคียงอย่างใกล้ชิด หากใช้ยาเหล่านี้ร่วมกับ Fluoxetine
- ยาที่ทำให้ง่วงซึมหรือง่วงนอน ได้แก่ ยาสงบระงับ ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท
- ยารักษาโรคซึมเศร้าตัวอื่นๆ ที่มีฤทธิ์ช่วยเพิ่มระดับสารสื่อประสาทเซโรโทนิน ได้แก่ ไซตาโลแพรม (Citalopram) เอสซิตาโลแพรม (Escitalopram) พาร็อกซีทีน (Paroxetine) ฟลูวอกซามีน(Fluvoxamine) เซอร์ทราลีน (Sertraline) เดสเวนลาแฟ็กซีน (Desvenlafaxine)
- ยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน เช่น อัลโมทริปแทน (Almotriptan) อีลีทริปแทน (Eletriptan) โฟรวาทริปแทน (Frovatriptan) นาราทริปแทน (Naratriptan) ไรซาทริปแทน (Rizatriptan) ซูมาทริปแทน (Sumatriptan) โซลมิทริปแทน (Zolmitriptan)
- ทริปโตเฟน (Tryptophan)
- ยาละลายลิ่มเลือด และยาที่ทำให้เลือดออกง่าย ได้แก่ วาร์ฟาริน (Warfarin) แอสไพริน (Aspirin) และยาแก้ปวดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือนาพร็อกเซน (Naproxen)
- ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่มอื่นๆ เช่น ยากลุ่ม Tricyclic antidepressants ได้แก่ อะมิทริปไทลิน (Amitriptyline) อะม็อกซาปีน (Amoxapine) โคลมิพรามีน (Clomipramine) เดซิพรามีน (Desipramine) ด็อกเซปิน (Doxepin) อิมิพรามีน (Imipramine) นอร์ทริปไทลีน (Nortriptyline) โพรทริปไทลีน (Protriptylin) ไทรมิพรามีน (Trimipramine)
- กลุ่มยารักษาโรคจิตเภท ได้แก่ คลอซาปีน (Clozapine) ฮาโลเพอริดอล (Haloperidol) ไซพราซิโดน (Ziprasidone) ไอโลเพอริโดน (Iloperidone) คลอร์โปรมาซีน (Chlorpromazine) เมโซริดาซีน (Mesoridazine) ดรอเพอริดอล (Droperidol)
- ยาที่ใช้รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น พรพาฟีโนน (Propafenone) ฟลีเคไนด์ (Flecainide) ควินิดีน (Quinidine)
- ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) ได้แก่ อัลปราโซแลม (Alprazolam) ไดอะซีแพม (Diazepam)
- ยากันชักบางชนิด ได้แก่ คาร์บามาซีปีน (Carbamazepine) เฟนิโทอิน (Phenytoin)
- ไดจ็อกซิน (Digoxin)
- กลุ่มยาขับปัสสาวะ
- ยาปฏิชีวนะบางชนิด ได้แก่ อิริโทรมัยซิน (Erythromycin) กาติฟลอกซาซิน (Gatifloxacin) สปาร์ฟลอกซาซิน (Sparfloxacin)
- เมทาโดน (Methadone)
- ฮาโลแฟนทรีน (Halofantrine)
- ทาโครลิมัส (Tacrolimus)
นอกจากนี้ หากคุณอยู่ในระหว่างการรักษาบำบัดจิตด้วยกระแสไฟฟ้า (ECT) กรุณาแจ้งให้แพทย์ทราบ เนื่องจากเคยมีบางรายงานแจ้งว่ามีผู้ป่วยเกิดอาการชักได้เมื่อใช้ยา Fluoxetine ร่วมกับการบำบัดจิตด้วยกระแสไฟฟ้า
ปริมาณในการใช้ยา Fluoxetine
ปริมาณยา Fluoxetine ที่ใช้ในการรักษานั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการ และความรุนแรงของโรค เพื่อการรักษาที่เห็นผล คุณควรรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
ยา Fluoxetine มีรูปแบบยา และขนาดยาหลากหลาย โดยยาชนิดแคปซูล มีจำหน่ายในขนาด 10, 20 และ 40 มิลลิกรัม ยาชนิดเม็ดในขนาด 10, 20, 40 และ 60 มิลลิกรัม
สำหรับ Fluoxetine ในชื่อการค้าทั่วไป มีจำหน่ายในรูปแบบแคปซูลขนาด 10 และ 20 มิลลิกรัม ส่วน Fluoxetine ในชื่อการค้า "Sarafem" มีจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ดขนาด 10, 15 และ 20 มิลลิกรัม
ยา Fluoxetine ชนิดแคปซูลออกฤทธิ์นานมีจำหน่ายในขนาด 90 มิลลิกรัม รับประทานเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
แนวทางทั่วไปในการรับประทานยา Fluoxetine คือ
- รับประทานยาเม็ดหรือแคปซูลโดยกลืนลงไปทั้งเม็ด ไม่แบ่งหรือเคี้ยวเม็ดยา
- รับประทานยานี้พร้อมอาหารหรือไม่ก็ได้
- โดยทั่วไปให้รับประทานยา Fluoxetine วันละ 1 ครั้ง
- เก็บรักษายาไว้ที่อุณหภูมิห้อง พ้นจากแสงแดด และความร้อน
- ผู้ป่วยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป อาจจำเป็นต้องปรับลดปริมาณการใช้ยาลง
- หากลืมรับประทานยา Fluoxetine ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ แต่หากใกล้ถึงเวลารับประทานยามื้อถัดไป ให้รับประทานยาตามปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มปริมาณยาในมื้อถัดไปเป็น 2 เท่า
การรับประทานยา Fluoxetine เกินขนาด
หากสังเกตเห็นอาการผิดปกติที่อาจแสดงถึงการใช้ยา Fluoxetine เกินขนาดดังต่อไปนี้ คุณควรรีบไปพบแพทย์
- มองเห็นภาพต่างๆ ไม่ชัดเจน
- เดินเซ
- มีความคิดสับสน
- ไม่ตอบสนองสิ่งเร้า
- มีอาการสั่น
- ง่วงนอนอย่างมาก
- ตื่นตัวมากผิดปกติ
- หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
- คลื่นไส้อาเจียน
- มีอาการชัก
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Fluoxetine
1. การใช้ยา Fluoxetine ร่วมกับแอลกอฮอล์ เป็นอันตรายหรือไม่?
ตอบ หากกำลังใช้ยา Fluoxetine อยู่ และดื่มแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อย หรือเป็นครั้งคราวเท่านั้น ก็จะไม่เป็นอันตรายอะไร แต่ด้วยฤทธิ์ยาซึ่งทำให้ง่วงซึม และอ่อนเพลียอยู่แล้ว หากรับประทานร่วมกับแอลกอฮอล์ ก็อาจส่งผลกระทบทำให้อาการซึมเศร้าแย่ลง หรือมีปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ตามมาได้
คุณอาจต้องให้แพทย์ประเมินว่า ปริมาณแอลกอฮอล์ที่รับประทานอยู่ในขณะนั้นจะส่งผลต่อฤทธิ์ยาหรือไม่
2. ยา Fluoxetine จะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่?
ตอบ ยารักษาโรคซึมเศร้าหลายตัว ไม่ใช่แค่ยา Fluoxetine เท่านั้นมีผลข้างเคียงทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้อยู่แล้ว จากวารสาร JAMA Psychiatry ปี 2014 ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ผู้ป่วยที่ใช้ยา Fluoxetine และยาในกลุ่ม SSRIs ตัวอื่นๆ มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 0.5-1 กิโลกรัม ในช่วงการรักษาระยะ 1 ปี
นอกจากนี้ ยารักษาโรคซึมเศร้าหลายตัวยังมีผลข้างเคียงทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอยากอาหารมากขึ้นด้วย หรือบางรายก็มีอาการอยากอาหารน้อยลงได้ หากคุณเป็นกังวลเรื่องน้ำหนักตัว ก็อาจปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลข้างเคียงนี้ว่า สามารถจัดการอย่างไรได้บ้าง หรืออาจเป็นการเปลี่ยนยา
3. ยา Fluoxetine สามารถใช้ได้ในเด็กอายุน้อยที่สุดเท่าไร?
ตอบ องค์การอาหาร และยาอนุญาตให้ใช้ยา Fluoxetin ได้ในเด็กอายุ 7 ปีขึ้นไป แต่มีข้อพึงระวังสำหรับผู้ป่วยเด็ก คือ อาจเพิ่มความคิดอยากฆ่าตัวตายมากกว่าเดิมได้ รวมถึงในผู้ป่วยวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ตอนต้นด้วย
ซึ่งโดยปกติแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเองว่า ควรใช้ยาตัวนี้ในผู้ป่วยรายไหนบ้าง และจะอธิบายผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาให้ผู้ป่วยทราบอยู่แล้ว
4. ยา Fluoxetine จะส่งผลกระทบต่ออารมณ์ทางเพศหรือไม่?
ตอบ ภาวะซึมเศร้ามีผลทำให้คุณรู้สึกทางเพศลดลงได้อยู่แล้ว และการใช้ยาในกลุ่ม SSRIs ก็มีผลทำให้ความรู้สึกทางเพศลดลงได้ ซึ่งอาจมีทางแก้ที่แตกต่างกันไป โดยคุณอาจรับประทานยานี้หลังจากมีเพศสัมพันธ์แล้ว หรือแพทย์อาจจ่ายยาเพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหาในจุดนี้
หรืออีกทางแก้ คือ คุณอาจพูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับตารางการรับประทานยาเพื่อไม่ให้ผลกระทบต่อเรื่องบนเตียงมาก แต่หากยาส่งผลต่ออารมณ์ทางเพศของคุณมากจริงๆ แพทย์ก็อาจเปลี่ยนยารักษาให้กับคุณก็ได้
คุณจำเป็นต้องรู้วิธีการรับประทานยา Fluoxetin อย่างถูกต้อง เพราะจากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า การรับประทานยาไม่ถูก จะส่งผลให้คุณมีความคิดอยากฆ่าตัวตายเพิ่มได้ คุณจึงต้องรับประทานยาตามวิธีที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัย
ดูแพ็กเกจปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับภาวะเครียด เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android