โรคลมหลับ (Narcolepsy) เป็นโรคผิดปกติทางสมองที่ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักของวงจรการตื่น และการนอน ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกง่วงซึมระหว่างวันบ่อยครั้ง แม้กระทั่งในขณะที่กำลังทำงาน เรียน หรือทำกิจกรรมยามว่างอยู่ก็ตาม
โรคลมหลับเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของคุณเป็นอย่างมาก และยังเป็นสาเหตุของการง่วงนอนในเวลากลางวันที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
สาเหตุของโรคลมหลับ
- ความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคลมหลับ โดยพบว่าผู้ป่วยโรคลมหลับมักจะมีระดับสารกระตุ้นให้ตื่นในสมองที่ชื่อว่า "ไฮโปเครติน (Hypocretin)" ต่ำกว่าปกติ
- พันธุกรรม ผู้ป่วยโรคลมหลับมักไม่มีประวัติว่า คนในครอบครัวเป็นโรคนี้ แต่พบว่าญาติที่ใกล้ชิดของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มีความเสี่ยงสูงทางสติในการพัฒนาไปเป็นโรคลมหลับในอนาคต
นอกจากนี้โรคลมหลับยังอาจเกิดจากความบกพร่องทางพันธุกรรม ที่ขัดขวางไม่ให้มีการผลิตสารกระตุ้นอย่างไฮโปเครตินในระดับปกติ แต่กรณีหลังนี้พบได้น้อย - โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง นักวิจัยพบว่า โรคลมหลับที่มีโรคภาวะผล็อยหลับร่วมด้วย ซึ่งอาจมีความเชื่อมโยงกับการสูญเสียเซลล์ในสมองที่มีหน้าที่ผลิตสารไฮโปเครติน โดยเกิดจากโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง ที่ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดพลาด และโจมตีเซลล์เหล่านี้
- การบาดเจ็บรุนแรง ในกรณีที่พบได้ไม่บ่อย โรคลมหลับมักเป็นผลลัพธ์จากอาการบาดเจ็บรุนแรงที่บางส่วนของสมองที่ควบคุมการนอนหลับในช่วงที่จะมีการเคลื่อนไหวของลูกตาอย่างรวดเร็ว (REM sleep) หรือจากเนื้องอกในสมอง รวมถึงโรคอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในบริเวณเดียวกัน
- สาเหตุอื่นๆ เช่น การติดเชื้อ การสัมผัสสารพิษ ความเครียด ความเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนในวัยหนุ่มสาว หรือวัยหมดประจำเดือน และการเปลี่ยนแปลงเวลาการนอนที่มากเกินไป เช่น การทำงานเป็นกะ
อาการของโรคลมหลับ
อาการแสดงทั่วไปของโรคลมหลับมีดังนี้
1. อาการง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน
เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคลมหลับ และส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยอย่างมาก เพราะจะทำให้รู้สึกง่วงซึมระหว่างวัน แม้จะได้หลับอย่างเต็มที่ในตอนกลางคืนแล้วก็ตาม
นอกจากนี้ผู้ป่วยยังจะรู้สึกไม่มีพลัง ซึมเศร้า อ่อนเพลียเป็นอย่างมาก และผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาด้านความจำ ขาดสมาธิในการทำงาน หรือการเรียนด้วย
นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการนอนหลับในระยะเวลาสั้น (Microsleeps) ซึ่งเป็นสภาวะที่ทำให้เผลอหลับโดยไม่ได้ตั้งใจ และไม่รู้ตัวเป็นระยะเวลาสั้นๆ โดยประมาณ 40% ของผู้ที่มีอาการนี้มีสาเหตุมาจากโรคลมหลับ ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติ และไม่สามารถควบคุมได้
โดยอาการนี้ ในขณะที่ผู้ป่วยหลับไปนั้นก็ยังทำงานต่อเนื่องอย่างปกติธรรมชาติอยู่ เช่น พิมพ์งาน หรือขับรถ แต่ประสิทธิภาพของงานเหล่านี้มักลดน้อยลงในระหว่างการหลับระยะสั้น และอาจเป็นอันตรายได้ ขึ้นอยู่กับงานที่กำลังทำอยู่
2. ภาวะผล็อยหลับ
ประมาณ 70% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคลมหลับจะมีโรคภาวะผล็อยหลับร่วมอยู่ด้วย ซึ่งภาวะนี้เกิดจากการสูญเสียความตึงตัวของกล้ามเนื้อแบบเฉียบพลันในขณะตื่น ทำให้เกิดอาการอ่อนแรง และสูญเสียการควบคุมของกล้ามเนื้อลาย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ภาวะผล็อยหลับสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลาขณะตื่นและมีความรุนแรงแตกต่างกันไป เช่น สูญเสียความตึงตัวของกล้ามเนื้อเพียงเล็กน้อย ทำให้เปลือกตาตกลง หรือในกรณีที่รุนแรง ผู้ป่วยอาจสูญเสียความตึงตัวของกล้ามเนื้อลายทั้งหมด ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหว พูดคุย หรือเปิดตาได้
3. ผีอำ
เป็นชื่อสภาวะที่ไม่สามารถเคลื่อนไหว หรือพูดในขณะกำลังนอนหลับ หรือช่วงใกล้จะตื่นเพียงชั่วคราว และอาจเกิดขึ้นได้แม้กระทั่งในยามที่มีสติเต็มร้อย โดยทั่วไปแล้วอาการผีอำมักเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่กี่วินาที หรือไม่กี่นาที
4. ประสาทหลอน
มักจะเกิดขึ้นในลักษณะของการเห็นภาพที่เหมือนจริง แต่ไม่มีอยู่จริง โดยอาจเกิดขึ้นในขณะที่กำลังเคลิ้มหลับ กำลังเคลิ้มตื่น หรือในระหว่างหลับที่หลับสนิทอยู่ก็ได้
ทั้งนี้ผู้ที่เป็นโรคลมหลับมักไม่มีปัญหาในการนอนหลับในตอนกลางคืน แต่มักเกิดปัญหาขึ้นจากอาการนอนไม่หลับ การฝันมากมาย การนอนละเมอ การเดินละเมอออกนอกสถานที่ในขณะหลับ และภาวะขากระตุกขณะหลับ
การตรวจวินิจฉัยโรคลมหลับ
หากไม่ได้รับการวินิจฉัย โรคลมหลับสามารถส่งผลกระทบต่อทั้งทางด้านจิตใจ สังคม และกระบวนการรับรู้ รวมถึงส่งผลกระทบต่อการทำงาน การเรียน และกิจกรรมทางสังคมอื่นๆ ด้วย ดังนั้นหากมีอาการดังข้างต้นที่กล่าวมา ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ และรักษาต่อไป
ขั้นตอนการวินิจฉัยโรคลมหลับอาจมีดังนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
1. สอบถามอาการและประวัติการนอน
เบื้องต้นแพทย์มักจะสอบถามเพื่อดูว่า มีอาการง่วงนอนมากผิดปกติระหว่างวัน หรือมีภาวะผล็อยหลับหรือไม่
อย่างไรก็ตาม แพทย์ก็ยังจำเป็นต้องมีการประเมินเพิ่มเติมในศูนย์การนอนเพื่อให้แน่ใจ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับจะเป็นผู้วิเคราะห์พฤติกรรมการนอนของคุณ
2. ทำแบบบันทึกการนอนหลับ
แพทย์จะให้คุณบันทึกประวัติการนอนของตัวเองอย่างละเอียด ด้วยการใช้แบบสอบถาม Epworth Sleepiness Scale ที่ออกแบบมาเพื่อประเมินระดับความง่วงนอน
โดยอาจให้คุณบันทึกการนอนอย่างละเอียดประมาณ 1 สัปดา ห์หรือนานกว่านั้น เพื่อดูรูปแบบพฤติกรรมการนอน รวมถึงระดับของความตื่นตัว
3. ใส่นาฬิกาวัดกิจกรรม และการพักผ่อน
แพทย์อาจให้คุณใส่ ActiGraph ซึ่งเป็นอุปกรณ์ลักษณะเหมือนนาฬิกาข้อมือ เพื่อวัดระยะเวลาของกิจกรรมที่ทำ และการพักผ่อน
4. ตรวจการนอนหลับ
ผู้ป่วยจะต้องนอนพักดูอาการที่โรงพยาบาล โดยจะเป็นการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าในสมอง และหัวใจ ประสิทธิภาพการหายใจ การถ่ายเทของอากาศ ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด รวมถึงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ดวงตา และการหายใจของคุณ
การตรวจวิธีนี้ทำเพื่อให้แน่ใจว่า อาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ไม่ได้เกิดจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นสภาวะที่สมองไม่กระตุ้นให้เกิดการหายใจในขณะหลับ (ภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่เกิดจากสมองส่วนกลาง)
หรือไม่ได้เกิดจากคุณพยายามที่จะหายใจ แต่ไม่สามารถรับออกซิเจนได้เพียงพอ (โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ)
5. การทดสอบการงีบหลับตอนกลางวัน
เป็นการตรวจวัดระยะเวลาที่คุณหลับระหว่างวัน โดยแพทย์จะให้คุณหลับสั้นๆ 4-5 ครั้งในระยะเวลาเท่าๆ กัน และในระหว่างนั้นก็จะสังเกตรูปแบบการนอนของคุณ
การรักษาโรคลมหลับ
โรคลมหลับไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การใช้ยาบางชนิดสามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคได้
ยารักษาโรคลมหลับที่ใช้ทั่วไป ได้แก่
1. ยากระตุ้นให้ตื่น
เช่น โมดาฟินิล (Modafinil) และอาร์โมดาฟินิล (Armodafinil)
มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมหลับตื่นในเวลากลางวัน ยานี้เป็นที่นิยมใช้กับผู้ป่วยโรคลมหลับ เพราะใช้แล้วไม่รู้สึกติดยาเท่ากับยากระตุ้นประสาท และไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเหมือนยากระตุ้นประสาทรุ่นเก่า
2. แอมเฟตามีน
แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยากลุ่มเมทิลเฟนิเดต (Methylphenidate) ซึ่งเป็นอีกประเภทของแอมเฟตามีน หรืออนุพันธุ์ของแอมเฟตามีน เช่น Dextroamphetamine และ Lisdexamfetamine
ยาชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการง่วงนอนมากผิดปกติในช่วงกลางวัน แต่ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงให้เกิดอาการกระวนกระวาย ใจสั่น และอาจทำให้ติดยาได้ นอกจากนี้ ยังมักถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด
3. ยาต้านเศร้ากลุ่ม SSRIs และ SNRIs
เป็นยาที่ช่วยยับยั้งช่วงการนอนหลับแบบวงจรกล้ามเนื้อทั่วร่างกายหยุดทำงานยกเว้นหัวใจ (REM sleep) และบรรเทาอาการของภาวะผล็อยหลับ ประสาทหลอนในช่วงเคลิ้มหลับ รวมถึงอาการผีอำ เช่น ฟลูออกซินทีน (fluoxetine) และเวนลาฟาซีน (Venlafaxine)
4. ยาต้านโรคซึมเศร้ากลุ่ม Tricyclic
เช่น โพรทริปไทลีน (Protriptyline) อิมิพรามีน (imipramine) และโคลมิพรามีน (Clomipramine) เป็นยาต้านโรคซึมเศร้ากลุ่มเก่าที่สามารถใช้รักษาภาวะผล็อยหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. โซเดียม ออกซิเบต (Sodium oxybate)
มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะผล็อยหลับ และช่วยให้คุณภาพการนอนหลับตอนกลางคืนดีขึ้นได้อีกด้วย รวมทั้งช่วยควบคุมอาการง่วงนอนในระหว่างวันได้หากใช้ปริมาณสูง
ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนด้วยว่ายาที่คุณกำลังรับประทานอยู่จะส่งผลกระทบต่อการรักษาโรคลมหลับหรือทำปฏิกิริยากับยาที่แพทย์ใช้รักษาโรคลมหลับเหล่านี้หรือไม่
การดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการของโรคลมหลับ
แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยโรคลมหลับปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตตามคำแนะนำต่อไปนี้
- หยุดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการบริโภคแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ หรือบริโภคแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะในเวลากลางคืนอาจทำให้อาการของโรคลมหลับทรุดหนักได้
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยควรออกกำลังกายอย่างน้อย 4-5 ชั่วโมงก่อนเวลานอน อาจช่วยให้รู้สึกตื่นตัวระหว่างวัน และนอนหลับได้ดีขึ้นในช่วงกลางคืน
- สร้างตารางการนอน สุดท้ายแล้ว แพทย์อาจแนะนำให้คุณพยายามเข้านอน และตื่นในเวลาเดิมทุกวัน รวมถึงในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ และจัดตารางให้งีบหลับเป็นเวลาสั้นๆ ในระหว่างวัน การนอนระยะสั้นๆ เป็นเวลา 20 นาทีจะช่วยให้คุณรู้สึกสดชื่น และลดอาการง่วงได้
การนอนหลับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร่างกายของคุณแข็งแรง ไม่อ่อนเพลีย สุขภาพจิตแย่ลง รวมถึงทำให้ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียจนล้มป่วยได้ง่ายๆ หากคุณไม่สามารถนอนหลับพักผ่อนได้ตามปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหานี้โดยด่วน
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจการนอนหลับ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
เราจะสามารถเช็คว่าเป็นโรคลมหลับเบื้องต้นได้อย่างไรค่ะ และหากเป็นโรคนี้จริงจะมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันที่ร้ายแรงไหมค่ะ