กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Tramal (ตัวยา Tramadol)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยา Tramadol เป็นยาระงับอาการปวดเช่นเดียวกับมอร์ฟีน ประกอบไปด้วยยารูปแบบเม็ด เม็ดแคปซูล และแบบฉีดเข้าเส้นเลือด
  • ด้วยฤทธิ์ของยาที่กดระบบประสาทอย่างรุนแรง หลังจากใช้ยา Tramadol แล้ว คุณจึงไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ หรือใช้เครื่องจักร สารเคมีที่เป็นอันตราย รวมถึงบริโภคแอลกอฮอล์ด้วย เพื่อความปลอดภัยของตนเอง
  • มีข้อควรระวังในการใช้ยาสำหรับผู้ป่วยบางกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยโรคตับ ผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยโรคหอบหืด ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หรือมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย หญิงมีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร
  • ยา Tramadol จัดเป็นกลุ่มยาอันตรายที่ต้องสั่งจ่ายผ่านแพทย์ หรือเภสัชกรเท่านั้น อีกทั้งอาจเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ เช่น ปวดหัว อ่อนเพลีย วิตกกังวล ซึมเศร้า ท้องผูก
  • หากมีอาการปวดเกิดขึ้นไม่ว่าจะส่วนใดของร่างกาย ให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัย และสั่งจ่ายยา อย่าซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจเกิดอาการแพ้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ อาการภูมิแพ้ ได้ที่นี่)

รู้จักยาทรามาดอล (Tramadol)

ทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาบรรเทาอาการปวดกลุ่มโอพิออยด์ (Analgesics / Opioid) มีรูปแบบยาเม็ด ยาเม็ดแคปซูล และยาฉีด

  • ยารับประทานแบบยาเม็ด ประกอบด้วย Tramadol ขนาด 50 และขนาด 100 มิลลิกรัม 
  • ยารับประทานแบบยาเม็ดแคปซูล ประกอบด้วย Tramadol ขนาด 50 มิลลิกรัม 
  • ยาแบบฉีด ประกอบด้วย Tramadol ความเข้มข้น 50 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร

กลไกการออกฤทธิ์

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ ตัวยา Tramadol จะเข้าไปยับยั้งการดูดกลับของนอร์อีพิเนปฟริน (Norepinephrine) ฮอร์โมนซีโรโทนิน (serotonin) และเพิ่มการปลดปล่อยของฮอร์โมนซีโรโทนินมากขึ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้ ตัวยา Tramadol จะลดการตอบสนองต่อการรับรู้การปวด โดยจับกับตัวรับโอพิออยด์ ชนิดมิว (mu-opioid receptor) ในระบบประสาทส่วนกลาง

ข้อบ่งใช้

ยา Tramadol จะมีข้อบ่งใช้ตามรูปแบบของยา ซึ่งมีดังต่อไปนี้

  • ยา Tramadol ชนิดยาเม็ดรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ บรรเทาอาการปวดในระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 50-100 มิลลิกรัมทุก 4-6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 400 มิลลิกรัม
  • ยา Tramadol ชนิดยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ มีข้อบ่งใช้ คือ บรรเทาอาการปวดในระดับความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรง ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือหลอดเลือดดำขนาดยา 50-100 มิลลิกรัมทุก 4-6 ชั่วโมง ฉีดประมาณ 2-3 นาที
  • ยา Tramadol สำหรับบรรเทาอาการปวดหลังผ่าตัด มีข้อบ่งใช้ คือ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ เริ่มต้นใช้ยาที่ 100 มิลลิกรัม ตามด้วยขนาด 50 มิลลิกรัมทุก 10 ถึง 20 นาทีหากจำเป็น

    สำหรับขนาดยารวมใน 1 ชั่วโมงแรก คือ 250 มิลลิกรัมรวมขนาดยาตั้งต้น หลังจากนั้นให้ยาขนาด 50-100 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยขนาดยารวมต่อวันอยู่ที่ 600 มิลลิกรัม

ผู้ใช้ยา Tramadol ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะหรือทำกิจกรรมที่ใช้เครื่องจักรหลังรับประทานยา ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับการใช้ยา เนื่องจากจะทำให้ฤทธิ์การกดระบบประสาทส่วนกลางรุนแรงยิ่งขึ้น

ตัวอย่างยี่ห้อยา Tramadol ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Amanda, Analab, Matradol, Paindol, Sefmal, Tradolgesic, Tramada, Tramadol Stada, Tramal/Tramal Retard, Tramoda, Trosic, Vesnon-V 100, Anadol, Mabron, Madol, Madola,Modsenal, Pacmadol, Pharmadol, Ramadol, Tamolan, Tracine

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Tramadol

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน หากปกติคุณต้องรับประทานยา 1 เม็ด ก็ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน 

ส่วนในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไป และไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อควรระวังของการใช้ยา

  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากยานอนหลับ หรือยาบรรเทาอาการปวดที่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ยารักษาอาการทางจิต หรือแอลกอฮอล์
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยโรคลมชักที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยโรคหอบหืด
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับ หรือโรคไตที่มีความรุนแรง
  • ไม่ใช่ยาร่วมกับยาต้านเศร้ากลุ่ม MAOIs (Monoamine oxidase inhibitor) หรือหลังจากถอนยา MAOI ภายใน 2 สัปดาห์
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะทางอารมณ์ไม่คงที่ หรือมีภาวะซึมเศร้า
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคลมชัก มีอาการชัก มีบาดแผลที่ศีรษะ ผู้ป่วยที่มีความดันในกระโหลกศีรษะสูง
  • ระวังการใช้ยาในผุ้ป่วยโรคตับ และโรคไต
  • ระวังการใช้ยาในหญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

อาจก่อให้เกิดการกดระบบหายใจ อาการชัก มึนงง ปวดศีรษะ ง่วงซึมในช่วงกลางวัน อ่อนเพลีย อาการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ วิตกกังวล เคลิ้มสุข เห็นภาพหลอน อาการเหงื่ออกมาก สับสน ซึมเศร้า ท้องผูก คลื่นไส้อาเจียน ผื่นแดง

ข้อมูลการใช้ยาในสตรีมีครรภ์และสตรี

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม Category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษา

ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 20 ถึง 25 องศาเซลเซียส เก็บยาให้พ้นจากแสงแดด

ยา Tramadol ออกฤทธิ์ระงับอาการปวดได้ดีเช่นเดียวกับมอร์ฟีนซึ่งใช้ในการผ่าตัด และสามารถทำให้ผู้ป่วยเสพติดยานี้ได้ จึงทำให้มีกลุ่มผู้เสพยาบางกลุ่มมักใช้ยานี้ผสมกับน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มชูกำลัง เพื่อใช้เป็นยาเสพติดอีกแบบหนึ่ง

นอกจากนี้ ยา Tramadol ยังสามารถทำให้เกิดอาการแพ้เฉียบพลันรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ คุณจึงต้องระมัดระวังในการรับประทานยาตัวนี้ อย่าซื้อมารับประทานเองเด็ดขาด และควรให้แพทย์ หรือเภสัชกรเป็นผู้สั่งจ่ายยาเท่านั้น

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ อาการภูมิแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)