กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ภาวะแน่นหน้าอก (Angina)

ภาวะแน่นหน้าอก (Angina)
เผยแพร่ครั้งแรก 16 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 23 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
ภาวะแน่นหน้าอก (Angina)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะแน่นหน้าอกแบ่งได้ 2 ประเภท คือแน่นหน้าอกคงที่ จะเกิดช้าๆ ตามรูปแบบเวลาเดิม มักไม่อันตรายถึงชีวิต อาการคือปวดทื่อๆ หน่วงๆ ในอก อาจลามไปแขน คอ กราม คลื่นไส้ เหงื่อออก หายใจลำบาก เวียนหัว
  • อีกแบบคือภาวะแน่นหน้าอกแบบไม่คงที่ สามารถเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเรื้อรัง ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายขึ้น อาการเหมือนกับแน่นหน้าอกแบบคงที่ แต่สามารถเกิดขึ้นโดยไม่มีตัวกระตุ้นอาการแน่นหน้าอกใดๆ 
  • ภาวะแน่นหน้าอกมักเกิดจากการสะสมของไขมันตามผนังหลอดเลือด โดยสัญญาณเหล่านี้อาจดูได้จาก ความดันโลหิตสูง น้ำหนักตัวมาก เครียดสะสม กินอาการเค็ม สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และขาดการออกกำลังกาย 
  • การรักษาภาวะแน่นหน้าอกอาจต้องทำหลายวิธีในการป้องกันการตีบแคบลงของหลอดเลือด เช่น ควบคุมน้ำหนัก กินยา การทำบอลลูน การผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดหัวใจ 
  • ดูแพ็กเกจตรวจหัวใจได้ที่นี่ 

ภาวะแน่นหน้าอกมีสองประเภท คือภาวะแน่นหน้าอกแบบคงที่และไม่คงที่ แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร อาการ สาเหตุ วิธีการรักษาด้วยยา และการผ่าตัด ภาวะเจ็บแน่นหน้าอก (Angina) คือภาวะที่เกิดจากการไหลเวียนเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจลดลง และมักเกิดกับผู้สูงอายุ

ภาวะเจ็บแน่นหน้าอกมีอยู่สองประเภทหลัก ๆ คือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ภาวะแน่นหน้าอกคงที่ (Stable Angina)

อาการมักจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ตามระยะเวลาและตามรูปแบบเดิม ๆ มักจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาทีและสามารถบรรเทาลงได้ด้วยการพักผ่อน หรือใช้ยา Glycerine Trinitrate (GTN) ภาวะแน่นอกชนิดคงที่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็อาจเป็นสัญญาณของปัญหาการขนส่งเลือดของหลอดเลือดแดงไปยังกล้ามเนื้อหัวใจที่ตีบแคบขึ้นได้

ภาวะแน่นหน้าอกไม่คงที่ (Unstable Angina)

อาการสามารถเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเรื้อรัง แม้ขณะที่กำลังพักผ่อนอยู่ และอาจคงอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่งได้ ภาวะนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์เนื่องจากเป็นสัญญาณของการไหลเวียนเลือดไปยังหัวใจถูกจำกัดลง จนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายขึ้น

อาการของภาวะแน่นหน้าอก

อาการเจ็บหน้าอกโดยทั่วไป และแบบคงที่ มีดังต่อไปนี้

  • เจ็บหรือไม่สบายที่หน้าอก ซึ่งอาจลามขึ้นไปยังแขน, คอ, กราม, หัวไหล่, กระเพาะ หรือแผ่นหลัง
  • อาการปวดทื่อ ๆ หรือหน่วงในอก
  • อาการเจ็บหรือไม่บายที่อาจรู้สึกเหมือนอาหารไม่ย่อย
  • รู้สึกคลื่นไส้, เหงื่อออก, หายใจลำบาก, เวียนศีรษะ

ส่วนอาการของภาวะแน่นหน้าอกชนิดไม่คงที่ จะไม่แตกต่างกับภาวะแบบคงที่ แต่มักจะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน เช่น 

  • สามารถเกิดขึ้นโดยไม่มีตัวกระตุ้นอาการแน่นหน้าอกใด ๆ
  • สามารถเกิดขึ้นเรื้อรัง แม้จะพักผ่อนอยู่
  • สามารถเกิดขึ้นยาวนานกว่า 5 นาทีได้

สาเหตุของภาวะแน่นหน้าอก

ภาวะแน่นหน้าอกส่วนมากเกิดจากภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) ซึ่งเป็นภาวะที่มีไขมันเข้าไปสะสมในหลอดเลือด จนทำให้หลอดเลือดตีบแคบหรืออุดตันขึ้น ภาวะนี้จะจำกัดการไหลของเลือดทำให้เกิดอาการของภาวะแน่นหน้าอกขึ้นมา

หากสารสะสมหรือคราบไขมันเกิดหลุดแตกตัวออก จะทำให้สิ่งแปลกปลอมรบกวนการไหลเวียนของเลือด จนอาจทำให้เกิดลิ่มเลือดขึ้น เมื่อลิ่มเลือดนี้มีขนาดใหญ่ขึ้น ก็ทำให้เกิดอาการตีบตันรุนแรงขึ้นที่หัวใจในที่สุด จนทำให้เกิดภาวะแน่นหน้าอกแบบไม่คงที่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่ทำให้เกิดภาวะแน่นหน้าอกชนิดคงที่และไม่คงที่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ความดันโลหิตสูง หากแรงดันเลือดมีระดับที่สูงเกินไป จะทำให้ผนังของหลอดเลือดแดงได้รับความเสียหาย
  • มีน้ำหนักร่างกายมากเกิน คือมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
  • มีภาวะเครียดเป็นเวลานาน
  • รับประทานอาหารที่มีเกลือสูง
  • รับปรทานอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูง การมีระดับของคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL) ในเลือดมากเกินไป จะทำให้ไขมันเข้าไปสะสมในผนังหลอดเลือดแดง ซึ่งจะมีความเสี่ยงสูงมากหากคุณมีระดับคอเลสเตอรอลที่ดี (HDL) ในร่างกายต่ำ
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • บริโภคแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ที่บริโภคมากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแน่นหน้าอก และยังทำให้ความดันโลหิตกับคอเลสเตอรอลของเพิ่มขึ้น
  • การสูบบุหรี่ : การสูบบุหรี่สามารถสร้างความเสียหายแก่ผนังหลอดเลือดแดงได้ เมื่อเกิดความเสียหาย เซลล์เกล็ดเลือดจะก่อตัวกันบริเวณที่เสียหายเพื่อซ่อมแซมจนทำให้หลอดเลือดแดงนั้น ๆ ตีบแคบลง นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังลดความสามารถในการขนส่งออกซิเจนของเลือดไปเลี้ยงร่างกาย จึงเพิ่มโอกาสในการเกิดลิ่มเลือดมากยิ่งขึ้น
  • เป็นเบาหวาน หากคุณเป็นโรคเบาหวานแล้วดูแลตัวเองไม่ดี กลูโคสในเลือดที่มากเกินไปก็สามารถสร้างความเสียหายที่ผนังหลอดเลือดแดงได้
  • ปัจจัยด้านอายุ หลอดเลือดแดงจะแคบลงตามกาลเวลา ยิ่งมีอายุมากเท่าไร จะยิ่งมีโอกาสที่หลอดเลือดแดงจะตีบแคบลง เกณฑ์ที่ถือว่ามีควาเสี่ยงคือ เพศชายอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 45 เพศหญิงอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 55
  • ปัจจัยด้านกรรมพันธุ์ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนวัย คือ ผู้ชายเป็นตอนอายุน้อยกว่า 55 ผู้หญิงเป็นตอนอายุน้อยกว่า 65

การวินิจฉัยภาวะแน่นหน้าอก

การวินิจฉัยภาวะเจ็บแน่นหน้าอกโดยแพทย์ จะมีการประเมินสถานการณ์ ณ ปัจจุบันของคุณตามความจำเป็น โดยอาจมีการประเมินดังต่อไปนี้

  • สอบถามว่าอะไรเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดขึ้น และอะไรที่ช่วยบรรเทาอาการได้
  • ตรวจสอบปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะแน่นหน้าอก
  • วัดน้ำหนักและความดันโลหิต
  • ตรวจเลือดเพื่อหาฮีโมโกลบินสำหรับโรคโลหิตจาง ตรวจหากลูโคสในเลือดสำหรับเบาหวาน และตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลในเลือ

 เมื่อได้ผลการตรวจเบื้องต้นแล้ว แพทย์อาจพิจารณาตรวจร่างกายเพิ่มเติม ดังนี้

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram (ECG)) : จะบันทึกจังหวะการเต้นและกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจคุณ โดยจะมีการติดตั้งปุ่มอีเล็กโทรด บนแขน ขา และหน้าอกของคุณ ปุ่มอีเล็กโทรดจะต่อสายเชื่อมไปยังเครื่องบันทึกสัญญาณไฟฟ้าของการเต้นของหัวใจแต่ละครั้ง
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจ (Exercise Tolerance Test (ETT)) : คล้ายกับ ECG แต่จะดำเนินการตรวจคลื่นหัวใจระหว่างที่คุณออกกำลังกายบนลู่วิ่งหรือจักรยานออกกำลังกายแทน การทดสอบนี้มีเพื่อวัดว่าหัวใจสามารถทนต่อการออกกำลังกายได้เท่าไรก่อนที่จะมีอาการแน่นหน้าอก
  • การสแกนการไหลเวียนและการทำงานของหลอดเลือดหัวใจ (Myocardial Perfusion Scan (MPS)) : คือการฉีดสารแผ่รังสีเข้าสู่เลือดและใช้กล้องชนิดพิเศษ (Gamma Camera) ในการติดตามว่าสารนั้น ๆ เคลื่อนตัวผ่านหลอดเลือดของคุณไปสู่หัวใจอย่างไร
  • การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiogram) : ระหว่างการสวนหลอดเลือด จะมีการใช้สายสวน (ท่อบาง ๆ เรียวยาว) สอดผ่านหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบหรือที่แขนของคุณโดยใช้เทคนิคเอกซเรย์นำทางไปสู่หลอดเลือดหัวใจ จะมีการฉีดสารย้อมเข้าสายสวนเพื่อเน้นหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปยังหัวใจ จากนั้นจะมีการถ่ายชุดภาพเอกซเรย์ออกมาเพื่อให้เห็นถึงการตีบแคบหรือการอุดตัน แต่คุณจะถูกส่งไปรับการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจก็ต่อเมื่อ
    • ผลการวินิจฉัยภาวะแน่นหน้าอกไม่ชัดเจน
    • อาการแน่นหน้าอกของคุณเกิดขึ้นเรื้อรังแม้จะดำเนินการรักษาไปแล้ว และถูกคาดว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายหรือหลอดเลือดสมองค่อนข้างสูง
    • คุณกำลังรอรับการผ่าตัดหัวใจประเภทอื่นอยู่ และจำเป็นต้องทำการประเมินหลอดเลือดหัวใจก่อนดำเนินการ

การรักษาภาวะแน่นหน้าอก

 เป้าหมายหลักของการรักษาภาวะแน่นอก มีดังนี้

  • เพื่อควบคุมอาการจากภาวะแน่นหน้าอก
  • ทำให้คุณดำเนินกิจกรรมระดับสูงได้ตามปรกติ
  • เพิ่มคุณภาพชีวิต
  • ป้องกันการตีบแคบลงของหลอดเลือดหัวใจ

การใช้ยารักษาภาวะแน่นหน้าอก

การใช้ยาในการรักษาภาวะแน่นหน้าอก มักจะควบคุมอาการได้ แต่ถ้าหากภาวะแน่นหน้าอกของคุณเกิดขึ้นบ่อยครั้ง คุณอาจต้องใช้ยามากกว่าสองตัวขึ้นไปเพื่อบรรเทาอาการ

กลุ่มของยาที่ใช้เพื่อรักษาภาวะแน่นหน้าอกมีหลากหลายทั้งเรื่องของฤทธิ์และผลข้างเคียง และเป็นการยากที่จะหาว่ายากลุ่มไหนที่ให้ผลมากที่สุด ดังนั้น คุณอาจต้องใช้ยาหลาย ๆ กลุ่มร่วมกันไปเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพดีที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยาที่มักนำไปใช้รักษาภาวะแน่นหน้าอก มีดังนี้

  • Glyceryl Trinitrate (GTN) ถูกใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บแน่นหน้าอก สามารถออกฤทธิ์ได้ทันทีที่ใช้ยา ยาตัวนี้จะดูดซึมในปาก จึงต้องวางไว้ใต้ลิ้น โดยจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 1-2 นาที และต่อเนื่องไปอีก 20-30 นาที และในปัจจุบันนี้มีแบบสเปรย์พ่นให้เลือกใช้แล้ว
  • ยาต้านเกล็ดเลือด ถูกใช้เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวาย หรือภาวะหลอดเลือดสมองด้วยการเข้ารบกวนกลไกการเกิดลิ่มเลือด ทำให้เลือดเกาะตัวเป็นลิ่มยากขึ้น ยาที่ใช้ส่วนมากมักจะเป็นยาแอสไพริน (Aspirin) ร่วมกับ Clopidogrel 75mg หรือ Ticagrelor 
  • Beta-Blockers เป็นยาที่ใช้รักษาภาวะความดันโลหิตสูงและภาวะแน่นหน้าอก ยาออกฤทธิ์ด้วยการทำให้หัวใจทำงานช้าลง และลดความดันโลหิตลง
  • ยาลดระดับคอเลสเตอรอล แพทย์อาจจัดให้คุณใช้ยาเม็ดที่ใช้ลดระดับคอเลสเตอรอลที่เรียกว่าสแตติน (Statins) แม้ว่าคอเลสเตอรอลของคุณจะไม่สูงมากแพทย์ก็อาจจัดให้คุณใช้ยากลุ่มนี้เพื่อป้องกันไว้ก่อน
  • ACE Inhibitors ช่วยคลายหลอดเลือดแดง ลดความดันโลหิต และลดการทำงานของหัวใจลง ยานี้ถูกใช้รักษาภาวะความดันโลหิตสูงเช่นเดียวกับปัญหาหัวใจอื่นๆ
  • Angiotensin Receptor Blockers (ARBs) คือยาที่ใช้รักษาภาวะแน่นหน้าอกเมื่อคนไข้ไม่เหมาะกับ ACE inhibitors
  • Nitrates ถูกใช้เพื่อรักษาภาวะแน่นหน้าอกและหัวใจล้มเหลว ด้วยการลดปริมาณการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจลง ยาตัวนี้จะเปิดหลอดเลือดแดงออก ด้วยการคลายกล้ามเนื้อในผนังหลอดเลือด
  • Calcium Channel Blockers จะช่วยคลายหลอดเลือดแดง, ลดความดันโลหิต, และลดการทำงานของหัวใจลง ยาชนิดนี้มักจะถูกใช้ในคนที่ไม่สามารถใช้ Beta-Blockers ได้
  • Potassium Channel Activators มีฤทธิ์บางส่วนเหมือนกับ nitrate และมีบางส่วนที่เหมือนกับ calcium channel blocker โดยมักนำไปใช้ร่วมกับยาอื่นและสามารถใช้กับภาวะแน่นหน้าอกที่ควบคุมด้วยยาอื่นๆ ไม่ดี

การรักษาภาวะแน่นหน้าอกด้วยการผ่าตัด

การผ่าตัดอาจถูกนำมาพิจารณา เมื่ออาการของภาวะเจ็บแน่นหน้าอกไม่ตอบสนองต่อการรักษาประเภทอื่น โดยมีการผ่าตัดหลักอยู่สองประเภทดังนี้

  • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft (CABG)) : จะมีการนำส่วนของหลอดเลือดจากส่วนอื่นของร่างกายไปทำทางเบี่ยงให้กับระบบไหลเวียนโลหิตให้ข้ามตำแหน่งหลอดเลือดที่อุดตันหรือตีบแคบไป
  • การผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Percutaneous Coronary Intervention (PCI)) : จะมีการนำบอลลูนชนิดพิเศษเข้าไปขยายหลอดเลือดแดงที่มีการคีบแคบและมีการดามไว้ด้วยท่อขนาดเล็ก (Stent)

การป้องกันภาวะแน่นหน้าอก

คุณสามารถลดความเสี่ยงต่อการทรุดลงของภาวะแน่นหน้าอกได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตและทานยาตามที่แพทย์สั่ง

ดูแพ็กเกจตรวจหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Thomas, Michel (2005-09-13). "Treatment of Myocardial Ischemia". In Brunton, Laurence L.; Lazo, John S.; Parker, Keith L. (eds.). Goodman & Gilman's The Pharmacological Basis of Therapeutic (11th ed.). p. 823. ISBN 978-0071422802.
Kusumoto, Fred M (2009-10-20). "Chapter 10: Cardiovascular Disorders: Heart Disease". In McPhee, SJ; Hammer, GD (eds.). Pathophysiology of Disease: An Introduction to Clinical Medicine (6th ed.). p. 276. ISBN 978-0-07-162167-0.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)