ยาลดความดันโลหิตกลุ่มแอนจีโอเทนซินคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ยาลดความดันโลหิตกลุ่มแอนจีโอเทนซินคืออะไร?

ยาลดความดันโลหิตกลุ่มแอนจีโอเทนซิน (Angiotensin receptor blockers) เป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยป้องกันไม่ให้เส้นเลือดตีบตัวด้วยการยับยั้งโปรตีนที่ชื่อว่า Angiotensin II ไม่ให้จับกับบริเวณจำเพาะของเส้นเลือด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย

คำเตือนและข้อควรระวังในการใช้ยาลดความดันโลหิตกลุ่มแอนจีโอเทนซิน

แม้ว่ายาลดความดันโลหิตกลุ่มแอนจีโอเทนซินจะใช้เพื่อควบคุมความดันโลหิตเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็สามารถใช้รักษาอาการที่ส่งผลต่อหัวใจและอวัยวะอื่นๆ เช่น หัวใจวาย ไตวาย และโรคไตในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานได้ ซึ่งแพทย์อาจสั่งยากลุ่มนี้แทนยากลุ่ม Angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ยาในกลุ่มดังกล่าวได้ ไม่ว่าจะเกิดจากอาการแพ้ยา หรือมีอาการไอซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากยา 

อย่างไรก็ตาม ยากลุ่มนี้เป็นยาที่องค์การอาหารและยาได้ออกคำเตือนในการใช้ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอันตรายหรือทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้หากรับประทานในขณะที่ตั้งครรภ์ ดังนั้นหญิงที่ตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าจะตั้งครรภ์ ต้องหยุดรับประทานยาและรีบไปพบแพทย์ทันที ขณะเดียวกันผู้ป่วยที่เป็นโรคไตบางประเภท เช่น มีหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ หรือการทำงานของไตแย่มาก รวมถึงผู้ที่มีระดับโซเดียมในเลือดต่ำ ก็ไม่ควรใช้ยาในกลุ่มนี้

และโดยทั่วไปแล้ว ไม่ควรใช้ยาลดความดันโลหิตกลุ่มแอนจีโอเทนซิน หากกำลังรับประทานยากลุ่ม ACE inhibitor เช่น

  • Capoten (Captopril)
  • Zestril (Lisinopril)
  • Prinivil (Lisinopril)
  • Altace (Ramipril)
  • Lotensin (Benazepril)
  • Mavik (Trandolapril)

ถึงแม้ว่ายาเหล่านี้จะเป็นยาคนละกลุ่มและทำงานแตกต่างจากยาลดความดันโลหิตกลุ่มแอนจีโอเทนซิน แต่ยาเหล่านี้จะทำให้เกิดผลอย่างเดียวกันในร่างกาย ซึ่งหากใช้ร่วมกัน อาจทำให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงได้ 

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของยาลดความดันโลหิตกลุ่มแอนจีโอเทนซิน

การรับประทานยากลุ่มนี้อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยา Dopamine (โดปามีน) สามารถใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวได้
ยา Dopamine (โดปามีน) สามารถใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวได้

ยา Dopamine (โดปามีน) ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้นในขณะที่หัวใจล้มเหลว ช่วยบรรเทาอาการความดันโลหิตได้

อ่านเพิ่ม
รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ
รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ

หากอยากรู้ว่า อุปกรณ์การแพทย์ชิ้นไหน ทำงานอย่างไร ต้องไม่พลาดบทความนี้

อ่านเพิ่ม