กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Losartan (ลอซาร์แทน)

เผยแพร่ครั้งแรก 22 พ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 30 มี.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที

ยาลอซาร์แทน หรือในชื่อการค้า Cozaar เป็นยาที่ถูกใช้เพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูง

นอกจากนี้ยังถูกใช้เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเลือดในสมองในผู้ป่วยโรคหัวใจบางราย ยาลอซาร์แทนเป็นยาในกลุ่มแองจิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล็อกเกอร์ (ARB) ทำหน้าที่ยับยั้งสารที่ทำให้เส้นเลือดอุดตัน ยาลอซาร์แทนทำให้เส้นเลือดผ่อนคลาย ช่วยทำให้ผู้ป่วยมีความดันโลหิตลดลง รวมทั้งช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดที่เข้าสู่หัวใจอีกด้วย ยาลอซาร์แทนยังถูกใช้เพื่อชะลอความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับไตในระยะยาวอันเกิดจากโรคเบาหวานประเภทที่ 2 และถูกใช้เพื่อรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวในบางครั้ง ลอซาร์แทนเป็นยาในกลุ่มแองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล็อกเกอร์ชนิดแรกที่ถูกจำหน่าย และได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาในปีพ.ศ. 2538

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยานี้ถูกผลิตโดยบริษัทเมอร์ค ภายใต้ชื่อการค้าว่า Cozaar และมีการจัดจำหน่ายภายใต้ชื่อสามัญด้วย นอกจากนี้ยาลอซาร์แทนยังถูกขายภายใต้ชื่อ Hyzaar (ไฮโดรคลอโรไธอะไซด์/ลอซาร์แทน) ซึ่งเป็นตัวยาที่ผสมยาขับปัสสาวะในปริมาณต่ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง

คำเตือนในการใช้ยาลอซาร์แทน

ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่แพ้ยาลอซาร์แทน หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในระหว่างที่ใช้ยาลอซาร์แทน เพราะอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำกว่าปกติและอาจเป็นการเพิ่มผลข้างเคียงของยา ตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และใช้ยานี้อย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะรู้สึกเป็นปกติ เพราะภาวะความดันโลหิตสูงมักไม่มีอาการบ่งชี้

ยาลอซาร์แทนกับการตั้งครรภ์

ในปีพ.ศ. 2557 องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่ร้ายแรงที่สุดว่า ยาลอซาร์แทนสามารถทำให้เกิดภาวะความเป็นพิษของยาในทารก ผู้ป่วยควรหยุดยาทันทีเมื่อตรวจพบการตั้งครรภ์ตัวยาอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของทารกได้หากใช้ในช่วง 6 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ยังไม่มีข้อบ่งชี้เกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้ยาลอซาร์แทนในระหว่างการให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาลอซาร์แทนในระหว่างการให้นมบุตร 

ผลข้างเคียงของยาลอซาร์แทน

ขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉินโดยทันทีหากมีอาการของการแพ้ยา รวมถึง ผื่นลมพิษ อาการหายใจติดขัด หรือการบวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ ผลข้างเคียงของยาลอซาร์แทนที่พบได้น้อยมากคือภาวะการสลายตัวของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อลายอันนำไปสู่ภาวะไตวาย ควรพบแพทย์โดยทันทีหากมีอาการเป็นไข้ คลื่นไส้อาเจียน หรือปัสสาวะมีสีเข้ม

ผลข้างเคียงของยาลอซาร์แทนอื่นๆ มีดังต่อไปนี้:

  • มีความรู้สึกคล้ายจะเป็นลม
  • ผิวซีด, วิงเวียนศีรษะ, มีปัญหาเกี่ยวกับการจดจ่อ
  • หายใจสั้น, หายใจมีเสียงหวีดในลำคอ, เจ็บหน้าอก
  • หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ, ชีพจรอ่อน, มีอาการเหน็บชา
  • ปัสสาวะน้อยลง

ผลข้างเคียงที่มีความรุนแรงน้อยลง มีดังต่อไปนี้:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปฏิกิริยาของยาลอซาร์แทนกับยาอื่นๆ

แจ้งประวัติการแพ้และยาที่รับประทานอยู่ให้แพทย์ทราบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นยาตามแพทย์สั่งหรือยาที่ซื้อรับประทานเอง วิตามิน ยาเสพติดทั้งที่ผิดกฎหมายและถูกกฎหมาย อาหารเสริม รวมทั้งสมุนไพร เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจมีผลกระทบต่อการทำงานของยาลอซาร์แทน

ในกรณีที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือไต ให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาลอซาร์แทนร่วมกับยาที่ประกอบด้วยตัวยาอะลิสคิเรน (Amturnide, Tekturna, Tekamio, Valturna)

โปรดปรึกษาแพทย์หากคุณใช้ยาดังต่อไปนี้:

  • แอสไพริน (Anacin, Bayer, or Bufferin)
  • ไอบูโปรเฟน (Advil)
  • นาโปรเซน (Aflaxen, Aleve)
  • ยาขับปัสสาวะที่มีผลป้องกันการขาดโพแทสเซียม (Amiloride)
  • ฟลูโคนาโซล (Diflucan)
  • ลิเธียม (Eskalith)
  • ฟีโนบาร์บิทัล (Solfoton)
  • อาหารเสริมที่มีโพแทสเซียม

ขนาดรับประทานของยาลอซาร์แทน

ยาเม็ดลอซาร์แทนมีวางจำหน่ายในขนาด 25 มก, 50 มก, และ 100 มก ขนาดรับประทานยาเริ่มต้นโดยปกติ คือ 50 มก แต่ผู้ป่วยที่กำลังได้รับการรักษาด้วยยาขับปัสสาวะอาจเริ่มต้นรับประทานยาขนาด 25 มก ทุกวันหนึ่งถึงสองครั้งต่อวัน โดยส่วนใหญ่ประสิทธิภาพของยาสามารถเริ่มเห็นผลได้ภายในหนึ่งสัปดาห์ ประสิทธิภาพสูงสุดของยาจะเห็นผลได้ในระหว่างสามถึงหกสัปดาห์ สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเด็กที่มีอายุมากกว่า 6 ปี ขนาดรับประทานยาเริ่มต้นที่แนะนำคือ 0.7 มก โดยรับประทานวันละหนึ่งครั้ง แล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณจนถึง 50 มก สามารถรับประทานยาลอซาร์แทนได้ในขณะท้องว่างหรือร่วมกับอาหาร

การรับประทานยาเกินขนาด

การรับประทานยาเกินขนาดอาจทำให้หัวใจเต้นช้าหรือเร็ว เกิดอาการหน้ามืด และมีความรู้สึกคล้ายจะเป็นลม

การลืมรับประทานยาลอซาร์แทน

หากลืมรับประทานยาลอซาร์แทน ให้รับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้ หากเวลาใกล้เคียงกับเวลารับประทานยาในมื้อถัดไป ให้ข้ามไปรับประทานยาในมื้อถัดไปแทน ในกรณีที่ลืมรับประทานยา ห้ามเพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่าเพื่อชดเชยปริมาณยาที่ลืมรับประทาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ภาพของยาลอซาร์แทน (Cozaar)

Cozaar 25 มก, สีขาว, เม็ดรี, เคลือบฟีล์ม

Cozaar 50 มก, สีขาว, เม็ดรี, เคลือบฟีล์ม

Cozaar 100 มก, สีขาว, egg,

Losartan 25 มก-ROX, สีเขียว, เม็ดกลม, เคลือบฟีล์ม

 

Losartan 50 มก-ROX, สีเขียว, เม็ดกลม, เคลือบฟีล์ม

Losartan 100 มก-ROX, สีเขียว, เม็ดกลม, เคลือบฟีล์ม

Losartan 25 มก-TEV, สีเขียว, เม็ดทรงแคปซูล, เคลือบฟีล์ม

Losartan 50 มก-TEV, สีเขียว, เม็ดทรงแคปซูล, เคลือบฟีล์ม

Losartan 100 มก-TEV, สีเขียว, เม็ดทรงแคปซูล,

Losartan 25 มก-APO, สีขาว, เม็ดกลม,

Losartan 50 มก-APO, สีขาว, เม็ดกลม,

Losartan 100 มก-APO, สีขาว, เม็ดกลม,

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยาลอซาร์แทน (Cozaar)

ถาม: สามีของดิฉันอยู่ในระหว่างที่ได้รับยาลอซาร์แทนเพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูง เขาสามารถดื่มไวน์หรือวอดก้าได้หรือไม่

ตอบ: โดยทั่วไปแล้วปฏิกิริยาระหว่างยาแบ่งออกเป็นสามประเภท ได้แก่ ปฏิกิริยาระหว่างยากับยา (เช่น ยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อรับประทานเอง ยาสมุนไพร อาหารเสริม) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อตัวยาตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปทำปฏิกิริยากัน ปฏิกิริยาระหว่างยากับสิ่งที่รับประทาน (อาหาร/เครื่องดื่ม) ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ยามีปฏิกิริยาตอบสนองกับอาหารหรือเครื่อดื่ม  และปฏิกิริยาระหว่างยากับโรคซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ทำให้ยาบางชนิดกลายเป็นยาอันตรายร้ายแรงได้ บทปริทรรศน์ข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งจ่ายยาลอซาร์แทนไม่ได้อ้างอิงถึงปฏิกิริยาระหว่างแอลกอฮอล์กับยาลอซาร์แทน (Cozaar) ซึ่งเป็นตัวยับยั้ง  การนำแองจิโอเทนซินกลับไปใช้ใหม่ที่ถูกสั่งจ่ายให้แก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตามการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สามารถเพิ่มผลข้างเคียงของยาลอซาร์แทนได้ ผลข้างเคียงทั่วไปของยาลอซาร์แทนได้แก่ หน้ามืด ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ <a href='/supplement-emu-oil' target='_blank'><a href="https://hd.co.th/how-to-relieve-simple-muscle-pain" target="_blank">ปวดกล้ามเนื้อ</a></a> <a href="https://hd.co.th/cough-pattern-indicators" target="_blank">ไอ</a> อ่อนเพลีย ความดันตกจากการเปลี่ยนอิริยาบถ และความดันโลหิตต่ำ แอลกอฮอล์สามารถทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำและเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะความดันตกจากการเปลี่ยนอิริยาบถซึ่งเป็นภาวะที่ความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถจากท่านั่งเป็นท่ายืน อาการของภาวะความดันตกจากการเปลี่ยนอิริยาบถได้แก่ หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ และเป็นลมหมดสติ ความรุนแรงของภาวะความดันตกจากการเปลี่ยนอิริยาบถมีแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลและขึ้นอยู่กับยาที่แพทย์สั่ง ยาที่ผู้ป่วยซื้อมารับประทานเอง อาหารเสริม รวมถึงสภาพร่างกายของผู้ป่วย   สิ่งที่กล่าวมาแล้วนี้ไม่ใช่รายการผลข้างเคียงของยาลอซาร์แทนที่สมบูรณ์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับสภาพร่างกายและยาที่กำลังได้รับอยู่ในปัจจุบันเพื่อขอคำแนะนำโดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนที่จะดำเนินการใดๆ Consuelo Worley, RPh

ถาม: ควรรับประทานยาลอซาร์แทนในตอนเช้าหรือตอนเย็นเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าห้องน้ำในเวลากลางคืนบ่อยๆ

ตอบ: ยาลอซาร์แทนเป็นยาในกลุ่มแองจิโอเทนซิน II รีเซพเตอร์บล็อกเกอร์ (ARBs) ยาชนิดนี้ถูกใช้เพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยการทำให้เส้นเลือดผ่อนคลายซึ่งช่วยให้ความดันโลหิตลดลง ตามข้อมูลการสั่งจ่ายยา Cozaar ซึ่งเป็นแบรนด์สินค้าของยาลอซาร์แทน ความถี่ของการปัสสาวะเพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งในผลข้างเคียงที่เป็นไปได้อันเกิดจากการใช้ยานี้ รับประทานยาลอซาร์แทนตามที่แพทย์สั่งและปฏิบัติตามคำแนะนำที่อยู่บนฉลาก เพื่อไม่ให้ยาตัวนี้รบกวนการนอนหลับ โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะรับประทานยาในช่วงเช้า ผู้ป่วยสามารถรรับประทานยาลอซาร์แทนได้ในขณะท้องว่างหรือพร้อมอาหาร อาจใช้เวลาสามถึงหกสัปดาห์ในการใช้ยานี้ก่อนที่ความดันโลหิตจะอยู่ในการควบคุม ให้รับประทานยาต่อไปแม้ว่าจะรู้สึกเป็นปกติ หากมีอาการปวดกล้ามเนื้อ มีอาการกดเจ็บ หรืออ่อนเพลีย และถ้ามีอาการคลื่นไส้ <a href="https://hd.co.th/symptom-of-vomit" target="_blank">อาเจียน</a> มีไข้ หรือปัสสาวะสีเข้ม ให้รีบติดต่อแพทย์โดยทันที โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับยาที่คุณได้รับ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับสภาพร่างกายและยาที่กำลังได้รับอยู่ในปัจจุบันเพื่อขอคำแนะนำโดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนที่จะดำเนินการใดๆ 
<strong>ถาม</strong>: เมื่อเร็วๆ นี้ ฉันเริ่มรับประทานยาลอซาร์แทนเพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูง เอกสารกำกับยาระบุว่าห้ามใช้เกลือทดแทนในช่วงที่ได้รับยา ซึ่งฉันสันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะโพแทสเซียม เรากำลังจะติดตั้งเครื่องลดความกระด้างของน้ำในบ้านซึ่งใช้โพแทสเซียมคลอไรด์ในการลดความกระด้างของน้ำ อยากทราบว่าการบริโภคน้ำดื่มและน้ำจากการปรุงอาหารที่มาจากเครื่องลดความกระด้างของน้ำดังกล่าวจะก่อให้เกิดอันตรายหรือไม่

ตอบ: ยาลอซาร์แทนโพแทสเซียม (Cozaar) เป็นยาในกลุ่มแองจิโอเทนซิน II รีเซพเตอร์บล็อกเกอร์ (ARB) ยาลอซาร์แทนได้รับการยอมรับให้ใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ที่มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเลือดในสมองในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและมีภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายโต ตามข้อมูลอ้างอิงทางการแพทย์ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีโพแทสเซียมหรือเกลือทดแทนยกเว้นจะได้รับอนุญาตจากแพทย์ มีคำเตือนเกี่ยวกับสารทดแทนเกลือเนื่องจากสารทดแทนเกลือบางชนิดประกอบไปด้วยโพแทสเซียมในระดับสูง ตามข้อมูลการสั่งจ่ายยาลอซาร์แทน โพแทสเซียมที่ถูกบริโภคพร้อมกับการรับประทานยาอาจส่งผลให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีการกล่าวถึงโพแทสเซียมที่มาจากเครื่องลดความกระด้างของน้ำในข้อมูลการสั่งจ่ายยา โปรดติดต่อผู้ผลิตเครื่องลดความกระด้างของน้ำและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณโพแทสเซียมคลอไรด์ที่มีอยู่ในน้ำ บริษัทอาจสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงของปฏิกิริยาระหว่างยาได้ นอกจากนี้คุณยังสามารถขอคำแนะนำจากอายุรแพทย์ได้อีกด้วย ปรึกษากับอายุรแพทย์ของคุณก่อนที่จะดื่มน้ำที่ถูกลดความกระด้างโดยสารโพแทสเซียมคลอไรด์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับสภาพร่างกายและยาที่กำลังได้รับอยู่ในปัจจุบันเพื่อขอคำแนะนำโดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนที่จะดำเนินการใดๆ


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
pubchem.ncbi.nlm.nih.gov, Losartan (https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/losartan)
University of Illinois-Chicago, Losartan, Oral Tablet (https://www.healthline.com/health/losartan/oral-tablet), November 14, 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)