กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Amlodipine (แอมโลดิปีน)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ตัวอย่างยี่ห้อที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

  • Ambes
  • Amcardia
  • Amlod
  • Amlodac
  • Amlopine
  • Amlovasc 5
  • Amvas/Amvas 10
  • Deten
  • Lovas
  • Narvin
  • Norvasc

รูปแบบและส่วนประกอบของยา

แอมโลดิพีน (amlodipine) เป็นยากลุ่ม ยาต้านแคลเซียม (calcium channel blocker) ยาสำหรับรับประทานยาเม็ดมี 2 ขนาด ประกอบด้วยแอมโลดิพีน ขนาด 5 มิลลิกรัม และขนาด 10 มิลลิกรัม

กลไกการออกฤทธิ์

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ แอมโลดิพีนเป็นยาต้านแคลเซียมในกลุ่มไดไฮโดรไพริดีน (dihydropyridine) มีกลไกยับยั้งการไหลเข้าของแคลเซียมไอออนสู่กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัว ยาแอมโลดิพีนยังสามารถลดแรงต้านของหลอดเลือดและลดความดันโลหิตโดยทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดแดงที่ peripheral artery ประสิทธิผลการรักษาในภาวะเจ็บแน่นหน้าอก เนื่องจากยาสามารถลดแรงต้านของหลอดเลือดร่วมกับยับยั้งการเกิดการหดตัวของหลอดเลือดหัวใจ เพิ่มปริมาณออกซิเจนเข้าสู่หัวใจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อบ่งใช้

ยาแอมโลดิพีน ชนิดรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ ภาวะเจ็บแน่นหน้าอกคงที่ (stable angina) และ Prinzmetal’s angina ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่เริ่มใช้ยาที่ขนาด 5 มิลลิกรัม วันละครั้ง อาจเพิ่มขนาดเป็น 10 มิลลิกรัม วันละครั้งได้หากจำเป็น ขนาดการใช้ยาในผู้สูงอายุ เริ่มใช้ยาที่ขนาด 2.5 มิลลิกรัม วันละครั้ง

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคความดันโลหิตสูง ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ เริ่มใช้ยาที่ขนาด 5 มิลลิกรัม วันละครั้ง อาจเพิ่มขนาดเป็น 10 มิลลิกรัม วันละครั้งได้หากจำเป็น ขนาดการใช้ยาในเด็ก อายุ 6-17 ปี เริ่มใช้ยาที่ขนาด 2.5 มิลลิกรัม วันละครั้ง อาจเพิ่มขนาดเป็น 5 มิลลิกรัม วันละครั้งได้หากจำเป็น ขนาดการใช้ยาในผู้สูงอายุ เริ่มใช้ยาที่ขนาด 2.5 มิลลิกรัม วันละครั้ง

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ตัวยาอาจลดความสามารถในการขับขี่และการทำงานกับเครื่องจักร

ข้อควรระวังของการใช้ยา

  • ไม่ใช้ยาผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำรุนแรง
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะช็อก
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของหัวใจห้องล่างซ้าย (left ventricle) ได้แก่ การเกิด aortic stenosis
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว หลังจากการเกิดภาะวหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับ และโรคไต
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุ สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

อาจก่อให้เกิดการง่วงซึมในช่วงกลางวัน มึนงง ปวดศีรษะ ข้อเท้าบวม บวมน้ำ ใบหน้าแดง เมื่อยล้า ใจสั่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาการที่อาจเกิดขึ้นได้น้อย ได้แก่ ตะคริว หายใจลำบาก การรับประทานยาเกินขนาดอาจก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำเนื่องจากหลอดเลือดเกิดการขยายตัวมากเกินไป และอาจเกิดการตอบสนองที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วยิ่งขึ้น (reflex tachycardia)

ข้อมูลการใช้ยาในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาหยอดตา ยาฉีด และยารับประทานจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษา

ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส เก็บให้พ้นจากแสงแดด


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
drugs.com, Aliskiren / Amlodipine Dosage (https://www.drugs.com/dosage/aliskiren-amlodipine.html)
ncbi.nlm.nih.gov, Aliskiren, amlodipine and hydrochlorothiazide triple combination for hypertension (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3754847/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)