กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

ใจสั่น ใจหวิว เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่?

ระวังให้ดีเพราะอาการใจสั่นที่เกิดขึ้น บางครั้งอาจเป็นสัญญาณเตือนสุขภาพได้ เช็คก่อนสาย
เผยแพร่ครั้งแรก 14 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 30 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ใจสั่น ใจหวิว เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการใจสั่นคือ อาการที่ทำให้รู้สึกว่า หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือไม่เป็นปกติ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ หรือเต้นเร็วและแรงจนผิดสังเกต อาการนี้เกิดขึ้นไม่นาน หัวใจก็สามารถกลับมาเต้นเป็นปกติได้
  • สาเหตุภายในที่ทำให้ใจสั่น เช่น ความเครียด ความตื่นเต้น ตกใจ ความวิตกกังวล ความกลัว การพักผ่อนไม่เพียงพอ 
  • สาเหตุภายนอกที่ทำให้ใจสั่น เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป ระดับออร์โมนในร่างกายแปรปรวน ขาดออกซิเจน ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด
  • การรักษาอาการใจสั่นอาจเริ่มต้นด้วยการแก้ปัญหาที่สาเหตุนั้นๆ ก่อน หากไม่ได้ผลแพทย์อาจพิจารณาให้ใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ หรือหากมีอาการมาก อาจมีการตรวจหัวใจและร่างกายอย่างละเอียด
  • อาการใจสั่นโดยทั่วไปอาจไม่อันตราย แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้งนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของบางโรคได้ หากไม่แน่ใจการไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจก็เป็นทางเลือกที่ดี (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจได้ที่นี่)

หลายคนคงเคยรู้สึก ใจสั่น ใจหวิว หรือมีความรู้สึกแปลกๆ ในช่องอก โดยเฉพาะเวลาตื่นเต้น กังวล หรือเหนื่อยมากๆ แต่บางครั้งอาการใจสั่นก็บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้เหมือนกัน 

อาการใจสั่น

อาการใจสั่น (Heart Palpitations) คือ อาการที่ทำให้รู้สึกว่า หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือไม่เป็นปกติ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ หรือเต้นเร็วและแรงจนผิดสังเกต อาการนี้จะเกิดขึ้นไม่นาน หัวใจก็สามารถกลับมาเต้นเป็นปกติได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการใจสั่นเกิดจากอะไรได้บ้าง?

อาการใจสั่นเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัยและมาจากสาเหตุที่หลากหลาย ทั้งที่รุนแรงและไม่รุนแรง ตัวอย่างเช่น

  • รู้สึกตื่นเต้น ยินดี 
  • รู้สึกกลัว ตื่นตระหนก
  • มีความเครียด วิตกกังวล หรือกดดัน
  • ออกกำลังกาย หรือออกแรงมาก ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดมากกว่าปกติ
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ขาดออกซิเจน
  • เสียเลือด
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากๆ หรือสูบบุหรี่
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ มากเกินไป
  • การดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง 
  • ระดับฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน เช่น อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ หรือมีรอบเดือน
  • เป็นผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยา Hydralazine สำหรับรักษาโรคความดันโลหิตสูง ยาพ่น Salbutamol รักษาหอบหืด และยาสมุนไพรบางชนิด
  • แพ้ยาบางชนิด
  • มีความผิดปกติของหัวใจ เช่น เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiomyopathy) มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) ลิ้นหัวใจยาว (Mitral Valve Prolapse) หัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) หรือโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease)
  • มีความผิดปกติอื่นๆ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะร่างกายขาดน้ำ มีระดับเกลือแร่ในเลือดสูง หรือต่ำ มีน้ำตาลในเลือดต่ำ และโลหิตจาง 

ภาวะแทรกซ้อนของอาการใจสั่น

อาการใจสั่นที่มาพร้อมกับอาการเวียนศีรษะ หอบเหนื่อย หายใจลำบาก หายใจตื้น เจ็บแน่นหน้าอก และหน้ามืด อาจเป็นสัญญาณอันตรายได้เช่นกัน หากพบอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน 

นอกจากนี้อาการใจสั่นที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายตามมาได้ เช่น เป็นลม หมดสติ เกิดเส้นเลือดในสมองอุดตัน หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน และหัวใจวาย เนื่องจากหัวใจเต้นผิดจังหวะจนไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ตามปกติ

การรักษาอาการใจสั่น

การรักษาอาการใจสั่นจะเน้นรักษาที่ต้นเหตุของอาการ ยกตัวอย่างเช่น

  • หลีกเลี่ยงปัจจัย หรือพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอาการ เช่น งดดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน 
  • ทำกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียดและความวิตกกังวล เช่น ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ
  • หยุดรับประทานยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียง เช่น ยาแก้แพ้ และยาสมุนไพร แต่หากเป็นยาที่เกี่ยวข้องกับโรคประจำตัวให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
  • หากอาการใจสั่นเกิดจากภาวะร่างกายขาดน้ำ หรือมีแร่ธาตุในเลือดต่ำ ก็จะให้สารน้ำและแร่ธาตุทดแทนทางหลอดเลือด
  • หากยังเกิดอาการใจสั่นอย่างต่อเนื่อง แพทย์อาจให้ยา Beta Blocker และ Calcium Channel Blockers เพื่อลดอาการ
  • หากอาการเกิดจากความผิดปกติของหัวใจ เช่น มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจต้องรักษาโดยการใช้สายสวนผ่านหลอดเลือดไปยังหัวใจ เพื่อใช้ความร้อน หรือความเย็นรักษาเนื้อเยื่อหัวใจส่วนที่เต้นผิดจังหวะ

การป้องกันอาการใจสั่น

อาการใจสั่นที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด หรือโรคประจำตัว สามารถป้องกันได้ ดังนี้

  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงภาวะเครียดและวิตกกังวล โดยการทำจิตใจให้ผ่อนคลาย และหากิจกรรมต่างๆ ทำเพื่อให้จิตใจสงบ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้หัวใจและปอดทำงานได้ดี
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ถูกหลักโภชนาการ 
  • ควบคุมน้ำหนัก ระดับน้ำตาล และระดับไขมันในเลือดให้เป็นปกติ เพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงและความผิดปกติของหัวใจที่อาจเกิดขึ้นตามมา
  • หากจำเป็นต้องใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง

อาการใจสั่นแม้โดยทั่วไปอาจไม่อันตราย แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้งก็ควรสังเกตตนเองเพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของบางโรคได้ หากไม่แน่ใจการไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยก็เป็นทางเลือกที่ดี

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Webmd.com, Heart Palpitations (https://www.webmd.com/heart-disease/guide/what-causes-heart-palpitations#1), 25 March 2020.
NHS.UK., Heart palpitations and ectopic beats (https://www.nhs.uk/conditions/heart-palpitations/), 25 March 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)