กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Agoraphobia (โรคกลัวชุมชน)

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคกลัวชุมชน (Agoraphobia) เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยจะรู้สึกช่วยเหลือตัวเองไม่ได้หากเกิดสถานการณ์ลำบากขึ้น ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวลอย่างรุนแรง
  • สาเหตุของโรคนี้ยังคงไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด แต่มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ เช่น พันธุกรรม การทำงานของสมอง หรือมีประวัติการถูกกระทำทางกายหรือทางเพศในวัยเด็ก
  • แต่ละคนอาจมีอาการแตกต่างกัน เช่น คลื่นไส้ ใจเต้นเร็ว เวียนหัว หายใจเร็ว แน่นหน้าอก และหน้าซีด 
  • การรักษาทำได้โดยการบริหารจัดการความเครียด ฝึกเผชิญหน้ากับความกลัวและทำความเข้าใจว่ามันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด อาจปรึกษาจิตแพทย์เพื่อใช้ยารักษาร่วมด้วย
  • ดูแพ็กเกจปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตได้ที่นี่

โรคกลัวชุมชนคืออะไร

โรคกลัวชุมชน (Agoraphobia) เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเด่นคือ ผู้ป่วยจะมีความกลัวขั้นรุนแรงในสถานที่และสถานการณ์ที่หาทางหลีกหนีได้ลำบาก หรือยากต่อการได้รับความช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหา 

นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคกลัวชุมชนยังมักจะรู้สึกไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หากเกิดสถานการณ์ลำบากขึ้น ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวลและตื่นกลัวอย่างรุนแรง หรือรู้สึกอับอาย รวมถึงรู้สึกไม่สบายใจหรือไม่ปลอดภัยเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ โดยเฉพาะในที่ที่เต็มไปด้วยผู้คน และส่งผลให้ผู้ป่วยไม่กล้าออกไปข้างนอกตามลำพัง และไม่สามารถดำเนินชีวิตตามปกติได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สำหรับคำว่า "อะโกรโฟเบีย" (Agoraphobia) นั้นมีที่มาจากภาษากรีกโบราณ โดยคำว่า “อะโกรา" (Agora) แปลว่า ตลาด จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกอาการกลัวเวลาอยู่ในที่สาธารณะเปิดโล่ง

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกลัวชุมชน

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกลัวชุมชนนั้นยังคงมีความคลุมเครืออยู่ แต่ก็มีปัจจัยบางอย่างที่อาจทำให้หลายคนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว ได้แก่

  • พันธุกรรม
  • ความแตกต่างของพื้นที่สมองในการควบคุมความกลัวและความวิตกกังวล
  • มีประวัติการถูกกระทำทางกายหรือทางเพศในวัยเด็ก

นอกจากนี้ ยังพบว่าโรคกลัวชุมชนยังมีความเกี่ยวข้องกับโรคตื่นตระหนก (Panic disorder) ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับความกลัวที่จะเกิดขึ้นแบบฉับพลันและรุนแรงทั้งๆ ที่ในขณะนั้นอาจไม่มีสถานการณ์หรือปัญหาใดๆ เกิดขึ้น 

โรคกลัวชุมชนจะเกิดขึ้นในระยะที่ผู้ป่วยโรคตื่นตระหนกเริ่มตื่นกลัวและอยากหลีกเลี่ยงสถานการณ์ หรือสถานที่ที่อาจทำให้เกิดอาการตื่นตระหนกได้ และการหลีกเลี่ยงนี้เองก็สามารถนำไปสู่ความกลัวที่จะเผชิญกับสถานการณ์บางอย่าง เช่น กลัวการขับรถ ไม่กล้าอยู่ในลิฟต์ 

อาการของโรคกลัวชุมชน

  • ไม่ชอบการอยู่ตามลำพังในสถานที่ที่หาทางออกได้ลำบาก หรือกลัวที่จะควบคุมตัวเองไม่ได้ในที่สาธารณะโดยไม่มีเหตุผล

  • ชอบอยู่ตามลำพังและปลีกตัวจากสังคม รวมถึงไม่ชอบอยู่ท่ามกลางผู้คนเยอะๆ

  • กลัวการเดินทางโดยการขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟ รถเมล์ 

  • ช่วยเหลือตนเองไม่ได้

  • อยู่นิ่งกับที่ ไม่ทำกิจกรรมใดๆ ในชีวิตประจำวัน

เพราะไม่สามารถเข้าสังคมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติ ทำให้ผู้ป่วยโรคกลัวชุมชนจำเป็นต้องพึ่งพาคนรอบตัวมากเป็นพิเศษ เช่น การบริหารจัดการทรัพย์สิน ต้องมีคนอยู่เป็นเพื่อนทุกครั้งที่ออกไปข้างนอก 

มีการจำกัดพื้นที่การทำงานที่อาจสร้างความอึดอัดและต้องให้ผู้อื่นเข้าหาก่อน หรือมักให้ผู้ที่มีธุระต้องพูดคุยปรึกษากันมาหาที่บ้านมากกว่าออกไปเจอกันข้างนอก นอกจากนี้ ยังมีอาการที่แสดงออกทางร่างกายอื่นๆ ตามมาอีก เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • คลื่นไส้ หรือปัญหาอื่นๆ เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • รู้สึกไม่สบาย หรือปวดบริเวณหน้าอก
  • มึนงง หรือวิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม
  • หายใจเร็ว
  • มีเหงื่อออก และหนาวสั่น
  • หน้าแดง หรือหน้าซีด
  • รู้สึกคล้ายสำลัก
  • รู้สึกชา หรือเจ็บแปลบ ๆ

การวินิจฉัยโรคกลัวชุมชน

แพทย์จะเริ่มวินิจฉัยจากการสอบถามอาการและตรวจร่างกายก่อน รวมถึงอาจมีการตรวจเลือดเพื่อแยกสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการเดียวกันได้ออกไป จากนั้นแพทย์จะสอบถามอาการที่เกิดขึ้น ว่าผู้ป่วยมีอาการตื่นกลัว หวาดระแวง วิตกกังวล และหลีกเลี่ยงที่จะอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าวนี้บ่อยหรือไม่

  • ขณะใช้บริการขนส่งสาธารณะแม้ในระยะทางสั้นๆ ก็ตาม
  • ขณะอยู่ในที่โล่ง เช่น ที่จอดรถ สะพาน และห้างสรรพสินค้า
  • ขณะอยู่ในโรงละคร หรือสถานที่ปิดอื่นๆ
  • ขณะเข้าแถว หรืออยู่ท่ามกลางผู้คน
  • ขณะออกมานอกบ้านโดยลำพัง

การรักษาโรคกลัวชุมชน

โดยทั่วไป โรคกลัวชุมชนและโรควิตกกังวลอื่นๆ มักรักษาด้วยการบำบัดทางจิต (Psychotherapy) โดยจิตแพทย์ เช่น ความคิดและพฤติกรรมบำบัด ซึ่งการบำบัดนี้อาจประกอบไปด้วยการพัฒนาด้านต่างๆ ดังนี้

  • เรียนรู้เทคนิคจัดการกับความเครียด
  • ทำความเข้าใจ และรู้จักควบคุมความรู้สึกตนเองในสถานกาณ์ตึงเครียด
  • ทำความเข้าใจว่าสิ่งที่คุณกลัวเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นจริง
  • ลดการตอบสนองต่อสถานที่ หรือสถานการณ์ที่ที่กระตุ้นให้คุณเกิดความวิตกกังวล
  • ให้ผู้ป่วยได้เผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัวจนสามารถรับมือกับความกลัวนั้นได้ และหายกลัวไปในที่สุด

นอกจากนี้ แพทย์อาจสั่งยาเพื่อบรรเทาอาการตื่นตระหนก โดยเฉพาะกลุ่มยารักษาโรคซึมเศร้า และยาคลายกังวล ได้แก่

โรคกลัวสังคมอาจเป็นโรคทางจิตเวชที่พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก และอาจสร้างความรำคาญให้บุคคลรอบตัวผู้ป่วยได้ ดังนั้น ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดหรือต้องทำงานร่วมกับผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องเข้าใจภาวะความผิดปกติดังกล่าว และคิดหาวิธีรับมือเพื่อที่จะอยู่ร่วมกับผู้ป่วยโรคนี้ได้โดยไม่เกิดปัญหา

ดูแพ็กเกจปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Agoraphobia: Symptoms, causes, diagnosis, and outlook. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/162169)
Agoraphobia: Types, Causes, and Symptoms. Healthline. (https://www.healthline.com/health/agoraphobia)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ใจสั่นผิดปกติค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เวลานอนหลับตอนกลางคืน รู้สึกเหมือนสมองทำงานตลอดเวลาไม่ได้หลับ ตื่นมาปวดหัว เหนื่อย เพลีย อยากนอนต่อ เป็นเพราะอะไรและมีผลอะไรไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีอาการมือสั่นปากสั่นเวลาเครียดหรือวิตกกังวล อาการเหล่านี้มีผลรุงแรงต่อสมองมั้ยค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ช่วงนี้มีอาการนอนไม่ค่อยหลับและชอบตื่นกลางดึง พอตื่นขึ้นก็จะนอนไม่หลับเลย ทั้งที่ก็รู้สึกว่าตัวเองทำงานเหนื่อยมาทั้งวัน
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การที่เราเป็นอะไรซ้ำๆหลายๆครั้ง...ควรทำอย่างไรดี...มันทรมานมาก..
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อยากให้ลูกออกมาเลี้ยงง่ายๆ ไม่ร้องไห้เวลากลางคืนต้องทำอย่างไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)