สาเหตุของการเป็นลม

ทำไมถึงมีอาการหมดสติล้มพับ
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
สาเหตุของการเป็นลม

การเป็นลม (Fainting or Syncope) เป็นภาวะไม่รู้สึกตัว เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง คนที่เป็นลมมักรู้สึกตัวเร็วหลังอาการหมดสติล้มพับ (Pass Out) การจัดการกับภาวะเช่นนี้ค่อนข้างง่าย คือ ปล่อยให้ผู้ป่วยนอนหงาย (supine) การรักษาผู้ป่วยทันทีเป็นสิ่งสำคัญ โดยดูจากอาการป่วยเรื้อรังหรือกิจกรรมที่พึ่งทำผ่านไป

อาการเป็นลมเกิดจากเส้นประสาท vagus nerve ซึ่งเชื่อมต่อสมองและระบบทางเดินอาหาร หน้าที่ของเส้นประสาท vagus nerve คือ สั่งให้เลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหารและลำไส้ เมื่อมีอาหารเคลื่อนผ่าน โดยจะดึงเลือดจากส่วนต่างๆ ของร่างกายรวมถึงสมอง ในบางจังหวะเส้นประสาท vagus nerve อาจถูกกระตุ้นมากไปจึงทำหน้าที่ดึงเลือดมาจากสมองมาก เช่น การก้มหน้า การเคลื่อนไหวช่องท้องมากไป (เช่น ขณะอาเจียน ซึ่งมีผลทำให้ความดันลดลง)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เด็กที่เกิดภาวะนี้จะเริ่มที่อายุประมาณ 13 ปี และมักจะเป็นอาการนี้เรื่อยๆ ตลอดชีวิต มักมีอาการแสดงที่คล้ายกัน โดยเริ่มจากมีอาการหน้าแดง (อาจมีอาการตัวร้อนๆ ร่วมด้วย) ตามด้วยอาการอ่อนเปลี้ย หมดสติ ออกเหงื่อแต่มือเย็น เท้าเย็น คนที่ยืนอยู่ขณะมีอาการเป็นลมมักจะมีอาการหมดสติล้มพับ ในเด็กบางคนที่เส้นประสาท vagus nerve ทำงานมากๆ จะมีอาการหัวใจเต้นช้าลงด้วย แต่เมื่อผู้ป่วยล้มพับลง เส้นประสาท vagus nerve ก็หยุดกระตุ้น หัวใจผู้ป่วยจะบีบตัวเร็วขึ้นเพื่อรักษาภาวะความดันสูง

เป็นลม เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?

การสูญเสียน้ำของร่างกาย (Dehydration)

ปริมาณน้ำในร่างกายที่น้อยเกิน (ลดลงจากปกติประมาณ ¼ แกลลอน)ในกระแสเลือดทำให้ความดันลดลง มีการกระตุ้นเส้นประสาท vagus nerve ให้ทำงานดึงเลือดออกจากสมองทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะและเป็นลม สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะร่างกายสูญเสียน้ำ ได้แก่ อาเจียน ท้องเสีย ร้อน เหนื่อย ตากแดด โดยเฉพาะอาการอาเจียนร่วมกับท้องเสียเหมือนเป็นภาวะเคราะห์ซ้ำสอง (double whammy) ของการสูญเสียน้ำของร่างกาย

ตัวกระตุ้นทางจิตวิทยา (Psychological Triggers)

คุณเคยเป็นลมเมื่อเห็นเลือดไหม? ความกังวล ตื่นเต้น หรือเครียด อาจกระตุ้นให้เส้นประสาท vagus nerve ทำงานและยังก่อให้เกิดภาวะหมดสติได้ด้วย

อาการช็อก (Shock)

อาการช็อก คือ ภาวะที่เกิดจากร่างกายมีความดันโลหิต (ความดันเลือด) ต่ำลงกว่าปกติมาก จนส่งผลให้ร่างกายขาดเลือด (ซึ่งก็คือการขาดออกซิเจน) ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะสำคัญ คือ หัวใจ สมอง ปอด และไต ก่อให้เกิดการล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ เหล่านั้น จึงนำมาซึ่งการหมดสติ โดย "ช็อก" ถือเป็นภาวะวิกฤติของชีวิตและต้องได้รับการดูแลรักษาฉุกเฉิน ซึ่งถ้าดูแลรักษาไม่ทันจะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต (ตาย) ได้สูง

อาการหมดสติไม่ได้มีผลจากเส้นประสาท vagus nerve อย่างเดียว ภาวะความดันต่ำมากๆ ก็ทำให้เกิดอาการหมดสติได้ โดยทั่วไปเราจะระวังเรื่องความดันสูง แต่หากมีภาวะความดันต่ำมากๆ ก็เป็นอันตรายแบบเฉียบพลันได้

อาการช็อกจัดเป็นภาวะคุกคามฉุกเฉิน สามารถเกิดจากภาวะเลือดออกมาก หรืออาจเกิดจากการแพ้รุนแรง (anaphylaxis) หรือมีการติดเขื้อชนิดรุนแรง คนที่มีอาการช็อกมักมีอาการสับสน ตามด้วยอาการหมดสติ ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ว่าอาการเป็นลมอาจไม่ได้เกิดจากการช็อก แต่ผู้ป่วยมักไม่สามารถบอกอาการจนกว่าจะตื่นขึ้นมา แต่การคอยดูผลอย่างเดียวอาจเป็นอันตรายได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาที่ผู้ป่วยกินและแอลกอฮอล์ที่ผู้ป่วยดื่ม

ผู้ป่วยจำนวนมากดื่มแอลกอฮอล์แล้วมีอาการหมดสติจะไม่เรียกลักษณะนี้ว่า อาการเป็นลม (ควรใช้คำว่า ล้มพับหรือหัวทิ่ม) การดื่มแอลกอฮอล์จะเหมือนโดนกล่อมประสาทมากกว่า (sedation effect) แอลกอฮอล์ทำให้มีการขับปัสสาวะมากและขยายหลอดเลือด (ลดความดัน) ผลที่รวมกันทำให้เลือดไหลลงจากสมองและเห็นแสงวูบวาบได้

เหมือนอาการช็อก การหมดสติจากแอลกอฮอล์จะไม่เรียกว่ามีภาวะเป็นลม แต่มีข้อควรระวังเพราะมีการตายจากสุราเป็นพิษ อาการหัวทิ่มถือเป็นอาการแสดงของพิษสุรารุนแรง ยาหรือยาเสพติดที่กินทั้งถูกและผิดกฎหมายสามารถทำให้เกิดการขาดน้ำรุนแรงและความดันเลือดลดลง

  • Nitrates จะทำให้ความดันลดลงยาขับปัสสาวะทำให้เกิดการเสียน้ำ
  • ยากระตุ้น (เช่น ยาม้า) ทำให้เกิดการเสียน้ำและมีอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้น
  • ฝิ่น (opiate) จะลดความดันและทำให้หายใจช้าลง
  • ยาหัวใจโดยมากจะลดความดัน
  • เช่นเดียวกับยาที่ควบคุมความดันมากไปจะทำให้เกิดความดันที่ต่ำเกินได้

หัวใจ

หัวใจเป็นเหมือนเครื่องปั๊มที่ควบคุมให้เลือดผ่านทางหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดง ต้องมีความดันที่เหมาะสมในกระแสเลือดเพื่อที่จะทำให้เลือดไหลไปมา การทำงานของหัวใจที่ถูกต้อง คือ รักษาความดันโลหิตที่เหมาะสม ถ้าหัวใจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไปก็ไม่สามารถรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ต้องการเลือดที่ไหลจากส่วนสมองมากไปทำให้เกิดการเป็นลม

ในภาวะหัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจจะอ่อนแอเกินกว่าที่จะรักษาระดับความดันโลหิตให้ปกติ ในการประเมินว่าภาวะหัวใจวายอาจเป็นสาเหตุของการเป็นลม ควรจับจังหวะชีพจร ถ้าชีพจรเต้นเร็วเกินไป (มากกว่า 150 ครั้งต่อนาที) หรือช้าเกินไป (น้อยกว่า 50 ครั้งต่อนาที) เป็นไปได้ที่ภาวะหัวใจวายอาจเป็นสาเหตุของการเป็นลม ยิ่งถ้ามีอาการเจ็บหน้าอกหรือภาวะหัวใจวายร่วมด้วย ก็สามารถเป็นสิ่งยืนยันได้ในประเด็นนี้

การรักษาภาวะเป็นลม

ภาวะเป็นลมสามารถฟื้นขึ้นด้วยตัวเอง ภาวะเป็นลมไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ต้องระวังรักษาภาวะหัวใจหยุดเต้นโดยเร็ว เมื่อใดก็ตามที่คุณเห็นคนหมดสติล้มลงให้ตรวจเช็คให้แน่ใจว่าผู้ป่วยยังหายใจ หากไม่หายใจ ควรเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินและเริ่มต้นการทำปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary resuscitation หรือ CPR)  ทันที

เมื่อมีคนเป็นลม พยายามให้ผู้ป่วยนอนราบในที่โล่ง ด้วยท่าที่สะดวกสบาย คุณอาจยกขาผู้ป่วยขึ้นเพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนกลับสู่สมองเร็วขึ้น แต่มีการแย้งว่าไม่จำเป็นและไม่แน่ใจในประสิทธิภาพ การรักษาหลังจากนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเป็นลม ถ้าเป็นการเป็นลมครั้งแรกหรือถ้าคุณไม่แน่ใจ ควรเรียกรถพยาบาล เพราะอาจมีเงื่อนไขที่เป็นอันตราย ควรได้รับการประเมินและรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ถ้าผู้ป่วยเคยมีประวัติของการเป็นลม ให้ตรวจดูการหายใจ หากไม่ฟื้นตื่นภายใน 3 นาทีหลังจากล้มลงควรเรียกรถพยาบาลทันที สิ่งที่สำคัญกว่าการรักษาแบบปัจจุบันทันที คือ การรักษาสาเหตุของการเป็นลม แพทย์มักระบุสาเหตุโดยดูปัญหาป่วยเรื้อรังก่อนหน้านั้นและกิจกรรมล่าสุดหรือการเจ็บป่วยล่าสุด

การป้องกันภาวะเป็นลม

หลายคนอาจไม่สามารถทำอะไรได้เพื่อหยุดการเป็นลม แต่ถ้าคุณรู้สึกว่ามีบางอาการแสดงอาจช่วยบ่งบอกได้ เช่น ถ้าคุณรู้สึกว่าจู่ๆ ก็หน้าแดง ร้อน ผะอืดผะอม หรือมีเหงื่อเย็นท่วมตัว ไม่ควรลุกขึ้นยืน ควรนอนลงจนกว่าอาการข้างต้นผ่านไป ถ้าไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 นาทีหรือคุณเริ่มมีอาการเจ็บหน้าอกหรือหายใจถี่ ควรเรียกรถพยาบาลทันที

ความรอบรู้เหมือนชนะศึกมาครึ่งหนึ่ง ผู้ป่วยที่มีอาการเป็นลมจากหลายๆสาเหตุควรไปพบแพทย์และตรวจสอบสาเหตุให้แน่ชัด (ถ้ามี) ผู้ป่วยควรเรียนรู้ถึงสัญญาณเตือนและอาการแสดงนำไปสู่การหลีกเลี่ยงจากภาวะเป็นลมได้


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Fainting: Causes, diagnosis, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/182524)
Fainting: Causes, Types, and Prevention. Healthline. (https://www.healthline.com/health/fainting)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
กะบังลมคืออะไรและมีหน้าที่อย่างไร
กะบังลมคืออะไรและมีหน้าที่อย่างไร

รู้จักส่วนประกอบและหน้าที่ของกะบังลม ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับกะบังลม

อ่านเพิ่ม
อาการโรคมือเท้าชาแบบต่างๆ สัญญาณเตือนภัยของหลายโรค
อาการโรคมือเท้าชาแบบต่างๆ สัญญาณเตือนภัยของหลายโรค

อาการมือเท้าชา บางครั้งไม่ใช่การขาดวิตามินแต่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้าย

อ่านเพิ่ม