กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อาการโรคมือเท้าชาแบบต่างๆ สัญญาณเตือนภัยของหลายโรค

อาการมือเท้าชา บางครั้งไม่ใช่การขาดวิตามินแต่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้าย
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 26 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
อาการโรคมือเท้าชาแบบต่างๆ สัญญาณเตือนภัยของหลายโรค

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • มือเท้าชา เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น นอนทับแขนตัวเอง ขาดวิตามินบี โรคเบาหวาน โรคพิษสุราเรื้อรัง ติดเชื้อ ยาบางชนิด ภาวะเครียด หรือภาวะวิตกกังวล
  • ลักษณะของอาการชาบ่งบอกถึงความผิดปกติได้ เช่น หากชาปลายเท้าปลายมือ อาจเกิดจากปลายประสาทเสื่อม หรือมีอาการอักเสบ หากชาทั้งแถบ อาจเกิดจากกระดูกต้นคอทับเส้นประสาท
  • อาการชาที่ไม่รุนแรงเพียงแค่ปรับเปลี่ยนท่าทาง หรือสะบัดข้อมือก็จะช่วยบรรเทาอาการได้ แต่หากอาการรุนแรงจะต้องไปพบแพทย์ โดยแพทย์จะให้ยาต้านการอักเสบ และรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของอาการชา
  • อาการมื้อเท้าชาสามารถป้องกันได้โดยการรับประทานวิตามินบีให้เพียงพอ ไม่นอนทับแขน หรืออยู่ในท่าเดิมนานๆ ดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคที่เป็นสาเหตุ และไม่เพิกเฉยเมื่อเกิดอาการชา
  • การตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีจะช่วยป้องกันโรค หรือความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

“มือเท้าชา” มักเกิดขึ้นเมื่อร่างกายขาดวิตามินบี เนื่องจากวิตามินบีมีส่วนช่วยบำรุงปลายเส้นประสาทโดยเฉพาะ แต่บางครั้งอาการชาตามปลายมือปลายเท้าอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเบาหวาน หรือภาวะขาดไทรอยด์ได้

เมื่อมีอาการมือเท้าชา จึงไม่ควรนิ่งนอนใจเด็ดขาด เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่างๆ ที่ไม่ใช่การขาดวิตามินบี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

มือเท้าชา

สาเหตุที่ทำให้มือเท้าชา

  • นอนทับแขนตัวเอง หรืออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป ทำให้เกิดการกดทับเส้นเลือด เลือดไหลเวียนไม่สะดวก และเกิดอาการชา
  • ขาดวิตามินบี เพราะวิตามินบีช่วยบำรุง และซ่อมแซมระบบประสาทให้ทำงานได้ปกติ หากได้รับวิตามินบีน้อยเกินไป จะทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบ และมีอาการมือเท้าชาได้ 
  • ป่วยด้วยโรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคพิษสุราเรื้อรัง
  • ได้รับสารเคมี หรือยาบางชนิด เช่น ได้รับยากันชัก พิษจากโลหะหนักบางชนิด
  • อาการการถอนยา เช่น อาการถอนยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine)
  • ภาวะเครียด หรือวิตกกังกวล

มือเท้าชาเกิดจากโรคอะไรได้บ้าง

โรคที่เป็นสาเหตุของอาการมือเท้าชามีหลายโรค ดังนี้

  • โรครูมาตอยด์ และโรคเกาต์ เนื่องจากโรคนี้เกี่ยวข้องกับกรดยูริก และกระดูก จึงอาจทำให้เกิดอาการมือเท้าชาได้
  • โรคเบาหวาน อาการมือเท้าชา เป็นอาการหนึ่งของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เริ่มมีอาการรุนแรง
  • ภาวะขาดไทรอยด์ มีอาการตะคริวบ่อยๆ ปวดกล้ามเนื้อ และเหนื่อยง่าย ร่วมด้วย
  • พิษสุราเรื้อรัง แอลกอฮอล์จะเข้าไปทำลายระบบต่างๆ ของร่างกาย ทำให้ร่างกายขาดวิตามิน และสารอาหาร ส่งผลให้เกิดอาการชา
  • ภาวะติดเชื้อ ทำให้ภูมิคุ้มกันแย่ลง ส่งผลให้ร่างกายสูญเสียวิตามินเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะวิตามินบี ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการชาตามปลายมือปลายเท้า 
  • โรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือด โรคไต โรคอักเสบเรื้อรัง หรือวัยหมดประจำเดือน อาจเป็นสาเหตุของอาการมือเท้าชาได้เหมือนกัน

อย่างที่เห็นว่า นอกจากขาดวิตามินบีแล้ว อาการมือเท้าชาก็สามารถเกิดจากโรคใกล้ตัวได้หลายโรคเช่นกัน ดังนั้นหากเกิดอาการมือเท้าชาขึ้นบ่อยๆ อาจเป็นเพราะมีโรคแอบแฝงอยู่ก็เป็นได้ ควรดูแลสุขภาพด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหาเวลาตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละครั้ง 

อาการมือเท้าชาแบบต่างๆ

อาการมือเท้าชามีหลายรูปแบบ แต่ละแบบมีสาเหตุที่ต่างกัน ดังนี้ 

  • ชาเฉพาะนิ้วโป้ง ชี้ กลาง และนิ้วนางครึ่งซีก เกิดจากเส้นประสาทมือถูกบีบรัด ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก และไม่สามารถนำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้เพียงพอ หรือพังผืดเสื่อมสภาพ และหนาขึ้นจนไปกดทับเส้นประสาทมือ ส่งผลให้มีอาการชา
  • ชานิ้วโป้ง ชี้ กลาง และมีอาการปวดมือ เกิดจากการเกร็งมืออยู่ท่าเดิมนานๆ ทำให้เส้นประสาทกดทับที่ฝ่ามือ
  • ชานิ้วก้อย เกิดจากเส้นประสาทบริเวณรักแร้อักเสบ เนื่องจากงอ และเกร็งข้อศอกเป็นเวลานาน
  • ชาปลายเท้าและปลายมือ เกิดจากปลายประสาทเสื่อม หรืออักเสบจากการขาดวิตามินบี หรือป่วยด้วยโรคบางโรค เช่น โรคมะเร็ง โรคไต หรือการได้รับสารพิษ
  • ชาปลายนิ้วมือเกือบทุกนิ้ว เกิดจากการใช้มือทำงานหนักมากเกินไป ทำให้เอ็นกดทับเส้นประสาทตรงข้อมือ มักมีอาการชาช่วงกลางคืน
  • ชานิ้วก้อย นิ้วนาง และสันมือ เกิดจากเส้นประสาทบริเวณข้อศอกถูกกดทับ ทำให้เลือดไหลเวียนมาเลี้ยงบริเวณแขนท่อนล่างได้ไม่สะดวก 
  • ชาง่ามนิ้วระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณต้นแขน 
  • ชาทั้งแถบ เกิดจากกระดูกต้นคอกดทับเส้นประสาท หรือกระดูกต้นคอเสื่อม เป็นอาการที่อันตรายมาก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาทันที
  • ชาหลังเท้าไปถึงหน้าแข้ง เกิดจากการนั่งไขว่ห้างนานๆ หรือนั่งพับเพียบ ทำให้เส้นประสาทบริเวณใต้เข่าด้านนอกถูกกดทับ ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดติดขัดจนเกิดอาการชา
  • ชาทั้งเท้าไปถึงสะโพก เกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท ควรรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะอาจเป็นอัมพฤกษ์ หรืออัมพาตได้
  • ชาปลายเท้า ฝ่าเท้า ปลายนิ้ว เกิดจากเส้นประสาทถูกทำลายเสียหายหลายเส้น ส่วนมากจะเกิดกับผู้ที่ดื่มแอกอฮอล์เป็นประจำ เพราะฤทธิ์แอลกอฮอล์เข้าไปทำลายเส้นประสาท 

วิธีรักษาอาการมือเท้าชา

วิธีรักษาอาการมือเท้าชาแบ่งออกตามความรุนแรงของอาการ ดังนี้

1. การรักษาเมื่ออาการไม่รุนแรง 

กรณีที่อาการมือเท้าชาไม่รุนแรง เช่น มีอาการชาแปล็บๆ ซ่าๆ เป็นระยะ สามารถรักษาได้ด้วยการเปลี่ยนท่าทาง หรือสะบัดข้อมือสักพัก ก็จะช่วยให้อาการชาทุเลาลง และหายไปในที่สุด

แต่หากมีอาการชาแบบนี้บ่อยๆ อาจรักษาด้วยการรับประทานวิตามินบีเสริม และให้ยาต้านการอักเสบเส้นประสาท และเส้นเอ็น ซึ่งจะช่วยบำรุง และซ่อมแซมเส้นประสาทให้กลับมาทำงานได้ปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. การรักษาเมื่ออาการรุนแรงและต่อเนื่อง 

สำหรับผู้ที่มีอาการมือเท้าชาแบบบรุนแรง และต่อเนื่อง แม้จะสะบัดมือ หรือเปลี่ยนท่าทางแล้ว อาการชาก็ยังไม่ทุเลาลง การรักษาเริ่มแรก แพทย์จะให้ยาต้านการอักเสบเส้นประสาทก่อน และเฝ้าดูผลการรักษา

หากอาการยังไม่ดีขึ้นก็จะรักษาด้วยการผ่าตัด โดยจะผ่าตัดเอ็นที่กดรัดเส้นประสาทนั้นออก

3. การรักษาตามอาการ 

หากอาการมือเท้าชา มีสาเหตุมาจากโรคร้ายบางโรค การรักษาจะต้องรักษาตามอาการที่เป็นอยู่ พร้อมกับรักษาโรคที่เป็นต้นเหตุไปด้วย เพื่อบรรเทาอาการให้ค่อยๆ ทุเลาลง และไม่รุนแรงกว่าเดิม 

นอกจากนี้ แพทย์อาจให้วิตามินเสริม โดยเฉพาะวิตามินบีที่จะช่วยบำรุงระบบประสาท และลดอาการชาตามมือตามเท้าได้ดี

การป้องกันมือเท้าชา

เนื่องจากอาการมือเท้าชาเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ จึงต้องป้องกันจากต้นเหตุเหล่านั้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งมีวิธีการป้องกัน ดังนี้

  • รับประทานวิตามินบีอย่างเพียงพอ เพราะวิตามินบีมีส่วนช่วยในการทำงานของปลายประสาท ป้องกันการเกิดอาการมือเท้าชา
  • อย่านอนทับแขน หรืออยู่ท่าเดิมนานๆ เพราะจะทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกจนก่อให้เกิดอาการชาในที่สุด 
  • รับประทานผักผลไม้ที่มีประโยชน์ เพราะผักผลไม้อุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายเป็นจำนวนมาก นอกจากจะช่วยลดการเกิดอาการมือเท้าชาแล้ว ยังช่วยบำรุงสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอีกด้วย
  • ดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคที่เป็นสาเหตุโดยเฉพาะโรคที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการมือเท้าชา เช่น โรคเบาหวาน โรครูมาตอยด์

อาการมือเท้าชาเกิดได้ทั้งจากสาเหตุที่ไม่เป็นอันตราย และอันตราย จึงไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาจเป็นสัญญาณอันตรายของโรคร้ายบางโรค หรือเป็นสัญญาณของภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท ซึ่งอาจเสี่ยงต่ออาการอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Woolridge E et al., Cannabis use in HIV for pain and other medical symptoms (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15857739), April 2005
National Institute of Neurological Disorders and Stroke, Paresthesia Information Page (https://www.ninds.nih.gov/disorders/all-disorders/paresthesia-information-page), 27 March 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
กะบังลมคืออะไรและมีหน้าที่อย่างไร
กะบังลมคืออะไรและมีหน้าที่อย่างไร

รู้จักส่วนประกอบและหน้าที่ของกะบังลม ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับกะบังลม

อ่านเพิ่ม
ระวังโรคปลายประสาทอักเสบ อาการชา ร้อนวูบวาบ หลังตื่นนอน
ระวังโรคปลายประสาทอักเสบ อาการชา ร้อนวูบวาบ หลังตื่นนอน

รวม 5 สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปลายประสาทอักเสบ และวิธีการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง

อ่านเพิ่ม