กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

การติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) และภาวะความดันโลหิตต่ำจากการติดเชื้อในกระแสเลือด (Septic shock)

การวินิจฉัยและการรักษาการติดเชื้อในกระแสเลือด และภาวะความดันโลหิตต่ำจากการติดเชื้อในกระแสเลือด
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) และภาวะความดันโลหิตต่ำจากการติดเชื้อในกระแสเลือด (Septic shock)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การติดเชื้อในกระแสเลือดทำให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาตอบสนองเป็นอาการอักเสบอย่างรุนแรง เช่น อุณหภูมิไม่สม่ำเสมอ
  • ภาวะความดันโลหิตต่ำเป็นปฏิกิริยาจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีความรุนแรง สามารถทำให้เกิดการล้มเหลวของอวัยวะได้
  • หากมีปัจจัยต่อไปนี้ เช่น การติดเชื้อหลายตำแหน่ง มีปัญหาด้านภูมิคุ้มกัน มีโรคร้ายแรง อาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะความดันโลหิตต่ำจากการติดเชื้อในกระแสเลือดได้
  • อาการที่บ่งชี้ว่า มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในระยะแรกคล้ายกับอาการเจ็บป่วยทั่วไป เช่น ไอ มีเสมหะ อาหารเป็นพิษ แต่หากอาการแย่ลง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ สั่น จะบ่งชี้ได้ชัดเจนขึ้น
  • การติดเชื้อในกระแสเลือดอาจรุนแรงจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ วิธีที่ดีที่สุดคือ การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

การติดเชื้อโดยทั่วไป เช่น การติดเชื้อของแผลผ่าตัด มักจะเกิดขึ้นที่บริเวณนั้นเพียงบริเวณเดียว ต่างจากการติดเชื้อในกระแสเลือดที่เกิดขึ้นเมื่อเชื้อเฉพาะที่เข้าไปในกระแสเลือดและกระจายไปทั่วร่างกาย 

เมื่อเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) จะทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองเป็นอาการอักเสบอย่างรุนแรงของร่างกาย เช่น อุณหภูมิไม่สม่ำเสมอ (สูงไป หรือต่ำไป) รบกวนการหายใจ ร่วมกับปัญหาอื่นๆ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปัญหาหนึ่งจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีความรุนแรงมากก็คือ ภาวะความดันโลหิตต่ำ เพราะทำให้เกิดการล้มเหลวของอวัยวะและระดับความดันโลหิตลดต่ำลง 

ภาวะที่เกิดขึ้นนี้ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการให้สารน้ำและต้องให้ยาเพื่อช่วยเพิ่มระดับความดันโลหิต  

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และภาวะความดันโลหิตต่ำ

แบคทีเรียมักเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือดที่พบได้บ่อย แต่ภาวะนี้ก็สามารถเกิดจากเชื้อราที่เข้าสู่กระแสเลือดได้เช่นกัน 

นอกจากนั้นปัจจัยต่อไปนี้ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และภาวะความดันโลหิตต่ำจากการติดเชื้อในกระแสเลือด (Septic Shock) มากกว่าคนทั่วไปได้

  • การติดเชื้อหลายตำแหน่ง
  • การผ่าตัด
  • การมีปัญหาด้านภูมิคุ้มกัน
  • การติดยาเสพติดที่เสพโดยการฉีด
  • การมีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน
  • การมีโรคร้ายแรงถึงชีวิต
  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อ
  • การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
  • ทารกแรกเกิด หรือผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี
  • การตั้งครรภ์

อย่างไรก็ตาม คนปกติที่มีสุขภาพดีและไม่มีปัจจัยเสี่ยงเลยก็สามารถติดเชื้อในกระแสเลือดได้ โดยที่บางคนอาจไม่รู้ตัวว่า มีการติดเชื้อแล้วด้วยซ้ำ จนกระทั่งเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด และมีอาการรุนแรงมากขึ้น

การวินิจฉัยการติดเชื้อในกระแสเลือด

การวินิจฉัยการติดเชื้อในกระแสเลือดได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำอาจเป็นไปได้ยาก เพราะผู้ป่วยมักมีอาการคล้ายกับการเจ็บป่วยทั่วไป เช่น ไอ มีเสมหะ หรืออาหารเป็นพิษ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ด้วยเหตุนี้แพทย์จึงมักไม่สงสัยว่า ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดจนกว่าอาการจะแย่ลง ได้แก่ อาการสั่น คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้

การติดเชื้อในกระแสเลือดวินิจฉัยได้จากการตรวจเลือด ได้แก่ การส่งตรวจเพาะเชื้อจากเลือด และการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood count: CBC) ซึ่งแพทย์มักให้ตรวจด้วยวิธีนี้เมื่อสงสัยว่า จะมีการติดเชื้อในกระแสเลือด

ขั้นตอนในการตรวจเลือด 

  • แพทย์สั่งเจาะเลือดและส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ใช้เวลารอผลไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยจำนวนของเม็ดเลือดขาวที่เพิ่มมากขึ้นอาจแสดงถึงการติดเชื้อได้ 
  • เพื่อยืนยันการวินิจฉัย เลือดจะถูกนำไปเพาะเชื้อเป็นระยะเวลา 5 วัน เพื่อดูว่า มีแบคทีเรียโตขึ้นหรือไม่ 
  • หากไม่มีการติดเชื้อ จะไม่พบแบคทีเรียในผลเพาะเชื้อจากเลือด 
  • หากพบแบคทีเรียจะมีการตรวจความไว ซึ่งเป็นการตรวจสอบต่อไปว่า เป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรียชนิดใด และควรใช้ยาปฏิชีวนะตัวใดในการรักษา

ภาวะความดันโลหิตต่ำจากการติดเชื้อในกระแสเลือด คืออะไร

การติดเชื้อในกระแสเลือดสามารถทำใหเกิดภาวะที่อันตรายอย่างความดันโลหิตต่ำ และทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ 

อาการของภาวะความดันโลหิตต่ำจากการติดเชื้อในกระแสเลือดสังเกตได้ ดังนี้

  • สับสน
  • ได้รับออกซิเจนไม่พอ (วินิจฉัยได้จากเครื่องมือพิเศษ หรือการส่งตรวจวิเคราะห์ก๊าซในหลอดเลือดแดง: ABG)
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • ชีพจรเต้นเร็ว
  • หายใจเร็ว
  • ปัสสาวะออกน้อย

ภาวะความดันโลหิตต่ำจากการติดเชื้อในกระแสเลือดอาจนำไปสู่ภาวะอวัยวะล้มเหลว และความดันโลหิตต่ำอย่างรุนแรง ซึ่งจำเป็นต้องมีการให้ยาทางเส้นเลือด ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ และยาเพิ่มความดันโลหิต

ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำจากการติดเชื้อในกระแสเลือดมักไม่รู้สึกตัวและจะได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ รวมทั้งใช้เครื่องช่วยหายใจด้วย เนื่องจากภาวะความดันโลหิตต่ำจากการติดเชื้อในกระแสเลือดนั้นเป็นเรื่องรุนแรงมาก และอาจทำให้เสียชีวิตได้ แม้ว่าจะมีการรักษาอย่างทันท่วงที และเหมาะสมแล้วก็ตาม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

การติดเชื้อในกระแสเลือดมักรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและการตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากผู้ป่วยบางรายที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดอาจมีภาวะความดันโลหิตต่ำตามมาได้ ดังนั้นการเฝ้าระวังอาการที่บ่งบอกว่าไม่มีการตอบสนองต่อการรักษา หรือมีอาการที่แย่ลงจึงเป็นสิ่งสำคัญ

การป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือด

วิธีการป้องกันการติดเชื้อตามมาตรฐาน ได้แก่

  • การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการควรปรึกษาแพทย์
  • การดูแลทำความสะอาดแผลอย่างถูกวิธี
  • การล้างมือบ่อยๆ ทุกครั้งก่อนและหลังทำแผล
  • หากมีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ควรควบคุมโรคให้อยู่ในกณฑ์ปลอดภัย
  • ไม่ใช้สารเสพติด

การติดเชื้อในกระแสเลือดในบางกรณีอาจมีความรุนแรงจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)