C. diff คือเชื้อในกลุ่ม superbug ที่รักษายาก และก่อให้เกิดการอักเสบของลำไส้ใหญ่ ทำให้ท้องเสียตามมา
Clostridium difficile หรือเรียกกันว่า C. diff เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียและลำไส้ใหญ่อักเสบที่ร้ายแรงถึงขั้นชีวิต ด้วยวิธีการปล่อยสารพิษ C. diff มักถูกรวมเข้าไปในกลุ่ม superbug เพราะดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายตัว ทำให้ยากต่อการรักษา ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention) จัดให้ C. diff เป็นเชื้อหนึ่งในเชื้อที่ดื้อยามากที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา จากการศึกษาในวารสาร New England Journal of Medicine (NEJM) ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2015 พบว่ามีการติดเชื้อ C. diff ใหม่เป็นจำนวน 453,000 ราย และเสียชีวิตด้วยเชื้อดังกล่าวอีก 29,000 รายทั่วประเทศ ในปี 2011
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การติดเชื้อ C. Diff
เชื้อ C. Diff จะพบในอุจจาระ และติดต่อได้ง่ายผ่านอาหาร ผิวสัมผัส และสิ่งของที่ปนเปื้อน นอกจากนี้ แบคทีเรียชนิดนี้ยังผลิตสปอร์ที่ทนต่อความร้อนและกรด ทำให้เชื้อสามารถคงอยู่ในสภาพแวดล้อมได้เป็นเวลานาน การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่ปนเปื้อน หรือการนำนิ้วมือที่ไม่ได้ล้างและเอาเข้าปากหลังไปสัมผัสพื้นผิวหรือสิ่งของที่ปนเปื้อน ซึ่งจะทำให้ C. diff ไม่ว่าจะเป็นตัวเชื้อหรือสปอร์เข้าไปในร่างกาย ในบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงนั้น เชื้อ C. diff จะไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ โดยตัวแบคทีเรียจะไปสร้างโคโลนีอยู่ในลำไส้โดยไม่ทำให้เกิดอาการ อย่างไรก็ตาม การใช้ยาปฏิชีวนะในบางกรณี เช่น การรักษาโรคติดเชื้อเป็นเวลานาน จะสามารถทำลายเชื้อในภาวะปกติของลำไส้ ทำให้ C. diff เจริญเติบโตมากเกินไป ก่อให้เกิดการติดเชื้อตามมา
ยาปฏิชีวนะที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดการติดเชื้อ C. diff ได้แก่
- Clindamycin
- Ampicillin
- Amoxicillin
- Cephalosporin
- Fluoroquinolones
ข้อควรระวัง คือ ยาปฏิชีวนะทุกตัวล้วนมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ C.difficile ในผู้สูงอายุ ผู้ที่รับเคมีบำบัด และผู้ที่มีโรคประจำตัวร้ายแรง จะมีความเสี่ยงติดเชื้อ C. diff มากขึ้น จากรีวิวเรื่อง C. diff ฉบับเดือนเมษายน 2015 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร NEJM
อาการแสดงของ C. Diff
การติดเชื้อ C. diff มักจะแสดงอาการ ดังนี้
- ท้องเสียแบบถ่ายเหลว (watery diarrhea)
- ไข้สูงกว่า 100.4 องศาฟาเรนไฮต์ (38 องศาเซลเซียส)
- ไม่อยากอาหาร
- คลื่นไส้
- ปวดท้อง และเป็นตะคิวที่ท้อง
ในกรณีรุนแรงอาจพบ
- ภาวะขาดน้ำ
- ท้องบวม
- ตับวาย
- อุจจาระที่มีเลือดและหนอง
การติดเชื้อนี้อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง ได้แก่ โรคลำไส้โป่งพอง(toxic megacolon ทำให้ลำไส้ใหญ่กว้างขึ้น), โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ และภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสัญญาณของการเกิดการติดเชื้อในภาวะพิษเหตุติดเชื้อขั้นรุนแรง
การรักษาหากติดเชื้อ C. diff
การรักษาโรคติดเชื้อ C. diff จำเป็นต้องเริ่มด้วยการหยุดยาปฏิชีวนะทุกตัวที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ ในกรณีที่พบได้ไม่มากนักสามารถปล่อยให้จุลินทรีย์ในลำไส้รักษาตัวเอง และหยุดภาวะท้องเสียที่ตามมา การรักษาอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะ 1 ใน 3 ตัวที่ยังคงใช้กับแบคทีเรียชนิดนี้ได้ ได้แก่ Metronidazole ที่สามารถใช้รักษาการติดเชื้อ C. diff ระดับต่ำถึงปานกลาง ในขณะที่ vancomycin หรือ fidaxomicin มักใช้ในกรณีที่รุนแรงมากขึ้น การติดเชื้อซ้ำของ C. diff จะเกิดในประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของผู้ที่รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเหล่านี้ การปลูกอุจจาระ จะนำอุจจาระของบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงมาปลูกในลำไส้ใหญ่ของผู้ติดเชื้อ C. diff นับเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากสำหรับผู้ติดเชื้อ C. diff ซ้ำๆ จากรีวิว NEJM ในการศึกษาในเดือนพฤษภาคม 2015 ที่รายงานในวารสาร Journal of the American Medical Association (JAMA) ชี้ว่าการสร้างโคลโลนีของ C. diff สายพันธุ์ที่ไม่สร้างพิษ อาจช่วยป้องกันการเกิดการติดเชื้อซ้ำของเชื้อ C. diff สายพันธ์ที่สร้างพิษ
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ