ภาวะไม่อยากอาหาร มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่าภาวะอะโนเร็กเซีย (Anorexia) มีสาเหตุมากมายที่ทำให้ความอยากอาหารลดลง ตั้งแต่ภาวะทางจิตไปจนถึงภาวะทางการแพทย์ หากพบว่าตนเองมีอาการไม่อยากอาหาร และมีอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น น้ำหนักลดหรือภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที
สาเหตุของภาวะไม่อยากอาหาร
ภาวะไม่อยากอาหาร สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- แบคทีเรียและไวรัส อาการไม่อยากอาหารสามารถเกิดได้จากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ที่ส่วนใดของร่างกายก็ได้ เช่น
- การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน
- โรคปอดบวม (Pneumonia)
- ลำไส้ใหญ่อักเสบ (Colitis)
- การติดเชื้อที่ผิวหนัง
- กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ (Gastroenteritis)
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
- สาเหตุทางจิตวิทยา ความรู้สึกเศร้าและวิตกกังวลสามารถทำให้ความอยากอาหารลดลงได้ เช่นเดียวกับความเบื่อและความเครียด นอกจากนี้ยังมีภาวะการรับประทานอาหารผิดปกติ เช่น โรคอะโนเร็กเซีย (Anorexia Nervosa) โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความต้องการที่จะอดอาหารหรือหาวิธีลดน้ำหนักของตัวเองลงจนทำให้มีน้ำหนักต่ำมาก และกลายเป็นความหวาดกลัวที่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจนทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการในที่สุด
- ภาวะทางการแพทย์ โรคและภาวะดังต่อไปนี้ อาจทำให้เกิดภาวะไม่อยากอาหารได้
- โรคตับเรื้อรัง
- ภาวะไตล้มเหลว
- หัวใจล้มเหลว
- ตับอักเสบ (Hepatitis)
- HIV
- โรคสมองเสื่อม (Dementia)
- ภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยเกิน (Hypothyroidism)
- มะเร็ง (Cancer) โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งรังไข่ และมะเร็งตับอ่อน
- การใช้ยา ยาบางตัวอาจลดความอยากอาหารลง เช่น ยาปฏิชีวนะบางตัว ยาเคมีบำบัด โคเดอีน และมอร์ฟีน รวมทั้งยาผิดกฎหมายต่างๆ เช่น Cocaine Heroin และ Amphetamines
เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์?
ควรไปพบแพทย์ทันทีเมื่อพบว่าน้ำหนักของตนเองลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่มีสาเหตุแน่ชัด หรืออาการไม่อยากอาหารเป็นผลมาจากภาวะซึมเศร้า การบริโภคแอลกอฮอล์ หรือภาวะรับประทานอาหารผิดปกติ เช่น ภาวะอะโนเร็กเซีย หรือภาวะบูลิเมีย (Bulimia)
เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะแสดงให้เห็นถึงภาพรวมและความรุนแรงของอาการ โดยการวัดน้ำหนักและส่วนสูง แล้วนำมาเทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มประชากรเกณฑ์เดียวกัน
จากนั้นแพทย์จะตรวจสอบประวัติทางการแพทย์ ยาที่ใช้ รวมถึงอาหารการกิน และอาจมีการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของภาวะไม่อยากอาหาร เช่น
- การอัลตราซาวด์ช่องท้อง
- การตรวจนับเม็ดเลือดสมบูรณ์ (Complete Blood Count)
- การทดสอบการทำงานตับ ไทรอยด์ และไต (โดยมากมักใช้เพียงตัวอย่างเลือด)
- การถ่ายชุด GI ส่วนบน รวมถึงการเอกซเรย์หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร กับลำไส้เล็ก
- CT สแกนที่ศีรษะ หน้าอก ช่องท้อง หรือเชิงกราน
- การทดสอบการตั้งครรภ์
- การตรวจเชื้อไวรัส HIV
- การตรวจปัสสาวะเพื่อดูว่ามีการใช้ยาเสพติดหรือไม่
การรักษาภาวะไม่อยากอาหาร
การรักษาภาวะไม่อยากอาหารจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ หากเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส แพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะให้ และเมื่อเชื้อต่างๆ ถูกกำจัดหมดแล้ว อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง
แต่หากเป็นผลมาจากภาวะทางการแพทย์อย่างมะเร็งหรือโรคเรื้อรัง การรักษาจะทำได้ยาก แต่ก็มีวิธีที่ช่วยกระตุ้นความอยากอาหารขึ้นด้วยการรับประทานอาหารร่วมกับเพื่อนหรือครอบครัว การรับประทานอาหารจานโปรด เป็นต้น
การออกกำลังกายเบาๆ ก็มีส่วนช่วยเพิ่มความอยากอาหารได้ และเมื่อมีความอยากอาหารก็ควรจะรับประทานสารอาหารที่จำเป็นต่างๆ ให้เพียงพอ แนะนำว่าให้แบ่งการรับประทานอาหารเป็นมื้อย่อยๆ หลายครั้งต่อวันแทนการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ จะช่วยให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น
หากความอยากอาหารที่ลดลงทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ แพทย์อาจรักษาด้วยการฉีดสารอาหารเข้าหลอดเลือด หรือจ่ายยากระตุ้นความอยากอาหารให้ และหากอาการนี้เกิดจากภาวะซึมเศร้า ภาวะรับประทานอาหารผิดปกติ หรือการเสพยา แพทย์จะส่งตัวไปพบผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิตเพื่อทำการรักษาให้ถูกต้องต่อไป
หากอาการไม่อยากอาหารเกิดจากภาวะระยะสั้น ผู้ป่วยจะฟื้นตัวกลับมาเองตามธรรมชาติและไม่ประสบกับปัญหาระยะยาวใดๆ อย่างไรก็ตามหากอาการนี้เกิดจากภาวะทางการแพทย์ ภาวะนี้อาจจะทรุดลงได้หากไม่ได้รับการรักษา ซึ่งอาจจะทำให้มีอาการอื่นๆ ที่ร้ายแรงมากกว่าเดิมได้ เช่น เหนื่อยล้ารุนแรง น้ำหนักลด หัวใจเต้นเร็ว มีไข้ ฉุนเฉียว ไม่สบายเนื้อสบายตัว
อายุ 51 ปี มีอาการชาริมฝีปากล่างบ่อย ๆ อาการคือชายิบ ๆ เจ็บเล็กน้อยค่ะ มีอาการเป็นบางวันค่ะ ไม่มีโรคประจำตัว แต่ค่า LDL สูง 144 ค่ะ ไม่ทราบเกิดจากอะไรคะ ต้องพบแพทย์แผนกไหนคะ