ท้องมาน (Ascites)

เผยแพร่ครั้งแรก 8 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากความเสียหายของตับ

ภาวะท้องมาน เกิดจากการมีของเหลวสะสมอยู่ภายในช่องท้อง ซึ่งมักจะเกิดจากความผิดปกติของตับที่ทำให้ของเหลวไหลเข้าไปในช่องว่างระหว่างเยื่อบุช่องท้องกับอวัยวะภายในต่างๆ สำหรับผู้ที่มีภาวะท้องมานจากตับแข็ง (Cirrhotic Ascites) จะมีอัตรารอดชีวิตภายในสองปีเพียง 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการของภาวะท้องมาน

อาการที่เกิดจากภาวะท้องมาน สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน หรืออาจจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้มีของเหลวสะสมในท้อง โดยอาการท้องมานที่พบบ่อย ได้แก่

  • มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นกะทันหัน
  • ช่องท้องบวมโต
  • หายใจขณะนอนลงลำบาก
  • ความอยากอาหารลดลง
  • ปวดท้อง ท้องอืด
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • แสบร้อนกลางอก

สาเหตุของภาวะท้องมาน

ภาวะท้องมาน มักเกิดจากการบาดเจ็บที่ตับ จนทำให้แรงดันภายในหลอดเลือดของตับเพิ่มขึ้น จึงทำให้ของเหลวไหลเข้าไปยังโพรงช่องท้อง ส่งผลให้เกิดภาวะท้องมานขึ้นมา โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นที่ตับ ได้แก่

  • โรคตับแข็ง (Cirrhosis)
  • โรคตับอักเสบ B หรือ โรคตับอักเสบ C (Hepatitis B หรือ C)
  • การบริโภคแอลกอฮอล์

บางครั้ง อาจพบภาวะท้องมาน เกิดขึ้นจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • มะเร็งรังไข่ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งตับ หรือมะเร็งเยื่อบุมดลูก
  • ภาวะหัวใจหรือตับล้มเหลว
  • ภาวะตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)
  • วัณโรค (Tuberculosis)
  • ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ (Hypothyroidism)

การวินิจฉัยภาวะท้องมาน

การวินิจฉัยภาวะท้องมานมีมีหลายขั้นตอน ในอันดับแรกแพทย์จะตรวจสอบอาการบวมในช่องท้องก่อน จากนั้นอาจมีการทดสอบฉายภาพต่าง ๆ เพื่อตรวจหาของเหลว เช่น การอัลตราซาวด์ การทำ CT สแกน การสแกน MRI การตรวจเลือด เป็นต้น

การรักษาภาวะท้องมาน

การรักษาภาวะท้องมานจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ แต่โดยทั่วไปแล้ว มักใช้วิธีการรักษาดังนี้

  • ยาขับน้ำ (Diuretics) เป็นยาที่นิยมใช้รักษาภาวะท้องมาน โดยยาจะไปเพิ่มปริมาณเกลือและน้ำที่ออกจากร่างกาย เพื่อลดแรงดันภายในหลอดเลือดดำรอบตับลง ซึ่งระหว่างที่ใช้ยานี้ อาจต้องหลีกเลี่ยงการบริโภคเกลือหรือแอลกอฮอล์
  • การเจาะน้ำในท้อง (Paracentesis) กระบวนการนี้จะใช้เข็มยาวแทงเข้าไปดูดน้ำส่วนเกินออก โดยเข็มจะถูกแทงผ่านผิวหนังเข้าไปในโพรงช่องท้อง จึงทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ดังนั้นผู้ป่วยที่เข้ารับการเจาะน้ำในท้อง จะต้องได้รับยาปฏิชีวนะด้วย การรักษานี้นิยมใช้กันมากในภาวะท้องมานรุนแรงหรือกรณีที่การใช้ยาขับน้ำไม่ได้ผล
  • การผ่าตัดรักษาภาวะท้องมาน ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะท้องมานรุนแรง จะต้องมีการปลูกถ่ายท่อชนิดถาวร (Shunt) เข้ากับร่างกายเพื่อเปลี่ยนเส้นทางไหลเวียนของเลือดรอบตับ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการปลูกถ่ายตับหากภาวะท้องมานไม่ตอบสนองต่อการรักษา และมักจะเป็นการรักษาให้กับผู้ป่วยโรคตับระยะสุดท้าย

การป้องกันภาวะท้องมาน

ภาวะท้องมานไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับตับได้ ด้วยวิธีดังนี้

  • ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อป้องกันโรคตับแข็ง
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ B
  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากโรคตับอักเสบสามารถแพร่เชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาผ่านเส้นเลือด และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • อ่านฉลากก่อนใช้ยาทุกครั้ง เนื่องจากยาบางชนิดอาจมีผลต่อตับ

ที่มาของข้อมูล

Carmella Wint กับ Elizabeth Boskey, fluid in peritoneal cavity(https://www.healthline.com/symptom/ascites), 23 กันยายน 2015


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ช่วงนี้ปวดท้องบ่อย
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มะเร็งเยื่อบุช่องท้อง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีอาการปวดท้องบ่อยๆ มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งลำใส้หรือช่องท้องหรือไม่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
คุณแม่อายุ 70 มีก้อนแข้งๆ บริเวณท้อง ใต็ราวนม ไม่ทราบว่า จะเป็นสาเหตุของโรคอะไรได้บ้างครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เจ็บบริเวณแผลผ่าคลอด หลังผ่ามา 6เดือน จะมีอันตรายมั๊ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
หากผ่าคลอดมา10เดือนมีอาการเจ็บท้องน้อยจะมีความผิดปกติอะไรหรือไม่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)