โรคมะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer) เป็นโรคมะเร็งอวัยวะสืบพันธ์ุสตรีที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 รองลงมาจากมะเร็งปากมดลูก และเป็นอันดับ 6 ของมะเร็งทั้งหมดที่พบในหญิงไทย
ปกติแล้วโรคมะเร็งรังไข่มักพบในสตรีวัยหมดประจำเดือน หรือผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี แต่ก็สามารถพบได้ในผู้หญิงทุกวัยเช่นกัน
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
อาการของโรคมะเร็งรังไข่คล้ายกับความผิดปกติทางร่างกายอื่นๆ ทำให้สังเกตได้ยากในระยะแรกๆ อย่างไรก็ตาม หากมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ความเจ็บปวดในบริเวณเชิงกราน หรือท้องส่วนล่าง และอาการเบื่ออาหาร ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งรังไข่
สาเหตุของโรคมะเร็งรังไข่
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งเยื่อบุผิวรังไข่ แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคดังกล่าว ดังนี้
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
- ประวัติครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งรังไข่
- ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ลำไส้ใหญ่ หรือเต้านม
- ผู้ที่ตกไข่ต่อเนื่องทุกเดือน
- ผู้ที่หมดประจำเดือนเมื่ออายุมาก
- ผู้ที่แต่งงานแต่ไม่มีบุตร
- ผู้ที่เคยเข้ารับการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน (HRT) มีความเสี่ยงเล็กน้อยในการเป็นโรคมะเร็งรังไข่
- ผู้ที่เป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การใช้แป้งทาบริเวณอวัยวะเพศบ่อยๆ
อาการของโรคมะเร็งรังไข่
อาการของโรคมะเร็งรังไข่คล้ายกับภาวะอื่นๆ ที่ไม่ร้ายแรง เช่น โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS) หรืออาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) แต่มีอาการที่สังเกตได้ชัดที่สุด ได้แก่
- ท้องบวม หรือท้องโตอืดขึ้น เนื่องจากในท้องมีน้ำ หรือมีก้อนเนื้องอกใหญ่
- ปวดท้อง แน่นอึดอัดในท้อง หรือปวดบริเวณกระดูกเชิงกรานอย่างต่อเนื่อง
ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการของระบบทางเดินอาหาร เช่น เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย ท้องผูกแน่นเฟ้อ หรือคลื่นไส้อาเจียน
นอกจากนี้อาจพบอาการอื่นๆ เช่น ปวดหลัง ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ท้องผูก รู้สึกเจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเลือดออกจากช่องคลอด ซึ่งอาจเป็นผลจากความผิดปกติอื่นๆ ในบริเวณอุ้งเชิงกราน
หากมีอาการเหล่านี้ติดต่อกันเกิด 2 สัปดาห์ ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งรังไข่ หรือตรวจภายในทันที
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ระยะของโรคมะเร็งรังไข่
โรคมะเร็งรังไข่แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 1 เชื้อมะเร็งเกิดขึ้นในรังไข่ และยังไม่กระจายออกไปที่ช่องท้องน้อย หรืออวัยวะอื่นๆ
- ระยะที่ 2 เชื้อมะเร็งเริ่มกระจายไปที่ปีกมดลูก และอุ้งเชิงกราน
- ระยะที่ 3 เชื้อมะเร็งเริ่มลุกลามไปที่ช่องท้องน้อย ผิวลำไส้เล็ก ต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน
- ระยะที่ 4 เชื้อมะเร็งเริ่มกระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ เช่น ตับ ต่อมน้ำเหลืองส่วนอื่นๆ หัวใจ หรือปอด
การวินิจฉัยโรคมะเร็งรังไข่
โดยทั่วไป แพทย์จะตรวจหามะเร็งรังไข่ด้วยวิธีการตรวจภายใน หากสงสัยว่า เป็นโรคมะเร็งรังไข่ แพทย์อาจให้ตรวจหาความผิดปกติเพิ่มเติมต่อไป ดังนี้
- ตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ CA125 เป็นโปรตีนที่ผลิตโดยเซลล์มะเร็งรังไข่บางชนิด แต่ไม่ได้หมายความว่า ต้องเป็นโรคมะเร็งรังไข่เสมอไป เนื่องจากสารชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในสภาวะความผิดปกติอื่นๆ เช่น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคเชิงกรานอักเสบ หรือการตั้งครรภ์
- ตรวจอัลตราซาวด์มดลูกและรังไข่ เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงถ่ายภาพภายในรังไข่ เพื่อดูขนาดก้อน ผิวสัมผัสของรังไข่ ถุงน้ำ หรือการบวมที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน
หากได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคมะเร็งรังไข่ แพทย์อาจทดสอบเพิ่มเติมเพื่อตรวจว่า โรคมะเร็งดังกล่าวมีขนาดใด และอยู่ในระยะใด ด้วยวิธีการต่อไปนี้
- การถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์หน้าอก (Chest X-ray)
- การสแกนเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการสแกนเอ็มอาร์ไอ (Magnetic Resonance Imaging: MRI Scan)
- การเจาะตรวจน้ำในช่องท้อง (Abdominal fluid aspiration)
- การส่องกล้องตรวจ (Laparoscopy)
การรักษาโรคมะเร็งรังไข่
การรักษาโรคมะเร็งรังไข่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ระยะของโรคมะเร็ง หรือสุขภาพของผู้ป่วย โดยทั่วไปมักรักษาด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
- การผ่าตัด ประกอบด้วย
- การผ่าตัดตัดรังไข่และท่อนำไข่ออกสองข้าง (Bilateral salpingo-oophorectomy)
- การผ่าตัดมดลูกออก (Total abdominal hysterectomy)
- การผ่าตัดกำจัดชั้นเนื้อเยื่อไขมันช่องท้อง (Omentectomy)
- เคมีบำบัด คือกระบวนการใช้ยาต้านมะเร็ง (Cytotoxic drugs) เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยผู้ป่วยมักได้รับเคมีบำบัดหลังการผ่าตัดมะเร็งรังไข่ แต่ในบางกรณี ผู้ป่วยอาจเข้ารับเคมีบำบัดก่อนการผ่าตัดเพื่อลดขนาดของก้อนเนื้องอก ทำให้ผ่าตัดได้ง่ายขึ้น
- รังสีรักษา เป็นการใช้รังสีเอกซ์ที่มีพลังงานสูงกำจัด และทำลายเซลล์มะเร็งที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
วิธีป้องกันโรคมะเร็งรังไข่
การไปตรวจสุขภาพและตรวจภายในเป็นประจำ และเข้ารับบริการตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งรังไข่ได้ โดยเฉพาะในผู้หญิงช่วงวัย 30-35 ปี ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง ไม่เคยมีบุตร หรือมีปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งรังไข่อื่นๆ
หลายคนอาจคิดว่า การตรวจภายในเป็นเรื่องน่ากลัว และมักจะหลีกเลี่ยงการตรวจภายในจนกว่าจะเกิดความผิดปกติของร่างกาย แต่ความจริงแล้ว การตรวจภายในเป็นการตรวจเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงได้ดี และไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
ผู้หญิงทุกคนควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพราะโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์เพศหญิงมักเรื้อรัง ลุกลามได้หากไม่ควบคุมโรค และเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงอื่นๆ ตามมาได้
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคมะเร็งสำหรับผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
มะเร็งรังไข่ ใช้เวลาในการรักษาและจัดการกับโรคนี้ยังไงค่ะ และมีสิทธิจะหายขาดจากโรคนี้ไหมค่ะ