มีภาวะมากมายที่ทำให้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีเขียวหรือสีน้ำเงิน เช่น รอยฟกช้ำหรือภาวะเส้นเลือดขอด รวมถึงการไหลเวียนโลหิตที่มีออกซิเจนไม่เพียงพอก็ทำให้ผิวหนังของมนุษย์เปลี่ยนเป็นสีเขียวได้เช่นกัน ในทางการแพทย์จะเรียกภาวะผิวเปลี่ยนสีนี้ว่าอาการตัวเขียว (Cyanosis)
ภาวะผิวเปลี่ยนสีมักพบได้บ่อยในทารกแรกเกิด เนื่องจากผิวหนังของเด็กยังอยู่ในช่วงปรับตัวตามสภาพแวดล้อม นอกจากนี้อาการตัวเขียวยังอาจบ่งชี้ได้ถึงความผิดปกติบางอย่างของร่างกาย โดยเฉพาะความผิดปกติที่เกี่ยวกับปอด หัวใจ และระบบการไหลเวียนโลหิต
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการตัวเขียวมีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่
- อาการตัวเขียวบริเวณส่วนปลาย (Peripheral Cyanosis) คือภาวะที่อวัยวะแขนขาขาดแคลนออกซิเจนหรือมีการไหลเวียนโลหิตที่ไม่ดี เนื่องจากการบาดเจ็บหรือมีการไหลเวียนเลือดต่ำ
- อาการตัวเขียวบริเวณส่วนกลาง (Central Cyanosis) เกิดจากร่างกายมีระดับออกซิเจนต่ำ มักเกิดจากภาวะโปรตีนในเลือดผิดปกติหรือมีอยู่ในสภาพที่มีออกซิเจนต่ำ
- อาการตัวเขียวแบบผสม (Mixed Cyanosis) เป็นภาวะผสมกันระหว่างอาการตัวเขียวส่วนปลายกับส่วนกลาง
- อาการเขียวที่มือและเท้า (Acrocyanosis) คือภาวะที่เกิดจากการสัมผัสกับความหนาวเย็น จึงทำให้มือและเท้าเปลี่ยนสี และจะหายไปเองเมื่อร่างกายได้รับความอบอุ่น
สาเหตุของการเกิดอาการตัวเขียว
อาการตัวเขียวจะเกิดขึ้นเมื่อมีออกซิเจนในเลือดต่ำ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลันหรือจากปัจจัยภายนอก โดยภาวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตที่ทำให้เกิดอาการตัวเขียว ได้แก่
- ขาดอากาศหายใจ
- หลอดลมอุดกั้น
- ปัญหาเกี่ยวกับการขยายตัวของปอดหรือการบาดเจ็บที่ผนังช่องอก
- ความผิดปกติของหัวใจตั้งแต่กำเนิด ทำให้เลือดไหลข้ามปอดออกไปจนไม่สามารถเข้าไปเติมออกซิเจนใหม่ได้
- หัวใจวายหรือหัวใจล้มเหลว
- ภาวะความดันหลอดเลือดแดงในปอดสูง (Pulmonary Hypertension)
- ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism)
- ภาวะช็อก (Shock)
- ภาวะ Methemoglobinemia ที่เกิดจากการใช้ยาหรือได้รับสารพิษจนทำให้โปรตีนในเลือดผิดปกติและไม่สามารถอุ้มออกซิเจนได้
อาการตัวเขียวอาจเป็นผลจากการทรุดลงของโรคเรื้อรังได้ด้วย โดยมากจะเป็นภาวะผิดปกติที่เกี่ยวกับหัวใจ ปอด เลือด หรือการไหลเวียนโลหิตเอง เช่น
- โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น หอบหืด (Asthma) หรือภาวะหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
- การติดเชื้อที่หลอดลมอย่างเฉียบพลัน เช่น โรคปอดบวม (Pneumonia)
- โรคโลหิตจางรุนแรง (Anemia) หรือมีจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำ
- การใช้ยาบางประเภทเกินขนาด
- การสัมผัสกับสารพิษบางชนิด เช่น ไซยาไนด์
- กลุ่มอาการเรย์เนาด์ (Raynaud’s Syndrome) ที่ทำให้การไหลเวียนของเลือดไปยังนิ้วมือหรือนิ้วเท้าลง
- ภาวะตัวเย็นเกิน (Hypothermia) หรือการสัมผัสกับอุณหภูมิที่หนาวเย็นสุดขั้วจนทำให้อุณหภูมิในร่างกายตกลง
เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์?
ควรติดต่อขอรับความช่วยเหลือทางการแพทย์ หรือโทรศัพท์สายด่วน 1669 ทันทีหากพบอาการตัวเขียวร่วมกับอาการดังต่อไปนี้
- หายใจลำบาก
- หายใจสั้น
- หายใจเร็ว
- เจ็บหน้าอก
- ไอและมีเสมหะสีคล้ำออกมา
- มีไข้
- สับสน
การวินิจฉัยอาการตัวเขียว
แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการตัวเขียวได้จากการสังเกตผิวหนัง จากนั้นแพทย์จะตรวจร่างกายพร้อมกับสอบถามประวัติสุขภาพ และอาจมีการตรวจเพิ่มเติมดังนี้
- การตรวจเลือดสมบูรณ์ (Complete Blood Count (CBC))
- การวัดออกซิเจนชีพจร (Pulse Oximetry)
- การประเมินกิจกรรมไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram (ECG))
- การทำเอคโคหัวใจ (Echocardiogram) หรืออัลตราซาวด์ (Ultrasound) หัวใจ
- การเอกซเรย์ (X-ray) หรือสแกนคอมพิวเตอร์ (CT Scan) หน้าอก
ในการตรวจเลือดนั้น หากพบว่าฮีโมโกลบินในเลือดมีความเข้มข้นน้อย แพทย์จะสรุปว่าผู้ป่วยมีอาการตัวเขียวส่วนกลาง ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีจำนวนฮีโมโกลบินน้อยกว่า 5 กรัมต่อเดซิเทอร์ (Deciliter) เพราะโดยปกติแล้วฮีโมโกลบินของผู้ใหญ่จะมีจำนวนระหว่าง 12–17 g/dL
การรักษาสาเหตุของอาการตัวเขียว
แผนการรักษาอาการตัวเขียวของแพทย์ จะขึ้นอยู่กับสาเหตุต้นตอของอาการตัวเขียว เช่น การบำบัดชดเชยออกซิเจน หากผู้ป่วยมีภาวะที่ส่งผลต่อการหายใจหรือหลอดลม ซึ่งเป็นการบำบัดด้วยการใช้หน้ากากออกซิเจนหรือสอดท่อเข้าไปในจมูกเพื่อส่งอากาศเข้าไป
สำหรับภาวะที่ส่งผลต่อหัวใจหรือหลอดเลือด แพทย์อาจจัดให้มีการรักษาด้วยยา การผ่าตัด หรือการรักษาอื่นๆ ตามความเหมาะสม
การป้องกันอาการตัวเขียว
อาการตัวเขียวสามารถป้องกันได้ยาก แต่ก็สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะบางอย่างที่เป็นต้นเหตุของอาการตัวเขียวได้ เช่น
- ไม่สูบบุหรี่และไม่สูดดมควันบุหรี่มือสอง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- เข้าพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเป็นประจำหากคุณมีภาวะสุขภาพเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคเรย์เนาด์ โรคหอบหืด หรือภาวะหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง
- สวมเสื้อผ้าให้หนาและอบอุ่นในช่วงฤดูหนาว
- ฉีดวัคซีนป้องกันภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ และโรคร้ายแรงอื่นๆ
ผลตรวจเลือดทั้งพ่อและแม่ เป็นพาหะธานัชซีเมีย EE ทั้งคู่ ลูกในครรภ์ จะเป็นอันตรายมั้ยคะ ตอนนี้กำลังตรวจเลือดเพื่ม เพื่อหาค่า อัลฟ่าA ว่ามีแฝงรึเปล่า เครียดมากๆเลยคะ ตอนนี้ท้อง 3 เดือนแล้ว