เบตา บล็อกเกอร์ (Beta blockers) เป็นกลุ่มยารักษาโรคทางหัวใจและหลอดเลือดที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ยาชนิดนี้จะทำงานโดยยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนกลุ่มอะดรีนาลีน (Adrenaline) หรือ อีพิเนฟริน (Epinephrine) ซึ่งจะทำให้หัวใจเต้นช้าลง จึงส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงด้วย นอกจากนี้ยังช่วยเปิดหลอดเลือด ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ยา Beta blocker สามารถรักษาภาวะใดได้บ้าง?
ยาเบตา บล็อกเกอร์ สามารถใช้ในการรักษาหรือป้องกันภาวะต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ความดันโลหิตสูง (High blood pressure)
- หัวใจเต้นผิดปกติ (Irregular heartbeat)
- เจ็บแน่นหน้าอก (Chest pain)
- หัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure)
- หัวใจวาย (Heart attack)
- ต้อหิน (Glaucoma)
- ไมเกรน (Migraines)
- กลุ่มโรควิตกกังวล (Anxiety disorders)
- อาการสั่น (Tremors)
- ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism)
ยา Beta blockers ชนิดที่แพทย์สั่งจ่ายบ่อย
- Sectral (Acebutolol)
- Tenormin (Atenolol)
- Kerlone (Betaxolol)
- Zebeta และ Ziac (Bisoprolol)
- Coreg (Carvedilol)
- Normodyne และ Trandate (Labetalol)
- Lopressor และ Toprol-XL (Metoprolol)
- Corgard (Nadolol)
- Bystolic (Nebivolol)
- Levatol (Penbutolol)
- Visken (Pindolol)
- Inderal และ Inderal LA (Propranolol)
- Blocadren (Timolol)
ผลข้างเคียงของยา Beta Blockers
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย ได้แก่
- มึนงง
- อ่อนแรง
- อ่อนเพลียเหนื่อยล้า
- มือเท้าเย็น
- ปากแห้ง ผิวแห้ง ตาแห้ง
- ปวดศีรษะ
- ปวดท้อง
- ท้องเสีย
- ท้องผูก
ส่วนผลข้างเคียงที่พบได้น้อย ได้แก่
- ภาวะซึมเศร้า
- หายใจไม่อิ่ม
- หายใจเสียงหวีด หรือหายใจลำบาก
- ความต้องการทางเพศลดลง
- มีปัญหาด้านการนอน
- มือเท้าบวม
- อัตราชีพจรช้า
- ผื่นตามผิวหนัง
- เจ็บคอ
- หลงลืม หรือสับสน
- ปวดหลัง หรือข้อ
ข้อควรระวังในการใช้ยา Beta Blockers
หากเป็นโรคหอบหืด หรือเบาหวาน ให้ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนจะเริ่มใช้ยาเบตา บล็อกเกอร์ เพราะยาอาจทำให้อาการของโรคแย่ลง นอกจากนี้ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบเกี่ยวกับยาที่ใช้เป็นประจำ โดยเฉพาะยาดังต่อไปนี้
- ยาลดความดันตัวอื่นๆ
- ยาต้านซึมเศร้า
- ยารักษาโรคเบาหวาน (รวมถึงอินซูลิน)
- ยารักษาโรคหอบหืด (Asthma) หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) ถุงลมโป่งพอง (Emphysema) หรือ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease (COPD))
- ยารักษาโรคภูมิแพ้
- ยาลดกรดที่มีอะลูมินัมเป็นส่วนผสม
- ยาที่จ่ายตามร้านยาสำหรับอาการไอ หวัด ภูมิแพ้
ควรหลีกเลี่ยงการดื่มผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน เนื่องจากสารเหล่านี้จะส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยาเบตา บล็อกเกอร์ Beta blockers และควรแจ้งแพทย์ให้ทราบหากกำลังตั้งครรภ์ หรือมีแนวโน้มที่กำลังจะตั้งครรภ์ เพราะยาบางตัวสามารถใช้ระหว่างตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย แต่ก็มีบางตัวที่อาจเป็นอันตรายได้