โรคต้อหิน (Glaucoma) เป็นโรคทางตาซึ่งส่งผลให้เส้นประสาทตาถูกทำลายอย่างร้ายแรง โดยสาเหตุมักเกิดจากความดันภายในลูกตาที่สูงมาก และสามารถเป็นได้ที่ดวงตาทั้ง 2 ข้างหรือข้างเดียว ซึ่งเส้นประสาทตาที่ถูกทำลายนั้นจะเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างลูกตากับสมอง เพื่อให้เรามองเห็นภาพต่างๆ ได้ และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคต้อหินก็สามารถทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
ความดันภายในลูกตา สาเหตุหลักของโรคต้อหิน
ในลูกตาของคนเราจะมีของเหลวใสที่เรียกว่า "น้ำหล่อเลี้ยงลูกตา" (Aqueous humor) ซึ่งจะไหลเวียนเพื่อเป็นสารอาหารให้แก่ลูกตาและส่วนประกอบอื่นๆ ของตา โดยปกติแล้วของเหลวนี้จะถูกระบายออกจากตาผ่านท่อระบายน้ำ (trabecular meshwork) ซึ่งอยู่ที่มุมตา แต่เมื่อไรก็ตามที่การระบายของเหลวนี้เกิดช้าลง ความดันภายในลูกตาก็จะสูงขึ้นเนื่องจากความผิดปกติของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา และนำไปสู่การกดทับเส้นประสาทตา
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เส้นประสาทตา (Optic nerve) เป็นอวัยวะที่สำคัญมากสำหรับการมองเห็น เพราะเป็นตัวนำพาสัญญาณจากจอประสาทตา (Retina) ที่อยู่ภายในลูกตาเข้าสู่สมองซีรีบรัม และหากเส้นประสาทตาถูกทำลายจากความดันภายในลูกตาที่สูงผิดปกติ จะทำให้เกิดจุดบอดมากขึ้นในลานสายตา (Visual field) ซึ่งส่งผลต่อการมองเห็นนั่นเอง
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคต้อหิน
ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคต้อหินได้อย่างชัดเจน แต่สาเหตุที่มักจะถูกวินิจฉัยเป็นอย่างแรกคือ มาจากเส้นประสาทตาถูกกดทับจากความดันภายในลูกตาที่สูงขึ้น และอีกสาเหตุคือ การลดลงของเลือดที่ไปเลี้ยงเส้นประสาทตา
นอกจากการมีความดันภายในลูกตาที่สูงขึ้นแล้ว ยังมีปัจจัยสำคัญอื่นๆ ที่มีส่วนทำให้เกิดโรคเกิดต้อหินได้อีก ได้แก่
- อายุมากขึ้น
- กระจกตาบาง (ส่วนด้านหน้าลูกตาที่ใส)
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคต้อหิน
- สายตาสั้น
- เคยได้รับอุบัติเหตุทางตาหรือได้รับความกระทบกระเทือนที่ตามาก่อน
- ใช้สารสเตียรอยด์ (Steroid)
- มีประวัติของภาวะช็อกหรือโลหิตจางมาก่อน
ชนิดและอาการของต้อหิน
โรคต้อหินมีหลายชนิด ได้แก่
- โรคต้อหินชนิดมุมเปิด: เป็นโรคต้อหินที่พบได้มากที่สุด โดยเกิดจากน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไหลผ่านออกทางท่อระบายที่มุมตาได้ช้าเกินไป โดยมุมตาที่ว่านี้คือ บริเวณที่กระจกตาเชื่อมกับม่านตาพอดี อาการแรกของโรคต้อหินชนิดมุมเปิดคือ สูญเสียการมองเห็นภาพด้านข้างไป ซึ่งร่างกายอาจชดเชยการสูญเสียนี้ด้วยการหันศีรษะไปด้านที่ไม่เห็นภาพ เพื่อให้การมองเห็นชัดขึ้นโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว ดังนั้นคุณอาจไม่ตัวรู้เลยว่าคุณกำลังสูญเสียการมองเห็นอยู่จนกระทั่งอาการรุนแรงขึ้นแล้ว
- โรคต้อหินชนิดความดันต่ำหรือปกติ: เส้นประสาทตาของผู้ป่วยที่เป็นโรคต้อหินชนิดนี้จะถูกทำลายแม้ว่าความดันภายในลูกตาจะมีค่าปกติก็ตาม ทำให้แพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าสาเหตุของโรคต้อหินชนิดนี้เกิดจากอะไรกันแน่ แต่การรักษาโรคต้อหินชนิดนี้ยังสามารถทำได้ โดยการใช้ยาเพื่อลดความดันภายในลูกตาลงประมาณ 30% ของความดันตาปกติ แต่ข้อควรระวังของโรคต้อหินชนิดนี้คือ ถึงแม้ผู้ป่วยจะเคยผ่านการรักษามาก่อนแล้ว แต่ก็ยังสามารถมีอาการที่รุนแรงเกิดขึ้นได้อีกครั้ง
- โรคต้อหินชนิดมุมปิด: หรือเรียกอีกชื่อว่า "โรคต้อหินชนิดมุมแคบ" ผู้ป่วยโรคต้อหินชนิดนี้มักจะมีอาการปวดตามาก รวมทั้งคลื่นไส้ อาเจียน มีตาแดงมากขึ้นและมองเห็นภาพมัวลง เมื่อเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน มิฉะนั้นอาจสูญเสียการมองเห็นในดวงตาข้างที่เป็นได้ ซึ่งโดยส่วนมาก การรักษาโรคต้อหินชนิดนี้สามารถทำได้ด้วยการใช้แสงเลเซอร์ และยาลดการอุดตันและลดความดันภายในลูกตา
- โรคต้อหินแต่กำเนิด: มีความเป็นไปได้ที่ทารกแรกเกิดจะเกิดมาพร้อมกับความผิดปกติของมุมในลูกตาด้วย ซึ่งผลกระทบที่ตามมาคือ จะทำให้น้ำหล่อเลี้ยงในลูกตาไม่สามารถไหลเวียนได้อย่างปกติ อาการของโรคต้อหินแต่กำเนิดนี้มักจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน โดยเด็กที่เป็นโรคนี้มักจะมีตาที่ขุ่นมัว สู้แสงไม่ได้ หรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติ กุมารแพทย์มักจะแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกตินี้ ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัยและได้ผลดี นอกจากนี้ หากเด็กได้รับการผ่าตัดตั้งแต่ยังอายุน้อย ก็มีโอกาสที่การมองเห็นจะกลับมาเป็นปกติได้สูงด้วย
สัญญาณของโรคต้อหิน
หากสังเกตว่ามีอาการเตือนของโรคต้อหินดังต่อไปนี้ คุณควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อทำการตรวจตาอย่างละเอียด
- ไม่สามารถปรับสายตาในที่มืดได้
- มีปัญหาในการโฟกัสภาพระยะใกล้หรือไกล
- อ่อนไหวต่อแสงแดดหรือแสงจ้าอย่างที่ไม่เคยเป็น
- ต้องหยีตาหรือกระพริบตาบ่อยเมื่อเจอแสงจ้า หรือมองเห็นแสงเข้าตาผิดปกติ
- สีตาเปลี่ยน
- เปลือกตาบวม แดง
- ปวดในดวงตา หรือปวดรอบๆ ดวงตา
- มองเห็นภาพซ้อน
- มองเห็นจุดดำบริเวณตรงกลางภาพ
- มองเห็นเส้นหรือขอบภาพเป็นคลื่นหรือบิดเบี้ยว
- น้ำตาไหลมากผิดปกติ หรือตาแฉะ
- ตาแห้ง มีอาการคันหรือแสบตา
- มองเห็นจุดหรือเงาในตา
คุณควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วน หากพบอาการเหล่านี้
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- ตาข้างหนึ่งมัวลงทันที
- มองเห็นหมอกขาวหรือตามัวลง
- เห็นแสงไฟแลบหรือจุดดำลอยไปมา
- เห็นแสงเป็นวงกลม หรือเห็นสีรุ้งรอบดวงตา
การวินิจฉัยโรคต้อหิน
การตรวจตาเป็นประจำกับจักษุแพทย์จะช่วยให้ตรวจพบโรคต้อหินได้อย่างทันท่วงที โดยแพทย์จะใช้แบบทดสอบที่หลากหลาย ได้แก่
1. การขยายม่านตา
วิธีตรวจโรคต้อหินโดยการขยายม่านตา (Dilation) จะเริ่มจากแพทย์ใช้ยาหยอดตาที่จะช่วยขยายม่านตา เพื่อให้แสงสามารถส่องผ่านเข้าไปได้ง่าย และแพทย์จะได้มองเห็นด้านหลังของตาได้ ซึ่งนอกจากการตรวจหาโรคต้อหินแล้ว การขยายม่านตายังทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคทางจอประสาทตาอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา โรคจอประสาทตาผิดปกติจากความดันโลหิตสูง โรคจอประสาทตาหลุดลอก หรือโรคจอประสาทตาเสื่อม
บุคคลทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปควรจะตรวจตาด้วยการขยายม่านตาทุกปี แต่ผลกระทบจากการตรวจแบบนี้ อาจทำให้การมองเห็นภาพมัวลงและดวงตาสู้แสงได้น้อยลงด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อการอ่านหนังสือ การขับรถ หรือการทำงานเป็นระยะเวลา 2-3 ชั่วโมงได้ จึงควรมีคนไปเป็นเพื่อนหากต้องตรวจตาด้วยการขยายม่านตา
2. การตรวจความดัน
การตรวจความดัน (Tonometry) เป็นการทดสอบเพื่อวัดค่าความดันภายในลูกตา ซึ่งจะทำให้เกิดอาการไม่สบายตาเล็กน้อย แต่จะไม่รู้สึกเจ็บปวด โดยรูปแบบการทดสอบที่ได้ผลแม่นยำที่สุดคือ การวัดแรงที่ทำให้พื้นที่ของกระจกตาแบนตั้งแต่แรกเริ่ม กระบวนการตรวจจะมีดังต่อไปนี้
- แพทย์จะใช้ยาหยอดตาที่ทำให้เกิดอาการชา จากนั้นจะตามด้วยการป้ายสีส้มที่จะสามารถเคลือบลงบนผิวกระจกตาได้
- แพทย์จะให้คุณวางศีรษะลงบนที่วางบนเครื่อง เพื่อประคองศีรษะไว้ไม่ให้เคลื่อนไหว
- แพทย์จะทำการเลื่อนอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดไปข้างหน้า เพื่อให้ปลายของวัตถุที่ใช้วัดความดันลูกตาแตะที่บริเวณกระจกตาของคุณ แสงสีฟ้าที่ปล่อยออกมาจากเครื่องมือตรวจตาจะทำให้สารสีส้มที่ย้อมกระจกตาเปลี่ยนเป็นสีเขียวสะท้อนแสง
- แพทย์จะมองผ่านกล้องที่เครื่องตรวจตาและปรับค่าที่วัดได้ ทำให้ได้ค่าความดันภายในลูกตาออกมา
นอกจากนี้ แพทย์บางท่านอาจใช้เครื่องมือวัดความดันภายในลูกตาแบบพกพาที่มีลักษณะคล้ายดินสอ ซึ่งเครื่องจะอ่านค่าความดันลูกตาได้ทันที หรืออีกทางเลือกในการวัดความดันภายในลูกตาก็คือการเป่าลมให้กระทบตา โดยให้คุณยืนหน้าเครื่องมือแล้วแพทย์จะส่องไฟไปที่ตา หลังจากนั้นคุณจะรู้สึกถึงแรงลมที่ปะทะที่ลูกตาของคุณ แล้วเครื่องมือก็จะวัดค่าความดันลูกตาออกมา โดยขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของไฟที่สะท้อนเมื่อลมกระทบตา วิธีการนี้จะไม่ทำให้ผู้เข้าตรวจรู้สึกไม่สบายตา เพียงแต่อาจตกใจเมื่อมีลมมาปะทะที่ดวงตาเท่านั้น
3. การทดสอบด้วยวิธีอื่นๆ
การทดสอบอื่นๆ ที่ใช้ในการตรวจจับโรคต้อหินได้เช่นกัน คือ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- การตรวจมุมของกล้ามเนื้อตา (Gonioscopy) : การทดสอบนี้มีจุดประสงค์เพื่อตรวจมุมตาว่าผู้ป่วยเป็นโรคต้อหินชนิดเปิดหรือปิด
- การตรวจประสาทตาและจอรับภาพ (Ophthalmoscopy) : การตรวจตาลักษณะนี้ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นด้านในตา รวมถึงการประเมินเส้นประสาทตาได้
- การตรวจลานสายตา (Perimetry) : เป็นการทดสอบลานสายตาของตาแต่ละข้าง เพื่อประเมินว่าลานตาของผู้ป่วยมีความแคบหรือกว้างเท่าไร
การรักษาโรคต้อหิน
ความเสียหายของประสาทตาที่เกิดจากโรคต้อหินนั้นไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ แต่หากผู้ป่วยตรวจพบโรคตั้งแต่เนิ่นๆ ก็ยังมีวิธีที่สามารถชะลอและป้องกันการเสื่อมของการมองเห็นได้ โดยการรักษาโรคต้อหินนั้น จะมุ่งเน้นไปที่การลดความดันในลูกตา ซึ่งวิธีที่ใช้รักษาจะขึ้นอยู่กับชนิดของโรคต้อหิน และความรุนแรงของอาการเจ็บป่วย เช่น
1. การใช้ยารักษาโรคต้อหิน
ในขั้นต้น แพทย์มักจะแนะนำยารับประทานหรือยาหยอดรักษาโรคต้อหินให้ ผู้ป่วยควรใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้ความดันภายในลูกตาลดลง ทั้งนี้ ยารักษาโรคต้อหินนั้นมีหลายชนิดให้เลือกใช้ และแต่ละชนิดอาจมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ต่อผู้ป่วยแต่ละรายซึ่งต่างกันไป ดังนั้น หากผู้ป่วยเกิดความรู้สึกผิดปกติหรือได้รับผลข้างเคียงจากยาที่แพทย์สั่ง ให้รีบบอกแพทย์เพื่อจะได้เปลี่ยนยาไปใช้ยาชนิดอื่นแทน
2. การรักษาด้วยแสงเลเซอร์
"เลเซอร์ทราเบคคูโลพลาสตี" (Laser Trabeculoplasty) เป็นการผ่าตัดโรคต้อหินเพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา และทำให้ลดความดันภายในลูกตาลงได้ โดยขั้นตอนการรักษาจะมีดังนี้
- ก่อนจะทำการรักษา แพทย์จะหยอดยาชาที่ดวงตาข้างที่จะทำ
- แพทย์ให้ผู้ป่วยนั่งอยู่ด้านหน้าของเครื่องเลเซอร์ ในขณะที่แพทย์จะถือเลนส์ส่องตาไว้เพื่อนำพาลำแสงเลเซอร์ที่มีความเข้มข้นสูงเข้าสู่ดวงตา ซึ่งระหว่างการยิงแสงเลเซอร์นี้ ผู้ป่วยอาจมองเห็นแสงสีเขียวหรือสีแดงได้
วิธีการรักษาแบบนี้ไม่ต่างจากการใช้มีดผ่าตัดรักษา เนื่องจากแสงเลเซอร์ดังกล่าวสามารถตัดรูเล็กๆ เพื่อขยายท่อระบายของเหลวภายในดวงตาได้ง่ายเหมือนกัน แต่การผ่าตัดชนิดนี้มักทำให้เกิดการอักเสบขึ้นได้ ดังนั้น แพทย์จะสั่งยาหยอดตาให้ผู้ป่วยกลับไปหยอดที่บ้านเพื่อลดความเจ็บปวดและอาการตาแดง และหลังจากนั้น ผู้ป่วยจะต้องมาเข้ารับการตรวจติดตามผลอีกหลายครั้ง เพื่อดูแผลและวัดค่าความดันภายในลูกตาว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
3. การรักษาโดยการผ่าตัดแบบปกติ
การรักษาโดยการผ่าตัดแบบปกติสามารถเรียกได้อีกชื่อว่า "ทราเบคคูเลคโทมี" (Trabeculectomy) ซึ่งวิธีการรักษาคือ แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อสร้างช่องทางเดินของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาอันใหม่เพื่อให้การระบายของเหลวออกมาด้านนอกลูกตาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง การผ่าตัดแบบนี้มักจะกระทำหลังจากได้ลองรักษาโดยใช้แสงเลเซอร์มาก่อน หรือรักษาด้วยยามาก่อนแล้วแต่ไม่สามารถชะลอการดำเนินโรคของได้
สำหรับขั้นตอนรักษาจะมีดังต่อไปนี้
- ก่อนจะเริ่มต้นทำการผ่าตัด แพทย์จะให้ยารับประทานเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย และฉีดยาชาเพื่อให้บริเวณตารู้สึกชา
- เมื่อทำการผ่าตัด แพทย์จะสร้างช่องเล็กๆ เพื่อให้ของเหลวภายในตาสามารถระบายออกมาข้างนอกลูกตาได้
- หลังจากการผ่าตัด 2-3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะได้รับยาหยอดตาชนิดพิเศษเพื่อป้องกันการติดเชื้อและป้องกันอาการตาแดง
และเช่นเดียวกับการผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์ หากผู้ป่วยเป็นโรคต้อหินที่ตาทั้ง 2 ข้าง แพทย์จะผ่าตัดดวงตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน แล้วค่อยผ่าตัดดวงตาอีกข้างในอีกประมาณ 4-6 สัปดาห์ต่อมา การรักษาโรคต้อหินโดยการผ่าตัดมีโอกาสประสบผลสำเร็จประมาณ 70-90% และจะช่วยลดความดันภายในลูกตาอย่างน้อยเป็นเวลา 1 ปีหลังจากผ่าตัด แต่หากช่องทางระบายที่สร้างใหม่นั้นถูกปิดลงอีกครั้ง ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดอีกเป็นครั้งที่ 2
คุณแม่ตาเป็นต้อหิน จะปวดตาตลอดเวลา ไม่ทราบว่าต้อหินสามารถลอกตาได้มั้ยค่ะ