กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ดร.นพ.ศักดิ์สิทธิ์ พรรัตนศรีกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ดร.นพ.ศักดิ์สิทธิ์ พรรัตนศรีกุล

ผิวแห้ง สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกันและการดูแลผิวให้คงความชุ่มชื้น

อาการผิวแห้งมีหลายระดับ หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดการอักเสบได้ มาเรียนรู้วิธีดูแลรักษา และป้องกันผิวแห้งกันเถอะ
เผยแพร่ครั้งแรก 8 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 พ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ผิวแห้ง สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกันและการดูแลผิวให้คงความชุ่มชื้น

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ผิวแห้งคือ ภาวะที่ผิวขาดความชุ่มชื้น เนื่องจากสูญเสียน้ำในชั้นผิวจากการระเหยออกมากเกินไปด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น อากาศหนาว หรืออากาศแห้งมาก การอาบน้ำร้อน หรือขัดผิวเป็นประจำ พันธุกรรม และอายุ
  • อาการผิวแห้งแบ่งเป็น 2 กรณีคือ อาการผิวแห้งเล็กน้อย ผิวจะมีลักษณะแห้งกร้าน หยาบกระด้าง ส่วนผิวแห้งมาก ผิวจะแห้ง แดง ลอกเป็นขุย บางรายอาจมีอาการแสบคัน หากเกาก็อาจทำให้เกิดการอักเสบได้
  • หากผิวแห้งเล็กน้อย เพียงอาบน้ำในอุณหภูมิปกติและหมั่นทาโลชั่นบ่อยๆ ก็เพียงพอต่อการรักษาแล้ว แต่หากผิวแห้งมากอาจรักษาด้วยการรับประทานยาแก้คัน หรือใช้ยาทาสเตียรอยด์ ร่วมกับการทาโลชั่นที่มีมอยเจอร์ไรเซอร์เข้มข้น
  • วิธีป้องกันผิวแห้ง เช่น หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่เย็นจัด การแช่น้ำ การอาบน้ำอุ่น การดื่มแอลกอฮอล์ หมั่นบำรุงผิวด้วยน้ำมันจากธรรมชาติ ทาโลชั่นบำรุงผิว และดื่มน้ำเยอะๆ
  • หากมีอาการผิวแห้งมาก การทำสปาผิวด้วยการมาส์กตัว และนวดน้ำมันบำรุงผิว จะช่วยบรรเทาอาการ เพิ่มความผ่อนคลาย และบำรุงผิวอย่างล้ำลึก 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจนวดตัว   

เข้าหน้าหนาวหลายคนอาจสังเกตเห็นว่าตัวเองมีอาการ ผิวแห้ง (Dry skin หรือ Xerosis) หรือ ภาวะที่ผิวขาดความชุ่มชื้น เนื่องจากสูญเสียน้ำให้กับชั้นบรรยากาศโดยการระเหยออก ยิ่งอากาศหนาว ยิ่งทำให้อากาศในชั้นบรรยากาศแห้ง ยิ่งทำให้น้ำที่อยู่ใต้ผิวหนังระเหยสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น

โดยปกติแล้วชั้นผิวหนังจะป้องกันการระเหยของน้ำออกจากผิว โดยมีเซลล์ผิวหนังชั้นนอกที่ถูกเชื่อมด้วยไขมันของผิวหนังมีลักษณะคล้ายกำแพงที่คอยปกป้องผิวหนัง หากกำแพงนี้เกิดความบกพร่องขึ้นก็จะทำให้ผิวสูญเสียน้ำให้กับอากาศที่อยู่รอบตัวทำให้เกิดภาวะผิวแห้งได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ภาวะผิวแห้งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย มักพบว่า ยิ่งมีอายุมากยิ่งมีโอกาสที่จะเป็นมากขึ้น และการมีผิวที่แห้งยังเป็นอีกหนึ่งต้นเหตุที่อาจจะทำให้มีโอกาสเกิดโรคผิวหนังชนิดอื่นๆ ตามมาได้ด้วย

สาเหตุของผิวแห้ง

ภาวะผิวแห้งเกิดได้จากหลากหลายปัจจัยประกอบกัน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยหลัก คือ

ปัจจัยภายใน

  • พันธุกรรม ในบางคนที่ผิวแห้งมาแต่กำเนิด เป็นผลมาจากการถูกถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมซึ่งเป็นสาเหตุที่หลีกเลี่ยงได้ยาก

  • อายุ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นได้อย่างรวดเร็วกว่าปกติ มักพบในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

ปัจจัยภายนอก

  • สภาพอากาศ เมื่อต้องอยู่ในสภาพอากาศเย็น หรือมีความชื้นต่ำ จะทำให้ผิวเกิดอาการแห้งกร้านมากกว่าปกติ เนื่องจากอากาศจะปรับสมดุลความชื้นทางอากาศ โดยการดูดความชื้นจากชั้นผิวหนัง เพื่อนำไปทดแทนความชื้นในอากาศ

  • การขัดผิว หลายคนอาจจะมองว่า การขัดผิวคือ วิธีขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วให้หลุดลอกออกไป แต่ในการขัดทุกครั้งจะเกิดการเสียดสีที่รุนแรงขึ้น และหากทำบ่อยๆ ก็จะทำให้ผิวเกิดความแห้งกร้านมากขึ้น

  • การอาบน้ำร้อน อุณหภูมิของน้ำที่ร้อนจะส่งผลให้ผิวต้องสูญเสียน้ำมันหล่อเลี้ยงผิว ทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้นและแห้งตึง

ลักษณะอาการผิวแห้ง

ผู้ที่มีปัญหาผิวแห้ง จะจำแนกได้ 2 กรณี คือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • อาการผิวแห้งแค่เพียงเล็กน้อย คือ ผิวจะมีลักษณะแห้งกร้าน หยาบกระด้าง มองเห็นร่องลายของผิว พบมากบริเวณ แขน ขา และมือ หากไม่สังเกตจะมองไม่เห็นชัดเจน

  • อาการผิวแห้งมาก คือ ผิวจะมีลักษณะแห้ง แดง ลอกเป็นขุย แตกลาย มักพบบริเวณ แขน ขา และมือ แต่จะค่อนข้างสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีอาการแสบคัน หากเกาอาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียจนเกิดการอักเสบของผิวหนังได้ด้วย

วิธีรักษาปัญหาผิวแห้ง

กรณีที่ผิวแห้งไม่มาก 

ใช้วิธีรักษาเบื้องต้นด้วยการอาบน้ำในอุณหภูมิปกติ ทาโลชั่นบำรุงผิวหลังอาบน้ำในตอนเช้าและตอนเย็น โดยให้ใช้ผ้าขนหนูเช็ดตัวให้หมาดๆ ก่อน จึงค่อยทาโลชั่น เพราะเวลาดังกล่าวจะเป็นช่วงเวลาที่ผิวกำลังดูดซึมได้ดี หรือ เมื่อรู้สึกว่าผิวแห้งก็สามารถทาโลชั่นได้ตลอด ไม่ใช่เฉพาะหลังอาบน้ำเท่านั้น 

โลชั่นให้เลือกใช้ชนิดที่เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม หรือมีสีเจือปน เพราะอาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองกับผิวได้

กรณีที่ผิวแห้งมาก 

  • สังเกตได้จากเกิดอาการแสบคัน แตก ลอกเป็นขุย หรือมีการอักเสบของผิวเกิดขึ้น

  • สามารถรักษาด้วยการรับประทานยาแก้คัน เช่น Hydroxyzine (Atarax) Cetirizine (Zyrtec) Loratidine (Claritin) หรือใช้ยาทาสเตียรอยด์ทา เพื่อลดอาการอักเสบและคันที่เกิดขึ้นกับผิว

  • ไม่ควรทายาติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ เพราะยาอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงขึ้นกับผิวได้ เช่น ผิวบางขึ้น ผิวติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

  • ในกรณีที่ติดเชื้อแบคทีเรียจากการเกา ให้รับประทานยาปฏิชีวนะ เพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

  • ควรทาโลชั่น หรือครีมบำรุงผิวที่มีมอยส์เจอไรเซอร์สูตรเข้มข้น โดยทาหลังจากอาบน้ำเสร็จแล้วทั้งเช้าและเย็น ในระหว่างวันก็ควรทาครีมบำรุงผิว ดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ผิวได้รับความชุ่มชื้นจากภายใน

  • หลีกเลี่ยงแสงแดด หรือควรทาครีมกันแดดปกป้องผิวก่อนออกจากบ้านด้วยจะดีที่สุด เพราะแสงแดดก็เป็นตัวการทำลายผิวให้ยิ่งแห้งกร้านมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน

วิธีป้องกันปัญหาผิวแห้ง

การป้องกันปัญหาผิวแห้ง สามารถทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศที่แห้ง หรือเย็นจัด เช่น การอยู่ในห้องแอร์เป็นเวลานาน

  • หลีกเลี่ยงการแช่น้ำ หรืออาบน้ำเป็นเวลานาน ในกรณีที่ต้องไปว่ายน้ำก็ไม่ควรที่จะแช่อยู่ในสระน้ำเป็นเวลานานเช่นกัน เพราะในสระน้ำจะมีคลอรีนที่มีปฏิกิริยาต่อผิว ซึ่งอาจจะทำให้ผิวแห้งได้

  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น หรือน้ำที่มีอุณหภูมิที่ร้อนจัด

  • เลือกใช้สบู่ที่อ่อนโยน หรือสบู่เด็ก โดยการฟอกสบู่นั่นให้ฟอกเฉพาะบริเวณที่จำเป็น เช่น ลำตัว รักแร้ ขาหนีบ

  • ไม่ควรขัดผิวบ่อยจนเกินไปเพราะการขัดผิว แม้ว่าจะช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่าให้หลุดออกได้ แต่สำหรับผู้ที่มีผิวแห้ง ควรลดการขัดผิวให้น้อยลง อาจขัดสัปดาห์ละ 1 ครั้งก็เพียงพอแล้ว ไม่เช่นนั้นจะยิ่งเป็นการเสียดสีกับผิว ทำให้ผิวเกิดความระคายเคือง และอักเสบได้

  • นวดบำรุงผิวด้วยน้ำมันจากธรรมชาติ โดยอาจจะเลือกใช้น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันมะกอกที่มีสรรพคุณในการบำรุงผิว เพียงนำมาทาลงบนผิวแล้วนวดให้ซึมซาบลงสู่ผิวเป็นประจำก็จะช่วยให้ผิวชุ่มชื้น อิ่มเอิบ และไร้ปัญหาแห้งแตกได้แล้ว

    แต่หากใครไม่มีเวลาก็อาจจะเลือกใช้เบบี้ออยล์ชโลมผิวหลังจากอาบน้ำทุกครั้งก็ได้เช่นกัน จากนั้นจึงทาโลชั่นบำรุงผิวต่อไป

  • ทาโลชั่น/ครีมบำรุงผิว ที่มีส่วนผสมของมอยส์เจอไรเซอร์ชนิดเข้มข้น ซึ่งมีส่วนช่วยในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว โดยพยายามทาให้เหมือนกิจวัตรอย่างหนึ่งที่ต้องทำเป็นประจำทุกวัน

  • ดื่มน้ำเยอะๆ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีส่วนช่วยในการบำรุงผิว เช่น มะเขือเทศ กล้วย พักผ่อนให้เพียงพอ และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และเครื่องดื่มที่มีรสหวาน รวมถึงควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ด้วย

ผิวแห้งสามารถป้องกันได้ อย่าปล่อยปละละเลย เพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาผิวอักเสบได้ หมั่นดูแลผิวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อผิวพรรณที่เปล่งปลั่งดูสุขภาพดี 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจนวดตัว จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Harvard Health, 9 ways to banish dry skin (https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/9-ways-to-banish-dry-skin), 20 November 2019.
Medical News Today, Dry skin on the face: Causes and 6 ways to treat it (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324935), 22 November 2019.
MedicineNet, Dry Skin Causes, Treatment, Remedies & How to Get Rid of It (https://www.medicinenet.com/dry_skin/article.htm), 24 November 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
จุดด่างดำบนผิวหนัง (Hyperpigmentation)
จุดด่างดำบนผิวหนัง (Hyperpigmentation)

การเกิดจุดด่างดำบนผิวหนัง แม้ไม่ใช่เรื่องประหลาดและไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ก็อาจเป็นสัญญาณของการเกิดโรคบางชนิดได้

อ่านเพิ่ม