กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Loratadine (ลอราทาดีน)

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ส.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาลอราทาดีน (Loratadine) เป็นยาแก้แพ้ชนิดหนึ่ง มีทั้งรูปแบบยาเม็ด ยาแคปซูล และยาน้ำเชื่อม สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ควรสอบถามข้อบ่งใช้จากเภสัชกรก่อนใช้ยา
  • ยาลอราทาดีนมีฤทธิ์ยับยั้งสารฮิสตามีน เป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น จาม น้ำมูกไหล ผื่นคัน หรือลมพิษ จึงช่วยบรรเทาอาการแพ้ที่เกิดขึ้นได้ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน ให้หยุดใช้ยา และไปพบแพทย์เพื่อเปลี่ยนวิธีรักษาต่อไป
  • ไม่ควรใช้ยานี้รักษาลมพิษที่มีอาการฟกช้ำ พุพอง มีสีพิษปกติ หรือผื่นลมพิษที่ไม่มีอาการคัน และไม่ควรใช้ยาร่วมกับแอลกอฮอล์ หรือน้ำเกรปฟรุ๊ต เพราะอาจส่งผลข้างเคียงร้ายแรงได้
  • หากมีอาการตับอักเสบ แพ้รุนแรง เช่น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ความดันโลหิตต่ำ มาอาการบวมที่ใบหน้า ลำคอ ปาก และลิ้น ชัก หมดสติ หรือภาวะเกล็ดเลือดต่ำหลังการใช้ยา ควรไปพบแพทย์ทันที
  • ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคภูมิแพ้ให้หายขาด ทำได้เพียงหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้เพื่อไม่ให้อาการแพ้กำเริบ แต่หากไม่รู้ว่า แพ้สารก่อภูมิแพ้ใด การตรวจภูมิแพ้อาจให้คำตอบได้ (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ได้ที่นี่)

ลอราทาดีน (Loratadine) เป็นยาแก้แพ้ชนิดหนึ่ง หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า ยาต้านฮีสทามีน มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งสารฮีสทามีน ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อต่อต้านสารก่อภูมิแพ้ และก่อให้เกิดอาการแพ้ตามมา เช่น จาม น้ำมูกไหล ผื่นคัน ลมพิษ ยานี้จึงช่วยลดอาการแพ้ที่เกิดขึ้นได้

รูปแบบยา Loratadine

ยานี้มีจำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป และมีทั้งในรูปแบบยาเม็ด ยาแคปซูล และยาน้ำเชื่อม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อควรระวังในการใช้ยา Loratadine

ไม่ควรใช้ยานี้ในกรณีต่อไปนี้

  • แพ้ยานี้ หรือยาเดสลอราทาดีน (Desloratadine)
  • มีภาวะทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับความบกพร่องทางเมตาบอลิซึมของร่างกายชนิด Phenylketonuria (PKU) ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายขาดเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับการย่อยกรดฟีนิลอะลานีน เนื่องจากยา Loratadine รูปแบบที่เคี้ยวได้อาจมีกรดฟีนิลอะลานีนเป็นส่วนผสม 
  • มีภาวะไตวายหรือตับวาย
  • ห้ามใช้ยานี้รักษาตุ่มผื่นหรือลมพิษที่มีการฟกช้ำ พุพอง มีสีผิดปกติ หรือผื่นลมพิษที่ไม่มีอาการคัน และควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีอาการในลักษณะดังกล่าว 
  • ควรหยุดใช้ยานี้หากอาการผื่นลมพิษไม่ดีขึ้นภายใน 3 วันหลังจากเริ่มใช้ยา หรือในกรณีที่มีผื่นลมพิษมานานกว่า 6 สัปดาห์ และควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของผื่นที่เกิดขึ้น

การใช้ยา Loratadine ในหญิงตั้งครรภ์

ยานี้จัดเป็นยาในกลุ่ม B สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ และเมื่อมารดารับประทานยานี้ ตัวยาจะผ่านไปยังน้ำนมน้อยมาก คุณจึงสามารถให้นมบุตรในระหว่างที่ใช้ยานี้ได้ 

แต่ควรเฝ้าระวังอาการที่ไม่พึงประสงค์ของทารกด้วย เช่น ง่วงซึม ดูดนมยาก น้ำหนักลด เป็นต้น และไม่ควรใช้ยาต่อเนื่องระยะยาวในระหว่างที่ให้นมบุตร

ปฎิกิริยาของ Loratadine ต่อยาอื่น 

  • ก่อนใช้ยานี้ ควรแจ้งแพทย์และเภสัชกรเกี่ยวกับยา วิตามิน ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และสมุนไพรใดๆ ที่กำลังใช้อยู่
  • ไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับยาราโนลาซีน (Ranolazine) ซึ่งเป็นยาสำหรับรักษาโรคหัวใจขาดเลือดเรื้อรัง
  • ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้ Loratadine ร่วมกับยาต่อไปนี้

การใช้ Loratadine ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การใช้ยานี้ร่วมกับแอลกอฮอล์จะทำให้เกิดอาการมึนงง ปากแห้ง ตาแห้ง (ซึ่งอาจมีผลต่อการมองเห็น) จึงควรหลีกเลี่ยงร่วมกับการใช้ร่วมกัน

การกิน Loratadine ร่วมกับน้ำเกรปฟรุ๊ต

Loratadine และน้ำเกรปฟรุ๊ตต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงที่ตับด้วยกลไกแบบเดียวกัน จึงมีโอกาสเกิดผลกระทบต่อระดับยา Loratadine ในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้

ปริมาณการใช้ยา Loratadine

  • เด็กอายุ 2-5 ปี รับประทานชนิดน้ำ 5 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง โดยยาน้ำส่วนใหญ่จะมีความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม ต่อ 5 มิลลิลิตร
  • เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป รับประทานยา 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง สามารถใช้ได้ทั้งยารูปแบบเม็ดและแคปซูล
  • ผู้ใหญ่ รับประทานยา 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ดังนั้นยา Loratadine ชนิดเม็ดส่วนใหญ่จึงมีขนาด 10 มิลลิกรัม เพื่อให้สะดวกในการรับประทานเพียงวันละครั้ง

ทำอย่างไรเมื่อลืมกินยา?

หากลืมรับประทานยานี้ ควรรับประทานยาทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่ต้องไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อวันในผู้ใหญ่ และไม่เกิน 5 มิลลิกรัมในเด็กอายุ 2-5 ปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การใช้ยาเกินขนาด

การใช้ยานี้มากกว่าปริมาณที่แนะนำ (10 มิลลิกรัม/วัน) จะเสี่ยงทำให้เกิดผลข้างเคียงมากขึ้น เช่น ง่วงนอนอย่างรุนแรง หัวใจเต้นถี่ขึ้น ปวดศีรษะ 

ส่วนเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปที่กินยานี้มากกว่า 10 มิลลิกรัม ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจเริ่มมีอาการเคลื่อนที่คล้ายกับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน 

หากคุณกินยาเกินขนาด หรือมีอาการที่อาจเกิดจากการกินยาเกินขนาดดังที่กล่าวมา ควรรีบไปพบแพทย์แผนกฉุกเฉินทันที 

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Loratadine

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยานี้ ได้แก่ ง่วงนอน อ่อนเพลีย และปวดศีรษะ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดภาวะ Paradoxical ที่ตรงข้ามกับอาการง่วงนอน อย่างความรู้สึกตื่นเต้นหรือกระวนกระวายใจจากการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางได้

หากพบผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที

  • ภาวะตับถูกทำลาย หรือตับอักเสบ
  • เกิดปฏิกิริยาแพ้ยาอย่างรุนแรง (Anaphylaxis) เช่น มีอาการแน่นหน้าอกหรือหายใจลำบาก ความดันโลหิตลดต่ำ บวมตามใบหน้า คอ ปาก ลิ้น
  • เป็นลมหมดสติ
  • ชัก
  • มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia)

Loratadine สำหรับสุนัข

  • Loratadine ไม่ได้ทำให้เกิดอาการง่วงนอนเท่ายา Diphenhydramine จึงสามารถใช้ยานี้รักษาอาการภูมิแพ้ในสุนัขได้ 
  • ควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนใช้ยานี้กับสุนัข และไม่ควรใช้ยานี้ หากสุนัขมีโรคตับ 
  • ไม่ควรให้สุนัขกินยานี้ร่วมกับยาอื่นๆ เช่น ยาแก้แพ้ตัวอื่น ยาไซเมทิดีน (Cimetidine) ยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) หรือยาคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) เพราะยาเหล่านี้อาจทำปฏิกิริยากันจนเกิดผลข้างเคียงหรือส่งผลต่อฤทธิ์ยาได้ 
  • ควรให้สุนัขกินยานี้ในรูปแบบแคปซูลหรือยาเม็ดเท่านั้น เพราะยาชนิดน้ำจะมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจแรงเกินไปสำหรับสุนัข

การเก็บรักษายา Loratadine

  • เก็บยานี้ในภาชนะบรรจุเดิม ปิดภาชนะให้สนิท และเก็บให้พ้นจากเด็กและสัตว์เลี้ยง 
  • เก็บยานี้ที่อุณหภูมิห้องโดยไม่ให้อยู่ในที่ร้อนมากกว่า 30 องศาเซลเซียส เช่น บริเวณที่ถูกแสงแดดโดยตรง และไม่เก็บยาในบริเวณที่เปียกหรือชื้น ทิ้งยานี้เมื่อยาหมดอายุ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยา Loratadine

1. ยา Loratadine และยาเซทิริซีน (Cetirizine) ต่างกันอย่างไร 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ตอบ: ยาทั้ง 2 ชนิดเป็นยาแก้แพ้หรือยาต้านฮิสทามีน (Antihistamine) รุ่นที่ 2 เหมือนกัน ซึ่งจะส่งผลให้ง่วงน้อยกว่ายาต้านฮิสทามีนรุ่นเก่า แทบมีฤทธิ์คล้ายกันทั้งในด้านการรักษาและผลข้างเคียง แต่จากการศึกษาพบว่ายาเซทิริซีนทำให้ง่วงมากกว่า

2. ยา Loratidine ที่หมดอายุแล้ว ยังใช้ได้อยู่หรือไม่ 

ตอบ: ไม่ควรใช้ยาหลังจากวันหมดอายุที่กำหนดข้างฉลาก เนื่องจากประสิทธิภาพของยาอาจลดลง

3. ยานี้ทำให้น้ำหนักเพิ่มหรืออ้วนขึ้นได้หรือไม่

ตอบ: ไม่มีข้อมูลระบุว่ายานี้จะทำให้น้ำหนักเพิ่ม คุณควรปรึกษาแพทย์หากพบอาการข้างเคียงดังกล่าวหลังจากใช้ยานี้

4. มีอาการจามและเคืองตาตลอดเวลา สามารถใช้ยานี้รักษาได้หรือไม่

ตอบ: สามารถใช้ได้ โดยอ่านรายละเอียดข้อบ่งใช้และอาการข้างเคียงของยาข้างต้น

5. ตื่นมาพร้อมอาการปวดหัวตั้งแต่กิน Alavert ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหรือไม่

ตอบ: อาการปวดหัวเป็นอาการข้างเคียงที่ได้พบบ่อยจากการใช้ยา Alavert (Loratadine) 

6. มีอาการปวดศีรษะเนื่องจากโพรงจมูกอักเสบ แพทย์จ่ายยาแก้แพ้ชนิดใหม่คือ Loratadine ถ้ากินทุกวัน ยาตัวนี้จะทำให้โพรงจมูกแห้งเกินไปหรือไม่

ตอบ: อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นอาจมาจากการแพ้ ส่วนอาการปากแห้งจมูกแห้งนั้นเป็นอาการข้างเคียงของยา Loratadine

7. เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย เภสัชกรเลยให้ใช้ Loratadine 10 มิลลกรัม แทน Allegra 180 มิลลิกรัม ยาสองตัวนี้เหมือนกันไหม และจะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือไม่

ตอบ: ยาทั้งสองตัวเป็นยาแก้แพ้ในรุ่นที่ 2 (Non-sedating) ทั้งคู่ ใช้รักษาอาการแพ้เหมือนกัน แต่การตอบสนองต่อยาแต่ละตัวในแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ทางที่ดีจึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ยานี้ และแจ้งให้ทราบถึงยาอื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม หรือสมุนไพรทุกตัวที่กำลังใช้อยู่ด้วย

8. เมื่อสัปดาห์ที่แล้วกิน Loratadine เพื่อรักษาอาการไข้ แต่พบเลือดปนในอุจจาระเป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือน อาการนี้จะเกี่ยวข้องกับการใช้ยาหรือไม่

ตอบ: ไม่มีข้อมูลระบุว่ายานี้ทำให้อุจจาระปนเลือด จึงเป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากภาวะริดสีดวงทวารหรือการยกของหนักเกินไป

9. สามารถกินยา Loratadine ได้ทุกวันหรือไม่

ตอบ: ควรกินยานี้วันละ 1 ครั้งเวลาไหนก็ได้ แต่ไม่ควรกินเพิ่มภายใน 24 ชั่วโมง และไม่ควรกินเกิน 10 มิลลิกรัมต่อวัน และหากใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคไต ควรมีการปรับระดับยาด้วย

ยาลอราทาดีนช่วยบรรเทาอาการแพ้ที่เกิดขึ้นได้ แต่วิธีรักษาและป้องกันที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้เพื่อไม่ให้เกิดการกระตุ้นจนอาการแพ้กำเริบ ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จึงควรรู้ว่า ตนแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใด และระดับความรุนแรงในการแพ้มากน้อยแค่ไหน

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)