กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Desloratadine (เดสลอราทาดีน)

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เดสรอลาทาดีน (desloratadine) หรือในชื่อการค้าเอเรียส (aerius) เป็นยากลุ่มต้านฮิสตามีนที่ใช้ในการรักษาอาการแพ้ มีโครงสร้างแบบ tricyclic เดสรอลาทาดีนเป็นสารแมทาบอไลท์ออกฤทธิ์ของลอราทาดีน ซึ่งยาทั้งสองชนิดมีฤทธิ์ในการแก้อาการแพ้ อาการข้างเคียงที่อาจพบได้ ได้แก่ อาการอ่อนแรง ปวดศีรษะ ปากแห้ง เจ็บคอ ปัจจุบันมีวางจำหน่ายในรูปแบบของยาสามัญ

เดสรอลาทาดีนดูดซึมผ่านระบบทางเดินอาหารได้ดีและระดับยาในกระแสเลือดจะขึ้นถึงจุดสูงสุดหลังจากผ่านไปประมาณ 3 ชั่วโมง มีร้อยละการจับกับโปรตีนในกระแสเลือดประมาณ 83-87% เดสรอลาทาดีนถูกแมทาบอไลท์ได้เป็น 3-ไฮดรอกซีเดสรอลาทาดีน (3-hydroxydesloratadine)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ตัวอย่างยี่ห้อของยาเดสรอลาทาดีนที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

  • DLOREZE ยาแคปซูล ขนาด 5 มิลลิกรัม ผลิตโดยบริษัท Mega Lifesciences
  • AERIUS ORODISPERSIBLE TABLET (2.5 MG) ยาเม็ดชนิดแตกตัวในปาก ขนาด 2.5 มิลลิกรัม ผลิตโดยบริษัท MSD
  • AERIUS ORODISPERSIBLE TABLET (5 MG) ยาเม็ดชนิดแตกตัวในปาก ขนาด 5 มิลลิกรัม ผลิตโดยบริษัท MSD
  • AERIUS (SYRUP) ยาน้ำเชื่อม ความแรง 0.5 มิลลิกรัม / 1 มิลลิลิตร ผลิตโดยบริษัท MSD
  • AERIUS ยาเม็ด ขนาด 5 มิลลิกรัม ผลิตโดยบริษัท MSD
  • ALLORA 5 ยาเม็ด ขนาด 5 มิลลิกรัม ผลิตโดยบริษัท Unison
  • DESLORATADINE SANDOZ ยาเม็ด ขนาด 5 มิลลิกรัม ผลิตโดยบริษัท Novartis
  • LORIUS SYRUP ยาน้ำเชื่อม ความแรง 0.5 มิลลิกรัม / 1 มิลลิลิตร ผลิตโดยบริษัท เภสัชกรรมศรีประสิทธิ์

โรคและอาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยานี้บรรเทา

  • ข้อบ่งใช้สำหรับบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับอาการแพ้

กลไกการออกฤทธิ์ของเดสรอลาทาดีน

เดสรอลาทาดีนเป็นเป็นยาต้านฮีสทามีนในกลุ่มที่ไม่ทำให้เกิดอาการง่วง ออกฤทธิ์นาน (non-sedating long-acting histamine antagonist) เดสรอลาทาดีนเข้ายับยั้งตัวรับฮีสทามีนชนิด H1 อย่างจำเพาะเจาะจง นอกจากนี้การศึกษาในหลอดทดลองพบว่า เดสรอลาทาดีนมีคุณสมบัติต้านการแพ้จากการยับยั้งการปลดปล่อยของสารไซโตไคน์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (proinflammatory cytokine) เช่น อินเทอร์ลิวคิน 4, 6, 8 และ 13 จากมาสท์เซลล์ หรือเบโซฟิล เช่นเดียวกันกับฤทธิ์ในการยับยั้งการแสดงออกของโมเลกุล P-selection ที่อยู่บน endothelial cell

ข้อบ่งใช้สำหรับเดสรอลาทาดีน

ข้อบ่งใช้สำหรับบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับอาการแพ้ ยาในรูปแบบรับประทาน

  • ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 5 มิลลิกรัม วันละครั้ง
  • ขนาดการใช้ยาในเด็ก อายุ 6-11 เดือน ขนาด 1 มิลลิกรัม
  • ขนาดการใช้ยาในเด็ก อายุ 1-5 ปี ขนาด 1.25 มิลลิกรัม
  • ขนาดการใช้ยาในเด็ก อายุ 6-11 ปี ขนาด 2.5 มิลลิกรัม

ขนาดข้างต้นสามารถให้วันละ 1 ครั้งได้

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยาเดสรอลาทาดีน

หากลืมใช้ตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยาเดสรอลาทาดีน

  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่แพ้ยานี้
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคไต
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ
  • ระวังการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์
  • ระวังการใช้ยานี้ในสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเดสรอลาทาดีน

ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ ได้แก่ หลอดอาหารอักเสบ ปากแห้ง ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ง่วงนอน ปวดศีรษะ มึนงง นอนไม่หลับ ประจำเดือนมาไม่ปกติ คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย ท้อเสีย อาเจียน เพิ่มความอยากอาหาร ไข้ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ อาการไอ ถุงลมอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ น้ำมูกไหล ผื่นแดง

ข้อมูลการใช้ยาเดสรอลาทาดีนในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษายาเดสรอลาทาดีน

เก็บที่อุณหภูมิ 15-30 องศาเซลเซียส เก็บให้พ้นจากแสงแดด ความร้อน และความชื้น

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลในการสั่งใช้ยา

แพทย์และเภสัชกรสามารถให้ข้อมูลการใช้ยาอย่างปลอดภัย ผู้ป่วยควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่แพทย์หรือเภสัชกรเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยและลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการใช้ยา

  • แจ้งข้อมูลการใช้ยารักษาโรคประจำตัว ยาที่เพิ่งรับประทานก่อนหน้านี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รับประทาน (รวมถึงวิตามิน และสมุนไพร) ในกรณีมียาประจำตัวจำนวนมาก ให้พกยาเพื่อให้แพทย์หรือเภสัชกรช่วยตรวจสอบก่อนสั่งจ่ายยาใหม่ ไม่ให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่จะได้รับใหม่และยาที่เดิมที่ผู้ป่วยใช้อยู่
  • แจ้งประวัติการแพ้ยา หรืออาการแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือแพ้อาหารชนิดใดอยู่ (เนื่องจากยาบางชนิดมีส่วนประกอบของไข่ขาว นม ยีสต์) อาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม เกิดผื่น หายใจลำบาก หรือให้นำบัตรแพ้ยา พกติดตัวและแสดงบัตรนี้แก่แพทย์และเภสัชกรก่อนเข้าใช้บริการสุขภาพทุกครั้ง
  • แจ้งข้อมูลในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยาบางชนิดส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์ หรือสามารถขับออกทางน้ำนมได้
  • แจ้งข้อมูลที่จะส่งผลต่อการรับประทานยา เช่น มีปัญหาการกลืนลำบาก มีปัญหาด้านการมองเห็นหรืออ่านฉลากยา วิธีการรับประทานยา เพื่อแพทย์หรือเภสัชกรจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Desloratadine | Side Effects, Dosage, Uses, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/desloratadine-oral-tablet)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)