กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Cordarone (คอร์ดาโรน)

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

บทนำ

คอร์ดาโรน เป็นชื่อการค้าของยา อะมิโอดาโรน (amiodarone) เป็นยาในกลุ่มที่ใช้ในการรักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีการใช้เพื่อรักษาและป้องกันการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ ประกอบด้วย ภาวะหัวใจห้องล่างบนเต้นเร็ว (ventricular tachycardia) หัวใจห้องล่างสั่นพริ้ว (ventricular fibrillation) และภาวะแทรกซ้อนของภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ เช่นเดียวกันกับรักษาภาวะหัวใจห้องล่างสั่นพริ้ว (atrial fibrillation) ภาวะหัวใจเต้นเร็วเป็นพักๆเนื่องจากจุดปล่อยไฟฟ้าอยู่สูงกว่าหัวใจห้องล่าง (paroxysmal supraventricular tachycardia; PSTV) สามารถบริหารยาผ่านการรับประทาน หรือการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เมื่อใช้ยาในรูปแบบรับประทานอาจต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ จึงจะเริ่มมีการออกฤทธิ์ของยา อะมิโอดาโรนถูกคิดคนในปีค.ศ. 1961 และมีการใช้เป็นยาในการรักษาในปีค.ศ. 1962 สำหรับภาวะอาการปวดหน้าอกที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับหัวใจ และมีการเลิกวางจำหน่ายในท้องตลาดในปีค.ศ. 1967 เนื่องจากผลข้างเคียงของตัวยา แต่ในปีค.ศ. 1974 มีการค้นพบประโยชน์ของตัวยาในการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จึงได้มีการนำอะมิโอดาโรนกลับมาใช้ใหม่ ยาอะมิโอดาโรน เป็นยาที่อยู่ในบัญชียาหลักขององค์การอนามัยโลก และปัจจุบันมีวางจำหน่ายในรูปแบบยาสามัญ

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Cordarone ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรค และอาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยานี้บรรเทา

  • ข้อบ่งใช้สำหรับ pulseless ventricular fibrillation หรือ ventricular tachycardia
  • ข้อบ่งใช้สำหรับ supraventricular หรือ ventricular tachycardia

กลไกการออกฤทธิ์ของยาCordarone

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ คอร์ดาโรน มีตัวยาสำคัญคือ อะมิโอดาโรน (amiodarone) เป็นยาในกลุ่มยาโรคหัวใจ ในกลุ่มที่ 3 สำหรับรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีฤทธิ์ทำให้กระบวนการเกิดรีโพลาไรเซชัน(repolarization) เกิดขึ้นช้าลง โดยการเพิ่มระยะเวลาการเกิดแอกชัน โพเทนเชียล (action potential) และระยะดื้อ (refractory) ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้น ในกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนี้แล้ว อะมิโอดาโรนยังยับยั้งการเข้าผ่านทางเยื่อหุ้มเซลล์ของโซเดียมผ่าน fast channel ลกอัตราสูงสุดของการเกิดดีโพลาไรเซชัน (depolarization) เช่นเดียวกันกับยาในกลุ่มที่ 1 มีฤทธิ์ยับยั้งตัวรับอัลฟ่า และบีตา อะดรีเนอจิก แบบไม่แข่งขัน เช่นเดียวกันกับยาในกลุ่มที่ 2 และยังมีฤทธิ์ส่งเสริมการลดอัตราการเต้นของหัวใจ (negative chronotropic effect) เช่นเดียวกันกับยาในกลุ่มที่ 4

ข้อบ่งใช้ของยาCordarone

ข้อบ่งใช้สำหรับ pulseless ventricular fibrillation หรือ ventricular tachycardia ยาในรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาดเริ่มต้น 300 มิลลิกรัม หรือ 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยฉีดเข้าหลอดเลือดดำครั้งเดียว อาจพิจารณาให้ขนาดยาครั้งต่อไปที่ขนาด 150 มิลลิกรัม หรือ 2.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ข้อบ่งใช้สำหรับ supraventricular หรือ ventricular tachycardia ยาในรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ขนาดเริ่มต้น 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยฉีดให้ยา 20 ถึง 120 นาที อาจพิจารณาให้ยาซ้ำถ้าจำเป็นโดยขนาดยาสะสมไม่เกิน 1200 มิลลิกรัม อัตราการให้ยาขึ้นอยู่กับการตอบสนองทางคลินิกภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง ในกรณีฉุกเฉินให้ขนาด 150 ถึง 300 มิลลิกรัม ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำช้าๆนานกว่า 3 นาที อาจให้ยาครั้งถัดไปหลังจากให้ยาครั้งแรก 15 นาที ข้อบ่งใช้สำหรับ supraventricular หรือ ventricular tachycardia ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาดเริ่มต้น 200 มิลลิกรัม วันละสามครั้ง เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ จากนั้นลดเหลือขนาด 200 มิลลิกรัม วันละสองครั้ง ขนาดยา maintenance น้อยกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัมต่อวัน

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยาCordarone

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยาCordarone

- ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีประวัติการทำงานผิดปกติของต่อมไทรอยด์ มีความไวต่อไอโอดีน - ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจล้มเหลวระดับรุนแรง - ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยความดันโลหิตต่ำระดับรุนแรง หรือผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากโรคหัวใจ - ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยหัวใจเต้นช้าจากไซนัสโนด - ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีการเหนี่ยวนำของคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ - ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีไซนัสโนดผิดปกติ ยกเว้นในผู้ป่วยที่มีการใส่ pacemaker - ห้ามใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ - ห้ามใช้ยานี้ร่วมกับยาที่ก่อให้เกิดภาวะ QT prolongation - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำ - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวระดับรุนแรง หรือการเหนี่ยวนำคลื่นไฟฟ้าหัวใจถูกรบกวน - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคพอร์ฟิเรีย (porphyria) แบบเฉียบพลัน - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่จะได้รับการผ่าตัด - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุและสตรีมีครรภ์

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาCordarone

ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ ได้แก่ หัวใจเต้นช้า ความดันโลหิตต่ำ ปลายประสาทอักเสบ อาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น ความดันในกระโหลกเพิ่มขึ้น อาการสั่น ฝันร้าย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ อาการที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อาการที่เกี่ยวข้องกับระบบอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น อัณฑะอักเสบ อาการที่เกี่ยวข้องกับระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดดำผิวอักเสบ อาการที่เกี่ยวข้องกับระบบเลือด เช่น เม็ดเลือดแดงแตก โลหิตจาง อาการที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ อาการที่เกี่ยวข้องกับดวงตา เช่น ประสาทตาอักเสบ สูญเสียการมองเห็น อาการที่เกี่ยวข้องกับระบบผิวหนัง เช่น ผิวหนังแดง อาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ได้แก่ ตับแข็ง ตับอักเสบ ตับวาย หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะแย่ลงหลังจากการใช้ยา หัวใจหยุดเต้น เกิดพังผืดปอด ปอดอักเสบ ไทรอยด์เป็นพิษ ผื่นแพ้ยาแบบ Steven Johnson syndrome

ข้อมูลการใช้ยาCordaroneในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category D คือไม่แนะในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ เว้นแต่ในกรณีช่วยชีวิตหรือรักษาอาการรุนแรงที่ยาที่ปลอดภัยกว่ารักษาไม่ได้ผล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษายาCordarone

เก็บที่อุณหภูมิระหว่าง 20 ถึง 25 องศาเซลเซียส ป้องกันจากความชื้น แสง และความร้อนสูง

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลในการสั่งใช้ยา

แพทย์และเภสัชกรสามารถให้ข้อมูลการใช้ยาอย่างปลอดภัย ผู้ป่วยควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่แพทย์หรือเภสัชกรเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยและลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการใช้ยา

  • แจ้งข้อมูลการใช้ยารักษาโรคประจำตัว ยาที่เพิ่งรับประทานก่อนหน้านี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รับประทาน (รวมถึงวิตามิน และสมุนไพร) ในกรณีมียาประจำตัวจำนวนมาก ให้พกยาเพื่อให้แพทย์หรือเภสัชกรช่วยตรวจสอบก่อนสั่งจ่ายยาใหม่ ไม่ให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่จะได้รับใหม่และยาที่เดิมที่ผู้ป่วยใช้อยู่
  • แจ้งประวัติการแพ้ยา หรืออาการแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือแพ้อาหารชนิดใดอยู่ (เนื่องจากยาบางชนิดมีส่วนประกอบของไข่ขาว นม ยีสต์) อาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม เกิดผื่น หายใจลำบาก หรือให้นำบัตรแพ้ยา พกติดตัวและแสดงบัตรนี้แก่แพทย์และเภสัชกรก่อนเข้าใช้บริการสุขภาพทุกครั้ง
  • แจ้งข้อมูลในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยาบางชนิดส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์ หรือสามารถขับออกทางน้ำนมได้
  • แจ้งข้อมูลที่จะส่งผลต่อการรับประทานยา เช่น มีปัญหาการกลืนลำบาก มีปัญหาด้านการมองเห็นหรืออ่านฉลากยา วิธีการรับประทานยา เพื่อแพทย์หรือเภสัชกรจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Jeffrey B. Florek; Daniel Girzadas., Amiodarone (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK482154/)
University of Illinois-Chicago, Drug Information Group, Amiodarone, Oral Tablet (https://www.healthline.com/health/amiodarone-oral-tablet), March 9, 2017
LYLE A. SIDDOWAY, M.D, Amiodarone: Guidelines for Use and Monitoring (https://www.aafp.org/afp/2003/1201/p2189.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)