เราอาจคุ้นเคยกับอาการผิดปกติ หรือภาวะผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดหัวใจวาย หัวใจล้มเหลวได้ แต่รู้ไหมว่า "การที่หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ก็สามารถทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน"
กระบวนการบีบรัดของหัวใจ
หัวใจเป็นอวัยะที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายและขับเลือดที่ร่างกายใช้แล้วส่งกลับไปฟอกใหม่ที่ปอด ด้วยเหตุนี้หัวใจจึงประกอบด้วยเซลล์กล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่เพราะต้องอาศัยการบีบรัดเพื่อสูบฉีดและขับเลือดนั่นเอง
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ความพิเศษของกล้ามเนื้อหัวใจที่ไม่พบปรากฎในกล้ามเนื้ออื่นๆ คือ สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้เอง โดยมีอัตราการปล่อยกระแสไฟฟ้าประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที เริ่มต้นจากหัวใจห้องขวาบนและกระจายไปตามเซลล์นำไฟฟ้าที่มีอยู่ทั่วไปในหัวใจ ทำให้เกิดการบีบรัดตัวของห้องหัวใจตามมาทั้งสี่ห้องในจังหวะที่สัมพันธ์กัน
อัตราการเต้นหัวใจปกติ
อัตราการเต้นหัวใจหมายถึง คุณสมบัติทางไฟฟ้าของหัวใจ โดยทั่วไปอัตราการเต้นหัวใจของผู้ใหญ่เมื่ออยู่นิ่งจะอยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อนาที หรือเฉลี่ย 80 ครั้งต่อนาที และในขณะที่นอนหลับอัตราการเต้นของหัวใจจะลดลงไปอีกราว 10-20 ครั้งต่อนาที
อย่างไรก็ดี หากมีการทำกิจกรรม เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา รับประทานยาบางชนิดที่มีผลต่อหัวใจและระบบประสาท ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน มีความผันผวนทางอารมณ์อย่างรวดเร็ว เช่น ตกใจ หวาดกลัว ตื่นเต้น มีอาการบาดเจ็บรุนแรง ตกเลือด เหล่านี้ก็อาจทำให้อัตราการเต้นหัวใจเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน
ในขณะที่เด็กจะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่าผู้ใหญ่อย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างดังนี้
- วัยแรกเกิด – 30 วัน จะอยู่ที่ 120-160 คร้งต่อนาที
- อายุ 2-6 ปี จะอยู่ที่ 75-120 ครั้งต่อนาที
- อายุ 6-12 ปีจะอยู่ที่ 75-110 ครั้งต่อนาที
ยิ่งเด็กมีอายุเพิ่มมากขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจจะลดลง
อัตราการเต้นของหัวใจเป็นสัญญาณสำคัญของร่างกายเช่นเดียวกับอัตราการเต้นของชีพจร อัตราการหายใจ และระดับความดันโลหิต เหล่านี้สามารถบ่งชี้ถึงข้อมูลสุขภาพของบุคคลนั้นๆ ได้ ดังนั้นปัจจัยที่มีผลต่ออัตราชีพจรก็ส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจด้วยเช่นกัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
วิธีวัดอัตราการเต้นหัวใจด้วยตนเอง
ทุกคนสามารถวัดอัตราการเต้นหัวใจของตนเองได้ด้วยการจับ หรือคลำชีพจรด้วยมือ ด้วยการใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางวางตรงตำแหน่งของหลอดเลือดแดงเรเดียล (Radial Artery) ที่ข้อมือด้วยความแรงพอประมาณ เพื่อรับความรู้สึกการขยายและหดตัวของผนังหลอดเลือด แต่ควรวัดในขณะที่ร่างกายหยุดนิ่ง ไม่ได้ทำกิจกรรมใดๆ แม้แต่การพูดคุยก็ตาม
นอกจากตำแหน่งข้อมือแล้วยังสามารถคลำชีพจรในบริเวณอื่นๆ ที่มีเส้นเลือดแดงอยู่ในระดับตื้นๆ ได้แก่ บริเวณขมับ ด้านข้างของคอ ใต้ข้อมือ ข้อพับของข้อศอก ขาหนีบ ข้อพับของเข่า ข้อเท้า หลังเท้า
หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ
สำหรับวัยผู้ใหญ่ ผู้ที่มีอัตราการเต้นหัวใจเร็วกว่าปกติ (Tachycardia) คือ มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที แต่หากหัวใจเต้นช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาทีจะถือว่า "หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia)" ไม่ว่าหัวใจจะเต้นเร็ว หรือช้ากว่าปกติ ก็นับเป็นความผิดปกติซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้
สาเหตุที่อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นช้า
- อายุ ยิ่งอายุมากยิ่งมีความเสี่ยงมาก เช่น เนื้อเยื่อหัวใจเสื่อม
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์ การใช้สารเสพติด สูบบุหรี่
- พฤติกรรมการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาทางจิตเวช ยาลดความดันโลหิต
- ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจพิการแต่กำเนิด โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะไฮโปไทรอยด์
- มีความผิดปกติทางร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
- การขาดสมดุลเกลือแร่บางชนิด เช่น โพแทสเซียม
- ผลข้างเคียงจากการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดหัวใจ
จริงไหม ที่หัวใจเต้นช้าจะทำให้อายุยืนขึ้น
บางคนเชื่อว่า การที่หัวใจเต้นช้าจะทำให้อายุยืนขึ้น พร้อมให้เหตุผลว่า เนื่องจากหัวใจมีประสิทธิภาพในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายมากโดยไม่ต้องบีบตัวบ่อยๆ และทำให้หลอดเลือดลดความเครียดในการหดและขยายตัวลง เซลล์จึงมีโอกาสได้รับออกซิเจนมากขึ้นทำให้มีความแข็งแรงมากไปด้วยนั่นเอง
ขณะเดียวกันผู้ที่หัวใจเต้นเร็วจะมีความเสี่ยงเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากกว่า เนื่องจากหัวใจและหลอดเลือดต้องทำงานหนักมากกว่าจึงนำไปสู่ความเสื่อมและโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ง่ายนั่นเอง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ - แตก
อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันอย่างชัดเจนว่า การที่หัวใจเต้นช้าจะทำให้อายุยืนมากขึ้นและมีสุขภาพที่แข็งแรงจริง ดังนั้นทางที่ดีควรหมั่นสังเกตตนเองก่อนว่า อัตราการเต้นหัวใจของตนเองปกติหรือไม่ ด้วยการวัดอัตราการเต้นหัวใจของตนเองและตรวจเช็คอาการหัวใจเต้นช้าว่า สอดคล้องกับสิ่งที่ตนเองมีหรือไม่
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
อาการที่บ่งบอกว่า หัวใจอาจเต้นช้ากว่าปกติ
- อ่อนเพลีย
- วิงเวียนศีรษะ มึนงง
- เป็นลม วูบ หน้ามืด หมดสติชั่วขณะ
- ความดันโลหิตลดลง
- หายใจลำบาก
- ชัก
- ตาพร่า มีอาการมองไม่ชัด
- ตัวซีด
อย่างไรก็ดี หากอาการเหล่านี้มีความรุนแรงมาก หรือปรากฎอาการมากกว่าหนึ่งข้อร่วมกันควรรีบพาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่หากอาการเข้าข่ายนี้จริงแม้จะไม่รุนแรงนักก็ไม่ควรนิ่งนอนใจคิดว่า “ไม่เป็นไร” ควรหาโอกาสไปรับการตรวจจะดีกว่า เนื่องจากหากป่วยด้วยอาการหัวใจเต้นช้าจริงและไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่ภาวะอันตราย เช่น หัวใจวาย หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้
การรักษาภาวะหัวใจเต้นช้า
การรักษาภาวะนี้จะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เกิดขึ้น และมีการรักษาอยู่ 2 แนวทางด้วยกัน ได้แก่
- การใช้ยา เช่น แอสโทรไพน์ (Atropine) อิพิเนฟริน (Epinephrine) และ โดปามีน (Dopamaine)
- การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker) เพื่อทำหน้าที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจตามที่กำหนดเพื่อให้เกิดจังหวะการเต้นของหัวใจทำให้มีปริมาณเลือดออกจากหัวใจต่อนาทีเพียงพอ
ภาวะหัวใจเต้นช้าสามารถป้องกันและรักษาได้ทั้งการใช้ยา การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมทั้งลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจเป็นสาเหตุให้หัวใจเต้นช้าได้ ที่สำคัญหมั่นสังเกตตนเองและคนที่รักบ่อยๆ หากมีความผิดปกติ ใดๆ เกิดขึ้นจะได้รักษาได้ทันท่วงที
ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจและสมรรถภาพหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
ในเด็กเล็กต้องใช้วิธีฟังอัตราการเต้นของหัวใจแทนการคลำชีพจรไหมค่ะ