กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.รุจิรา เทียบเทียม
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.รุจิรา เทียบเทียม

อัตราการเต้นของหัวใจปกติในเด็ก

แค่ฟังเสียงหัวใจเป็นและนับได้ถูกวิธี ก็บ่งบอกถึง "ภาวะสุขภาพ" ของลูกน้อยได้
เผยแพร่ครั้งแรก 2 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อัตราการเต้นของหัวใจปกติในเด็ก

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อัตราการเต้นของหัวใจสามารถบ่งบอกภาวะสุขภาพได้
  • วิธีวัดอัตราการเต้นของหัวใจแบบง่ายทำได้โดยการเอาหูแนบอก หรือใช้หูฟังวางลงบนหน้าอก ค่อนไปทางซ้าย และนับให้ครบ 1 นาที จะเป็นอัตราการเต้นของหัวใจในขณะนั้น
  • ค่าอัตราการเต้นของหัวใจสามารถวัดได้ในทั้งขณะหลับและขณะตื่น โดยทั่วไปอัตราการเต้นของหัวใจขณะตื่นจะมากกว่าเล็กน้อย
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็วที่สม่ำเสมอ มีอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่า 220 ครั้ง/นาที ส่วนภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติ มีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 50 ครั้ง/นาที
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับอัตราการเต้นของหัวใจเด็กเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจ คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตบัตรหลานก่อนจะเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด (ดูแพ็กเกจฝากครรภ์และตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

ปกติแล้วอัตราการเต้นของหัวใจในเด็กจะสูงกว่าอัตราการเต้นการเต้นของหัวใจในผู้ใหญ่ มาเรียนรู้ระดับอัตราการเต้นของหัวใจในเด็ก เพื่อที่จะสามารถประเมินได้ว่า "หัวใจของเด็กเต้นเร็ว หรือช้า ผิดปกติหรือไม่"

ข้อควรรู้เกี่ยวกับอัตราการเต้นของหัวใจ

ในทางการแพทย์แบ่งอัตราการเต้นของหัวใจออกเป็นหลายค่าที่พบบ่อย เช่น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • อัตราการเต้นของหัวใจในขณะพัก 
  • อัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย 
  • ค่าชีพจรเป้าหมายขณะออกกำลังกายด้วย

ทั้งนี้หากรู้ว่า ได้รับการตรวจวัดค่าอัตราการเต้นของหัวใจในรูปแบบไหนนั้นจะช่วยให้เราสามารถวัดค่าได้ตรงตามความต้องการ และมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

ระดับอัตราการเต้นของหัวใจในเด็กโดยเฉลี่ย

การแบ่งระดับอัตราการเต้นของหัวใจในเด็กสามารถแบ่งได้หลายแบบ แต่วิธีง่ายๆ ที่คุณพ่อคุณแม่จะสะดวกในการดูว่า "ลูกของท่าน กำลังประสบปัญหาเรื่องหัวใจเต้นเร็ว หรือช้ากว่าปกติ หรือไม่นั้น" มีวิธีง่ายๆ ดังนี้

เริ่มด้วยการเอาหูแนบอก หรือใช้หูฟังวางลงบนหน้าอก ค่อนไปทางซ้าย และนับให้ครบ 1 นาที จะเป็นอัตราการเต้นของหัวใจในขณะนั้น

นอกจากนี้เรายังสามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้ในทั้งขณะหลับและขณะตื่น โดยแต่ละช่วงอายุค่าทั้งสองนี้จะไม่เท่ากัน ดังนี้

อัตราการเต้นของหัวใจขณะตื่น

  • อายุ 0 เดือน – 1 เดือน จำนวน 101-165 ครั้ง/นาที
  • อายุ 1 เดือน – 1 ปี        จำนวน 100-150 ครั้ง/นาที
  • อายุ 1 ปี – 2 ปี             จำนวน 70-110 ครั้ง/นาที
  • อายุ 3 ปี – 5 ปี            จำนวน 65-110 ครั้ง/นาที
  • อายุ 6 ปี – 11 ปี            จำนวน 60-95 ครั้ง/นาทื
  • อายุ 12 ปี – 15 ปี          จำนวน 55-85 ครั้ง/นาที

อัตราการเต้นของหัวใจขณะหลับ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • อายุ 0 เดือน – 1 เดือน จำนวน 90-160 ครั้ง/นาที
  • อายุ 1 เดือน – 1 ปี         จำนวน 90-160 ครั้ง/นาที
  • อายุ 1 ปี – 2 ปี              จำนวน 80-120 ครั้ง/นาที
  • อายุ 3 ปี – 5 ปี             จำนวน 65-100 ครั้ง/นาที
  • อายุ 6 ปี – 11 ปี             จำนวน 58-90 ครั้ง/นาทื
  • อายุ 12 ปี – 15 ปี           จำนวน 50-90 ครั้ง/นาที

ทั้งนี้หากพบว่า จังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ หรือได้ยินเสียงแปลกๆ หรือพบว่า จังหวะการเต้นช้า หรือเร็วกว่าปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์โดยเร็ว

อัตราการเต้นหัวใจที่ช้าและเร็ว

อัตราการเต้นของหัวใจในเด็กสามารถเป็นได้ทั้งเต้นปกติ เต้นเร็วผิดปกติ (tachycardia) หรือเต้นช้าผิดปกติ (bradycardia) ได้ เช่น

  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็วที่สม่ำเสมอ (Supraventricular tachycardia: SVT) มีอัตราการเต้นของหัวใจได้สูงกว่า 220 ครั้ง/นาที
  • ภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติ มีอัตราการเต้นของหัวใจที่ต่ำกว่า 50 ครั้ง/นาที

หากมีภาวะที่หัวใจเต้นช้า หรือเร็วเกินไป จะต้องคิดไว้เสมอว่า อาจเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ได้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที โดยเฉพาะหากลูกของคุณมีอาการร่วมด้วยดังต่อไปนี้

  • เป็นลมหมดสติ
  • วิงเวียนศีรษะ
  • ร้องไห้งอแง
  • กระสับกระส่าย
  • มีชีพจรค่อนข้างต่ำขณะออกกำลังกาย
  • ชีพจรค่อนข้างสูงขณะหลับ

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจช้า หรือเร็วในเด็กได้เช่นกัน เช่น

  • คาเฟอีน
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสำหรับรักษาโรคสมาธิสั้น ยาแก้คัดจมูกบางชนิด
  • มีผลมาจากความเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น มีไข้ ภาวะซีด ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism)

อัตราการเต้นของหัวใจไม่ว่าจะในเด็ก หรือผู้ใหญ่ สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพร่างกายในขณะนั้นๆ ได้ ดังนั้นจึงควรตรวจเช็กสุขภาพร่างกายและสุขภาพหัวใจอย่างสม่ำเสมอ

หากคุณไม่แน่ใจว่า อัตราการเต้นของหัวใจของลูก หรือเด็กๆ ในความดูแล มีความผิดปกติหรือไม่ การไปตรวจสุขภาพและการตรวจสุขภาพหัวใจน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีเพื่อคลายความไม่สบายใจ 

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพอื่นๆ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Weaver, Donald J., "Hypertension in Children and Adolescents." Pediatrics in Review 38.8 August 2017: 369-382.
Kliegman, R.M., et al. Nelson,Textbook of Pediatrics, 20th Edition. Philadelphia, PA: Elsevier, 2015.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม