หัวใจเป็นกล้ามเนื้อที่เป็นศูนย์กลางของระบบไหลเวียนเลือด มีตำแหน่งอยู่บริเวณตรงกลางหน้าอกค่อนไปทางซ้ายเล็กน้อย มีขนาดประมาณกำปั้น
หน้าที่สำคัญของหัวใจคือ สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงทัวร่างกายในทุกๆ ครั้งที่หัวใจเต้น โดยเลือดที่สูบฉีดไปนั้นจะผ่านการฟอกโดยปอด อุดมไปด้วยออกซิเจน และสารอาหาร หลังจากนั้นก็จะนำคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียที่ไม่จำเป็นออกไปนั่นเอง
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
โครงสร้างของหัวใจ
โครงสร้างของหัวใจจะประกอบด้วย เยื่อหุ้มหัวใจ ห้องหัวใจ และลิ้นหัวใจ โดยมีรายละเอียดดังนี้
เนื้อเยื่อหัวใจ
หัวใจประกอบด้วยชั้นเนื้อเยื่อ 3 ชั้น โดยทั้ง 3 ชั้นจะถูกล้อมรอบด้วยถุงหุ้มหัวใจ (Pericardium) เป็นชั้นบางๆ ที่ปกป้องหัวใจอีกที โดยเนื้อเยื่อมีชื่อเรียกดังนี้
- ชั้นอิพิคาร์เดียม (Epicardium) เป็นชั้นนอกสุด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของถุงหุ้มหัวใจที่อยู่ติดกับหัวใจ
- ชั้นไมโอคาร์เดียม (Myocardium) เป็นชั้นกลาง
- ชั้นเอนโดคาร์เดียม (Endocardium) เป็นชั้นในสุด
ห้องหัวใจ
ภายในหัวใจจะแบ่งออกเป็น 4 ห้อง โดยแต่ละห้องจะถูกคั่นด้วยผนังกล้ามเนื้อที่เรียกว่า Septum ได้แก่
- ห้องเล็กด้านบนฝั่งขวา (Right Atrium)
- ห้องเล็กด้านบนฝั่งซ้าย (Left Atrium)
- ห้องใหญ่ด้านล่างฝั่งขวา (Right Ventricle)
- ห้องใหญ่ด้านล่างฝั่งซ้าย (Left Ventricle)
ลิ้นหัวใจ
หัวใจทั้ง 4 ห้อง จะมีลิ้นหัวใจทำหน้าที่เหมือนประตูเข้าออกทางเดียว เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ ซึ่งแต่ละห้องจะมีลิ้นหัวใจดังต่อไปนี้
- ลิ้นออร์ติก (Aortic valve) อยู่ทางซ้าย
- ลิ้นไมตรัล (Mitral or bicuspid valve) อยู่ทางซ้าย
- ลิ้นพัลโมนารี (Pulmonary or pulmonic valve) อยู่ทางขวา
- ลิ้นไตรคัสปิด (Tricuspid valve) อยู่ทางขวา
อ่านเพิ่มเติม: ส่วนประกอบของหัวใจประกอบด้วยอะไรบ้าง
ระบบไหลเวียนเลือด
หัวใจจะทำหน้าที่สูบฉีดเลือดประมาณ 5 ลิตรไปทั่วร่างกายตลอดเวลา เรียกว่าการไหลเวียนโลหิต (Circulation) โดยหัวใจ เลือด และหลอดเลือดต่างๆ จะทำงานร่วมกันจนกลายเป็นระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular System) นั่นเอง
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
หัวใจห้องทางขวาจะรับเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ จากการใช้งานของสมองและร่างกาย โดยหัวใจจะสูบฉีดเลือดเหล่านี้เข้าไปในปอดเพื่อเติมออกซิเจนใหม่ ก่อนส่งเลือดกลับเข้าไปในหัวใจห้องด้านซ้ายเพื่อเตรียมสูบฉีดกลับไปเลี้ยงสมองและร่างกายใหม่
หลอดเลือด
เลือดจะถูกสูบฉีดไปทั่วร่างกาย ผ่านเส้นเลือดดังนี้
- หลอดเลือดแดง (Arteries) ใช้สูบฉีดเลือดที่เต็มไปด้วยออกซิเจนจากหัวใจ ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเส้นเลือดแดงจะมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ตามระยะห่างจากหัวใจ
- หลอดเลือดฝอย (Capillaries) เป็นเครือข่ายหลอดเลือด ที่เชื่อมหลอดเลือดแดงที่มีขนาดเล็กที่สุดเข้ากับหลอดเลือดดำที่มีขนาดเล็กที่สุด มีหน้าที่ช่วยแลกเปลี่ยนน้ำ ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ สารอาหาร และของเสียอื่นๆ ระหว่างหลอดเลือดทั้งสองและเนื้อเยื่อโดยรอบ
- หลอดเลือดดำ (Veins) ใช้สูบฉีดเลือดที่พร่องออกซิเจนกลับเข้าไปในหัวใจ และจะมีขนาดหลอดเลือดใหญ่ขึ้นเมื่ออยู่ใกล้หัวใจ
หลอดเลือดจะมีขยายใหญ่ หรือตีบแคบ ขึ้นอยู่กับว่าส่วนนั้น ๆ ของร่างกายต้องใช้เลือดมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะถูกควบคุมด้วยฮอร์โมน
อ่านเพิ่มเติม: ระบบไหลเวียนเลือดมีกระบวนการทำงานอย่างไร และมีวิธีดูแลอย่างไร
ระบบทางไฟฟ้ากับอัตราการเต้นของหัวใจ
เพื่อให้หัวใจเต้นอย่างสม่ำเสมอ หัวใจจึงต้องการสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งไปยังกล้ามเนื้อหัวใจเพื่อกระตุ้นให้เกิดการบีบรัดและคลายตัว โดยระบบไฟฟ้าจะมีกระบวนการทำงานดังนี้
- สัญญาณทางไฟฟ้าจะเริ่มขึ้นที่หัวใจห้องบนฝั่งขวาที่มีหน้าที่เหมือนเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจตามธรรมชาติ ซึ่งจะมีปุ่มไซโนเอเทรียล (Sino-Atrial) อยู่ ปล่อยสัญญาณไฟฟ้าให้กล้ามเนื้อห้อง Atrium ทั้งสอง ทำให้เกิดการบีบรัดตัว ส่งผลให้เลือดไหลผ่านลิ้นหัวใจเข้าไปในห้องหัวใจด้านล่าง (Ventricles)
- หลังจากนั้นสัญญาณไฟฟ้าจาก SA node จะวิ่งมาถึงอีกกลุ่มเซลล์ชนิดพิเศษที่เรียกว่าปุ่มเอทริโอเวนทริคิวลาร์ (Atrio-Ventricular) จะส่งสัญญาณทางไฟฟ้าผ่านกล้ามเนื้อหัวใจ ด้วยระบบเส้นทางไฟฟ้าที่เรียกว่า "คอนดัคติ่งซิสเต็ม (Conducting System)" ไปกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างทั้งสองฝั่ง
- กล้ามเนื้อของห้องหัวใจด้านล่างจะบีบรัดตัวและทำให้เลือดสูบฉีดผ่านลิ้นพัลโมนารี และลิ้นออร์ติก เข้าไปยังหลอดเลือดแดงเส้นหลักกระจายเลือดไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย
- หลังจากนั้น ปุ่มไซโนเอเทรียลก็จะปล่อยสัญญาณทางไฟฟ้าอีกรอบเพื่อเริ่มวงจรการทำงานใหม่อีกครั้ง
อ่านเพิ่มเติม: อัตราการเต้นของหัวใจในผู้ใหญ่ อัตราการเต้นของหัวใจในเด็ก และอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ความดันโลหิต
ความดันโลหิต หมายถึง ความดันภายในหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ ขณะที่ปั๊มเลือดที่ผ่านการฟอกจากปอดไปเลี้ยงตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย หรือที่เรียกว่า “ระบบไหลเวียนเลือด”
ดังนั้นความดันโลหิตจึงมีอยู่ตลอดเวลาเพราะหัวใจมีการไหลเวียนของเลือดอยู่ตลอดเวลานั้นเอง
วัฎจักรการเต้นของหัวใจกับความดันโลหิต
วัฎจักรการเต้นของหัวใจ 1 ครั้ง หมายถึง การบีบรัดและคลายตัวของหัวใจเพื่อใช้ในการสูบฉีดเลือดในแต่ละครั้ง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความดันภายในเลือด หรือความดันโลหิตนั่นเอง
โดยในขณะที่ร่างกายพักอยู่จะมีอัตราการเต้นหัวใจอยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อนาที และจะเพิ่มขึ้นขณะที่คุณออกกำลังกาย เพื่อให้มีเลือดไหลเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอ ซึ่งหัวใจทั้ง 4 ห้องจะต้องคอยสูบฉีดเลือดในจังหวะที่ถูกต้องและสม่ำเสมออยู่ตลอดเวลา
ระยะของวัฎจักรการเต้นหัวใจมีอยู่ 2 ระยะ คือ
- ซิสโทล (Systole) เมื่อหัวใจบีบตัวและดันเลือดออกจากห้องหัวใจ
- ไดแอสโทล (Diastole) ช่วงเวลาเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจคลายตัว และเลือดไหลเข้าห้องหัวใจเพื่อรอการบีบ
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวใจ
ความผิดปกติของหัวใจในที่นี้ จะแบ่งออกเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในแต่ละส่วนที่เกี่ยวของกับหัวใจ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ
บางคนอาจเกิดมาพร้อมกับหัวใจที่พัฒนาขึ้นอย่างไม่ถูกต้องตั้งแต่ตอนที่เป็นตัวอ่อนในครรภ์ (Congenital Heart Disease) หรือบางครั้งก็อาจจะเกิดความผิดปกติของหัวใจที่สืบทอดผ่านทางกรรมพันธุ์ เรียกความผิดปกติเหล่านี้ว่า "ความผิดปกติที่เกิดจากโครงสร้างของหัวใจ"
2. ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด
- หัวใจวาย (Heart Attack)
- แน่นหน้าอก (Angina)
- ภาวะหลอดเลือดสมอง (Stroke)
3. ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางไฟฟ้า
โดยทั่วไปแล้วหัวใจจะเต้นประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที โดยจังหวะการเต้นจะขึ้นอยู่กับสัญญาณทางไฟฟ้าที่ส่งไปยังหัวใจ
หากสัญญาณทางไฟฟ้าภายในหัวใจถูกขัดขวางอาจทำให้หัวใจเต้นเร็วเกินไป (Tachycardia) หรือช้าลงเกินไป (Bradycardia) หรือเต้นอย่างไม่สม่ำเสมอ จนทำให้เกิดภาวะดังต่อไปนี้
- หัวใจวาย
- ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
- ปัญหาที่ลิ้นหัวใจ
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม (Cardiomyopathy)
- ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure)
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ
หัวใจจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หากลิ้นหัวใจใช้การไม่ได้ โดยทั่วไปแล้วปัญหาที่พบเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ มีดังนี้
- ลิ้นหัวใจรั่ว (Valve Regurgitation หรือ Valve Incompetence)
- ลิ้นหัวใจตีบแคบและแข็งตัว (Valve Stenosis)
หัวใจเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่สำคัญและทำงานตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่หยุดพัก หมั่นดูแลรักษาสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง เพื่อให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหัวใจ
- ส่วนประกอบของหัวใจมีอะไรบ้าง
- กล้ามเนื้อหัวใจคืออะไร แตกต่างจากกล้ามเนื้ออื่นๆ อย่างไร และทำหน้าที่อะไร
- ระบบไหลเวียนเลือดมีกระบวนการทำงานอย่างไร มีวิธีดูแลอย่างไร
- ระบบทางเดินหายใจประกอบด้วยอวัยวะอะไรบ้าง มีกระบวนการทำงานอย่างไร และความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ
- อัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์
- อัตราการเต้นของหัวใจในเด็ก
- อัตราการเต้นของหัวใจในผู้ใหญ่