กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

ความสำคัญของอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก

อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักคืออะไร สำคัญอย่างไร ผู้หญิงและผู้ชายแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?
เผยแพร่ครั้งแรก 3 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 25 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ความสำคัญของอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อัตราการเต้นของหัวใจหมายถึง อัตราการเต้นของหัวใจจำนวนครั้งต่อนาที (Beat Per Minute: BPM)
  • อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก หรือค่า RHR สามารถบ่งบอกระดับสมรรถภาพทางร่างกาย ปัญหา หรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย หรือจิตใจขณะนั้นๆ ได้
  • เราสามารถวัดค่า RHR ได้ด้วยตนเอง ด้วยการจับชีพจรของตนเอง 1 นาทีในช่วงเช้าหลังจากตื่นนอนได้ 2-3 นาที วางนิ้ว 2 นิ้วของคุณลงบนชีพจรที่คอ หรือที่ข้อมือ แล้วนำไปเข้าสูตรคำนวณอีกครั้ง จะได้ค่า RHR ขณะพัก
  • หากมีอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักผิดปกติ หรืออัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด 
  • วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ หมั่นสังเกตตนเอง วัดค่า RHR บ้าง เพื่อทราบค่าปกติของตนเอง 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ

 อัตราการเต้นของหัวใจ หมายถึง อัตราการเต้นของหัวใจจำนวนครั้งต่อนาที (Beat Per Minute: BPM) โดยการที่เราจะวัดว่า หัวใจมีอัตราการเต้นที่ปกติดีหรือไม่ จะต้องคำนึงถึงค่าอัตราการเต้นของหัวใจด้วย

อัตราการเต้นของหัวใจแบ่งออกเป็น อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก และอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย โดยมีรายละเอียดดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก

อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก (Resting Heart Rate: RHR) หรือเรียกได้สั้นๆ ว่า "ค่า RHR" หมายถึง จำนวนครั้งที่หัวใจเต้นใน 1 นาทีขณะที่พัก ไม่มีการเคลื่อนไหว รวมถึงหลังจากตื่นนอน 

ตัวเลขนี้สามารถบอกถึงระดับของสมรรถภาพทางกายว่าเป็นอย่างไร เช่น เมื่อคุณมีสุขภาพดีมากขึ้น ค่า RHR ก็จะลดลง เพราะหัวใจของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

ค่า RHR ยังสามารถเป็นตัวบ่งชี้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดกับร่างกายได้ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่สุขภาพกายเท่านั้น และยังรวมถึง

  • สุขภาพจิตและภาวะอารมณ์ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ซึมเศร้า มีความสุข และอาการอ่อนเพลียที่รุนแรง 
  • ช่วยตรวจสอบว่า คุณได้ฝึกซ้อม หรือออกกำลังกายเกินขอบเขตที่ร่างกายจะพักฟื้นได้ทันหรือไม่ 

นอกจากนี้ ค่า RHR ยังได้รับอิทธิพลจากองค์ประกอบของร่างกายอื่นๆ รวมทั้งปัจจัยภายนอก เช่น ยาเสพติด ยารักษาโรค แอลกอฮอล์ และคาเฟอีน ด้วยเช่นกัน 

เรียกง่ายๆ ก็คือ ทุกสิ่งที่คุณรับเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงพฤติกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน ล้วนส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจทั้งหมด

อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักในระดับปกติ

ค่า RHR โดยเฉลี่ยจะแตกต่างกันไปตามอายุ เพศ และการออกกำลังกายด้วย ฉะนั้นอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักของผู้ชาย ผู้หญิง นักกีฬาชาย และนักกีฬาหญิง จะแตกต่างกันไปดังนี้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักในผู้ชาย

อัตราการเต้นของผู้ชายอาจแตกต่างกันได้ตามปัจจัยหลายอย่าง เช่น สูบบุหรี่ อุณหภูมิ ผลข้างเคียงจากยา แต่โดยค่าเฉลี่ยอาจดูได้จากข้อดังต่อไปนี้ 

  • อายุ 18-25 ปี ค่าเฉลี่ยของบุคคลทั่วไปอยู่ที่ 70-73 ครั้งต่อนาที ค่าเฉลี่ยของนักกีฬาอยู่ที่ 49-55 ครั้งต่อนาที
  • อายุ 26-35 ปี ค่าเฉลี่ยของบุคคลทั่วไปอยู่ที่ 71-74 ครั้งต่อนาที ค่าเฉลี่ยของนักกีฬาอยู่ที่ 49-54 ครั้งต่อนาที
  • อายุ 36-55 ปี ค่าเฉลี่ยของบุคคลทั่วไปอยู่ที่ 71-76 ครั้งต่อนาที ค่าเฉลี่ยของนักกีฬาอยู่ที่ 50-57 ครั้งต่อนาที
  • อายุ 56-65 ปี ค่าเฉลี่ยของบุคคลทั่วไปอยู่ที่ 72-76 ครั้งต่อนาที ค่าเฉลี่ยของนักกีฬาอยู่ที่ 51-56 ครั้งต่อนาที
  • อายุ 65 ปีขึ้นไป ค่าเฉลี่ยของบุคคลทั่วไปอยู่ที่ 70-73 ครั้งต่อนาที ค่าเฉลี่ยของนักกีฬาอยู่ที่ 50-55 ครั้งต่อนาที

อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักในผู้หญิง

อัตราการเต้นของผู้หญิงอาจแตกต่างกันได้ตามปัจจัยหลายอย่าง เช่น อารมณ์ น้ำหนัก ผลข้างเคียงจากยา แต่โดยค่าเฉลี่ยอาจดูได้จากข้อดังต่อไปนี้

  • อายุ 18-25 ปี ค่าเฉลี่ยของบุคคลทั่วไปอยู่ที่ 74-78 ครั้งต่อนาที ค่าเฉลี่ยของนักกีฬาอยู่ที่ 54-60 ครั้งต่อนาที
  • อายุ 26-35 ปี ค่าเฉลี่ยของบุคคลทั่วไปอยู่ที่ 73-76 ครั้งต่อนาที ค่าเฉลี่ยของนักกีฬาอยู่ที่ 54-59 ครั้งต่อนาที
  • อายุ 36-55 ปี ค่าเฉลี่ยของบุคคลทั่วไปอยู่ที่ 74-78 ครั้งต่อนาที ค่าเฉลี่ยของนักกีฬาอยู่ที่ 54-60 ครั้งต่อนาที
  • อายุ 56-65 ปี ค่าเฉลี่ยของบุคคลทั่วไปอยู่ที่ 74-77 ครั้งต่อนาที ค่าเฉลี่ยของนักกีฬาอยู่ที่ 54-59 ครั้งต่อนาที
  • อายุ 65 ปีขึ้นไป ค่าเฉลี่ยของบุคคลทั่วไปอยู่ที่ 73-76 ครั้งต่อนาที ค่าเฉลี่ยของนักกีฬาอยู่ที่ 54-59 ครั้งต่อนาที

สำหรับสาเหตุที่ค่า RHR ในผู้หญิงนั้นสูงกว่าในผู้ชาย นั่นก็เพราะผู้หญิงมีขนาดหัวใจที่เล็กกว่า ปริมาตรของโลหิตที่ไหลเวียนในร่างกายน้อยกว่า และมีระดับฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ในโลหิตต่ำกว่าผู้ชาย 

ส่วนค่า RHR ในหญิงมีครรภ์นั้น จะมีระดับที่สูงขึ้นกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ โดยค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 80-90 ครั้งต่อนาที

ระดับอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักที่ผิดปกติ

ค่า RHR ที่ไม่ปกติและสูงเกินไปในคนแต่ละช่วงอายุและเพศ สามารถจำแนกออกเป็นตัวเลขได้ดังต่อไปนี้ 

  • ผู้ชายอายุ 18-55 ปี ค่า RHR โดยเฉลี่ยอยู่ที่มากกว่า 82-84 ครั้งต่อนาที
  • ผู้ชายอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ค่า RHR โดยเฉลี่ยอยู่ที่มากกว่า 80 ครั้งต่อนาที
  • ผู้หญิงทุกช่วงวัย ค่า RHR โดยเฉลี่ยอยู่ที่มากกว่า 83-85 ครั้งต่อนาที

หากค่า RHR ที่วัดออกมาเป็นตัวเลขดังกล่าว ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจความแข็งแรงของหัวใจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วิธีวัดอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก

การวัดค่า RHR สามารถทำได้ด้วยการจับชีพจรของตนเอง 1 นาทีในช่วงเช้า หรือหลังจากตื่นนอนแล้ว ให้ใช้เวลาประมาณ 2-3 นาทีเพื่อนอนพักนิ่งๆ และทำใจให้สบาย ปล่อยให้อัตราการเต้นของหัวใจนช้าลง 

หลังจากนั้นลองวางนิ้ว 2 นิ้วของคุณลงบนชีพจรที่คอ หรือที่ข้อมือ ซึ่งวิธีการวัดค่า RHR จะมีทางเลือกในการนับจำนวนการเต้นของหัวใจได้ดังต่อไปนี้

  1. นับอัตราการเต้นของหัวใจเป็นเวลา 6 วินาทีและคูณด้วย 10 วิธีนี้จะนับได้ง่าย แต่ก็สามารถเกิดการนับที่ผิดพลาดได้ง่ายเช่นกัน
  2. นับอัตราการเต้นของหัวใจเป็นเวลา 15 วินาทีและคูณด้วย 4 ซึ่งจะมีความแม่นยำมากขึ้นเล็กน้อย
  3. นับอัตราการเต้นของหัวใจเป็นเวลา 30 วินาทีและคูณด้วย 2
  4. นับอัตราการเต้นของหัวใจเป็นเวลา 60 วินาทีเต็ม เป็นวิธีที่แม่นยำที่สุด แต่จำเป็นต้องใช้สมาธิในการนับเพื่อป้องกันความผิดพลาด

จากวิธีทั้ง 4 แบบ ให้ลองใช้วิธีใดวิธีหนึ่งเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน และค่าเฉลี่ยที่ออกมาจะเป็นค่า RHR ของตนเอง 

นอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังอื่นๆ ที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อให้ได้ตัวเลขค่า RHR ที่แม่นยำที่สุด ได้แก่ หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มคาเฟอีน และอย่าจับบริเวณชีพจรแรง หรือกดหนักเกินไป 

เมื่อรู้ค่า RHR ของตนเองแล้ว ก็ควรหมั่นวัดค่าเป็นครั้งคราวเพื่อตรวจสอบความแข็งแรงของหัวใจว่า มีการพัฒนาเป็นอย่างไร หรือมีจำนวนตัวเลขเพิ่มขึ้นจนเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติหรือไม่ 

ถ้ารู้สึกเหนื่อย หรือเครียด ค่า RHR ที่ออกมาจะเป็นตัวบอกว่า ร่างกายของคุณต้องการการพักผ่อน หรือทำอะไรที่แตกต่างออกไปบ้าง เช่น ช้อปปิ้ง ดูหนัง ปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ เพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลายจากการออกแรง และยังช่วยให้สุขภาพจิตของคุณอยู่ในภาวะที่ดีด้วย 

อัตราการเต้นของหัวใจในผู้ที่ออกกำลังกาย

ในบางครั้งการออกกำลังกายที่มีระดับความหนักหน่วงสูง ก็สามารถนำความเครียดมาสู่ร่างกายและจิตใจได้เช่น เราจึงต้องคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกาย เพื่อการออกกำลังอย่างมีประสิทธิภาพ

อัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • อัตราการเต้นสูงสุดที่หัวใจของคุณจะสามารถเต้นได้ (Maximum Heart Rate)
  • เป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย (Target Heart Rate Zone)

การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพของปอดและหัวใจ จะต้องให้ความสำคัญกับอัตราการเต้นของหัวใจ โดยมีสูตรการคำนวณง่ายๆ คือ

  • อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด 220 - อายุ
  • เป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย อยู่ระหว่างอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด x 0.5 - อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด x 0.75

ดังนั้นการออกกำลังกายที่ดีจึงควรออกแต่พอดี ไม่มาก และไม่หนักจนเกินไป เหมาะสมกับสุขภาพและร่างกายชองแต่ละคน เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

อัตราการเต้นของหัวใจจะปกติหรือไม่นั้น ก็ต้องดูว่า ขณะที่เราพักหรือออกกำลังกาย ระดับอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในเกณฑ์ปกติดีหรือเปล่า หากอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ต่ำ หรือสูงกว่าเกณฑ์ ไม่ควรเพิกเฉย ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติทันที

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Medicalnewstoday, What should my heart rate be? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/235710.php), 15 November 2019.
British Heart Foundation, Your heart rate (https://www.bhf.org.uk/informationsupport/how-a-healthy-heart-works/your-heart-rate), 8 July 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)