กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

โทษของยาเสพติด 10 ชนิด อันตรายร้ายแรงต่อชีวิตที่ทุกคนควรรู้

10 ยาเสพติดอันตราย กับโทษร้ายที่ทำลายถึงชีวิต
เผยแพร่ครั้งแรก 29 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 30 พ.ย. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 12 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที
โทษของยาเสพติด 10 ชนิด อันตรายร้ายแรงต่อชีวิตที่ทุกคนควรรู้

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาเสพติดให้โทษร้ายแรงต่อร่างกายของผู้เสพ และยังส่งผลกระทบขยายไปถึงปัญหาครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ และอาชญากรของประเทศ
  • โทษของยาเสพติดเกือบทุกชนิดออกฤทธิ์รบกวนระบบประสาท เช่น ทำให้ตื่นตัวผิดปกติ เกิดภาพหลอน หูแว่ว คลุ้มคลั่ง ซึมเศร้า วิตกกังวล 
  • ยาเสพติดสามารถทำให้ระบบของร่างกายส่วนอื่นๆ ทำงานผิดปกติ เช่น การเคลื่อนไหวของอวัยวะทำงานไม่สัมพันธ์กัน ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว มีไข้ นอนไม่หลับ สุขภาพทรุดโทรมลง
  • การเสพยาขณะตั้งครรภ์จะทำให้เกิดอันตรายต่อทารก เช่น ทำให้น้ำหนักตัวทารกน้อย เลือดออกในสมอง เส้นรอบศีรษะมีขนาดเล็ก ซึ่งจะส่งผลระยะยาวต่อสมาธิ และความจำ ทำให้เด็กมีปัญหาด้านพฤติกรรมเมื่อโตขึ้น
  • ผู้ที่เสพยาเสพติดมักจะพึ่งยาเสพติดเพื่อระบายความเครียด หรือทำให้รู้สึกมีความสุข ซึ่งความจริงแล้ว คุณสามารถเข้าพบจิตแพทย์ เพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับความเครียดได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด

สิ่งที่ขึ้นชื่อว่า “ยาเสพติด” ล้วนก่อให้เกิดโทษต่อชีวิตผู้เสพด้วยกันทั้งสิ้น โดยทำลายทั้งชีวิต ทรัพย์สิน ครอบครัวที่คุณรักและความมั่นคงของประเทศชาติ 

ด้วยเหตุนี้คุณจึงควรทราบว่า 10 ยาเสพติดซึ่งเป็นที่แพร่หลายในหมู่ผู้เสพนั้นมีอะไรบ้าง แล้วมีโทษอย่างไร ส่งผลอะไรต่อร่างกายของคุณ โทษของยาเสพติดในแต่ละชนิดมีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. โทษของยาบ้า

ยาบ้า (ยาม้า เมทแอมเฟตามีน หรือแอมเฟตามีน) ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาททำให้ผู้เสพมีอาการติดยาทั้งทางร่างกาย และจิตใจ มีลักษณะเป็นเม็ดกลมสีส้ม แดง น้ำตาล เขียว มีอักษร WY, Y, R 

เมื่อยาเข้าสู่ร่างกายในช่วงที่เสพใหม่ๆ จะออกฤทธิ์กระตุ้นร่างกายให้มีอาการต่อไปนี้

  • เกิดการตื่นตัว ไม่ง่วง 
  • มีกำลังวังชา
  • ความดันโลหิตสูง
  • มีอาการใจสั่น
  • ตึงเครียด
  • อัตราการเต้นของจังหวะหัวใจเร็วขึ้น 

แต่เมื่อฤทธิ์ยาหมดลง ระบบสั่งการทางสมองทำงานช้าลง การตัดสินใจช้า ผู้เสพจะมีอาการอ่อนเพลียมากกว่าปกติ และเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้น 

หากผู้เสพยังคงเสพยาบ้าติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือเสพมากเกินขนาด ฤทธิ์ยาก็จะยิ่งทำลายระบบประสาทในร่างกาย และส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจและหลอดเลือด  รวมไปถึงอวัยวะต่างๆ เช่น

  • สมองเสื่อม 
  • มีอาการประสาทหลอน เกิดภาพลวงตา 
  • วิตกกังวล หวาดระแวง 
  • เสียสติ คลุ้มคลั่งเป็นบ้าจนสามารถทำร้ายผู้อื่นและตนเองได้ 
  • เกิดภาวะหมดสติ และทำให้เสียชีวิตได้

อ่านเพิ่มเติม: ยาบ้า ส่วนผสม อาการของคนเสพ โทษทางกฏหมาย และสถานบำบัด

2. โทษของเฮโรอีน

เฮโรอีนจะเป็นสารเสพติดมีลักษณะเป็นผงสีขาว มีฤทธิ์กดระบบประสาท ผู้เสพอาจฉีดเข้าเส้นเลือด การสูบ เสพผ่านทางการรับประทาน หรือแม้แต่การใช้สอดทางทวารหนัก 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การเสพจะทำให้ผู้เสพรู้สึกผ่อนคลายจากความเครียด มีความสุข และลดอาการเจ็บปวดได้ หรือไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดเลย 

นอกจากนี้เฮโรอีนยังทำให้ผู้เสพรู้สึกมึนเมา สมอง และการรับรู้จะเบลอคล้ายกับอาการกึ่งง่วงกึ่งตื่น ผู้เสพหลายรายมักใช้เฮโรอีนเพื่อให้รู้สึกว่า ตนเองได้หลีกหนีจากความวุ่นวายและความเครียด

เฮโรอีนเป็นยาเสพติดที่ทำให้ผู้เสพติดได้ง่ายทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ รวมถึงทำให้เกิดโทษระยะยาวที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ได้แก่ 

  • อาการปวดตามส่วนต่างๆ ได้แก่ กล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ สันหลัง บั้นเอว และปวดศีรษะอย่างรุนแรง 
  • ผิวหนังออกเป็นสีแดง
  • นอนไม่หลับ
  • กระสับกระส่าย ทุรนทุรายอึดอัด
  • มีอาการจุกภายในอกราวกับจะขาดใจตาย 
  • อ่อนเพลียอย่างหนัก มีอาการหนาวๆ ร้อนๆ 
  • มีอาการชักตาตั้ง น้ำลายไหลฟูมปาก 
  • ม่านนัยน์ตาดำหดลง 
  • เสี่ยงต่อการเป็นโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน
  • เป็นโรคปอดอักเสบ
  • ตับ และไตเสื่อม
  • มึนงง ความจำเสื่อม
  • หายใจไม่ออก กดระบบทางเดินหายใจ
  • หัวใจเต้นช้าลง
  • เกิดภาวะเส้นเลือดหดตัว
  • เป็นโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล

นอกจากฤทธิ์ของยาแล้ว ผู้เสพยังมีความเสี่ยงอื่นที่เกิดจากวิธีการใช้ เช่น เพิ่มความเสี่ยงทำให้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus: HIV) ผ่านการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และเป็นฝีจากการฉีด  

อ่านเพิ่มเติม: โทษของเฮโรอีน อาการของผู้เสพ วิธีการเลิกเสพ

3. โทษของยาอี 

ยาอี มีอีกชื่อคือ "ยาเลิฟ" เพราะเป็นยาที่มักใช้ในงานปาร์ตี้ มีฤทธิ์ทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ทำให้กล้าพูด และกล้าเผยความรู้สึกในใจออกมามากกว่าปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เป็นยาเสพติดที่มีหลายชื่อเรียก โดยมีชื่อเรียกสากลว่า "เอ็กซ์ตาซี (Ecstasy)" แปลว่า ความสนุกสนานเบิกบานใจ หลังจากเสพยาอีเข้าไปแล้ว ยาจะออกฤทธิ์ภายในเวลา 45 นาที และสามารถอยู่ในร่างกายได้ยาวนานถึง 6–8 ชั่วโมง มักแพร่ระบาดในกลุ่มผู้ที่เที่ยวกลางคืน 

ในครั้งแรกที่เสพ ตัวยาจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทเพียงแค่ระยะสั้นๆ ก่อน จากนั้นยาจะออกฤทธิ์หลอนประสาท ส่งผลให้ผู้เสพมีอาการติดยาทางด้านจิตใจ และมีอาการร่วมอย่างอื่นตามมาด้วย ได้แก่

  • ใจสั่น 
  • ระดับความดันโลหิตสูง 
  • เหงื่อออกเยอะ 
  • เกิดอาการเคลิบเคลิ้ม ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
  • เกิดความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับระบบประสาทการรับรู้ทั้งหมด ทำให้ทั้งการได้ยิน และการมองเห็นแสงสีต่างๆ ผิดปกติไปจากความจริง เกิดภาพหลอน

อ่านเพิ่มเติม: โทษของยาอี ผลข้างเคียง วิธีการเลิกเสพ

4. โทษของโคเคน

ฤทธิ์ของโคเคนขึ้นอยู่กับวิธี และปริมาณที่เสพเข้าร่างกาย โดยกระตุ้นระบบประสาทและจะส่งผลทางด้านจิตใจมากกว่าด้านร่างกาย เมื่อผู้เสพไม่ได้เสพยาก็อาจรู้สึกขาดยาซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นด้านร่างกายบ้าง แต่จะไม่รุนแรงมากนัก

โคเคนเป็นยาเสพติดที่อันตรายต่ออัตราการเต้นของหัวใจ โดยจะเข้าไปทำให้หัวใจได้รับการกระตุ้นอยู่เสมอ จึงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสภาพลงทีละน้อยๆ จนกระทั่งหัวใจไม่สามารถบีบตัวต่อไปได้ และทำให้ผู้เสพมีภาวะหัวใจล้มเหลวในที่สุด ทำให้สงผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือด และอาการต่างๆ ดังนี้

  • ระดับความดันโลหิตสูง 
  • มีไข้ 
  • นอนไม่หลับ เกิดภาพหลอน
  • หัวใจเต้นอย่างรุนแรง
  • กระวนกระวาย
  • ผนังจมูกขาดเลือด ส่งผลให้เยื่อบุโพรงจมูกฝ่อมีการฉีกขาด หรือทะลุ 
  • สมองจะได้รับการถูกกระตุ้นอย่างรุนแรง ทำให้มีอาการชัก 
  • เลือดออกในสมอง เกิดเนื้อสมองตายในบางส่วน 

นอกจากนี้หากผู้เสพยังคงเสพโคเคนติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจเสี่ยงทำให้เกิดโรคซึมเศร้าอย่างหนักได้ด้วย

อ่านเพิ่มเติม: โทษของโคเคน ผลข้างเคียง วิธีการตรวจหาและเลิกเสพ

5. โทษของยาเค

ผู้เสพยาเคจะมีอาการเคลิบเคลิ้ม เข้าใจผิดว่า ตนเองเป็นผู้ที่มีอำนาจวิเศษ เนื่องจากยาเคเป็นสารเสพติดที่ออกฤทธิ์หลอนประสาทอย่างรุนแรง  

อีกทั้งการรับรู้และการตอบสนองกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวจะเปลี่ยนไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น แสง สี การได้ยินเสียง 

ฤทธิ์ของยาเคมักส่งผลต่อระบบการคิด การรับรู้ และตอบสนองของผู้เสพ โดยจะเกิดอาการต่อไปนี้ 

  • เกิดภาวะติดขัดในระบบหายใจ
  • มีปัญหาโรคจิต เป็นคนวิกลจริต
  • มีความคิดสับสน
  • หูแว่ว
  • ตาลาย 
  • ร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กันได้
  • การเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายไม่เป็นไปในจังหวะที่สัมพันธ์กันดังเดิมอีก
  • การทำงานของสมองทางด้านการรับรู้ และการตอบสนองกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวมีการเปลี่ยนไป 

อ่านเพิ่มเติม: ความหมายของยาเค อาการและผลข้างเคียง วิธีการเลิกเสพ

6. โทษของกัญชา

กัญชาจะออกฤทธิ์หลายอย่างกับระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ผู้เสพเกิดอาการประสาทหลอน มีภาวะอารมณ์ และจิตใจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้เสพเกิดอาการต่อไปนี้ 

  • มีอาการเหมือนเมาสุราอ่อนๆ 
  • มีอาการง่วงซึม
  • ตื่นเต้น ตื่นตัว
  • คุยเก่ง สนุกสนาน หัวเราะร่าเริงได้ตลอดเวลา

หากร่างกายได้รับปริมาณกัญชาเข้าไปมากเกินขนาด ก็จะเกิดภาวะผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น

  • ประสาทหลอน
  • เห็นภาพลวงตา 
  • หูแว่ว 
  • ระบบความคิดเกิดการสับสน มึนงง 
  • ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ 

เมื่อผู้เสพเสพกัญชาเกินขนาดในปริมาณมาก หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ฤทธิ์จากกัญชาก็จะเข้าไปทำลายสมอง ปอด เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและทำลายระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้เสื่อมสภาพทรุดโทรมต่อไป

อ่านเพิ่มเติม: ความหมายของกัญชา อาการของผู้เสพและโทษทางกฎหมาย

7. โทษของกระท่อม

ใบกระท่อมมีสารไมตราไจนิน (Mitragynine) ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้เกิดการเสพติดด้านจิตใจมากกว่าด้านร่างกาย ทำให้เมื่อขาดยาก็จะมีอาการลงแดงเกิดขึ้น แต่ไม่รุนแรงมาก 

ลักษณะอาการของผู้เสพใบกระท่อม ได้แก่ ทำงานได้อย่างไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย มีเรี่ยวแรงพลังมากมาย  และทนต่อสภาวะอากาศร้อนหนาวได้อย่างสบายๆ 

โทษจากใบกระท่อมสามารถส่งผลต่อความผิดปกติทางประสาท และผิวหนังของผู้เสพ ได้แก่ 

  • หนาวสั่นเมื่ออยู่ท่ามกลางอากาศชื้น
  • จิตใจสับสน โลเล
  • ประสาทหลอน
  • มีสภาพผิวหนังที่แห้งดำไหม้เกรียม
  • ปากแห้ง 
  • ท้องผูก 
  • นอนไม่หลับ 
  • สภาพร่างกายเกิดความเสื่อมโทรมอย่างหนัก

อ่านเพิ่มเติม: ความหมายของใบกระท่อม อาการของผู้เสพ การใช้เพื่อรักษาทางการแพทย์และโทษทางกฎหมาย

8. โทษของมอร์ฟีน

มอร์ฟีนจะออกฤทธิ์เข้าไปกดระบบประสาท ผู้เสพจะมีอาการขาดยาทางร่างกายหากไม่ได้เสพยาอย่างต่อเนื่อง ผู้เสพจะมีอาการเสพติดทั้งทางร่างกาย จิตใจ  ได้แก่ 

  • สมองช้าเกิดอาการมึนๆ ชาๆ
  • สติปัญญาเสื่อม ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ
  • ร่างกายทรุดโทรมอย่างหนักท้องผูก 
  • คลื่นเหียน 
  • อาเจียน 
  • คันตามใบหน้า 
  • ตาแดง 
  • ง่วงซึม 

9. โทษของฝิ่น

ฝิ่นจะออกฤทธิ์เข้าไปกดระบบประสาท ส่งผลให้ผู้เสพมีอาการเสพติดทั้งทางร่างกาย จิตใจ และยังมีภาวะขาดยาทางร่างกายอีกด้วย 

  • ตาหรี่ พูดจาวกวนไม่รู้เรื่อง
  • ความคิดทำงานเชื่องช้า
  • จิตใจเลื่อนลอย 
  • โลเล สับสน 
  • มีอาการง่วงซึมตลอดเวลา 
  • ชีพจรเต้นในระดับช้าขึ้น

นอกจากนี้หากเสพติดฝิ่นเกินขนาด ฤทธิ์ของฝิ่นจะเข้าไปกดระบบการหายใจ ทำให้ผู้เสพเสียชีวิตได้ในที่สุด

10. โทษของเห็ดขี้ควาย

เห็ดขี้ควายมีสารอันตรายสำคัญอย่างไซโลไซบีน (Psilocybin) และไซโลซีน (Psilocine) ผสมอยู่ ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนี้จะออกฤทธิ์หลอนประสาท ส่งผลให้ผู้เสพเกิดอาการมึนเมา เคลิบเคลิ้ม และเกิดอาการบ้าคลั่งได้

เห็ดขี้ควายเป็นสารเสพติดที่ออกฤทธิ์เข้าไปทำลายระบบประสาทได้อย่างรุนแรง และหากผู้เสพมีภาวะภูมิต้านทานน้อยอยู่แล้ว เมื่อเสพเข้าไปในปริมาณมากๆ ก็อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้

เมื่อทราบกันแล้วว่า โทษของยาเสพติดมีอะไรบ้าง จากนี้ไปควรจะต้องระมัดระวังและร่วมมือกันจากหลายๆ ส่วนเพื่อปกป้องคนที่คุณรักจากยาเสพติด ทั้งการพูดคุยกันในครอบครัวถึงอันตราย ร่วมกับสถานศึกษาที่ควรจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโทษของยาเสพติดให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จัก และเข้าใจมากขึ้น รวมถึงได้ตระหนักถึงโทษร้ายแรงต่างๆ ของยาแต่ละชนิด

ผู้เสพส่วนมากมักใช้ยาเสพติดเวลาเครียด หรือรู้สึกหดหู่ ดังนั้นหากเกิดภาวะจิตใจซึมเศร้า กดดัน มีปัญหากับชีวิต ไม่ควรอยู่คนเดียวลำพังและควรหาทางออกโดยปรึกษาคนในครอบครัว ผู้ที่ไว้วางใจ หรือไปพบจิตแพทย์ 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยาเสพติดตอบโดยแพทย์

1. สวัสดีค่ะ อยากทราบว่าเสพยาเสพติดตั้งแต่อายุครรภ์ 1-14 สัปดาห์ จะมีผลต่อทารกในครรภ์ไหมคะ?

คำตอบโดย นพ. สุเทพ สุขนพกิจ: เป็นอันตรายมากนะครับ คุณควรไปพบแพทย์และหาทางเลิกใช้ยาเสพติดโดยเร็วที่สุดครับ เพราะยาเสพติดอาจทำให้ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ภาวะเลือดออกในสมอง ทำให้มีการทำลายเซลล์ประสาท และทำให้เส้นรอบศีรษะทารกมีขนาดเล็ก นอกจากนี้ฤทธิ์ยายังส่งผลต่อสมาธิ ความจำ และมีผลทำให้เด็กมีปัญหาพฤติกรรมในระยะยาวอีกด้วยครับ

คำตอบโดย ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก): ยาเสพติดจะส่งผลให้เด็กมีความผิดปกติหลายด้าน ดังนี้

  • มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย 
  • มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด 
  • ภาวะเลือดออกในสมอง 
  • ภาวะสมองตาย 
  • ทำให้มีการทำลายเซลล์ประสาท
  • เส้นรอบศีรษะมีขนาดเล็ก ซึ่งมีผลต่อสมาธิ ความจำ และมิติสัมพันธ์ (spatial skills) และมีผลทำให้เด็กมีปัญหาพฤติกรรมในระยะยาวอีกด้วย 

การป้องกันที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดทุกชนิด ไม่ว่าคุณจะตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม เพราะผลกระทบที่ตามมาเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก 

ส่วนในรายที่ตั้งครรภ์แล้วและยังไม่เลิก หรือเพิ่งจะเลิกใช้สารเสพติด ก็ต้องระมัดระวังทารกในครรภ์เป็นพิเศษ โดยระหว่างที่ตั้งครรภ์ ควรปฏิบัติดังนี้

  • หมั่นไปพบสูติแพทย์เพื่อติดตามผลของพัฒนาการทารกในครรภ์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ 
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของสูติแพทย์อย่างเคร่งครัด 
  • งด ละ เลิก สิ่งเสพติดทุกชนิดอย่างเด็ดขาด 
  • หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ควรขอความร่วมมือให้ไปสูบบุหรี่ภายนอกบ้าน เพราะควันบุหรี่มีสารพิษที่เรียกว่า “ทาร์” หรือน้ำมันดิน ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อทารกในครรภ์และว่าที่คุณแม่ รวมถึงสมาชิกในครอบครัวมากกว่าตัวผู้สูบเองเสียเอง 
  • เมื่อคลอดบุตรแล้วก็ไม่ควรละเลย ควรพาทารกไปพบกุมารแพทย์เพื่อเฝ้าระวัง คัดกรอง ประเมินพัฒนาการ และพฤติกรรมเป็นระยะๆ เพื่อหาความผิดปกติร่วมที่พบได้บ่อย เช่น ปัญหาด้านการมองเห็น การได้ยินบกพร่อง เพื่อให้การช่วยเหลือ กระตุ้นพัฒนาการโดยเร็วเพื่อลดปัญหาทางด้านการเรียนรู้และปัญหาสังคมที่จะตามมา
    (ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.))

คำถาม: สารกัญชาอยู่ในร่างกายเราได้กี่วัน

คำตอบ: ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความถี่ในการใช้ค่ะ สามารถตรวจพบได้ในระยะเวลาตั้งแต่ 1 สัปดาห์ - 3 เดือนค่ะ
(ตอบโดย ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก))

คำถาม: เรากำลังจะต้องเข้ารับการผ่าตัดและต้องตรวจเลือดก่อนผ่าค่ะ ปกติแล้วเราจะใช้กัญชาบ่อยเกือบทุกวัน วันละ 2-3 ชั่วโมง อยากทราบว่า หมอจะตรวจพบสารเสพติดของกัญชาในเลือดเราไหมคะ?

คำตอบ: การตรวจเลือดก่อนผ่าตัด เป็นการตรวจเพื่อประเมินความพร้อมของร่างกาย ร่วมกับหาความผิดปกติอื่นๆ เพื่อประเมินความเสี่ยงในการผ่าตัด 

สิ่งที่คุณหมอสั่งตรวจส่วนมากได้แก่ ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เกลือแร่ในเลือด น้ำตาล การทำงานของไต และความเสี่ยงๆ อื่นๆ แล้วแต่โรคที่เป็น

ส่วนเรื่องสารกัญชาที่ตกค้างในเลือดจะอยู่นานหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่สูบมานานแต่ไหน ความถี่ ปริมาณ ความเข้มข้นของพันธ์กัญชาที่ใช้ แต่โดยส่วนมากสารที่ตกค้างจะอยู่ได้นานเป็นเดือนๆ ค่ะ 

ส่วนในกรณีของคุณถามว่าจะตรวจพบไหม ต้องตอบว่า พบค่ะ (ถ้าคุณหมอสั่งตรวจสารกัญชา) แต่ถ้าโรคที่ผ่าตัดที่ไม่เกี่ยวกับการตรวจหาสารเสพติด คุณหมอก็ไม่สั่งตรวจค่ะ (เพราะจะสิ้นเปลืองน้ำยาโดยใช่เหตุ) (ตอบโดย ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก))

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตรวจสารเสพติด ในปัสสาวะและเลือด อยู่ในร่างกายกี่วัน?, (https://hdmall.co.th/c/drug-test).
Stahl SM (March 2017). "Amphetamine (D,L)". Prescriber's Guide: Stahl's Essential Psychopharmacology (6th ed.). United Kingdom: Cambridge University Press. p: 45–51.
Malenka RC, Nestler EJ, Hyman SE (2009). "Chapter 15: Reinforcement and Addictive Disorders". In Sydor A, Brown RY (eds.). Molecular Neuropharmacology: A Foundation for Clinical Neuroscience (2nd ed.). New York: McGraw-Hill Medical. p: 375.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
กัญชาจะอยู่ในระบบร่างกายนานแค่ไหน
กัญชาจะอยู่ในระบบร่างกายนานแค่ไหน

กัญชา สารเสพติดที่ตกค้างในร่างกายได้นานกว่าที่คุณคิด พร้อมอันตรายที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

อ่านเพิ่ม
กัญชา รวมเรื่องน่ารู้ และสรรพคุณทางการแพทย์ ที่รู้แล้วต้องอึ้ง
กัญชา รวมเรื่องน่ารู้ และสรรพคุณทางการแพทย์ ที่รู้แล้วต้องอึ้ง

เรื่องน่ารู้ที่คุณอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับกัญชา รวมถึงสรรพคุณกัญชาที่มีมากมายในทางการแพทย์หากใช้ถูกวิธี

อ่านเพิ่ม
กัญชาคืออะไร
กัญชาคืออะไร

"กัญชา" สารเสพติดผิดกฎหมายยอดนิยมในหมู่วัยรุ่น

อ่านเพิ่ม