ผู้ที่เสพยา หรือสารเสพติดหลายคน มักเข้ากระบวนการเลิกยาและสารเสพติดอย่างจริงจังช้าเกินไป เพราะคิดว่า การเสพเพียงครั้งคราวไม่ใช่การติดยาและไม่น่าจะเป็นอันตราย ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด
เนื่องจากความจริงนั้นการเสพยาเพียงครั้งเดียวก็สามารถทำให้สมองติดยาได้แล้ว นอกจากนี้การเสพยายังทำลายเซลล์สมอง ทำให้เกิดอาการทางจิตได้อีกด้วย
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สมองติดยา เกิดขึ้นได้อย่างไร?
เมื่อเสพยาเข้าไปในร่างกาย จะมีผลต่อสมอง 2 ส่วน คือ
- สมองส่วนความคิด (Cerebral Cortex) ทำหน้าที่ จดจำ คิด จินตนาการ และตัดสินใจ
- สมองส่วนอยาก (Limbic System) เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความรู้สึก
โดยการกระตุ้นให้สมองหลั่งโดปามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดความสุขมากขึ้นกว่าปกติอย่างรวดเร็ว เกิดความพึงพอใจมากกว่าปกติ
เมื่อยาหมดฤทธิ์ก็จะรู้สึกหงุดหงิด ซึมเศร้า ทำให้ต้องการเสพยาซ้ำไปเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ จนเกิดเป็นภาวะสมองติดยานั่นเอง
ยาเสพติด ทำลายเซลล์สมอง ทำให้เกิดอาการทางจิตอย่างไร?
ปกติแล้ว จะเห็นผลชัดเจนหลังจากเสพยา 1 เดือน โดยสารเสพติดจะเข้าไปทำลายเซลล์สมองส่วนคิด ทำให้การใช้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลเสียไปจนทำให้สมองส่วนอยากมีอิทธิพลเหนือสมองส่วนคิด โดยเฉพาะช่วงอาการอยากสารเสพติด
ผู้เสพยาจะทำอะไรตามใจตามอารมณ์มากกว่าเหตุผล จึงมักแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมา เช่น อารมณ์ฉุนเฉียว ก้าวร้าว หงุดหงิด ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ หรือขาดความยับยั้งชั่งใจ
พฤติกรรมเหล่านี้เองที่มักนำไปสู่ความรุนแรงในสังคมที่พบเห็นได้บ่อยๆ ทั้งการปล้นจี้ ลักขโมย ทำร้ายคนใกล้ชิด ก่อเรื่องที่ผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย ฯลฯ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
นอกจากนี้ในบางรายยังอาจเกิดอาการทางจิต มีหูแว่ว เห็นภาพหลอน หวาดระแวง เพ้อคลั่ง อาละวาด จนกลายเป็นผู้ป่วยจิตเวชได้ เพราะสมองส่วนคิดที่ถูกทำลายไปแล้วจะไม่สามารถฟื้นกลับมาเป็นปกติได้ดังเดิม
จุดจบของผู้ป่วยสารเสพติดส่วนใหญ่จึงมักเป็นผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ซึ่งไม่สามารถบำบัดและรักษาให้กลับมาเป็นคนเดิมได้นั่นเอง
สามารถบำบัดรักษาให้สมองฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้ไหม?
เป็นเรื่องยากที่จะยืนยันว่า สามารถบำบัดรักษาให้สมองฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ผู้ที่หยุดยาเสพติดตั้งแต่เริ่มเสพไม่นานและเข้ารับการบำบัดอย่างต่อเนื่อง ย่อมมีโอกาสที่สมองจะฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติมากขึ้นได้
แต่ในกลุ่มที่เสพยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานานกว่า 5-10 ปี แม้ว่าจะเข้ารับการบำบัด หรือเลิกยาเสพติดได้แล้วก็อาจจะช้าเกินไป เพราะสมองถูกสารเสพติดทำลายจนกลายเป็นโรคสมองพิการถาวรไปแล้ว
แม้ว่าโอกาสที่สมองกลับมาเป็นปกติเป็นเรื่องยาก และทำให้ไม่สามารถใช้สมองเพื่อเรียน หรือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นคนทั่วไป แต่การเลิกยาเสพติดก็ยังเป็นสิ่งที่ควรทำอยู่ดี
ตัวอย่างสารเสพติด
1. ยาบ้า หรือเมทแอมเฟตมีน (Methamphetamine) หรือแอมเฟตมีน (Amphetamine)
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- ลักษณะเป็นเม็ดกลมสีส้ม แดง น้ำตาล เขียว มีตัวอักษร WY, Y หรือ R
- ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท เสพแล้วไม่ง่วง ตื่นตัว มีกำลังวังชา
- หากเสพติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือเสพมากเกินขนาด จะทำให้ประสาทหลอน วิตกกังวล หวาดระแวง เพ้อคลั่ง ก้าวร้าว ทำร้ายตัวเอง และคนรอบข้าง
2. ยาอี หรือยาเลิฟ หรือโซแลม
- ลักษณะเป็นเม็ดกลม มีรูปภาพการ์ตูน ดอกไม้ ผีเสื้อ หัวใจ หรือตัวอักษร
- เสพแล้วรู้สึกอารมณ์ดี เป็นกันเอง ไม่ถือตัว สนุกสนานกับเสียงเพลง นิยมใช้ในงานปาร์ตี้ สังสรรค์ หรือการเที่ยวกลางคืน
- หากเสพเกินขนาดจะเกิดประสาทหลอน สับสน กระสับกระส่าย ระบบประสาท และสมองถูกทำลาย ควบคุมตัวเองไม่ได้
3. ยาเค หรือเคตามีน (Ketamine)
- ลักษณะเป็นผงสีขาว
- มีฤทธิ์หลอนประสาท เมื่อเสพแล้วจะรู้สึกอยู่ในภวังค์ หลุดโลกคล้ายการถอดจิตออกจากร่าง
4. แอลเอสดี (LSD)
- สารสกัดจากเชื้อรา มีลักษณะเป็นแผ่นกระดาษขนาดเล็กฉาบด้วยแอลเอสดี มีลวดลายรูปภาพคล้ายแสตมป์
- หากเสพปริมาณน้อยจะออกฤทธิ์คล้ายยาบ้า
- หากเสพปริมาณมากจะมีฤทธิ์หลอนประสาท เห็นแสงสว่างเจิดจ้า เป็นประกาย หน้าบิดเบี้ยว
- หากเสพเป็นระยะเวลานานจะก่อให้เกิดโรคจิตอย่างถาวร
5. ยาลดความอ้วน
- ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ลดอาการอยากอาหาร
- มักมาในรูปแบบของยาชุดเพื่อช่วยลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว เช่น ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยาระบาย ฯลฯ ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิต
6. สารระเหย
- จำพวกทินเนอร์ แลกเกอร์ กาวยาง น้ำยาทาเล็บ หรือสีสเปรย์
- สูดดมแล้วทำให้รู้สึกเป็นสุขร่าเริง ตื่นเต้น คล้ายอาการเมาแอลกอฮอล์
- หากเสพติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะทำให้สมองพิการ ทำลาย ตับ ไต หัวใจ ปอด
7. กระท่อม หรือเรียกว่า "4X100"
- เสพโดยการนำใบมาเคี้ยว หรือปิ้งจนเกรียม แล้วผสมในอาหาร
- ทำให้ร่าเริง มีเรี่ยวแรง ทนแดด แต่กลัวฝน
- เมื่อเสพจนติดจะทำให้ผิวหนังดำเกรียม ซูบผอม นอนไม่หลับ ปวดกล้ามเนื้อ และกระดูก
8. กัญชา
- เป็นพืชล้มลุก นิยมนำใบและช่อดอกตัวเมียที่อบแห้งมาสูบ หรือรับประทาน
- ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทในช่วงแรก ทำให้ร่าเริง หัวเราะง่าย ตามด้วยอาการเมา ง่วงนอน ซึม ประสาทหลอน และหวาดระแวง
9. ฝิ่น
- นำยางแห้งที่กรีดได้จากผลฝิ่นดิบมาเสพด้วยการสูบ หรือรับประทาน
- ทำให้อารมณ์ดี จิตใจเลื่อนลอย เชื่องช้า ง่วงซึม
- หากเสพเป็นเวลานานจะซูบผอม อ่อนเพลีย ซึมเศร้า ความจำเสื่อม
10. เฮโรอีน
- มีลักษณะเป็นผงสีขาว
- ทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้ม เซื่องซึม มึนงง ง่วงเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน
- หากไม่ได้เสพจะเกิดอาการลงแดง ทุรนทุราย และหากเสพในปริมาณมากจะทำให้เสียชีวิตจากการหยุดหายใจได้
ยาเสพติดเป็นภัยร้ายสำหรับทุกคน ดังนั้นครอบครัวควรใส่ใจดูแลด้วยความเข้าใจ ให้ความรัก ความอบอุ่น เพื่อเป็นเกราะป้องกันไม่ให้คิดริลองยาดีกว่าปล่อยให้เกิดการเสพจนสูญเสียความเป็นคน ควบคู่ไปกับการให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากยาเสพติด
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android