กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

ชุดตรวจหาสารเสพติด มีกี่แบบ และต่างกันอย่างไร?

การอ่านค่าชุดตรวจสารเสพติด ตรวจวัดระดับสารอะไรได้บ้าง มีชุดตรวจกี่ประเภท หาคำตอบได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 17 เม.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ชุดตรวจหาสารเสพติด มีกี่แบบ และต่างกันอย่างไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ชุดตรวจยาเสพติดเป็นชุดตรวจหาสารเมตาบอไลต์ของยาเสพติดในปัสสาวะ ซึ่งมีขั้นตอนการตรวจไม่ยุ่งยาก อ่านผลได้รวดเร็วกว่าการตรวจเลือด
  • สารเสพติดที่ชุดตรวจยาเสพติดสามารถตรวจได้ ได้แก่ ยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี กัญชา มอร์ฟีน โคเคน โดยสามารถตรวจพบได้ทั้งในกรณีที่เพิ่งเสพ เสพมาระยะหนึ่ง หรือเสพมาเรื้อรัง
  • ชุดตรวจหายาเสพติดมี 2 แบบ ได้แก่ แบบแถบ มีข้อดี คือ ราคาถูก กับแบบตลับซึ่งมีข้อดี คือ ตลับตรวจมีความทนทานมากกว่าแบบจุ่ม แต่มีราคาสูงกว่า
  • ชุดตรวจจะใช้หลัก Competitive binding ซึ่งหากผลตรวจขึ้นขีดเดียวที่ตัว C เท่านั้น แสดงว่า ผลเป็นบวก หรือพบสารเสพติดนั่นเอง
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด

สารเสพติดเป็นสิ่งที่อันตรายเพราะหลายชนิดมีฤทธิ์หลอนประสาท หากใช้ผิดวิธีอาจทำให้เกิดความเสียหายกับตนเองและคนรอบข้างได้ ด้วยพิษภัยนี้เองจึงจึงทำให้สังคมทั่วโลกเข้มงวดกับการตรวจสารเสพติดมากขึ้น การรู้จักวิธีการตรวจ และอุปกรณ์การตรวจสารเสพติดไว้จึงเป็นเรื่องที่ดี 

ความหมายของชุดตรวจยาเสพติด

ชุดตรวจหาสารเสพติด คือ เครื่องมือตรวจสารเมตาบอไลต์ของยาเสพติดในปัสสาวะ ซึ่งตำรวจมักใช้ตรวจหาการใช้ยาเสพติดผิดกฎหมายในผู้ต้องสงสัย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เนื่องจากการใช้ปัสสาวะในการตรวจจะมีระยะเวลาตรวจพบสารเสพติดนานกว่าเลือด มีปริมาณสารเสพติดและสารย่อยสลายสูง อีกทั้งวิธีการตรวจยังไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาไม่นาน 

ชุดตรวจสารเสพติด ตรวจอะไรบ้าง?

สารเสพติดที่ตรวจได้โดยใช้ ชุดตรวจหาสารเสพติด มีดังนี้ 

  • แอมเฟตามีน หรือยาบ้า หากเสพเป็นประจำจะสามารถตรวจพบสารได้ภายใน 2-6 วัน หลังเสพ
  • เมทแอมเฟตามีน หรือยาไอซ์ หากเสพเป็นประจำจะสามารถตรวจพบสารได้ภายใน 2-6 วัน หลังเสพ
  • ยาอี หากเสพเป็นประจำจะสามารถตรวจพบสารได้ภายใน 2-6 วัน หลังเสพ
  • กัญชา หากเสพเป็นประจำจะสามารถตรวจพบสารได้ภายใน 4-14 วัน หลังเสพ
  • มอร์ฟีน หากเสพเป็นประจำจะสามารถตรวจพบสารได้ภายใน 2-6 วัน หลังเสพ
  • โคเคน หากเสพเป็นประจำจะสามารถตรวจพบสารได้ภายใน 1-4 วัน หลังเสพ

แต่ทั้งนี้ระยะเวลาที่สารเสพติดจะอยู่ในปัสสาวะอาจแตกต่างกันออกไป เช่น ในผู้ที่เสพติดเรื้อรัง อาจตรวจพบได้ในระยะนานถึง 2-3 สัปดาห์

รูปแบบของชุดตรวจหาสารเสพติด

ชุดตรวจหาสารเสพติดที่ใช้ทั่วไปมีอยู่ 2 แบบ ได้แก่ แบบแถบ และ แบบตลับ

1. แบบแถบ (Strip)

ชุดตรวจหาสารเสพติดแบบแถบ จะประกอบด้วยแถบทดสอบเป็นแผ่นยาว และแคบ วิธีการทดสอบ คือ ให้ปัสสาวะใส่ในภาชนะที่แห้งและสะอาด 

จากนั้นจุ่มแถบทดสอบลงไปในปัสสาวะ โดยให้ปลายลูกศรชี้ลง และระวังไม่ให้ปัสสาวะสูงเลยขีดที่กำหนดไว้บนแถบ จากนั้นวางแถบทดสอบในแนวราบ รอ 5 นาทีแล้วจึงอ่านผล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ข้อดีของชุดตรวจแบบแถบ

มีราคาถูก คือ ประมาณ 30-70 บาทต่อชิ้น และสามารถตรวจหาสารแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีนที่ปริมาณตั้งแต่ 1,000 นาโนกรัม/มิลลิลิตรได้

ข้อเสียของชุดตรวจแบบแถบ

แถบจุ่มอาจเสียหายได้ง่ายจากการเก็บรักษาไม่ดี เช่น โดนความชื้น สัมผัสกับสารเคมี หรือหักงอ ทำให้มีโอกาสเสื่อมประสิทธิภาพได้ หรือ แถบสีไม่ชัดเจน

2. แบบตลับ (Cassette)

ชุดตรวจหาสารเสพติดแบบตลับ หรือบางคนอาจเรียกแบบหยอด ประกอบด้วยตลับทดสอบและหลอดหยดแถมมาในซอง วิธีการทดสอบ คือ ให้ปัสสาวะใส่ภาชนะที่แห้งสะอาด 

จากนั้นวางตลับทดสอบไว้บนพื้นในแนวราบ และใช้หลอดหยดดูดปัสสาวะขึ้นมา และหยดลงในหลุมที่อยู่บนตลับทดสอบ 3 หยด วางตลับทดสอบไว้ในแนวราบและรอ 5 นาทีจึงอ่านผล

ข้อดีของชุดตรวจแบบตลับ

ตลับตรวจเสียหาย หรือเสื่อมสภาพได้ยากกว่าแบบจุ่ม อีกทั้งไม่ต้องคอยระวังขณะจุ่มไม่ให้ระดับปัสสาวะสูงกว่าขีดที่กำหนด วิธีนี้สามารถตรวจหาสารแอมเฟตามีน และเมทแอมเฟตามีนที่ปริมาณตั้งแต่ 1,000 นาโนกรัม/มิลลิลิตรได้เช่นเดียวกัน

ข้อเสียของชุดตรวจแบบตลับ

มีราคาสูงกว่าแบบจุ่มคือ ประมาณ 100-120 บาทต่อชิ้น อีกทั้งต้องระวังไม่ให้หยดปัสสาวะน้อยเกินไป เพราะจะทำให้ผลการตรวจผิดพลาดได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การอ่านผลชุดตรวจหาสารเสพติด

ชุดตรวจหาสารเสพติดทั้ง 2 แบบ ใช้หลักการ Competitive binding การอ่านผลจึงต่างจากชุดตรวจครรภ์ โดยมีวิธีการอ่านผล ดังนี้

  • หากปรากฏขีดขึ้น 2 ขีด ที่ T และ C แสดงว่าผลเป็น ลบ หรือ ตรวจไม่พบสารเสพติด
  • หากปรากฏขีดขึ้นเพียง 1 ขีด ที่ C เท่านั้น แสดงว่าผลเป็น บวก หรือ ตรวจพบสารเสพติด
  • หาก ไม่ปรากฏขีดขึ้น หรือปรากฏขีดเพียง 1 ขีด ที่ T แสดงว่า ชุดตรวจเสีย ไม่สามารถอ่านผลได้

อย่างไรก็ตาม การตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะโดยใช้ชุดตรวจ เป็นการตรวจกรองเบื้องต้นเท่านั้น เนื่องจากปริมาณสารเสพติดที่พบในปัสสาวะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น น้ำหนักตัวของผู้เสพ ปริมาณการเสพ ความถี่ในการเสพ 

นั่นทำให้บางครั้งอาจมีปริมาณสารเสพติดน้อยมากจนไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยวิธีนี้ จึงอาจจำเป็นต้องมีการตรวจซ้ำ เรียกว่า "การตรวจยืนยัน (Confirmation test)" โดยการตรวจด้วยวิธีที่มีความไว และแม่นยำกว่า เช่น Thin Layer Chromatography

ขึ้นชื่อว่าสารเสพติด อย่างไรก็มีโทษมากกว่าประโยชน์ โดยเฉพาะโทษทางกฎหมายที่เกือบทุกประเทศทั่วโลกจัดให้อยู่ในระดับรุนแรง ดังนั้นขอให้อยู่ไกลห่างจากสารเสพติดเป็นดีที่สุด 

หากมีความเครียด มีปัญหาใดๆ ก็ตาม ขอให้ลองมองหาทางออกในการแก้ปัญหาอื่นๆ ดูบ้าง เช่น ปรึกษาครอบครัว เพื่อนสนิท หรือโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต โทร.1323

หรือหากคุณมีคนใกล้ชิดกำลังติดยาเสพติด ควรรีบเข้าไปพูดคุย และทำความเข้าใจกับตัวผู้เสพเพื่อหาทางออก และเลิกยาเสพติดให้ได้ เพราะสารเหล่านี้ไม่ได้มีประโยชน์ใดๆ เลย นอกจากก่อโทษร้ายแรงต่อร่างกายจนทำให้เสียชีวิตได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, ตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ (https://bdn.go.th/th/sDetail/9/0/), 9 เมษายน 2563.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, คู่มือการทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะ (http://dmsc2.dmsc.moph.go.th/webroot/drug/narcotic/doc/NarcoticUrineTestingManual_2559.pdf), 9 เมษายน 2563.
ดร. สุเมธ เที่ยงธรรม, การตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะ (https://bdn.go.th/attachment/news/download.php?WP=GT1gn2qCqWOchKwtpTggWaplGQEgG2rDqYyc4Uux), 7 เมษายน 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เลิกยาเสพติดให้สำเร็จ ต้องทำอย่างไร?
เลิกยาเสพติดให้สำเร็จ ต้องทำอย่างไร?

อะไรทำให้เกิดพฤติกรรมติดยาเสพติด ตรวจหาสารเจอได้อย่างไร จะเลิกต้องทำอย่างไร มีขั้นตอนการบำบัดยาเสพติดอะไรบ้าง

อ่านเพิ่ม
ยาเสพติด ทำลายสมอง ก่อให้เกิดอาการทางจิตได้อย่างไร?
ยาเสพติด ทำลายสมอง ก่อให้เกิดอาการทางจิตได้อย่างไร?

การเสพยา หรือสารเสพติดจะเข้าไปทำลายสมองส่วนความคิด ทำให้เกิดการอยากยา กลาย หรือสมองติดยา จนนำไปสู่อาการทางจิตได้

อ่านเพิ่ม