กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้มอร์ฟีน

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้มอร์ฟีน

มอร์ฟีน (Morphine) เป็นเพียงชื่อยาชนิดหนึ่งในกลุ่มยาที่ชื่อว่า โอพิออยด์ (Opioid)

แต่ยาในกลุ่มโอพิออยด์น้ี มีอีกหลายชนิด เช่น โคเดอีน (Codeine) ทรามอล (Tramal) หรือเพททีดีน (Pethidine) ในบทความนี้ จะขอใช้คําว่า "มอร์ฟีน" แทนชื่อยาแก้ปวดกลุ่มโอพิออยด์ เนื่องจากยาในกลุ่มนี้มีฤทธิ์คล้ายกันและมอร์ฟีนเป็นยาที่ใช้บ่อยในยากลุ่มนี้ โดยในแต่ละประเทศจะมีการวัดปริมาณการใช้มอร์ฟีน ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว มีอัตราการใช้มอร์ฟีนสูงกว่าประเทศกําลังพัฒนา สําหรับประเทศไทยพบว่า เราใช้มอร์ฟีนอยู่ประมาณ 40 กิโลกรัมต่อปีจากจํานวนท่ีควรใช้จริง ซึ่งก็คือประมาณ 1,000 กิโลกรัมต่อปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

รวมคำถามเกี่ยวกับยา มอร์ฟีน (Morphine)

คําถาม : อาการปวดของโรคมะเร็งแก้ได้ด้วยยามอร์ฟีนจริงหรือไม่?
คําตอบ : ไม่เสมอไป
ความจริง : แล้วแต่ว่าอาการปวดน้ันเป็นอาการปวดแบบไหนและรุนแรงแค่ไหน ส่วนใหญ่แพทย์จะเริ่มการใช้ยาจากยาที่อ่อนกว่าก่อน เช่น พาราเซตามอล ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ที่ใช้สําหรับอาการปวดข้อปวดเมื่อยและหากใช้ยากลุ่มดังกล่าวไม่หาย อาจเริ่มใช้ยามอร์ฟีนขนาดน้อยๆ ได้

คําถาม : กินมอร์ฟีนขนาดมากขึ้นแปลว่าอาการแย่ลงจริงหรือไม่?
คําตอบ : ไม่เสมอไป
ความจริง : อาจเป็นจากอาการของโรคแย่ลงก็ได้หรืออาจเป็นเพราะในช่วงแรกๆ แพทย์เร่ิมให้ยาแก้ปวดในขนาดน้อยก่อนแล้วจึงค่อยๆ ปรับเพิ่มให้เป็นขนาดที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถดําเนินชีวิตได้ใกล้เคียงกับตอนที่ไม่ป่วยมากที่สุด

คําถาม : การใช้ยามอร์ฟีนทําให้ติดได้จริงหรือไม่?
คําตอบ : ไม่เสมอไป
ความจริง : การติดยา หมายถึง การต้องเพิ่มขนาดการใช้ยามากขึ้นเรื่อยๆ แม้อาการของผู้ป่วยไม่ได้เปลี่ยนแปลงและมีอาการอยากยาเมื่อไม่ได้ยา มอร์ฟีนมีฤทธิ์เสพย์ติดจึงทําให้ติดได้ อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยมะเร็งมีอาการปวดรุนแรงและจําเป็นต้องใช้ยามอร์ฟีนมากขึ้น เราจะไม่เรียกว่าเป็นการติดยาแต่เป็นการใช้ยาตามความจําเป็น

คําถาม : การใช้มอร์ฟีนทําให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วขึ้นได้เนื่องจากกดการหายใจจริงหรือไม่?
คําตอบ : ผิด
ความจริง : การเริ่มต้นใช้ยามอร์ฟีนในขนาดน้อยๆ ก่อน ไม่ทําให้เกิดการกดการหายใจและไม่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วย การกดการหายใจในผู้ป่วยมักเกิดจากการให้ยาขนาดมากเกินไป ในคนที่ไม่เคยได้รับมอร์ฟีนมาก่อน อาจเกิดในกรณีคํานวณยาผิดหรือเริ่มยามากเกินไปเพราะคิดว่าผู้ป่วยมีอาการปวดเยอะ

คําถาม : มอร์ฟีนทําให้ท้องผูกจริงหรือไม่?
คําตอบ : ถูก
ความจริง : อาการท้องผูกเป็นผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่ใช้ยามอร์ฟีนและเป็นผลข้างเคียงที่พบได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่ใช้ยามอร์ฟีน เพราะมอร์ฟีนทําให้ลําไส้เคลื่อนไหวได้ช้าลง ผู้ป่วยที่ใช้ยามอร์ฟีนจึงควรกินยาถ่ายเพื่อป้องกันอาการท้องผูกเอาไว้เลย หากแพทย์ไม่ได้ให้ อย่าลืมขอด้วยนะคะ นอกจากนี้ยามอร์ฟีนยังมีผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และง่วงนอน หากกินมากเกินไปอาจทําให้มีกล้ามเนื้อกระตุกหรือสับสนได้ ซึ่งจะเป็นอาการที่พบก่อนการกดการหายใจ แต่มักต้องกินเป็นขนาดมากๆ หรือมีการเพิ่มขนาดอย่างรวดเร็วจึงเกิดอาการดังกล่าวได้

คําถาม : มอร์ฟีนช่วยเรื่องอาการเหนื่อยหอบในผู้ป่วยมะเร็งได้​จริงหรือไม่?
คําตอบ : ถูก
ความจริง : คนทั่วไปเข้าใจว่ายามอร์ฟีนช่วยบรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยมะเร็งเป็นหลัก แต่จริงๆ แล้วมอร์ฟีนยังช่วยลดอาการเหนื่อยหอบในผู้ป่วยมะเร็งที่มีการกระจายของโรคไปที่ปอด เช่น มีน้ำในปอดได้ด้วย ผู้ป่วยหลายรายที่เลือกไม่เจาะน้ําในปอดเพื่อลดอาการเหนื่อยหอบอาจเลือกใช้ยามอร์ฟีนแทนได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คําถาม : คนเป็นโรคไตไม่ควรใช้มอร์ฟีนจริงหรือไม่?
คําตอบ : ผิด
ความจริง : คนเป็นโรคไตสามารถใช้มอร์ฟีนได้ แต่ต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้นเพราะมอร์ฟีนถูกขับออกทางไต จึงควรให้มอร์ฟีนโดยเริ่มจากขนาดน้อยๆ ค่อยๆ เพิ่มช้าๆ และคอยเฝ้าระวังผลข้างเคียง แต่ไม่ได้มีข้อห้ามใช้มอร์ฟีนในผู้ป่วยโรคไต

คําถาม : ถ้าได้มอร์ฟีนแบบออกฤทธิ์ยาวแล้วไม่ควรกินมอร์ฟีนระหว่างวันอีกเพราะอาจจะทําให้ได้รับมอร์ฟีนในขนาดที่มากเกินไปจริงหรือไม่?
คําตอบ : ผิด
ความจริง : ผู้ป่วยที่มีอาการปวดสามารถใช้มอร์ฟีนขนาดน้อยๆ ระหว่างวันได้ ซึ่งโดยทั่วไปจะคิดเป็นร้อยละ 10 ของขนาดมอร์ฟีนออกฤทธิ์ยาวที่ได้รับทั้งวัน ถ้าเป็นยากินอาจกินได้ทุก 2-4 ชั่วโมงเวลาท่ีมีอาการปวด แพทย์จะคํานวณปริมาณยาที่ผู้ป่วยควรได้รับจริงๆ ในวันต่อไปจากปริมาณมอร์ฟีนระหว่างวันรวมกับมอร์ฟีนแบบออกฤทธิ์ยาว

คําถาม : มอร์ฟีนแบบกินกับฉีดออกฤทธิ์แรงพอๆ กันจริงหรือไม่?
คําตอบ : ผิด
ความจริง : มอร์ฟีนแบบฉีดแรงกว่าแบบกิน 2-3 เท่า ดังนั้นเวลาเปลี่ยนจากยาฉีดมาเป็นยากิน อย่าลืมเพิ่มขนาดเป็น 2-3 เท่าด้วย

คําถาม : มอร์ฟีนแบบกินกับแบบฉีดเริ่มออกฤทธิ์เร็วพอๆ กันและออกฤทธิ์นานพอๆ กันจริงหรือไม่?
คําตอบ : ผิด
ความจริง : มอร์ฟีนแบบฉีดออกฤทธิ์เร็วกว่าและหมดฤทธิ์เร็วกว่า ถ้าฉีดเข้าเส้นอาจจะหมดฤทธิ์ภายใน 1-2 ชั่วโมง ในขณะที่ยากินจะอยู่ได้ 2-4 ชั่วโมง แต่หากเป็นยามอร์ฟีนกินแบบออกฤทธิ์ยาวจะอยู่ได้นานถึง 12-24 ชั่วโมง

ที่มา: ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก หมอเป้ พญ.ดาริน จตุรภัทรพร
ผู้แต่งหนังสือ  สุข รัก เข้าใจ ในช่วงสุดท้ายของชีวิต | Facebook Page: รักก่อนกำเนิด เกิดก่อนกำหนด | @Lynlanara


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)