กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Bromhexine (บรอมเฮกซีน) และ Codeine (โคเดอีน)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

ยาบรอมเฮกซีน-โคดิอีน (bromhexine-codeine) ยาที่มีตัวยาสำคัญ 2 ชนิดนี้ เป็นยารูปแบบยาผสม บรอมเฮกซีน-โคดิอีนเป็นตำรับยาแก้ไอ ขับเสมหะ โดยประกอบด้วยตัวยาสำคัญ 2 ตัวยา คือ บรอมเฮกซีน ซึ่งมีฤทธิ์ขับเสมหะ และโคดิอีน ซึ่งมีฤทธิ์กดอาการไอ

บรอมเฮกซีน เป็นยาในกลุ่มยาละลายเสมหะ ใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจที่เกี่ยวข้องกับการมีเมือกในระบบทางเดินหายใจมากเกินไป นอกจากนี้แล้วบรอมเฮกซีนยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วย ส่วนยาโคดิอีน เป็นยาในกลุ่มโอพิออยด์ (opioid) มีฤทธิ์ยับยั้งการปวดระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง มีฤทธิ์ยับยั้งการไอ มีการใช้ในตำรับยาแก้ไอ แต่นับไม่มีหลักฐานการศึกษารองรับการใช้โอพิออยด์เพื่อใช้กดอาการไอเฉียบพลันในเด็ก โดยในยุโรปไม่แนะนำให้ใช้ยาโคดิอีนในเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตัวอย่างยี่ห้อของยาบรอมเฮกซีน-โคดิอีนที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

ยังไม่มีการวางจำหน่ายยาในรูปแบบตำรับยาผสมตัวยาสำคัญสองชนิดนี้ในประเทศไทย

โรคและอาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยานี้บรรเทา

  • ข้อบ่งใช้สำหรับยรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ

กลไกการออกฤทธิ์ของบรอมเฮกซีน-โคดิอีน

บรอมเฮกซีนออกฤทธิ์กับเสมหะที่ขั้นการสร้างเสมหะที่เกิดขึ้นในเซลล์ที่เกิดการหลั่งเมือก โดยบรอมเฮกซีนเข้าทำลายโครงสร้างของกรดมิวโคโพลิแซกคาไรด์ (mucopolysaccharide) ทำให้เสมหะมีความเหนียวลดลง การขับเสมหะออกทำได้ง่ายขึ้น บรอมเฮกซีนมีความเป็นพิษต่ำ

โคดิอีนเลียนแบบการออกฤทธิ์ของโอพิออยด์ที่หลั่งขึ้นภานในร่างกายโดยเข้าจับที่ตัวรับโอพิออยด์ ในระบบประสาทส่วนกลาง การกระตุ้นตัวรับมิว (mu receptor) ทำให้เกิดการลดลงของการหลั่งสารสื่อประสาทโนซิเซปทีฟ ได้แก่ substance P, GABA, dopamine, acetylcholine, และ noradrenaline กลไกการยับยั้งการไอนั้นยังไม่มีการศึกษากลไกชัดเจน แต่เชื่อว่าเกิดจากความสามารถในการกดการตอบสนองต่อการไอที่ศูนย์การไอในสมองส่วนเมดัลลา

ข้อบ่งใช้สำหรับบรอมเฮกซีน-โคดิอีน

พิจารณาจากปริมาณตัวยาสำคัญของยาในสูตรผสม โดย

ยาโคดิอีน ข้อบ่งใช้สำหรับกดอาการไอ ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 15-30 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง

จำเป็นต้องมีการปรับขนาดการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาบรอมเฮกซีน ข้อบ่งใช้สำหรับละลายเสมหะ ยาในรูปแบบยาเม็ดหรือยาน้ำสำหรับรับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 8-16 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง

ไม่แนะนำให้ใช้ยาสูตรผสมที่มีส่วนประกอบของโคเดอีนในเด็ก

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยาบรอมเฮกซีน-โคดิอีน

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยาบรอมเฮกซีน-โคดิอีน

ข้อควรระวังของการใช้ยาบรอมเฮกซีน มีดังนี้

  • ระวังการใช้ยานี้ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นแผลในกระเพาะอาหาร (peptic ulcer)
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคหืด (asthma)
  • ระวังการใช้ยานี้ ในผู้ป่วยโรคตับ และไตรุนแรง

และข้อควรระวังของการใช้ยาโคเดอีน มีดังนี้

  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วย acute respiratory depression
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยตับวาย
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยหืดเฉียบพลัน หรือรุนแรง
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของระบบทางเดินอาหาร
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่ติดแอลกอฮอล์
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีอุบัติเหตุบริเวณศีรษะ
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีความดันในกระโหลดสูง
  • ห้ามใช้ยานี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
  • ห้ามใช้ยานี้ในสตรีให้นมบุตร
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม monoamine oxidase inhibitor ในช่วง 14 วันก่อนได้รับยานี้
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยความดันโลหิตต่ำ
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยเด็ก ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาบรอมเฮกซีน-โคดิอีน

ยาบรอมเฮกซีน นี้อาจก่อให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ ได้แก่ อาจก่อให้เกิด คลื่นไส้ อาเจียน angioedema อาการบวม ผื่นแดง หลอดลมหดตัว มึนงง เหงื่อออกมาก ปวดศีรษะ ปวดท้องส่วนบน ท้องเสีย เพิ่มค่าผลปฏิบัติการ serum amino transferase ส่วนยาโคเดอีน อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรง ได้แก่ กดระบบประสาทส่วนกลาง ความดันโลหิตต่ำ ท้องผูก หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นช้า ใจสั่น น้ำตาลในเลือดสูง อาการที่อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต ได้แก่ กดระบบทางเดินหายใจ อาการอื่นๆ ได้แก่ ไข้ ปวดกล้ามเนื้อ เหนื่อยหอบ มึนงง ปวดศีรษะ สับสน ส่งผลต่ออารมณ์ เห็นภาพหลอน ฝันร้าย ผื่น เหงื่ออกมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อมูลการใช้ยาบรอมเฮกซีน-โคดิอีนในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาบรอมเฮกซีนจัดอยู่ในกลุ่ม category A คือ ยามีความปลอดภัยในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ส่วนโคเดอีนจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยังไม่มียาสูตรผสมนี้ในประเทศไทย โดยยาบรมเฮกซีน จัดอยู่ในกลุ่มยาทั่วไป (NDD) และยาโคเดอีน จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดประเภทที่ 2 ไม่มีวางจำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป การใช้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษายาบรอมเฮกซีน-โคดิอีน

ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 15-30 องศาเซลเซียส เก็บให้พ้นจากแสง ความร้อน และความชื้น

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลในการสั่งใช้ยา

แพทย์และเภสัชกรสามารถให้ข้อมูลการใช้ยาอย่างปลอดภัย ผู้ป่วยควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่แพทย์หรือเภสัชกรเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยและลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการใช้ยา

  • แจ้งข้อมูลการใช้ยารักษาโรคประจำตัว ยาที่เพิ่งรับประทานก่อนหน้านี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รับประทาน (รวมถึงวิตามิน และสมุนไพร) ในกรณีมียาประจำตัวจำนวนมาก ให้พกยาเพื่อให้แพทย์หรือเภสัชกรช่วยตรวจสอบก่อนสั่งจ่ายยาใหม่ ไม่ให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่จะได้รับใหม่และยาที่เดิมที่ผู้ป่วยใช้อยู่
  • แจ้งประวัติการแพ้ยา หรืออาการแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือแพ้อาหารชนิดใดอยู่ (เนื่องจากยาบางชนิดมีส่วนประกอบของไข่ขาว นม ยีสต์) อาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม เกิดผื่น หายใจลำบาก หรือให้นำบัตรแพ้ยา พกติดตัวและแสดงบัตรนี้แก่แพทย์และเภสัชกรก่อนเข้าใช้บริการสุขภาพทุกครั้ง
  • แจ้งข้อมูลในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยาบางชนิดส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์ หรือสามารถขับออกทางน้ำนมได้
  • แจ้งข้อมูลที่จะส่งผลต่อการรับประทานยา เช่น มีปัญหาการกลืนลำบาก มีปัญหาด้านการมองเห็นหรืออ่านฉลากยา วิธีการรับประทานยา เพื่อแพทย์หรือเภสัชกรจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ncbi.nlm.nih.gov, A reappraisal of the mucoactive activity and clinical efficacy of bromhexine. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/28331610/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)