กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

POTS (กลุ่มอาการหัวใจเต้นเร็วระหว่างเปลี่ยนท่า)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 25 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อัตราการเต้นหัวใจของผู้ใหญ่เมื่ออยู่นิ่งจะอยู่ที่ 60-100 ครั้ง/นาที ในะหว่างที่เปลี่ยนท่าทาง หากหัวใจเต้นเร็วขึ้น 30 ครั้ง/นาทีขึ้นไป อาจบ่งชี้ว่า เป็นกลุ่มหัวใจเต้นเร็วระหว่างเปลี่ยนท่า (Postural Orthostatic tachycardia syndrome: POTS) ได้
  • ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของภาวะนี้ แต่อาจเกิดได้จากการติดเชื้อไวรัส การคลอดบุตร มีความเครียด ประสาทอัตโนมัติเสียการทำงาน การได้รับอุบัติเหตุ หรือได้รับยาเคมีบำบัด
  • อาการหัวใจเต้นเร็วระหว่างเปลี่ยนท่าที่พบบ่อย เช่น ใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เวียนศีรษะ ปวดศีรษะตุ้บๆ การมองเห็นผิดปกติ เป็นลม
  • ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาแบบใดแบบหนึ่งที่เหมาะกับผู้ป่วยทุกคน จึงเน้นรักษาตามอาการก่อน เช่น รักษาระดับความดันโลหิต เกลือแร่ในร่างกายให้เป็นปกติ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกาย
  • ภาวะผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจเป็นภัยเงียบที่อาจมาเยือนโดยคุณไม่รู้ตัว การดูแลสุขภาพและตรวจสุขภาพเป็นประจำจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพและหัวใจได้ที่นี่)

กลุ่มอาการหัวใจเต้นเร็วระหว่างเปลี่ยนท่า (Postural Orthostatic tachycardia syndrome: POTS) เป็นความผิดปกติที่เกี่ยวกับหัวใจที่พบได้ไม่บ่อย มักเกิดในผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 35 ปี 

ภาวะนี้อัตราการเต้นของหัวใจจะเร็วขึ้นอย่างน้อย 30 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป เมื่อเปลี่ยนท่าทาง เช่น จากนั่ง หรือนอน เป็นยืนขึ้น สาเหตุสำคัญเนื่องจากหัวใจพยายามควบคุมความดันโลหิตและการไหลเวียนของเลือดกลับสู่สมองนั่นเอง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม แม้อัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้นแต่ความดันโลหิตจะยังคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้แน่ชัด แต่มีการระบุว่าปัจจัยต่อไปนี้อาจส่งผลให้เกิดภาวะนี้ได้

  • การติดเชื้อไวรัส
  • การคลอดบุตร
  • การมีความเครียดเกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น การผ่าตัด
  • การได้รับอุบัติเหตุ หรือการรับยาเคมีบำบัด
  • เป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
  • กลุ่มระบบประสาทอัตโนมัติเสียศูนย์ หรือเสียการทำงาน (Dysautonomia) 

อาการของกลุ่มอาการหัวใจเต้นเร็วเมื่อเปลี่ยนท่า

ผู้ป่วยบางคนอาจเกิดภาวะนี้ขึ้นอย่างฉับพลัน ในขณะที่บางคนจะค่อยๆ มีอาการและบางคนมีภาวะนี้อยู่ตลอดชีวิต 

การวินิจฉัยกลุ่มอาการหัวใจเต้นเร็วเมื่อเปลี่ยนท่า

ภาวะนี้เป็นภาวะที่วินิจฉัยได้ยากเนื่องจากความรุนแรงของอาการสามารถเปลี่ยนไปได้และยังอาจเกิดร่วมกันภาวะอื่นๆ ได้ดังนี้

การวินิจฉัยภาวะนี้ต้องใช้การซักประวัติเกี่ยวกับอาการ ร่วมกับการตรวจวัดระดับความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจระหว่างนอน นั่ง หรือยืน 

นอกจากนั้นยังอาจใช้การทดสอบที่เรียกว่า tilt table test (หรือเรียกอีกชื่อว่า head upright tilt test) 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

tilt table test หมายถึง การตรวจหัวใจด้วยเตียงปรับระดับเพื่อช่วยในการยืนยันการวินิจฉัยภาวะนี้และประเมินสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดอาการได้

การรักษากลุ่มอาการหัวใจเต้นเร็วเมื่อเปลี่ยนท่า

การรักษาภาวะนี้ประกอบด้วยการทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หรือระบุปัญหาที่เกิดกับการไหลเวียนเลือด บางการรักษาก็เหมาะกับผู้ป่วยบางคนมากเป็นพิเศษ และยังไม่มีการรักษาแบบใดแบบหนึ่งที่เหมาะสมกับผู้ป่วยทุกคน 

แพทย์อาจมีคำแนะนำดังนี้

  • หมั่นสังเกตตนเอง หากพบความผิดปกติจะได้หาทางแก้ไข 
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และถูกต้องตามหลักโภชนาการ 
  • หมั่นออกกำลังกายด้วยวิธีปกติอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ
  • หากออกกำลังกายด้วยวิธีธรรมดาแล้วอาการแย่ลง แนะนำให้ทดลองออกกำลังกายแบบหัวต่ำ เช่น นอนหงายแล้วออกกำลังกายด้วยท่าทางต่างๆ นอนหงาย ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ วิดพื้น 
  • รับประทานยา เช่น ยากลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (beta blockers) รักษาระดับความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ  ยากลุ่มอัลฟ่า-2 อะโกนิสต์ (alpha-2 agonists) รักษาระดับความดันโลหิต เช่น  Methyldopa clonidine ยากลุ่มอัลฟ่า-1 อะโกนิสต์ (alpha-1 agonist) รักษาระดับความดันโลหิต เช่น midodrine 
  • ดื่มน้ำและรับประทานเกลือ (ในปริมาณที่เหมาะสม) ให้มากขึ้น เพื่อช่วยให้ความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วคราว

อย่างไรก็ตาม มีรายงานกลุ่มอาการหัวใจเต้นเร็วเมื่อเปลี่ยนท่านั้นสามารถหายขาดได้ในบางราย หากปรับพฤติกรรมอย่างเหมาะสม 

ดังนั้นหมั่นสังเกตตนเองและดูแลหัวใจของตนเองตั้งแต่วันนี้ ไม่ต้องรอให้คุณหมอต้องมาดูแล เพราะถึงตอนนั้นเราอาจจะป่วยหนักแล้วก็ได้

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจและสมรรถภาพหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Zhao S, Tran VH. Postural Orthostatic Tachycardia Syndrome (POTS) (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK541074/), 2 March 2020.
Raj S. R. (2006). The Postural Tachycardia Syndrome (POTS): pathophysiology, diagnosis & management. Indian pacing and electrophysiology journal, 6(2), 84–99.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ทำไมมีรอบเดือนแล้วปวดหัวข้างเดียว
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สวัสดีค่ะ อายุ 25ปี มีอาการปวดตามข้อต่างๆทั้งแขนและขา ข้อนิ้วมือและเท้า ข้อมือ ข้อพับ ข้อเข่า ข้อเท้า อาการปวดไม่รุนแรงแต่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันพอสมควร ไม่ทราบว่าตรงนี้สามารถซื้อยาบรรเทาอาการปวดข้อกระดูกมารับประทานเองได้ไหมคะ หรือควรไปพบแพทย์ไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สิวขึ้น เจ็บนม ปวดท้องน้อยหายๆปวดๆ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เวียนหัว ปวดท้ายทอย. ร้อนหน้าวูขวาบ. อายุ42 อยากไปตรวจร่างกาย
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)