กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

รอบรู้การทำงานของหัวใจและความผิดปกติของหัวใจ

ความผิดปกติของหัวใจไม่ใช่เรื่องเล็ก หมั่นตรวจเช็ก หาหนทางป้องกันก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป
เผยแพร่ครั้งแรก 17 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 25 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
รอบรู้การทำงานของหัวใจและความผิดปกติของหัวใจ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • หัวใจเป็นอวัยวะชิ้นแรกๆ ที่กลุ่มเซลล์สร้างขึ้นนับตั้งแต่กระบวนการปฏิสนธิสำเร็จแล้วจึงพัฒนาเป็นตัวอ่อน
  • หัวใจเป็นอวัยวะไม่กี่ชิ้นที่ทำงานตลอดเวลา ทำงานไม่มีวันหยุดจนกว่าคนๆ นั้นจะเสียชีวิตลง
  • การทำงานของหัวใจเปรียบเทียบได้กับเครื่องปั๊มน้ำ สูบฉีดเลือดดีไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และรับเลือดเสียจากร่างกายไปฟอกใหม่ที่ปอด
  • ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวใจมีหลายสาเหตุ ได้แก่ โครงสร้างหัวใจ หลอดเลือด ระบบไฟฟ้าของหัวใจ และความดันโลหิต
  • การดูแลสุขภาพร่างกายเป็นวิธีป้องกันความผิดปกติที่เกิดกับหัวใจได้ดีที่สุด ส่วนการตรวจสุขภาพและตรวจหัวใจก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพและสุขภาพหัวใจได้ที่นี่)

หัวใจเปรียบเหมือนเครื่องปั๊มน้ำเพียงแต่ไม่ได้สูบฉีดน้ำ แต่สูบฉีดเลือดดีและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งเลือดที่ผ่านการใช้งาน พร่องออกซิเจนแล้ว และมีคาร์บอนไดออกไซด์ปะปนกลับไปฟอกที่ปอดใหม่ 

กระบวนการทำงานภายในปอดคือ การกำจัดของเสียออกไป ก่อนจะเพิ่มออกซิเจนส่งไปเลี้ยงเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ของร่างกายอีกครั้ง กระบวนการนี้เรียกว่า “การไหลเวียนโลหิต (Circulation)”

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อ่านเพิ่มเติม: ระบบไหลเวียนเลือดมีกระบวนการทำงานอย่างไร และมีวิธีดูแลอย่างไร

ส่วนต่างๆ ของหัวใจที่สำคัญต่อการไหลเวียนโลหิต

1.หลอดเลือดหัวใจ ทั้งด้านซ้ายและขวาของหัวใจจะมีเส้นเลือดขนาดใหญ่ทำหน้าที่แตกต่างกันดังนี้ 

  • หลอดเลือดใหญ่ทางด้านขวา ประกอบด้วย right coronary artery ทำหน้าที่เลี้ยงหัวใจด้านขวาเป็นส่วนใหญ่ และ left coronary artery ทำหน้าที่เลี้ยงหัวใจด้านซ้ายเป็นส่วนใหญ่
  • หลอดเลือดใหญ่ทางด้านซ้ายประกอบด้วย left anterior descending artery และ left circumflex artery

นอกจากนี้ยังมีหลอดเลือดฝอย (Capillaries) เป็นตัวเชื่อมหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำที่เล็กที่สุดเข้าด้วยกัน และช่วยแลกเปลี่ยนสารต่างๆ ระหว่างหลอดเลือดทั้งสอง

ระบบการไหลเวียนโลหิตจะเริ่มจากหัวใจห้องขวาบนรับเลือดเสียจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย ผ่านลิ้นหัวใจ ส่งต่อไปยังหัวใจห้องขวาล่างเพื่อส่งออกไปฟอกที่ปอด 

เมื่อปอดฟอกเลือดเสร็จแล้ว เลือดจะส่งผ่านเข้ามาที่หัวใจห้องซ้ายบน ผ่านลิ้นหัวใจ ส่งไปยังหัวใจห้องซ้ายล่าง และสูบฉีดออกไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

2.ลิ้นหัวใจและผนังกั้นหัวใจ หัวใจแบ่งออกเป็น 4 ห้อง แบ่งด้านบนสองห้องซ้าย – ขวาด้วยผนังกั้นห้องหัวใจ และแบ่งด้านล่างสองห้อง ซาย -ขวา ด้วยลิ้นหัวใจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลิ้นหัวใจทำหน้าที่เป็นประตูกั้นไม่ให้เลือดที่ไหลผ่านไปแล้วไหลย้อนกลับมาใหม่ หากเกิดความผิดปกติที่ลิ้นหัวใจอาจทำให้หัวใจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ความผิดปกติที่พบกับผนังกั้นห้องหัวใจและลิ้นหัวใจที่พบบ่อย ได้แก่

  • ลิ้นหัวใจรั่ว 
  • ลิ้นหัวใจตีบแคบและแข็งตัว
  • ผนังกั้นห้องหัวใจไม่สมบูรณ์ มีรูโหว่

3.ระบบไฟฟ้าหัวใจ การเต้นของหัวใจเกิดจากหัวใจส่งกระแสไฟฟ้าภายใน หรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ที่สร้างขึ้นเองจากจุดกำเนิดคลื่นกระแสไฟฟ้าที่อยู่ที่ผนังหัวใจห้องขวาบน (Sinus node) ส่งผ่านเซลล์นำไฟฟ้าที่มีอยู่ทั่วไปในหัวใจ มายังหัวใจห้องซ้ายบนและลงล่างตามลำดับ ด้วยอัตรา 60-100 ครั้งต่อนาที

กระแสไฟฟ้านี้จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการบีบรัดและคลายตัว การบีบและคลายตัวนี่เองที่ทำให้หัวใจแต่ละห้องทำงานสัมพันธ์กัน การสูบฉีดโลหิตเป็นจังหวะสม่ำเสมอ 

หากระบบไฟฟ้าหัวใจผิดปกติก็อาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วและแรง หัวใจเต้นช้าได้

4.ความดันโลหิต เป็นหน่วยวัดแรงดันภายในหลอดเลือดแดง หัวใจจะต้องสร้างแรงดันขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อหัวใจเต้น 1 ครั้ง หมายถึง การบีบรัดและคลายตัวของหัวใจเพื่อใช้ในการสูบฉีดเลือด 1 ครั้ง

รู้จักภาวะและความผิดปกติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ

ภาวะและความผิดปกติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ภาวะและความผิดปกติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างหัวใจ
  • ภาวะและความผิดปกติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือด
  • ภาวะและความผิดปกติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าของหัวใจ
  • ภาวะและความผิดปกติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิต

ภาวะและความผิดปกติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างหัวใจ

  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease) เกิดขึ้นจากความผิดปกติที่โครงสร้างหัวใจ ทำให้หัวใจไม่สามารถทำงานได้เหมือนที่ควรจะเป็น แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือชนิดไม่มีอาการตัวเขียว (Acyanotic Heart Disease) และชนิดมีอาการตัวเขียว (Cyanotic Heart Disease)
  • โรคหัวใจทางพันธุกรรม (Inherited Cardiac Conditions) เกิดจากความผิดปกติ หรือการกลายพันธุ์ของยีนหนึ่งตัว หรือมากกว่า ยกตัวอย่างใครที่มีพันธุกรรมผิดปกติจะมีโอกาส 50/50 ที่จะส่งต่อยีนนั้นๆ ให้ลูกหลานได้ 

ภาวะและความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหลอดเลือด

  • โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนท้องโป่งพอง (Abdominal Aortic Aneurysm) เกิดขึ้นเมื่อผนังหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า (Aorta) บางส่วนเกิดการอ่อนตัวลงทำให้เกิดแรงดันบริเวณนั้นมากขึ้น หลอดเลือดจึงโป่งพองออก หากมีการฉีกขาดจะทำให้มีเลือดออกปริมาณมากจนทำให้มีโอกาสเสียชีวิตได้ในเวลาไม่นาน
  • ภาวะแน่นหน้าอก ภาวะที่การไหลเวียนเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจถูกจำกัดลง เนื่องจากมีลิ่มเลือด หรือไขมันเข้าไปอุดตันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง ภาวะแน่นหน้าอกสามารถเกิดอาการได้ทั้งแบบคงที่ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นช้าๆ และแบบไม่คงที่ อาการเกิดขึ้นเฉียบพลัน 
  • โรคหลอดเลือดแดงอุดตัน (Arterial Thrombosis) ภาวะที่มีลิ่มเลือดเกิดขึ้นในหลอดเลือดแดงซึ่งอาจเข้าไปอุดกั้นการไหลเวียนโลหิต ทำให้สมองและหัวใจไม่ได้รับเลือดอย่างที่ควรจะเป็น อาจส่งผลให้เกิดภาวะดังต่อไปนี้ ได้แก่  โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) ภาวะหลอดเลือดสมอง (Stroke) หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral Vascular Disease)
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Heart Disease) ภาวะนี้เกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือดหัวใจ ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตที่ไปเลี้ยงหัวใจเกิดการตีบแคบหรืออุดตัน ซึ่งอาจทำให้เกิดโรค หรือภาวะดังต่อไปนี้ ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) ใจสั่น (Palpitations)
  • โรคเรเนาด์ (Raynaud's Phenomenon) ภาวะที่เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้โดยเฉพาะนิ้วมือและนิ้วเท้า สาเหตุเกิดจากอุณหภูมิเย็น ความเครียด หรือความวิตกกังวล หากไม่ได้ทำการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะเนื้อตายเน่าได้
  • เส้นเลือดขอด (Varicose Veins) ภาวะที่หลอดเลือดดำบวมและขยายใหญ่ขึ้นทำให้หลอดเลือดโป่งออก หรือผิดรูป มักจะเกิดขึ้นกับหลอดเลือดดำที่ขาและเท้า โดยเฉพาะบริเวณน่อง

ภาวะและความผิดปกติเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าของหัวใจ

  • ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation: AF) เป็นภาวะที่ทำให้หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ หรือเต้นเร็วผิดปกติ สาเหตุเกิดจากมีแรงกระตุ้นไฟฟ้าผิดปกติในหัวใจห้องบนกะทันหัน แรงกระตุ้นนี้จะไปกลบตัวกระตุ้นหัวใจตามธรรมชาติจนทำให้ไม่สามารถควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจได้
  • ภาวะสัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง (Heart Block) ภาวะที่สัญญาณกระตุ้นทางไฟฟ้าที่ควบคุมการเต้นของกล้ามเนื้อหัวใจถูกขัดขวาง แบ่งออกได้ 3 ระดับ โดยระดับที่ 3 จัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เนื่องจากอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
  • ภาวะหัวใจเต้นเร็วจากหัวใจห้องบน (Supraventricular Tachycardia) ภาวะที่ทำให้มีอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วผิดปกติ โดยหัวใจจะเริ่มเต้นอย่างรวดเร็วและจะเต้นช้าลงไปเอง
  • Wolff-Parkinson-White Syndrome (WPW) เป็นภาวะที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติกะทันหัน พบได้มากในเด็กที่มีภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด เกิดจากกิจกรรมทางไฟฟ้าส่วนเกินภายในหัวใจ ทำให้สัญญาณทางไฟฟ้าตามปกติของหัวใจเกิดลัดวงจร และถูกกลบทับจนทำให้มีอาการหัวใจเต้นเร็วเกิดขึ้นแทน

ภาวะและความผิดปกติเกี่ยวกับความดันโลหิต

  • ภาวะความดันโลหิตสูง (High Blood Pressure หรือ Hypertension) ใช้เรียกภาวะที่ความดันโลหิตมีค่า 140/90 mmHg หรือมากกว่านั้น ภาวะนี้สามารถทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดชนิดอื่นๆ ได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดโป่งพอง โรคไต
  • ภาวะความดันโลหิตต่ำ (Low Blood Pressure หรือ Hypotension) ใช้เรียกภาวะที่ความดันโลหิตมีค่า 90/60 mmHg หรือน้อยกว่านั้น ภาวะนี้อาจทำให้เลือดส่งไปยังสมองและอวัยวะสำคัญต่างๆ ไม่เพียงพอ
  • ภาวะความดันเลือดในปอดสูง (Pulmonary Hypertension) ภาวะที่เกิดแรงดันเลือดสูงภายในหลอดเลือดแดงที่มีหน้าที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจห้องขวาไปยังปอด ทำให้เกิดอาการเหน็ดเหนื่อยและหายใจติดขัด สามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้

สิ่งที่ควรทำเมื่อเกิดโรคหัวใจที่เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์

ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ มีด้วยกัน 3 ชนิดได้แก่

ทั้ง 3 ภาวะนี้อาจทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้ เมื่อพบผู้ป่วยที่มีภาวะดังต่อไปนี้ ให้โทรติดต่อ 1669 หรือ เรียกรถพยาบาล หรือทีมกู้ชีพโดยเร็วที่สุด ระหว่างนั้นควรช่วยเหลือ หรือปฐมพยาบาลเบื้องต้น ดังนี้

  • เรียก หรือเขย่าตัวว่า ผู้ป่วยยังมีสติอยู่หรือไม่
  • หากผู้ป่วยยังมีสติอยู่ควรให้อยู่นิ่งๆ งดการเคลื่อนไหว งดการใช้แรงจนกว่ารถพยาบาลจะมารับ
  • สำหรับโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและภาวะแน่นหน้าอก หากมีแอสไพรินติดตัวสามารถให้ผู้ป่วยเคี้ยวขนาดยา 1 เม็ดขนาด 300mg. ระหว่างรอรถพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการได้ แต่ถ้าหากไม่มี ไม่เป็นไร
  • ส่วนผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ให้ทำ CPR ให้แก่ผู้ป่วย โดยการเป่าลมเข้าปอด สลับกับกดหน้าอก อย่างน้อย 4 รอบ ถ้ายังไม่ได้สติก็ทำซ้ำอีก 4 รอบ จนกว่าผู้ป่วยจะรู้ตัว หรือจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง และมองหาเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED) เพื่อช่วยปฐมพยาบาล ขณะรอรถพยาบาล

อ่านเพิ่มเติม: สิ่งที่ควรทำและวิธีปฐมพยาบาลในสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดกับหัวใจ 

จะเห็นได้ว่า ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวใจสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติเกี่ยวกับโครงสร้างหัวใจ ความผิดปกติเกี่ยวกับหลอดเลือด ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า

นอกจากการดูแลตนเองด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ เช่น การดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด การพักผ่อนให้เพียงพอ การหลีกเลี่ยงความเครียด การออกกำลังกายเหมาะสมและต่อเนื่อง แล้วนั้น

การตรวจสุขภาพประจำปี หรือการตรวจสุขภาพหัวใจโดยเฉพาะด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) การตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) ฯลฯ รวมทั้งหมั่นสังเกตความผิดปกติของตนเองและคนที่คุณรัก 

เช่น เหนื่อยง่ายไหม มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น เหงื่ออกมากผิดปกติหรือไม่ เหล่านี้ก็อาจเป็นอีกแนวทางในการดูแลตนเองและคนที่คุณรักให้ “หัวใจ” ห่างไกลจากความผิดปกติและโรคต่างๆ ได้

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพและหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัพเดทแพ็กเกจต่างๆ นี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)