Norepinephrine คืออะไร? ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 25 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
Norepinephrine คืออะไร? ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร?


แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การมีระดับฮอร์โมน Norepinephrine (นอร์อิพิเนฟริน) ลดลงนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้น (ADHD) โรคซึมเศร้า และโรคความดันในเลือดต่ำได้ มาดูกันว่าสาร Norepinephrine นี้สำคัญอย่างไร และทำไมถึงสัมพันธ์กับโรคเหล่านี้

Norepinephrine (นอร์อิพิเนฟริน) คือสารเคมีธรรมชาติในร่างกายชนิดหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งฮอร์โมนที่ตอบสนองต่อภาวะเครียด และเป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่ส่งกระแสประสาทระหว่างเส้นประสาท 

เมื่อสารชนิดนี้จะถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด จะทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนตอบสนองต่อภาวะเครียดเมื่อสมองรับรู้ว่ามีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้น นอกจากนั้น Norepinephrine ยังมีส่วนเกี่ยวข้องในการทำให้สมองให้ตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
  • กระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำตาลกลูโคสสู่กระแสเลือดมากขึ้น
  • เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังกล้ามเนื้อ

ส่วนหน้าที่ในการเป็นสารสื่อประสาทในระบบประสาทส่วนกลางนั้น Norepinephrine จะเพิ่มให้สมองมีการตื่นตัว ถูกกระตุ้น และเพิ่มความเร็วในการตอบสนอง นอกจากนี้ Norepinephrine ยังเกี่ยวข้องกับอารมณ์และความสามารถในการจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้น การมีระดับ Norepinephrine ลดลงจึงทำให้เกิดภาวะต่างๆ ตามมาได้ เช่น โรคสมาธิสั้น โรคซึมเศร้า และโรคความดันในเลือดต่ำ

Norepinephrine กับโรคสมาธิสั้น (ADHD)

Norepinephrine และโดปามีน (Dopamine) ที่ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทนั้นช่วยให้มีความสามารถในการตั้งใจจดจ่อกับกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งหากสารเหล่านี้ในสมองมีปริมาณลดลงก็อาจทำให้การจดจ่อนั้นยากขึ้น ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของโรคสมาธิสั้น โรคนี้ส่งผลต่อความสามารถในการจัดการกับปัญหา การวางแผนต่างๆ ความสามารถในการเข้าใจพฤติกรรมคนรอบข้าง และการควบคุมอารมณ์ การรักษาทำได้โดยการรับประทานยา ซึ่งจะช่วยเพิ่มระดับของ Norepinephrine และ Dopamine ในร่างกายให้มากขึ้น ทำให้มีสมาธิมากขึ้นไปด้วย

ตัวอย่างยาที่ช่วยเพิ่มระดับ Norepinephrine และ Dopamine มีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • Methylphenidate)
  • Dextroamphetamine)
  • Amphetamine และ Dextroamphetamine)
  • Atomoxetine 

นอกจากนี้ยังมียาชนิดอื่นที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้น แต่มีฤทธิ์ช่วยเพิ่มระดับของ Norepinephrine เท่านั้น ไม่ได้เพิ่มระดับ Dopamine

Norepinephrine กับภาวะซึมเศร้า

ระดับ Norepinephrine ที่ลดลงนั้นส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน ซึ่งถือเป็นภาวะที่ร้ายแรงหนึ่งทางการแพทย์ เพราะส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิด และการกระทำของบุคคลนั้น 

ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าอาจใช้ยาในกลุ่มของ Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) ซึ่งยากลุ่มนี้จะช่วยเพิ่มระดับของสาร Norepinephrine และเซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมองอีกชนิดหนึ่ง ยาในกลุ่มของ SNRIs ที่มักใช้ ดังนี้

ยาอีกกลุ่มหนึ่งที่แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ คือ Tricyclic antidepressants ใช้ในการรักษาโดยเพิ่มระดับของ Norepinephrine ในสมองได้เช่นกัน แต่ยากลุ่มนี้มักมีผลข้างเคียงมาก ได้แก่ อาการง่วงนอน ปากแห้ง ท้องผูก ตามัว และน้ำหนักขึ้น

Norepinephrine และความดันในเลือดต่ำ

ระดับ Norepinephrine ที่ลดลงยังส่งผลต่อความดันเลือด ทำให้ระดับความดันเลือดลดต่ำลง ในบางครั้งจึงมีการใช้ Norepinephrine ฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำเพื่อรักษาภาวะความดันในเลือดต่ำในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งถือเป็นภาวะที่อันตราย เพราะเป็นอาการหนึ่งที่แสดงถึงภาวะช็อก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ (Septic shock) อันเกิดจากการที่มีสารพิษจากการติดเชื้อนั้นหลั่งออกมา ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นทั่วทั้งร่างกาย

นอกจากนี้ยังมีภาวะช็อกชนิด Neurogenic shock ซึ่งเกิดจากการส่งกระแสประสาทถูกขัดขวาง มักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง 

ภาวะความดันโลหิตต่ำอาจทำให้เกิดอาการมึนหัวหรือเป็นลมหมดสติ นอกจากนี้ ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากอาจส่งผลต่อหัวใจและสมองได้

สาเหตุที่ผู้ป่วยโรคเหล่านี้มีระดับ Norepinephrine ต่ำลงนั้นยังไม่อาจทราบอย่างแน่ชัด แต่พบว่าสาเหตุหนึ่งมาจากการเผชิญกับความกลัวและความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผู้ที่เผชิญเหตุการณ์ร้ายแรง มีโรควิตกกังวล หรือโรคแพนิค อาจมีระดับสารนี้ลดลงและนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ ทั้ง 3 อย่างข้างต้นได้


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
drugs.com, Norepinephrine (https://www.drugs.com/mtm/norepinephrine.html), Jun 28, 2019
healthline.com, Norepinephrine (https://www.healthline.com/health/epinephrine-vs-norepinephrine), February 15, 2018
everydayhealth.com, Norepinephrine (https://www.everydayhealth.com/norepinephrine/guide/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)