กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Duloxetine (ดูล็อกซีทีน)

เผยแพร่ครั้งแรก 8 ส.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 12 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ดูล็อกซีทีน (Duloxetine) เป็นยากล่อมประสาทสำหรับผู้ป่วยโรควิตกกังวล ภาวะซึมเศร้าที่เป็นมานานกว่า 6 เดือน
  • ตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมเซโรโทนินและนอร์พิเนฟริน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำให้อารมณ์ดี ระงับความเจ็บปวด 
  • ตัวยาเป็นแคปซูลดูดซึมช้า สามารถอยู่ในร่างกายได้นานกว่า 12 ชั่วโมงก่อนถูกจะค่อยๆ ถูกขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ มีหลายขนาดทั้ง 20, 30, 60 มิลลิกรัม 
  • แม้ Duloxetine จะหาซื้อได้ตามร้านขายยาขนาดใหญ่ แต่ตัวยามีข้อจำกัดเยอะมาก และถือเป็นยาอันตรายที่อาจส่งผลต่อการฆ่าตัวตายได้ รวมถึงอาจได้รับผลกระทบจากยาอื่นๆ หลายชนิด โดยเฉพาะยาแก้ปวดประเภทไอบูโพรเฟน ยาสมุนไพร อาหารเสริมต่างๆ ดังนั้นการใช้ยาตัวนี้ควรอยู่ในการสั่งจ่ายของแพทย์เท่านั้น
  • ดูแพ็กเกจปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตได้ที่นี่

ดูล็อกซีทีน (Duloxetine) เป็นยากล่อมประสาทที่ใช้รักษาภาวะซึมเศร้า และโรควิตกกังวลที่เป็นมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน รวมถึงอาการปวดเส้นประสาทจากโรคเบาหวาน อาการปวดกล้ามเนื้อไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) และอาการปวดกระดูกในระยะยาว 

รู้จักยา Duloxetine

Duloxetine เป็นยาในกลุ่ม Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการดูดซึมกลับของสารสื่อประสาท 2 ตัว คือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • เซโรโทนิน (Serotonin) 
  • นอร์พิเนฟริน (Norepinephrine) 

ทำให้มีระดับสารเหล่านี้ในร่างกายมากขึ้น ซึ่งจะช่วยปรับอารมณ์และระงับความรู้สึกเจ็บปวดได้ 

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร International journal of clinical practice ปี ค.ศ. 2012 กล่าวว่ายา Duloxetine สามารถช่วยลดอาการปวดที่เกิดจากโรคข้อเข่าเสื่อมได้ 

โดยที่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อยกว่ายาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ที่อาจนำไปสู่ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร และยากลุ่มโอปิออยด์ (Opioids) เช่น มอร์ฟีน ซึ่งมักมีผลข้างเคียงเป็นอาการท้องผูก 

แพทย์จึงอาจพิจารณาเพิ่มยารักษาโรคซึมเศร้าอย่าง Duloxetine สำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม

คำเตือนในการใช้ยา Duloxetine

องค์การอาหารและยากำหนดให้มีการระบุคำเตือนบนฉลากยา Duloxetine เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้เป็นยากล่อมประสาท โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุไม่เกิน 24 ปี และแพทย์มักไม่จ่ายยานี้ให้กับผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี 

ผู้ป่วยจะเสี่ยงต่อการเกิดความคิดว่าตัวตายมากที่สุดในช่วงเริ่มต้นรักษาหรือในระหว่างปรับเพิ่มปริมาณการใช้ยา และอาจสังเกตได้ว่าคุณมีอาการของภาวะซึมเศร้าแย่ลง ก่อนจะค่อยๆ มีอาการดีขึ้นหลังจากนั้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากคุณมีความคิดฆ่าตัวตาย ก้าวร้าว หงุดหงิด ตื่นตระหนก กังวลมาก กระวนกระวาย ตื่นเต้นผิดปกติ ตัดสินใจหรือทำสิ่งต่างๆ โดยไม่ไตร่ตรอง คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบ และบอกคนรอบข้างให้ช่วยเฝ้าสังเกตอาการของคุณด้วย

คำเตือนอื่นๆ เกี่ยวกับการใช้ยา Duloxetine มีดังนี้

  • ห้ามใช้ยา Duloxetine ภายใน 5 วันก่อนหน้า และ 14 วันหลังจากใช้ยาต้านเศร้าในกลุ่ม MAOIs ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น ไอโซคาร์บอกซาซิด (Isocarboxazid) ลีเนโซลิด (Linezolid) ยาฉีดเมทิลีน บลู (Methylene blue) ฟีเนลซีน (Phenelzine) ราซาจิลีน (Selegiline) ทรานิลไซโปรมีน (Tranylcypromine) เป็นต้น

  • ก่อนใช้ยา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงยาที่กำลังใช้อยู่ ทั้งยาที่แพทย์จ่ายให้ ยาที่ซื้อมาใช้เอง วิตามิน อาหารเสริม หรือสมุนไพรใดๆ เพราะยาบางชนิดอาจทำปฏิกิริยากับยา Duloxetine และก่อให้เกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ได้

  • ยานี้อาจส่งผลให้ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางชนิดมีอาการแย่ลงได้ คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหรือมีภาวะสุขภาพต่อไปนี้

    • แพ้ยา Duloxetine หรือยาที่มีส่วนประกอบของยานี้
    • โรคต้อหินมุมแคบ (Narrow-angle glaucoma) ชนิดไม่สามารถควบคุมได้ 
    • โรคตับหรือโรคไต
    • มีปัญหาเกี่ยวกับสายตา
    • โรคหัวใจ
    • ความดันโลหิตสูง
    • ภาวะชัก
    • โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar)
    • โรคไต
    • มีเลือดออกผิดปกติ
    • มีประวัติบุคคลในครอบครัวเคยฆ่าตัวตาย
    • มีพฤติกรรมใช้สารเสพติด หรือดื่มแอลกอฮอล์บ่อยๆ
  • ยา Duloxetine อาจทำให้รู้สึกง่วงนอน ไม่ควรขับรถหรือทำงานที่ใช้เครื่องจักรกล จนกว่าคุณจะแน่ใจว่าตัวยาส่งผลต่อคุณอย่างไร

  • ห้ามรับประทานยานี้พร้อมแอลกอฮอล์ เพราะอาจเพิ่มผลข้างเคียงบางอย่างหรือทำให้ตับเสียหายได้

  • ยานี้อาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง เวียนศีรษะ หรือวิงเวียนศีรษะ โดยเฉพาะเมื่อลุกขึ้นอย่างรวดเร็วจากท่านั่งหรือท่านอน

  • ควรใช้ยานี้ในผู้สูงอายุอย่างระมัดระวัง เพราะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงเกิดผลข้างเคียงได้มาก

  • ยานี้อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย การทำงานของตับเปลี่ยนไป ระดับน้ำตาลในเลือดเปลี่ยนแปลง หรือเกิดอาการทางผิวหนังที่เรียกว่ากลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน (Steven-Johnson syndrome) ผู้ป่วยอาจต้องเข้าตรวจอาการเหล่านี้ระหว่างการใช้ยา Duloxetine

การใช้ Duloxetine ในหญิงตั้งครรภ์

การรับประทานยา Duloxetine ในระหว่างตั้งครรภ์อาจส่งผลต่อทารก โดยอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ การได้รับอาหารจากแม่ของทารกในครรภ์ อาการชัก หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ในการคลอด 

ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันทีหากคุณพบว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ในระหว่างที่ใช้ยานี้ ห้ามหยุดยาหรือปรับเปลี่ยนปริมาณยาที่ใช้โดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อนเป็นอันขาด

สำหรับหญิงที่กำลังให้นมบุตร ยานี้อาจไหลผ่านน้ำนมและเป็นอันตรายต่อทารกได้ หากคุณจำเป็นต้องใช้ยานี้ ควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงของยา และพูดคุยกับแพทย์ให้แน่ใจว่ายานี้จะมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่อาจได้รับ

อาการถอนยาจากการใช้ Duloxetine

ยา Duloxetine เป็นยาที่ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ ห้ามหยุดรับประทานยานี้หรือปรับเปลี่ยนปริมาณยาด้วยตัวคุณเอง เพราะอาจก่อให้เกิดอาการถอนยาอย่างรุนแรงได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการถอนยาของ Duloxetine มีดังนี้

อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Duloxetine

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดของยา Duloxetine มีดังนี้

ผลข้างเคียงอื่นๆ ที่พบได้ มีดังนี้

ผลข้างเคียงร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น หากสังเกตเห็นอาการต่อไปนี้ควรไปพบแพทย์ทันที

  • มีรอยจ้ำ ช้ำผิดปกติ หรือมีเลือดออก
  • เบื่ออาหารอย่างรุนแรง
  • ปวดท้อง
  • ตาหรือผิวหนังมีสีเหลือง (ดีซ่าน)
  • ปัสสาวะสีเข้ม
  • มีไข้ เหงื่อออก สับสน หัวใจเต้นเร็ว และกล้ามเนื้อเกร็งตัว
  • อ่อนเพลียมาก
  • ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือส่วนอื่นๆ ในร่างกายบวม
  • หายใจหรือกลืนลำบาก
  • ผื่นพองหรือลอก
  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจลำบาก
  • ภาวะซึมเศร้ารุนแรง
  • มีภาวะโรคแพนิคกำเริบ

ยา Duloxetine และน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น

การวิจัยชี้ว่า Duloxetine และยารักษาภาวะซึมเศร้าอีกหลายตัวอาจมีผลข้างเคียงให้เกิดภาวะน้ำหนักตัวผันผวนในผู้ป่วยที่รับประทานยานี้ 

มีการศึกษาในปี ค.ศ. 2011 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร The International Journal of Clinical Practice ระบุว่าในช่วงเริ่มต้นของการรักษาด้วยยา Duloxetine ผู้ป่วยบางคนมีน้ำหนักลดลง ซึ่งอาจอธิบายได้ว่าเกิดจากอาการเบื่ออาหาร เป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยานี้ 

ส่วนผู้ป่วยบางคนที่ใช้ยา Duloxetine ในระยะยาวก็พบว่ามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าน้ำหนักตัวเริ่มต้นถึงร้อยละ 16 โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานยา Duloxetine เพื่อรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง หรือโรคปวดกล้ามเนื้อไฟโบมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)

ปฏิกิริยาระหว่างยา Duloxetine กับยาอื่นๆ

ก่อนใช้ยา Duloxetine คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงยารักษาโรคอื่นๆ วิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพรชนิดใดก็ตาม เพราะยาบางชนิดอาจทำปฏิกิริยากับยา Duloxetine และทำให้ยาออกฤทธิ์ไม่เต็มที่หรือเกิดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ได้

ตัวอย่างยาที่อาจทำปฏิกิริยากับยา Duloxetine มีดังนี้

  • ยากลุ่ม MAOIs เช่น ไอโซคาร์บอกซาซิด (Isocarboxazid) ลีเนโซลิด (Linezolid) ฟีเนลซีน (Phenelzine )

  • ยาป้องกันลิ่มเลือด เช่น วาร์ฟาริน (Warfarin

  • ยารักษาอาการซึมเศร้า เช่น อะมิทริปไทลีน (Amitriptyline) อะม็อกซาปีน (Amoxapine) โคลมิพรามีน (Clomipramine) และยากลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) เช่น ฟลูออกซิทีน (Fluoxetine)

  • ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตีรอยด์ (NSAIDs) เช่น ยาแอสไพริน ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และนาพร็อกเซน (Naproxen)

  • ยาที่ใช้รักษาภาวะเจ็บป่วยทางจิต รวมทั้งยาลิเทียม (Lithium)

  • ยาขับปัสสาวะ

  • ยาโรคหัวใจและยาความดันโลหิต เช่น Amiodarone (อะมิโอดาโรน) และฟลีเคไนด์ (Flecainide)

  • ยาแก้ปวดตามใบสั่งแพทย์ เช่น เฟนทานิล (Fentanyl

  • ยาที่ใช้รักษาอาการเสียดท้อง เช่น ไซเมทิดีน (Cimetidine) แลนโซพราโซล (Lansoprazole) และโอเมพราโซล (Omeprazole)

  • ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น ไซโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) และอีนอกซาซิน (Enoxaparin)

  • ยาที่ใช้ในการรักษาอาการกรดไหลย้อน เช่น อัลโมทริปแทน (Almotriptan) อีลีทริปแทน (Eletriptan) และโฟรวาทริปแทน (Frovatriptan)

  • สมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ต (St. John's wort)

ปริมาณการใช้ยา Duloxetine

ยา Duloxetine มีวางจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ดแคปซูลออกฤทธิ์ช้า ตัวยาจะถูกดูดซึมจากระบบทางเดินอาหารได้ดี และกระจายตัวเข้าสู่ร่างกายได้ประมาณ 32-80% เมื่อยาเข้าสู่กระแสเลือดจะเกิดการจับตัวกับพลาสมาโปรตีนประมาณ 95% และตับจะคอยทำลายโครงสร้างของตัวยาอย่างต่อเนื่อง 

โดยร่างกายต้องใช้เวลาประมาณ 12.1 ชั่วโมงในการกำจัดยา 50% ออกจากกระแสเลือดทางการขับผ่านไปกับปัสสาวะและบางส่วนไปกับอุจจาระ

ผู้ป่วยควรรับประทานวันละ 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้งต่อวัน โดยกลืนแคปซูงลงไปทั้งเม็ด ตามด้วยน้ำเปล่าหนึ่งแก้ว ก่อนหรือหลังรับประทานอาหารก็ได้ ห้ามตัดหรือบดแคปซูลให้แตก การรักษาอาจใช้เวลานานถึง 4 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น ร่างกายจึงจะตอบสนองต่อยาอย่างเต็มที่

  • สำหรับรักษาภาวะซึมเศร้า เริ่มต้นใช้ยาปริมาณ 20-30 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หรือรับประทาน 60 มิลลิกรัม วันละหนึ่งครั้ง จากนั้นเพิ่มปริมาณยาวันละ 30 มิลลิกรัม เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ปริมาณยาสูงสุดที่รับประทานในแต่ละวันไม่ควรเกิน 120 มิลลิกรัม

  • สำหรับรักษาโรควิตกกังวล รับประทานวันละ 30 หรือ 60 มิลลิกรัม ปริมาณยาสูงสุดไม่เกิน 120 มิลลิกรัม

  • สำหรับรักษาอาการปวดเส้นประสาทเนื่องจากโรคเบาหวาน เริ่มต้นรับประทานยาวันละ 60 มิลลิกรัม ปริมาณยาที่ใช้สูงสุดไม่เกินวันละ 120 มิลลิกรัม โดยแบ่งใช้ยาหลายครั้ง 

  • สำหรับรักษาโรคปวดกล้ามเนื้อไฟโบมัยอัลเจีย เริ่มต้นรับประทานยาวันละ 30 มิลลิกรัม เป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากนั้นเพิ่มปริมาณเป็นวันละ 60 มิลลิกรัม 

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยา Duloxetine ให้รับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้ หากใกล้ถึงเวลารับประทานยาในมื้อถัดไป ให้ข้ามมื้อที่ลืมไป แล้วรับประทานยาตามปกติต่อไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า อย่างไรก็ตาม เพื่อประสิทธิผลของการรักษา ควรรับประทานยา Duloxetine ให้ตรงเวลา

การเก็บรักษายา Duloxetine

ควรเก็บยา Duloxetine ไว้ที่อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็ง และเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นจากแสงแดด ความร้อน และความชื้น เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และไม่เก็บยาไว้ในห้องน้ำหรือในรถยนต์

การใช้ยา Duloxetine เกินขนาด

หากคุณคิดว่าตัวเองใช้ยาเกินขนาด หรือสังเกตถึงอาการของการได้รับยาเกินขนาดดังต่อไปนี้ คุณควรไปพบแพทย์ทันที

  • ง่วงนอน
  • โคม่า
  • ชัก
  • เวียนหัว
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ
  • อาเจียน
  • มีไข้ เหงื่อออก
  • สับสน
  • หัวใจเต้นแรง
  • กล้ามเนื้อตึง

ลักษณะของยา Duloxetine

Cymbalta 20 mg, green, capsule,

Cymbalta 60 mg, blue/yellow, capsule,

Cymbalta 30 mg, blue/white, capsule,

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยา Duloxetine  

คำถาม 1: หากต้องการหยุดรับประทานยา Duloxetine ต้องทำอย่างไร และผลข้างเคียงที่คาดว่าจะเจอมีอะไรบ้าง? 

คำตอบ: การหยุดรับประทานยา Duloxetine ควรทำโดยค่อยๆ ปรับลดปริมาณยาภายใต้การดูแลของแพทย์ ในระยะเวลาที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยเฉพาะของผู้ป่วย 

อาการข้างเคียงจากการถอนยาที่พบได้บ่อย เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ปวดศีรษะ เมื่อยล้า ผิวแสบร้อน อาเจียน หงุดหงิด ฝันร้าย นอนไม่หลับ ท้องร่วง วิตกกังวล เหงื่อออกมาก

คำถาม 2: บริษัทประกันสุขภาพของฉันไม่ต้องการจ่ายค่ารักษาของ Duloxetine ให้ มียาตัวอื่นแทนหรือไม่ ฉันมีอาการปวดเส้นประสาทและมีภาวะซึมเศร้าด้วย 

คำตอบ: คุณควรขอรายการยาที่ทางบริษัทประกันสุขภาพอนุญาตให้ใช้ แล้วนำไปปรึกษาแพทย์ถึงการเปลี่ยนเป็นตัวยาที่เหมาะสม

คำถาม 3: ฉันรับประทานยา Duloxetine ร่วมกับยาเน็กเซียม (Nexium) ยาตัวไหนกันแน่ที่ทำให้น้ำหนักเพิ่ม

คำตอบ: อาการเบื่ออาหารและน้ำหนักเปลี่ยนแปลงเป็นผลข้างเคียงที่พบบ่อยของยากลุ่ม Selective serotonin and norepinephrine reuptake inhibitors (SSNRIs) ซึ่ง Duloxetine ก็จัดเป็นยากลุ่มนี้ 

หากคุณเป็นกังวลกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ถึงแนวทางแก้ไข โดยแพทย์อาจแนะนำให้คุณออกกำลังกายมากขึ้นและลดการรับประทานไขมันสูง หรือให้คุณเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นที่มีผลข้างเคียงน้อยกว่า

คำถาม 4: การดื่มเหล้าพร้อมกับการรับประทานยา Duloxetine  มีผลด้านลบอย่างไร? 

คำตอบ:  แอลกอฮอล์และยา Duloxetine มีผลต่อสารเคมีในสมองตัวเดียวกัน จึงทำให้ Duloxetine อาจไปเพิ่มผลกระทบของแอลกอฮอล์ที่มีต่อร่างกาย เช่น ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้ายิ่งขึ้น หรือมีอาการง่วงซึม คิดและตัดสินใจได้ไม่เต็มที่ และส่งผลต่อความสามารถในการทำงานกับเครื่องจักร 

การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะ เช่น 1-2 แก้วอาจไม่เกิดผลข้างเคียงมากนัก แต่ก็ทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้ นอกจากนี้แอลกอฮอล์อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะตับถูกทำลาย ซึ่งจะสังเกตได้จากอาการปวดท้อง มีไข้ต่ำ เบื่ออาหาร ปัสสาวะมีสีเข้ม อุจจาระสีเทา มีภาวะดีซ่าน (บริเวณผิวหนังหรือดวงตามีสีเหลือง) 

คุณควรปรึกษาแพทย์หากพบสัญญาณเหล่านี้ ห้ามหยุดหรือเปลี่ยนปริมาณยาที่รับประทานโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

คำถาม 5: ฉันเพิ่งเริ่มใช้ Duloxetine และสังเกตว่าฉันมีอาการคันเล็กน้อยเป็นระยะๆ บนใบหน้า แขน และขา อาการนี้เป็นๆ หายๆ แต่ไม่มีผื่นหรือลมพิษ ฉันได้แต่หวังว่าอาการคันจะหายไปเองเมื่อเริ่มคุ้นเคยกับยามากขึ้น อาการแบบนี้เป็นอันตรายหรือไม่? 

คำตอบ: อาการคันไม่ใช่อาการข้างเคียงปกติของยา Duloxetine ทางที่ดีคุณควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเป็นภาวะแพ้ยาได้

คำถาม 6: มีวิตามินหรืออาหารเสริมชนิดไหนที่ช่วยปรับอารมณ์ให้ดีขึ้นได้บ้าง โดยไม่ทำให้เกิดปฏิกิริยากับ Duloxetine 30 มิลลิกรัม ที่ฉันกำลังใช้รักษาอาการซึมเศร้า 

คำตอบ: วิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มพลังงานและปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น คือ รับประทานวิตามินรวมทุกวัน อีกวิธีคือออกกำลังกายเป็นประจำ 

เนื่องจากการขณะที่เราออกกำลังกาย ร่างกายจะปล่อยสารเอนดอร์ฟินออกมา สารนี้จะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยซึมเศร้ารับประทานสมุนไพรหรืออาหารเสริมต่างๆ เนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักมีผลกับการออกฤทธิ์ของยา

คำถาม 7: ฉันรับประทาน Duloxetine ขนาด 60 mg ทุกเช้า รู้สึกว่าอุณหภูมิร่างกายร้อนมากในเวลากลางคืน ยานี้ทำให้เกิดปัญหานี้หรือไม่ 

ตอบ: ผู้ป่วยที่ใช้ยา Duloxetine อาจมีอาการร้อนวูบวาบได้ประมาณ 2% โดยมีเช่นเดียวกับอาการร้อนวูบวาบในวัยหมดประจำเดือน ได้แก่ ใบหน้าและหน้าอกร้อน และอาจร้อนตามส่วนอื่นๆ ของร่างกาย 

อาจมีเหงื่อออกและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นในเวลากลางคืน จะเรียกว่าอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน (Night sweats)

คำถาม 8: ควรใช้ Duloxetine ในตอนเช้าหรือเย็น และควรแบ่งยาเป็นสองส่วนหรือไม่

คำตอบ: ยา Duloxetine สามารถใช้วันละ 1 หรือ 2 ครั้ง โดยแนะนำให้รับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกๆ วัน ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์

คำถาม 9: ฉันมีภาวะซึมเศร้าและปวดกล้ามเนื้อไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) ตอนนี้กำลังใช้ยา Duloxetine 600mg ต่อวัน ฉันไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของยาและต้องการหยุดยาที่ไม่จำเป็น จึงหยุดยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ โดยลดยาลงจาก 1,200mg เหลือ 600mg ใน 6 สัปดาห์โดยไม่มีผลข้างเคียงเกิดขึ้น จะเป็นอะไรไหมหากจะหยุดยาทั้งหมดตอนนี้? ต้องลดยาลงอย่างช้าๆ หรือไม่? 

คำตอบ: คุณไม่ควรหยุดยา Duloxetine อย่างฉับพลัน เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ออาการถอนยาอย่างรุนแรง และอาจทำให้มีอาการมากขึ้นได้ คุณควรหยุดยานี้โดยค่อยๆ ลดยาภายใต้การดูแลของแพทย์

คำถาม 10: ควรรับประทานยา Duloxetine ในเวลาใดถึงจะดีที่สุด ในฉลากยาระบุว่าให้รับประทานเพียงหนึ่งครั้งต่อวัน 

คำตอบ: Duloxetine เป็นยาแก้ซึมเศร้าที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน คุณจึงสามารถรับประทานยานี้ก่อนนอนได้ แต่บางคนก็รู้สึกมีพลังเพิ่มขึ้นและมีปัญหาในการนอนหลับจากการใช้ยานี้ จึงเหมาะกับการรับประทานยาในตอนเช้ามากกว่า ดังนั้น อาจไม่สำคัญว่าคุณจะรับประทานยาเวลาไหน แต่ควรพยายามรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน

คำถาม 11: ตัวยา Duloxetine จะคงอยู่ในร่างกายนานเท่าใดหลังจากหยุดใช้ 

คำตอบ: ยานี้มีครึ่งชีวิต (เวลาที่กำจัดยา 50% ออกจากร่างกาย) ประมาณ 12 ชั่วโมง ความเข้มข้นของยาในพลาสมาจะคงที่หลังหยุดยาไปประมาณ 3 วัน และจะใช้เวลาประมาณ 5 วัน ในการกำจัดยา Duloxetine ออกจากร่างกายจนหมด

คำถาม 12: มียาที่สามารถทดแทน Duloxetine สำหรับบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อไฟโบรมัยอัลเจียที่ไม่มีผลข้างเคียงเป็นอาการเหงื่อออกมากช่วงกลางคืนขณะหลับหรือไม่ 

คำตอบ: ภาวะไฟโบรมัยอัลเจียเป็นอาการปวดเรื้อรังซึ่งอาจมีอาการร่วม เช่น ภาวะซึมเศร้า ปัญหาการนอนหลับ และภาวะเมื่อยล้า โรคนี้ยังคงเป็นโรคลึกลับที่แพทย์ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ยาแก้ปวดแบบดั้งเดิมมักไม่สามารถรักษาได้ ขณะนี้มียา 3 ตัวที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยา (FDA) สำหรับรักษาโรคไฟโบรมัยอัลเจีย ได้แก่

  • Duloxetine มีผลข้างเคียงเป็นการขับเหงื่อมากเกินไป มักพบในผู้ป่วย 6-8%
  • Milnacipran เป็นยารักษาภาวะซึมเศร้า ทำให้เหงื่อออกในผู้ป่วยประมาณ 9%
  • Pregabalin เป็นยาป้องกันการชัก ไม่มีผลข้างเคียงเป็นการขับเหงื่อมากเกินไป แต่มีผลข้างเคียงอื่นๆ รวมถึงอาการบวมที่ปลายแขน ตาพร่ามัว และภาวะน้ำหนักเพิ่ม

หากคุณต้องการเปลี่ยนแปลงการใช้ยา คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

คำถาม 13: Duloxetine เป็นยาราคาแพง มียาเลียนแบบที่ฉันสามารถใช้แทนได้หรือไม่? 

คำตอบ: จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่ายานี้ให้ผลรักษาดีกว่ายาอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกัน การเปลี่ยนยาขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของแต่ละคน คุณควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับตัวเลือกการรักษาที่ถูกกว่า เช่น ในการรักษาภาวะซึมเศร้า คุณสามารถใช้ยาไซตาโลแพรม (Citalopram) หรือยาฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) ซึ่งมีราคาถูกกว่าได้ 

คำถาม 14: ยา Duloxetine ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความจำหรือไม่ ฉันใช้ยานี้วันละ 30 มิลลิกรัม และดูเหมือนจะมีปัญหาในการจดจำสิ่งต่างๆ  

คำตอบ: จากข้อมูลยา Duloxetine (Cymbalta) ไม่พบว่ายานี้มีผลกระทบต่อเรื่องความจำโดยตรง แต่ผู้ผลิต (Lilly) ระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่ Cymbalta อาจไปลดระดับโซเดียมในเลือด (ยืนยันได้ด้วยการตรวจเลือดเท่านั้น) ซึ่งหนึ่งในอาการที่เป็นไปได้ของระดับโซเดียมในเลือดลดลง คือ ความจำเสื่อม และอาจจะทำให้อาการแย่ลงหากคุณใช้ยาอื่นๆ ที่ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ เช่น ยาขับปัสสาวะ มีผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาความจำมากขึ้นหลังใช้ยานี้ ซึ่งอาจเป็นผลข้างเคียงที่เพิ่งค้นพบหลังจากที่ยาวางขายออกมาแล้ว และอาจอยู่ในระหว่างการประเมินอาการข้างเคียงนี้ของยา

คำถาม 15: ฉันกินยา Duloxetine 60 mg มานานกว่า 1 ปี เพื่อรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ (Fibromyalgia) ฉันกังวลว่ายาอาจทำลายตับของฉัน ฉันตรวจสุขภาพในระยะเวลา 6 เดือน แพทย์บอกให้ฉันกินยาต่อ จะเป็นอันตรายหรือไม่? ฉันยังสวยและมีสุขภาพดี ตอนนี้อายุ 70 ปีแล้ว 

คำตอบ: Duloxetine อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะตับถูกทำลายหรือตับวาย แต่ก็เกิดขึ้นได้น้อย ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับหรือดื่มแอลกอฮอล์มากควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา Duloxetine และระหว่างที่ใช้ยา แพทย์สามารถตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบความเสียหายของตับคุณได้

คำถาม 16: Duloxetine ส่งผลต่อภาวะหัวใจวาย (Congestive heart failure) ได้หรือไม่

คำตอบ: ตามข้อมูลยาไม่มีการศึกษาถึงคำเตือนหรือข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ Duloxetine) ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวาย เนื่องจากผู้ป่วยโรคหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดหัวใจจะได้รับการยกเว้นจากการทดลองทางคลินิก

ดูแพ็กเกจปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
duloxetine (Rx) (https://reference.medscape.com...)
Chris Iliades, What Is Cymbalta (Duloxetine)? (https://www.everydayhealth.com/drugs/cymbalta), 28 April 2014.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)