ยาขับปัสสาวะคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 13 พ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาขับปัสสาวะคืออะไร?

ยาขับปัสสาวะ (Diuretic) เป็นยาชนิดที่อยู่ในกลุ่มของยาขับน้ำ (Water Pills) และเกลือแร่ออกจากร่างกาย โดยเฉพาะโซเดียม 

โดยยาจะมีผลต่อการทำงานของไต ในการกรอง ดูดกลับ และขับสารต่างๆ ออก ยับยั้งการดูดกลับของน้ำและเกลือแร่ จึงทำให้ถูกขับออกจากร่างกายมากขึ้น ซึ่งมักใช้ในการรักษาภาวะความดันโลหิตสูง อาการบวมที่เท้า ข้อเท้า และขาส่วนล่าง ภาวะน้ำในปอดซึ่งเกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะน้ำส่วนเกินที่อยู่ในช่องท้องซึ่งเกิดจากโรคตับหรือมะเร็งบางชนิด และโรคความผิดปกติที่ตา เช่น ต้อหิน เป็นต้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

บางครั้งอาจพบการนำยาขับปัสสาวะมาใช้ในการรักษาโรคเบาจืด โรคถุงน้ำในรังไข่ โรคนิ่วในไต ภาวะหัวล้านที่มีลักษณะคล้ายเพศชายในเพศหญิง และโรคกระดูกพรุนอีกด้วย

ยาขับปัสสาวะมีหลายกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มมีกลไลการออกฤทธิ์ต่างกันในการช่วยให้ไตขับน้ำส่วนเกินและเกลือออกจากร่างกาย ตัวอย่างของยาขับปัสสาวะ 5 กลุ่ม ได้แก่

  • ยาขับปัสสาวะ กลุ่ม Loop diuretics เช่น Lasix (furosemide) Bumetanide Demadex (Torsemide) และ Edecrin (Ethacrynic acid)
  • ยาขับปัสสาวะ กลุ่ม Thiazide diuretics เช่น Microzide (hydrochlorothiazide) Chlorthalidone และ Zaroxolyn (Metolazone)
  • ยาขับปัสสาวะ กลุ่ม Potassium-sparing diuretics เช่น Aldactone (Spironolactone) Inspra (Eplerenone) Dyrenium (Triamterene) และ Midamor (Amiloride)
  • ยาขับปัสสาวะ กลุ่ม Carbonic anhydrase inhibitors เช่น Diamox (Acetazolamide) มักใช้รักษาโรคต้อหินและอาการแพ้ความสูง
  • ยาขับปัสสาวะกลุ่มที่ออกฤทธิ์เกี่ยวข้องกับแรงดันออสโมติค (Osmotic diuretics)

คำเตือนและข้อระวังในการใช้ยาขับปัสสาวะ

ห้ามใช้ยาขับปัสสาวะโดยเด็ดขาด หากมีปัญหาด้านการขับถ่ายปัสสาวะหรือมีอาการแพ้ส่วนผสมที่อยู่ในยา และถ้าหากมีภาวะทางการแพทย์ดังต่อไปนี้ ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาขับปัสสาวะทุกครั้ง 

  • มีปัญหาโรคตับรุนแรงหรือโรคไต
  • มีภาวะขาดน้ำ
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • กำลังตั้งครรภ์อยู่ในช่วงไตรมาสที่ 3 หรือ ความดันโลหิตสูงระหว่างการตั้งครรภ์
  • มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปีขึ้นไป
  • เป็นโรคเกาต์ 
  • มีประวัติแพ้ยาในกลุ่มซัลฟา เช่น Septra และ Bactrim (sulfamethoxazole และ trimethoprim)
  • มีประวัติการใช้ยาซึ่งส่งผลต่อการได้ยิน เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาขับปัสสาวะ

โดยทั่วไปจะไม่ค่อยพบผลข้างเคียงจากการใช้ยาขับปัสสาวะมากนัก แต่ก็สามารถพบอาการเหล่านี้อยู่ได้บ้าง ภายหลังจากการใช้ยา เช่น 

  • รู้สึกมึนงง หรือปวดศีรษะ
  • กระหายน้ำ และปัสสาวะน้อย
  • เกิดความไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย
  • ผิวไวต่อแสง มีผื่นขึ้น หรือมีอาการคัน
  • มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หรือมีระดับคอเรสเตอรอลสูง
  • การทำงานของระบบสืบพันธุ์เปลี่ยนแปลงไป หรือประจำเดือนมาผิดปกติ
  • มีอาการปวดกล้ามเนื้อ และประสิทธิภาพการรับฟังลดลง (พบได้ในยากลุ่ม Loop diuretics)
  • มีระดับโซเดียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียมในเลือดต่ำ (พบได้ในยากลุ่ม Loop diuretic)
  • มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น (พบในยากลุ่ม Loop diuretic)
  • มีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง (พบได้ในยากลุ่ม Potassium-sparing diuretics)
  • มีเต้านมขยายใหญ่ขึ้นในเพศชาย (พบได้ในยากลุ่ม Aldactone and Inspra)
  • เกิดการกดไขกระดูก
  • ระคายเคืองทางเดินอาหาร

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ter Maaten, J.M., Valente, M.A.E., Damman, K.,Hillege, H.L., Navis, J and Voors, A.A., Diuretic response in acute heart failure —pathophysiology, evaluation, and therapy. Nat. Rev. Cardiol,2015
Boothe, D.M. Drugs affecting urine formation. In: Small Animal Clinical Pharmacology & Therapeutics. Boothe, D.M., editor. 2 nd Edition. Elsevier, St. Louis, Missouri.2012

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)