กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Amiloride (อะมิโลไรด์)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยา Amiloride (อะมิโลไรด์) เป็นยาในกลุ่มยาขับปัสสาวะ มีข้อบ่งใช้ในการรักษาความดันโลหิตสูง ท้องมานจากตับแข็ง มีของเหลวในร่างกายมากเกิน หรืออาการบวมจากภาวะหัวใจล้มเหลว
  • ยา Amiloride มีฤทธิ์ขับปัสสาวะอ่อนเมื่อเทียบกับยาขับปัสสาวะในกลุ่มอื่น จึงมักใช้ Amiloride ร่วมกับยาขับปัสสาวะกลุ่มอื่น เช่น ยาขับปัสาวะกลุ่มไทอะไซด์ (Thiazide) เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการรักษา
  • ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยา Amiloride คือ ระดับโพแทสเซียมในกระแสเลือดสูง เนื่องจากยาลดการขับออกของโพแทสเซียม
  • ไม่ควรซื้อยา Amiloride มารับประทานด้วยตนเอง เพราะอาจทำให้เกิดการใช้ยาผิดโรค หรือเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

Amiloride (อะมิโลไรด์) เป็นยาในกลุ่มยาขับปัสสาวะ ใช้รักษาความดันโลหิตสูง หรืออาการบวมจากภาวะหัวใจล้มเหลว 

Amiloride จัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย ตามการจำแนกโดยคณะกรรมการอาหารและยา มีจำหน่ายเฉพาะร้านยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งควบคุมการขายยา ต้องมีการจัดทำบัญชียาอันตราย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สำหรับบุคคลทั่วไป เภสัชกรสามารถจำหน่ายยา และให้คำแนะนำในการใช้ยาได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ใบสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพฯ

รูปแบบยาที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทยจะเป็นรูปแบบยาเม็ดผสม ร่วมกับยาขับปัสสาวะชนิดอื่น ได้แก่ Amoloride ขนาด 5 มิลลิกรัม ผสมกับ Hydrochlorothiazide ขนาด 50 มิลลิกรัม

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Amiloride

Amiloride ออกฤทธิ์เพิ่มการขับออกของโซเดียม และลดการขับออกของโพแทสเซียมที่บริเวณท่อหน่วยไตส่วนปลาย ทำให้ยาลดผลข้างเคียงการสูญเสียโพแทสเซียมในกระแสเลือดไปกับปัสสาวะ 

แต่อย่างไรก็ตาม Amiloride มีฤทธิ์ขับปัสสาวะอ่อนเมื่อเทียบกับยาขับปัสสาวะในกลุ่มอื่น จึงมักใช้ Amiloride ร่วมกับยาขับปัสสาวะกลุ่มอื่น เช่น ยาขับปัสาวะกลุ่มไทอะไซด์ (Thiazide) เพื่อเสริมประสิทธิภาพ และลดผลข้างเคียงการสูญเสียโพแทสเซียมดังกล่าว

ข้อบ่งใช้ของยา Amiloride

โรคที่เป็นข้อบ่งใช้ของยานี้ ได้แก่ 

  • ภาวะบวมน้ำในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 
  • หัวใจล้มเหลว 
  • ท้องมานจากตับแข็ง 
  • มีของเหลวในร่างกายมากเกิน 

โดยยา Amiloride จะช่วยป้องกันภาวะสูญเสียโพแทสเซียมจากยาขับปัสสาวะกลุ่มอื่น ลดความดันโลหิต ป้องกันการเกิดภาวะสโตรก (Stroke) โรคหัวใจกำเริบ และผลข้างเคียงต่อไต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ขนาด และวิธีการใช้ยา Amiloride

Amiloride มีขนาดและวิธีการรับประทานสำหรับภาวะบวมน้ำในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูง ท้องมานจากตับแข็ง ดังนี้

กรณีใช้เป็นยาเดี่ยว (มีเฉพาะในต่างประเทศ ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)

  • ข้อบ่งใช้สำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวและผู้ป่วยท้องมานจากตับแข็ง ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่คือ ขนาด 10 มิลลิกรัมต่อวัน หรือขนาด 5 มิลลิกรัม วันละสองครั้ง ขนาดยาสูงสุดคือ 20 มิลลิกรัม/วัน

กรณีใช้เป็นยาผสม ร่วมกับยาขับปัสสาวะกลุ่มอื่น

  • ข้อบ่งใช้สำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาดยาเริ่มต้น 2.5 มิลลิกรัม/วัน ค่อยเพิ่มขนาดยาหากการตอบสนองยังไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ขนาดยาสูงสุดคือ 10 มิลลิกรัม/วัน
  • ข้อบ่งใช้สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาดยาเริ่มต้น 2.5 มิลลิกรัม/วัน ค่อยเพิ่มขนาดยาหากการตอบสนองยังไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ขนาดยาสูงสุดคือ 5 มิลลิกรัม/วัน
  • ข้อบ่งใช้สำหรับผู้ป่วยท้องมานจากตับแข็ง ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาดยาเริ่มต้น 5 มิลลิกรัม ค่อยเพิ่มขนาดยาหากการตอบสนองยังไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ขนาดยาสูงสุดคือ 10 มิลลิกรัมต่อวัน

ข้อควรระวังและผลข้างเคียงของการใช้ Amiloride

ข้อควรระวังในการใช้ Amiloride ได้แก่

  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีการแพ้ยา Amiloride
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยไตบกพร่องระดับรุนแรง ผู้ป่วยที่มีภาวะปัสสาวะไม่ออก และโรคไตจากเบาหวาน
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคแอดดิสัน (Addison's Disease)
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง
  • ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงการเกิดภาวะเลือดเป็นกรด
  • ควระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับและไตบกพร่องระดับรุนแรง
  • ควรระวังการใชยาในผู้ป่วยสูงอายุ สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงของการใช้ Amiloride

ยา Amiloride อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ดังนี้

ข้อควรทราบอื่นๆ ของยา Amiloride

  • ยาชนิดสำหรับใช้ทางจมูก ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม category B ตามดัชนีความปลอดภัยการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ (Pregnancy Safety Index) โดยยาค่อนข้างมีควรปลอดภัยกับทารกในครรภ์
  • ผู้ป่วยควรได้รับการติดตามระดับอิเล็กโทรไลต์ในกระแสเลือดเมื่อมีการใช้ยา เนื่องจากความเสี่ยงในการเกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง
  • ยาขับปัสสาวะชนิดอื่นที่ลดการขับออกของโพแทสเซียม เช่น Eplerenone หรือ Spironolactone หรือการรับประทานโพแทสเซียมเสริม จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง ควรระมัดระวังการใช้ยาเหล่านี้ร่วมกัน
  • ยานี้สามารถรับประทานก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ แต่โดยปกติแนะนำให้รับประทานหลังอาหารเช้า
  • ไม่แนะนำให้รับประทานยาในช่วงเย็นหรือใกล้เวลานอน เนื่องจากผลในการขับปัสสาวะของยาสามารถรบกวนการนอนของผู้ป่วยได้
  • ยานี้แนะนำให้เก็บรักษาที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส

ไม่ควรซื้อยา Amiloride มารับประทานด้วยตนเอง เพราะอาจทำให้เกิดการใช้ยาผิดโรค หรือเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Amiloride Hydrochloride (amiloride hydrochloride) dose, indications, adverse effects, interactions…. PDR.net. (Available via: https://www.pdr.net/drug-summary/amiloride-hydrochloride?druglabelid=1840)
AMILORIDE - ORAL (Midamor) side effects, medical uses, and drug interactions.. MedicineNet. (Available via: https://www.medicinenet.com/amiloride-oral/article.htm)
Amiloride - C6H8ClN7O. U.S. National Library of Medicine National Center for Biotechnology Information. (Available via: https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/Amiloride)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)