กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Quinethazone / Spironolactone

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 14 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์เรื่อง Quinethazone และ Spironolactone ในฐานะยาขับปัสสาวะ (Diuretic drugs) ตลอดจนข้อมูลน่ารู้เรื่องชื่อสามัญ ชื่อการค้า ประเภท ข้อบ่งใช้ การออกฤทธิ์ ผลข้างเคียง และการพยาบาล หากคุณสนใจ สามารถอ่านต่อได้ที่นี่ 

Quinethazone

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อสามัญ           Quinethazone

ชื่อการค้า               Hydromox

ประเภท                 ยาขับปัสสาวะ

ข้อบ่งใช้                 ลดบวมจากสาเหตุ ตับแข็ง หัวใจวาย และโรคไต รวมทั้ง Nephrotic Syndrome ให้ทาง หลอดเลือดดําในผู้ป่วย Acute pulmonary edema และใช้ลดความดันโลหิตสูงด้วย

การออกฤทธิ์         ยับยั้งการดูดกลับของโซเดียมและคลอไรด์ ที่ Ascending limb of Henle's loop เป็น ส่วนใหญ่ ทําให้ร่างกายเสียโซเดียมและคลอไรด์ออกมากับปัสสาวะจํานวนมาก รวมทั้ง เสียโปแตสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียมด้วย

ผลข้างเคียง         ร่างกายขาดน้ำอย่างรวดเร็ว ปริมาณเลือดไหลเวียนลดต่ำผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำเมื่อ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เปลี่ยนท่า ทําให้มีอาการมึนงง สับสน มีอาการของการสูญเสียโซเดียม โปแตสเซียม และ แคลเซียม เช่น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นตะคริว เบื่ออาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ยังทําให้มี ยูเรียในโตรเจน ครีอะตินิน กรดยูริก และน้ำตาลในเลือดสูง

การพยาบาล         

1. เหมือนการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาขับปัสสาวะโดยรวม หน้า 124 - 125

2. หากเป็นยาฉีด หลังฉีดยา วัดความดันโลหิตทุก 15 - 30 นาที จนกว่าจะคงที่

3. สังเกตอาการเนื่องจากภาวะขาดน้ำและขาดสมดุลของแร่ธาตุต่างๆ เช่น ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatremia) มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน แรงดันในสมองสูง ปัสสาวะน้อยหรือไม่มีปัสสาวะ ภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia) มีอาการ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) มีอาการชัก คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) มีลักษณะ Prolonged QT interval เป็นต้น

4. เก็บยาให้พ้นแสง ใส่ซอง (ขวด) สีชา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

 

Spironolactone

ชื่อสามัญ               Spironolactone

ชื่อการค้า              Aldactone, Altone, Berlactone, Hyles, Pondactone, Spironex

ประเภท                 ยาขับปัสสาวะ ชนิด Potassium-sparing

ข้อบ่งใช้                รักษาอาการบวมเนื่องจากหัวใจวาย ตับแข็งหรือกลุ่มอาการ Nephrotic รักษาความดันโลหิตสูง ช่วยวินิจฉัยและรักษา Primary hyperaldosteronism และใช้แก้ไขภาวะพร่องโปแตสเซียม

การออกฤทธิ์        ขับปัสสาวะที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายฮอร์โมน Aldosterone ยาจะแย่งจับกับ Receptor ของ

ฮอร์โมน เป็นการยับยั้งการทํางานของฮอร์โมนนี้ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการแลกเปลี่ยนโซเดียม และโปแตสเซียมบริเวณท่อไตส่วนปลาย ผลจากการยับยั้งการทํางานของฮอร์โมน Aldosterone ทําให้โปแตสเซียมไม่สามารถแลกเปลี่ยนกับโซเดียมได้ โซเดียมยังค้างอยู่ในท่อไตและถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ เป็นการลด Blood volume และความดันโลหิต

ผลข้างเคียง         เพศหญิงมีประจําเดือนไม่ปกติ มีขนตามร่างกาย ส่วนเพศชายอาจมีเต้านมโตและเจ็บ เสียง

แหลม สมรรถภาพทางเพศลดลง อาการจะหายไปเมื่อหยุดยา อาจเกิดภาวะโปแตสเซียมสูง ทําให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นอันตรายถึงตายได้ และอาจมีอาการแพ้ เช่น ผื่นคัน มีไข้ เป็นต้น

การพยาบาล         

1. ให้การพยาบาลเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ได้รับยาขับปัสสาวะโดยรวม หน้า 124 - 125

2. สังเกตอาการของภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย กระสับกระส่าย กล้ามเนื้อไม่มีแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะหัวใจเต้นเร็วและต่อมาช้าลง คลื่นไฟฟ้า หัวใจ T-wave จะแคบ และปัสสาวะออกน้อย

3. แนะนําให้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโปแตสเซียมสูง

4. แนะนําผู้ป่วยว่าอาจพบอาการข้างเคียงของยา เช่น เต้านมโตและเจ็บ ประจําเดือนผิดปกติ เป็นต้น ชี้แจงให้ผู้ป่วยทราบว่าอาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อหยุดยา

5. สังเกตอาการทางสมอง ก่อนให้ยาทุกครั้ง ในผู้ป่วยโรคตับ เช่น เบื่ออาหารสับสน เป็นต้น

6. สังเกตและตรวจสอบภาวะบวม หากบวมลดลงจะมีน้ำหนักลดลง มีจํานวนปัสสาวะ เพิ่มมากขึ้น

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ปราณี ทู้ไพเราะ  ได้โดยการซื้อหนังสือ “คู่มือยา (Handbook of Drugs)”


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Spironolactone (Aldactone). Heart failure drug, side effects. Patient. (Available via: https://patient.info/medicine/spironolactone-aldactone)
Aldactone, CaroSpir (spironolactone) dosing, indications, interactions, adverse effects, and more. Medscape. (Available via: https://reference.medscape.com/drug/carospir-aldactone-spironolactone-342407)
Spironolactone (Aldactone): Side Effects, Dosages, Treatment, Interactions, Warnings. RxList. (Available via: https://www.rxlist.com/consumer_spironolactone_aldactone/drugs-condition.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)