กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Triamterene (ไตรแอมเทอรีน)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ไตรแอมเทอรีน (Triamterene) เป็นยาขับปัสสาวะในกลุ่มโพแทสเซียม-สแปริ่ง (Potassium-sparing) ที่ยับยั้งการขับออกของโพแทสเซียม โดยมีฤทธิ์ขับปัสสาวะอ่อนๆ ตำแหน่งการออกฤทธิ์หลักอยู่ที่บริเวณท่อขดส่วนปลายของหน่วยไต ซึ่งไตรแอมเทอรีนจะเพิ่มการขับออกของโซเดียม แมกนีเซียม แคลเซียม และไบคาร์บอเนต แต่ในทางตรงข้ามยาลดการขับออกของโพแทสเซียม 

ไตรแอมเทอรีนจัดเป็นยาอันตราย ตามการจำแนกประเภทของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีไตรแอมเทอรีนรูปแบบยาเดี่ยววางจำหน่ายในประเทศไทย แต่มีวางจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ดผสม Triamterene ขนาด 50 มิลลิกรัม ร่วมกับยาขับปัสสาวะไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (Hydrochorothiazide) ขนาด 25 มิลลิกรัม ได้แก่ DINAZIDE®

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อบ่งใช้ของ Triamterene

  • รักษาโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
  • รักษาภาวะบวมน้ำ (Edema)

ขนาดและวิธีการใช้ยา Triamterene 

  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคความดันโลหิตสูง ยาในรูปแบบยาเม็ดรับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ใช้ร่วมกันกับยาขับปัสสาวะในกลุ่มอื่น เช่น ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ ขนาดยาเริ่มต้น 50 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคความดันโลหิตสูง สำหรับยาเม็ดผสม Hydrochlorothiazide 25 มิลลิกรัม และ Triamterene 50 มิลลิกรัม ขนาดยาเริ่มต้น รับประทาน 1 เม็ดต่อวันหลังอาหารเช้า สามารถปรับขนาดยาได้การตอบสนองของผู้ป่วย ขนาดยาสูงสุด 4 เม็ดต่อวัน 
  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาภาวะบวมน้ำ ยาในรูปแบบยาเม็ดรับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาดเริ่มต้น 150-250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้าและอาหารกลางวัน ขนาดยาที่ใช้ในระยะรักษาอาการอาจรับประทานยาวันเว้นวัน ขนาดการใช้ยาสูงสุดคือ 300 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาภาวะบวมน้ำ สำหรับยาเม็ดผสม Hydrochlorothiazide 25 มิลลิกรัม และ Triamterene 50 มิลลิกรัม ขนาดยาเริ่มต้น รับประทาน 1 เม็ดวันละ 2 ครั้ง ขนาดยาที่ใช้ในระยะรักษา 1 เม็ดต่อวัน หรือ 2 เม็ด วันเว้นวัน ขนาดยาสูงสุดคือ 4 เม็ดต่อวัน

ควรรับประทานยานี้พร้อมหรือหลังอาหาร และแนะนำให้รับประทานยาในมื้อเช้า และไม่แนะนำให้รับประทานยาช่วงก่อนนอน เนื่องจากยาทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อยขึ้น ซึ่งอาจรบกวนการนอนของผู้ป่วย

ผลข้างเคียงของยา Triamterene 

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ triamterene ได้แก่ 

ส่วนผลข้างเคียงที่เกิดได้น้อย ได้แก่ โลหิตจาง ไตอักเสบ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดลดต่ำลง (Pancytopenia) ไวต่อแสง นิ่วปัสาวะ ผลข้างเคียงอื่นๆที่อาจพบได้ ได้แก่ อ่อนแรง ดีซ่าน ภาวะเลือดเป็นกรดจากระบบเผาผลาญของร่างกาย (Metabolic acidosis) 

ข้อควรระวังของยา Triamterene 

  • ยาถูกจัดอยู่ในกลุ่ม category C ตามดัชนีความปลอดภัยการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ (Pregnancy Safety Index) ควรใช้ยานี้เฉพาะเมื่อแพทย์มีความเห็นว่า ผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์จากยามากกว่าความเสี่ยงรุนแรงที่จะเกิดขึ้นต่อทารกในครรภ์
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคแอดดิสัน (โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมหมวกไต ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล และอัลโดสเตอโรนได้เพียงพอ อาการที่พบ ได้แก่ มีผิวสีเข้ม ความดันโลหิตต่ำ ไม่มีเรี่ยวแรง น้ำหนักตัวลดลง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก มีปัญหาเกี่ยวกับระบบเผาผลาญและระบบย่อยอาหาร อาการที่รุนแรงนำไปสูงการเกิดภาวะวิกฤตของโรคได้)
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง (Hyperkalemia)
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคไตวายที่ปัสสาวะน้อยกว่า 100 มิลลิลิตรต่อวัน (Anuria)
  • ห้ามใช้ยาในนี้ในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของตับ หรือไตระดับรุนแรง
  • ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในสตรีให้นมบุตร
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้สูงอายุ เนื่องจากมีโอกาสได้รับความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงมากกว่า ควรมีการปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับการทำงานของไต
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคเกาต์ เนื่องจากยาอาจทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไตอักเสบจากเบาหวาน
  • แนะนำให้ปรับระดับอิเล็กทรอไลต์ที่ผิดปกติในผู้ป่วยก่อนเริ่มใช้ยา และติดตามระดับอิเล็กทรอไลต์พร้อมกับยูเรียในกระแสเลือดในระหว่างที่ผู้ป่วยได้รับยาเป็นระยะๆ

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)