Magnesium citrate เป็นยาสามัญที่สามารถใช้เป็นยาระบายหรืออาหารเสริมก็ได้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
(ยานี้ปัจจุบันไม่มีขายในประเทศไทย - ณ เดือน ก.ค. 2561)
นอกจากนั้น ยังอาจใช้เพื่อทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ก่อนที่จะทำหัตถการบางอย่าง เช่น การส่องกล้องทางทวารหนักหรือช่วยลดอาการของภาวะอาหารไม่ย่อย ยานี้เป็นยาระบายในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ด้วยการดึงน้ำเข้ามาในลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้นเพื่อช่วยให้ลำไส้ใหญ่สามารถกำจัดของที่อยู่ภายในลำไส้ออกไปได้มากขึ้น
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้ยา Magnesium Citrate
คุณไม่ควรใช้ยานี้ หากคุณแพ้ยาหรือส่วนผสมของยา นอกจากนั้น หากคุณมีภาวะโซเดียมในเลือดต่ำหรือต้องจำกัดการรับประทานอาหารที่มีโซเดียม คุณไม่ควรรับประทานยานี้เช่นเดียวกัน
หากคุณมีหรือเคยมีโรคประจำตัวต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ยา Magnesium Citrate
- ไส้ติ่งอักเสบ
- โรคไต
- มีระดับแร่ธาตุโพแทสเซียม, โซเดียม, คลอไรด์และ/หรือฟอสเฟตที่สูงหรือต่ำเกินไป
- กระเพาะอาหารหรือลำไส้ใหญ่มีการอุดตัน
- มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เช่น หัวใจอ่อนแอ, กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย หรือมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ
- ท้องผูกเรื้อรัง
การใช้ยานี้เป็นประจำเพื่อรักษาอาการท้องผูกเรื้อรังนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ หากคุณมีอาการดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อหาทางเลือกอื่นในการรักษาที่ปลอดภัยในระยะยาว
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การใช้ยา Magnesium Citrate ในหญิงตั้งครรภ์
ยานี้เป็นยาที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในระหว่างที่ตั้งครรภ์และเป็นยาที่ส่งผลต่อทารกที่ยังอยู่ในครรภ์น้อยมาก นอกจากนั้น ยานี้ยังสามารถใช้ได้ในระหว่างช่วงที่ให้นมบุตรเช่นกัน
ผลข้าเงคียงของยา Magnesium Citrate
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Magnesium Citrate ที่พบบ่อยที่สุด ประกอบด้วย
- ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารหรือลำไส้ เช่น มีลมในท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้อง
- มีระดับแมกนีเซียมในเลือดสูง
- เกลือแร่ในร่างกายอยู่ในระดับที่ไม่สมดุล เช่นโซเดียม, โพแทสเซียม, แคลเซียม, คลอไรด์และฟอสเฟต
ผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการใช้ยา Magnesium Citrate
ในปัจจุบัน ยังไม่มีรายงานที่พบว่าการใช้ยานี้จะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงแต่อย่างใด
ปฏิกิริยาระหว่างยา Magnesium Citrate กับยาอื่น ๆ
ยานี้มักไม่ค่อยทำปฏิกิริยากับยาอื่น ๆ แต่ก่อนที่คุณจะเริ่มใช้ยา คุณควรนำรายการยาทั้งหมดที่คุณรับประทานอยู่ทั้งยาที่แพทย์สั่ง ยาที่ซื้อมารับประทานเอง อาหารเสริม หรือสมุนไพรต่าง ๆ ไปปรึกษาแพทย์ คุณควรระมัดระวังการใช้ยา Magnesium Citrate หากคุณกำลังรับประทานยาต่อไปนี้
- ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Tetracycline เช่น Declomycin (democycline) หรือ Minocin หรือ Solodyn (minocycline)
- K-Phos (potassium phosphate)
รายการยาต่อไปนี้อาจมีโอกาสเกิดปฏิกิริยากับ Magnesium Citrate ได้
- Cuprimine หรือ Depen (penicillamine)
- Sodium phosphate
- Vitamin D
- ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Fluoroquinolone เช่น Cipro (ciprofloxacin), Quinodis หรือ Megalocin (fleroxacin) และ Levaquin (levofloxacin)
การรับประทานยา Magnesium Citrate กับการดื่มแอลกอฮอล์
Magnesium Citrate และแอลกอฮอล์ทำให้เกิดอาการท้องเสียและ/หรือมวนท้องได้ ดังนั้น การดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างที่รับประทานยานี้อาจทำให้ผลข้างเคียงเหล่านี้รุนแรงมากขึ้น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การใช้ยา Magnesium Citrate และการดื่มน้ำ Grapefruit
เนื่องจากร่างกายกำจัดยา Magnesium Citrate ผ่านทางไตเป็นหลัก ในขณะที่ตับจะทำหน้าที่สลายน้ำ grapefruit ดังนั้น การดื่มน้ำ grapefruit ระหว่างที่รับประทานยานี้มักไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงใด ๆ เพิ่มเติม
ขนาดของยาที่ใช้ในการรักษา
คุณสามารถซื้อยานี้ได้ตามร้านขายยาทั่วไป มีทั้งรูปแบบน้ำและรูปแบบเม็ด หากคุณรับประทานยานี้เพื่อเป็นอาหารเสริม ปริมาณที่คุณรับประทานนั้นขึ้นอยู่กับอายุและเพศของคุณ ซึ่งผู้ชายที่อายุระหว่าง 19-30 ปีนั้น ควรรับประทานวันละ 400 มิลลิกรัมต่อวัน ในขณะที่ผู้ชายอายุมากกว่า 30 ปีนั้น ควรรับประทานวันละ 420 มิลลิกรัม ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 50 ปี ควรรับประทานวันละ 310 มิลลิกรัม หญิงตั้งครรภ์และผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ควรรับประทานวันละ 320 มิลลิกรัม National Institutes of Health (NIH) ได้กล่าวว่า คุณไม่ควรรับประทาน magnesium เกินกว่าปริมาณที่แนะนำ Magnesium citrate ในรูปแบบน้ำนั้น มักมีรสชาติไม่ดี แต่คุณอาจพบว่าการเก็บยาไว้ในตู้เย็นนั้นอาจช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้
การได้รับยา Magnesium Citrate เกินขนาด
แม้ว่าจะมีรายงานเกี่ยวกับการได้รับยา Magnesium Citrate เกินขนาดได้ไม่บ่อยนัก แต่การรับยาเกินขนาดอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียหรือปวดท้องอย่างรุนแรงได้ หากคุณรับยาเกินขนาด ควรไปพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินหรือติดต่อศูนย์พิษวิทยา
การลืมรับประทานยา Magnesium citrate
หากคุณลืมรับประทานยา ให้รับประทานทันทีที่คุณนึกได้ แต่หากใกล้ถึงเวลาที่คุณต้องรับประทานยาในครั้งต่อไป ให้ข้ามยามื้อที่ลืม และรับประทานยามื้อถัดไปตามปกติ อย่ารับประทานยาเพิ่มเป็น 2 เท่าเพื่อชดเชยยาที่ไม่ได้รับประทาน
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้ยา Magnesium Citrate
คำถาม : เราสามารถรับประทาน magnesium เสริมได้วันละเท่าไร? และเรามีโอกาสที่จะรับประทานยาเกินขนาดหรือไม่?
คำตอบ : National Institutes of health ได้กล่าวว่า ปริมาณของ magnesium ที่ควรได้รับในแต่ละวันนั้นควรอยู่ระหว่าง 320-420 มิลลิกรัม ซึ่งคุณจะได้รับจากทั้งอาหารที่รับประทานและอาหารเสริม หากคุณรับประทาน magnesium เพื่อเป็นยาระบาย ยาชนิดน้ำนั้นจะมี magnesium 1.745 กรัม (1,745 มิลลิกรัม) ต่อ 1 ออนซ์ และขนาดที่แนะนำให้ผู้ที่มีอายุมากกว่า 12 ปี รับประทานนั้นจะอยู่ที่ 10 ออนซ์ ตามด้วยน้ำ 8 ออนซ์ จะทำให้คุณได้รับ magnesium citrate ขนาด 17.45 กรัมซึ่งจะมี magnesium 2000 มิลลิกรัม
การรับประทานแมกนีเซียมในขนาดเท่านี้นั้นไม่ควรรับประทานเกินกว่า 5 วัน การได้รับ magnesium เกินขนาดจะทำให้หัวใจเต้นช้า ความดันโลหิตต่ำ คลื่นไส้ และง่วงนอนได้ หากได้รับยาเกินขนาดอย่างรุนแรงอาจทำให้หมดสติหรือเสียชีวิต ดังนั้น คุณควรรับประทานให้อยู่ในขนาดที่แนะนำเท่านั้น
คำถาม : จุดประสงค์ของการรับประทาน magnesium คืออะไร และ magnesium ชนิดไหนที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีที่สุด?
คำตอบ : สำนักงานด้านอาหารเสริมของ National Institutes of health ได้กล่าวว่า แมกนีเซียมนั้นเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ทำให้คุณมีสุขภาพดี ซึ่งแมกนีเซียมมากกว่าครึ่งที่พบในร่างกายนั้นจะอยู่ที่กระดูก และส่วนที่เหลือจะพบอยู่ภายในเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย แมกนีเซียมเป็นสารที่จำเป็นต่อปฏิกิริยาชีวเคมีมากกว่า 300 ปฏิกิริยาที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาททำงานได้ตามปกติ ควบคุมให้หัวใจเต้นอย่างสม่ำเสมอ สนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันและช่วยให้กระดูกมีความแข็งแรง
นอกจากนั้น ยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิตและมีส่วนในกระบวนการเผาผลาญพลังงานและสร้างโปรตีนอีกด้วย ทำให้ในปัจจุบัน ผู้คนให้ความสนใจเกี่ยวกับการใช้แมกนีเซียมในการป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคเบาหวาน
อาหารที่มีแมกนีเซียมสูงประกอบด้วย ผักใบเขียว (เช่นผักโขมและถั่ว) และธัญพืชที่ไม่แปรรูป นอกจากนั้น ยังอาจพบแมกนีเซียมในน้ำประปาได้อีกด้วย แต่ปริมาณของแร่ธาตุนั้นขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำ หากคุณมีระดับของแมกนีเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ แพทย์จะค้นหาสาเหตุ ความรุนแรง และผลที่เกิดขึ้นเพื่อหาวิธีทำให้แมกนีเซียมนั้นกลับเข้าสู่ระดับปกติ ผู้ที่เป็นโรคไตอาจไม่สามารถจัดการกับแมกนีเซียมส่วนเกินของร่างกายได้ ดังนั้น จึงไม่ควรรับประทานอาหารเสริมที่มีแมกนีเซียมยกเว้นแพทย์สั่ง
หากระดับแมกนีเซียมในเลือดนั้นต่ำมาก อาจต้องฉีดแมกนีเซียมเข้าไปทางเส้นเลือดดำ การรับประทานอาหารเสริมที่มีแมกนีเซียมนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น magnesium oxide, magnesium sulfate, magnesium carbonate ซึ่งแต่ละชนิดจะให้ปริมาณแมกนีเซียมที่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้แตกต่างกัน การศึกษาที่เปรียบเทียบแมกนีเซียมทั้ง 4 รูปแบบนั้นพบว่า magnesium oxide จะดูดซึมได้น้อยที่สุด และ magnesium chloride และ magnesium lactate นั้นจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้มากกว่า
คำถาม : ฉันควรรับประทานแมกนีเซียมชนิดไหน? ตอนไหน? ปริมาณเท่าไร? มียี่ห้อไหนดีกว่ายี่ห้ออื่นเป็นพิเศษหรือไม่? ตอนนี้ฉันอายุ 64 ปี
คำตอบ : สำนักงานด้านอาหารเสริมของ National Institutes of health กล่าวว่า แมกนีเซียมนั้นเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ทำให้มีสุขภาพดี ซึ่งแมกนีเซียมมากกว่าครึ่งที่พบในร่างกายนั้นจะอยู่ที่กระดูก และส่วนที่เหลือจะพบอยู่ภายในเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย แมกนีเซียมเป็นสารที่จำเป็นต่อปฏิกิริยาชีวเคมีมากกว่า 300 ปฏิกิริยาที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาททำงานได้ตามปกติ ควบคุมให้หัวใจเต้นอย่างสม่ำเสมอ สนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันและช่วยให้กระดูกมีความแข็งแรง
นอกจากนั้น ยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิตและมีส่วนในกระบวนการเผาผลาญพลังงานและสร้างโปรตีนอีกด้วย ทำให้ในปัจจุบัน ผู้คนให้ความสนใจเกี่ยวกับการใช้แมกนีเซียมในการป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคเบาหวาน
อาหารที่มีแมกนีเซียมสูงประกอบด้วยผักใบเขียว (เช่นผักโขมและถั่ว) และธัญพืชที่ไม่แปรรูป นอกจากนั้น ยังอาจพบแมกนีเซียมในน้ำประปาได้อีกด้วยแต่ปริมาณของแร่ธาตุนั้นขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำ
หากคุณมีระดับของแมกนีเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ แพทย์จะค้นหาสาเหตุ ความรุนแรง และผลที่เกิดขึ้นเพื่อหาวิธีทำให้แมกนีเซียมนั้นกลับเข้าสู่ระดับปกติ ผู้ที่เป็นโรคไตอาจไม่สามารถจัดการกับแมกนีเซียมส่วนเกินของร่างกายได้ ดังนั้น จึงไม่ควรรับประทานอาหารเสริมที่มีแมกนีเซียมยกเว้นแพทย์สั่ง หากระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำมาก อาจจะต้องฉีดแมกนีเซียมเข้าไปทางเส้นเลือดดำ การรับประทานอาหารเสริมที่มีแมกนีเซียมนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น magnesium oxide, magnesium sulfate, magnesium carbonate ซึ่งแต่ละชนิดก็จะให้ปริมาณแมกนีเซียมที่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้แตกต่างกัน
การศึกษาที่ทำการเปรียบเทียบแมกนีเซียมทั้ง 4 รูปแบบนั้นพบว่า magnesium oxide จะดูดซึมได้น้อยที่สุด และ magnesium chloride และ magnesium lactate นั้นจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้มากกว่า
คำถาม : การมีระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำนั้นจะทำให้เกิดอาการชาตามมือและเท้าได้หรือไม่?
คำตอบ : อาการดังกล่าวเป็นอาการที่สามารถพบได้หากขาดแมกนีเซียม แต่ก็สามารถเกิดได้จากหลายโรค ดังนั้น คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุเกี่ยวกับอาการดังกล่าว
คำถาม : ฉันควรรับประทานแมกนีเซียมวันละเท่าไรเพื่อช่วยเรื่องหัวใจ? และการรับประทานแมกนีเซียมนั้นสามารถป้องกันการเกิดตะคริวได้หรือไม่?
คำตอบ : แมกนีเซียมนั้นมีหลายรูปแบบ และขนาดที่คุณรับประทานนั้นก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบที่คุณรับประทานและปัจจัยอื่น ๆ เช่น ยาอื่น ๆ ที่คุณรับประทาน, การแพ้ยาและโรคประจำตัวของคุณ แพทย์จะเป็นผู้ที่สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับขนาดและรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับคุณที่สุด ตะคริวสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ การขาดแมกนีเซียม เราแนะนำให้คุณปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการดังกล่าวเพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยถึงสาเหตุที่ถูกต้องก่อน เนื่องจากการรักษาตะคริวนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว
คำถาม : แมกนีเซียมมีประโยชน์ต่อสุขภาพของหัวใจหรือไม่? และประโยชน์ของ coenzyme Q10 คืออะไร?
คำตอบ : Magnesium นั้นมีหลายรูปแบบ และมีการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ข้อมูลจาก National Institutes of Health ระบุว่า แมกนีเซียมนั้นเป็นแร่ธาตุที่พบมากที่สุดเป็นลำดับที่ 4 ในร่างกาย มีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาทางชีวเคมีมากกว่า 300 ปฏิกิริยาซึ่งทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี ดังนั้น แมกนีเซียมจึงทำให้ร่างกายมีสุขภาพดีจากหลายทาง ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้ตามปกติ และหัวใจเต้นอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้น ยังช่วยให้มีความดันโลหิตที่ปกติและอาจมีบทบาทในการจัดการกับโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด และโรคความดันโลหิตสูง
Coenzyme Q10 นั้นเป็นเอนไซม์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในร่างกาย มีคำแนะนำให้ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจวายและโรคเหงือก นอกจากนั้น ยังมักให้ในผู้ป่วยที่รับประทานยา cholesterol บางชนิดที่จะลดระดับ Coenzyme Q10 ลง หากคุณต้องการรับประทานยาและอาหารเสริมใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน และแพทย์จะสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับทางเลือกในการรักษาที่เหมาะสมสำหรับคุณได้
คำถาม : ฉันเป็นผู้หญิงอายุ 86 ปี ฉันสามารถรับประทาน magnesium complex ได้วันละกี่เม็ดโดยที่ไม่มีอาการข้างเคียง
คำตอบ : Magnesium complex เป็นยาที่มีส่วนผสมของ magnesium หลายรูปแบบ และผลิตโดยหลายบริษัท ทำให้มีส่วนผสมของแมกนีเซียมที่แตกต่างกันออกไป แมกนีเซียมนั้นมีหลายรูปแบบ ซึ่ง magnesium citrate, sulfate และ hydroxide นั้น สามารถใช้รักษาอาการท้องผูก ส่วน magnesium sulfate นั้น จะเป็นชนิดที่แรงที่สุด
นอกจากนั้น ยังสามารถใช้แมกนีเซียมในรูปแบบของ magnesium carbonate, hydroxide, oxide และ trisillicate เพื่อเป็นยาลดกรดได้อีกด้วย magnesium hydroxide จะออกฤทธิ์ได้เร็วที่สุดในขณะที่ magnesium carbonate ออกฤทธิ์ได้ช้ากว่าและ magnesium trisilicate ออกฤทธิ์ได้ช้าสุดแต่นานที่สุด เนื่องจากมันละลายในน้ำได้ไม่ดี
ผู้ที่ขาดแมกนีเซียม เช่น ผู้ที่เป็นโรคตับแข็ง ติดแอลกอฮอล์ เป็นโรคหัวใจวาย ท้องเสียเรื้อรังหรืออาเจียนเรื้อรัง, ตับอ่อนอักเสบ, ดูดซึมสารอาหารได้ไม่ดี เป็นโรคไต หรือเป็นโรคลำไส้อักเสบ จำเป็นต้องรับประทานแมกนีเซียมเสริม เช่น magnesium gluconate หรือ magnesium chloride เนื่องจากทั้ง 2 ชนิดนี้ทำให้เกิดอาการท้องเสียลดลง แต่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน magnesium oxide เพราะจะทำให้ท้องเสีย และ magnesium carbonate เนื่องจากละลายในน้ำได้ไม่ดี ปริมาณของ magnesium complex ที่คุณควรรับประทานนั้นจึงขึ้นอยู่กับรูปแบบของแมกนีเซียมและจุดประสงค์ในการรับประทาน
คำถาม : คุณช่วยบอกอาหารที่เป็นแหล่งของแมกนีเซียมได้หรือไม่?
คำตอบ : แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีบทบาทสำคัญต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อและเส้นประสาท อาหารที่เป็นแหล่งของแมกนีเซียมประกอบด้วย ผักใบเขียว เช่น ผักโขมและบร็อคโคลี่ เนื่องจากมีคลอโรฟิลล์ซึ่งมีแมกนีเซียมอยู่ภายใน, ถั่วต่าง ๆ และธัญพืชชนิดที่ไม่แปรรูป ปลาบางชนิด เช่น ปลาฮาลิบัตก็มีแมกนีเซียมในปริมาณที่สูงเช่นกัน การรับประทานอาหารเหล่านี้อย่างหลากหลายในแต่ละวันนั้นจะช่วยให้คุณได้รับแมกนีเซียมที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
National Institutes of Health (NIH) กล่าวว่า ปริมาณของแมกนีเซียมที่ควรได้รับในแต่ละวันสำหรับผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 31 ปี นั้นอยู่ที่ 420 มิลลิกรัม ซึ่งคุณสามารถดูปริมาณของแมกนีเซียมที่อยู่ภายในซีเรียลหรือถั่วต่าง ๆ ได้จากข้อมูลทางโภชนาการที่อยู่บนผลิตภัณฑ์ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเพาะกับตัวคุณควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
คำถาม : ฉันรับประทานแคลเซียมและแมกนีเซียมเสริม มีการตรวจที่สามารถดูระดับของแมกนีเซียมในเลือดได้หรือไม่?
คำตอบ : ในปัจจุบัน สามารถเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับแมกนีเซียมได้ หากแพทย์สงสัยว่าคุณมีระดับแมกนีเซียมในเลือดผิดปกติ แมกนีเซียมที่อยู่ในร่างกายประมาณครึ่งหนึ่งนั้นจะอยู่ภายในกระดูก ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งจะอยู่ตามเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตที่จำเป็นต่อปฏิกิริยาทางชีวเคมีเกือบทั้งหมดของร่างกาย ซึ่งช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาททำงานได้อย่างปกติ คงความแข็งแรงของกระดูก ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ และช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต
นอกจากนั้น ยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอีกด้วย หากคุณเป็นโรคไต, โรคเบาหวานหรือมีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ แพทย์อาจตรวจวัดระดับนี้ให้ หากคุณกำลังกังวลว่าคุณอาจรับประทานแมกนีเซียมในปริมาณที่มากเกินไป คุณอาจลองดูว่า คุณรับประทานเกินขนาดที่แนะนำซึ่งอยู่ที่ 350 มิลลิกรัมต่อวันหรือไม่
คำถาม : แมกนีเซียมสามารถช่วยรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรค restless leg syndrome ได้หรือไม่?
คำตอบ : โรค Restless leg syndrome เป็นโรคที่ขามีอาการชาหรือกระตุกในขณะพัก ซึ่งอาการดังกล่าวอาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถนอนได้อย่างต่อเนื่อง ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้เพิ่มขึ้นประกอบด้วยการตั้งครรภ์, ไตวาย, การขาดธาตุเหล็กและโรคเบาหวาน ยาที่องค์การอาหารและยาอนุมัติให้ใช้ในการรักษาโรคนี้ได้ประกอบด้วย Requip (ropinirole) และ Mirapex (pramipexole) ซึ่งเป็นยาที่สามารถใช้รักษาโรคพาร์กินสันได้เช่นกัน
คำถาม : อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เรามีระดับแมกนีเซียมที่สูงกว่าปกติ
คำตอบ : สำนักงานด้านอาหารเสริมของ National Institutes of health กล่าวว่า แมกนีเซียมนั้นเป็นแร่ธาตุที่สำคัญที่ทำให้มีสุขภาพดี แมกนีเซียมมากกว่าครึ่งที่พบในร่างกายจะอยู่ที่กระดูก และส่วนที่เหลือจะพบอยู่ภายในเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย แมกนีเซียมเป็นสารที่จำเป็นต่อปฏิกิริยาชีวเคมีมากกว่า 300 ปฏิกิริยาที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาททำงานได้ตามปกติ ควบคุมให้หัวใจเต้นอย่างสม่ำเสมอ สนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันและช่วยให้กระดูกมีความแข็งแรง
นอกจากนั้น ยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต และมีส่วนในกระบวนการเผาผลาญพลังงานและสร้างโปรตีนอีกด้วย ทำให้ในปัจจุบันผู้คนให้ความสนใจเกี่ยวกับการใช้แมกนีเซียมในการป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคเบาหวาน อาหารที่มีแมกนีเซียมสูงประกอบด้วยผักใบเขียว (เช่นผักโขมและถั่ว) และธัญพืชที่ไม่แปรรูป
นอกจากนั้น ยังอาจพบแมกนีเซียมในน้ำประปาได้อีกด้วยแต่ปริมาณของแร่ธาตุจะขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำ ขนาดของแมกนีเซียมที่แนะนำให้ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 31 ปีได้รับนั้นอยู่ที่ 320 มิลลิกรัมต่อวัน อาการที่แสดงว่าคุณมีระดับแมกนีเซียมในร่างกายสูงเกินไปประกอบด้วย มีการเปลี่ยนแปลงของการรับรู้, คลื่นไส้, ท้องเสีย, เบื่ออาหาร, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, หายใจลำบาก, ความดันโลหิตต่ำอย่างรุนแรงและหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งภาวะดังกล่าวนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การรับประทานแมกนีเซียมเสริมมากเกินไป, การรับประทานยาลดกรดหรือยาระบายที่มีแมกนีเซียมอยู่มากเกินไป หรือมีปัญหาเกี่ยวกับไตและทำให้ไตไม่สามารถกำจัดแมกนีเซียมส่วนเกินออกจากร่างกายได้ เป็นต้น
คำถาม : ฉันกำลังอยู่ในช่วงหมดประจำเดือนและมีภาวะขาดวิตามินดี วิตามินบี 12 ฮอร์โมนไม่สมดุล และความดันโลหิตสูง ฉันควรรับประทานแมกนีเซียมเพื่อช่วยลดความดันหรือไม่? ฉันรับประทานยาลดความดันแล้วมีผลข้างเคียงจากยาเยอะมาก ฉันควรจะทำอย่างไร?
คำตอบ : แมกนีเซียมเป็นสารที่จำเป็นต่อกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกายและจำเป็นต่อสุขภาพที่ดี แมกนีเซียมช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท, ระบบภูมิคุ้มกัน, หัวใจและกระดูก นอกจากนั้น ยังช่วยส่งเสริมให้ร่างกายมีความดันโลหิตเป็นปกติ และช่วยในการเผาผลาญน้ำตาลและพลังงาน
ในปัจจุบัน แม้จะมีผู้ให้ความสนใจเกี่ยวกับบทบาทของแมกนีเซียมในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง แต่ยานี้ก็ยังไม่ได้รับการอนุมัติให้ใช้เป็นยาควบคุมความดัน หากคุณรับประทานยาความดันแล้วมีผลข้างเคียงควรปรึกษาแพทย์เพื่อมองหาทางเลือกอื่นในการรักษา อย่าหยุดยาความดันเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ แมกนีเซียมพบได้ในอาหารหลายชนิด เช่น ผักใบเขียว, ปลาฮาลิบัต และถั่วต่าง ๆ ปริมาณที่แนะนำให้ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 31 ปีรับประทานในแต่ละวันนั้นอยู่ที่ 320 มิลลิกรัมต่อวัน
การเลือกรับประทานอาหารเสริมนั้นเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคลและปัจจัยต่าง ๆ เช่น ยาที่รับประทานอยู่ ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และอาหารที่รับประทาน ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้บอกได้ว่า คุณควรรับประทานอาหารเสริมหรือไม่ การใช้ฮอร์โมนทดแทนนั้นก็เป็นเรื่องที่ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคนและปัจจัยรอบตัวผู้ป่วย เช่น ประวัติโรคประจำตัว ประวัติครอบครัวและอื่น ๆ เช่นกัน คุณควรปรึกษาเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ฮอร์โมนทดแทนและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะกับคุณที่สุด
คำถาม : การที่ฉันตรวจพบว่า มีระดับแมกนีเซียมในเลือดสูงนั้น หมายความว่าอย่างไรและมันเกิดจากอะไร?
คำตอบ : การตรวจวัดระดับแมกนีเซียมมักใช้เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคไตและอาจช่วยในการวินิจฉัยความผิดปกติในทางเดินอาหาร การตรวจพบว่า มีระดับแมกนีเซียมผิดปกติ มักพบในผู้ป่วยที่ไตมีการขับแมกนีเซียมออกมามากหรือน้อยเกินไป หรือลำไส้ดูดซึมแมกนีเซียมได้ไม่เพียงพอ การมีระดับแมกนีเซียมในเลือดสูงนั้นมักจะเกิดจากการรับประทานแมกนีเซียมเข้าไปมากเกินไปหรือไตไม่สามารถกำจัดแมกนีเซียมส่วนเกินออกมาได้อย่างเหมาะสม
สาเหตุที่พบบ่อยของการมีระดับแมกนีเซียมในเลือดสูงประกอบด้วย โรคไตวาย, ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ, ภาวะขาดน้ำ และการใช้ยาระบายหรือยาลดกรดที่มีแมกนีเซียมมากเกินความจำเป็น แพทย์จะเป็นผู้หาสาเหตุที่ทำให้คุณมีระดับแมกนีเซียมในเลือดสูงผิดปกติ และคุณควรตรวจติดตามกับแพทย์เป็นระยะเพื่อให้มั่นใจว่าไม่ได้เกิดจากโรคที่ร้ายแรง
คำถาม : การรับประทาน magnesium citrate 2 เม็ดนั้น จะทำให้อุจจาระเปลี่ยนสีและมีจุดดำ ๆ เล็ก ๆ ได้หรือไม่?
คำตอบ : ยานี้มักไม่ได้ทำให้อุจจารเปลี่ยนสี แต่อาการดังกล่าวอาจแสดงว่าคุณมีเลือดปนออกมาในอุจจาระได้ ดังนั้น คุณควรไปตรวจกับแพทย์
คำถาม : แมกนีเซียมทำให้เกิดตะคริวที่ขาและหลังหรือไม่?
คำตอบ : กล้ามเนื้อจำเป็นต้องมีแร่ธาตุสามชนิดเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม ซึ่งหากตัวใดตัวหนึ่งอยู่ในระดับไม่สมดุล ก็อาจทำให้คุณเป็นตะคริวหรือปวดกล้ามเนื้อได้ ส่วนมากแมกนีเซียมที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อและกระดูกนั้นจะทำหน้าที่เหมือนกุญแจที่ทำให้โพแทสเซียมและแคลเซียมเคลื่อนที่เข้าและออกจากเซลล์กล้ามเนื้อเวลาที่มีการใช้งานกล้ามเนื้อ ซึ่งหากแร่ธาตุทั้ง 3 ชนิดนั้นอยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสม กล้ามเนื้อจะทำงานได้ไม่เต็มที่ การที่จะให้เซลล์กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างสมบูรณ์นั้น จำเป็นต้องมีแมกนีเซียมเพื่อเปิดประตูให้โพแทสเซียมไหลเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อ หากคุณเป็นตะคริว คุณอาจลองปรึกษาแพทย์เพื่อดูว่าอาการดังกล่าวนั้น เกิดจากอะไร เช่น การขาดแร่ธาตุต่าง ๆ เป็นต้น หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเพาะกับตัวคุณควรปรึกษาแพทย์
คำถาม : magnesium citrate สามารถช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้หรือไม่?
คำตอบ : แมกนีเซียม เป็นอาหารเสริมที่มักใช้รักษาอาการท้องผูก อาหารไม่ย่อย และรักษาการขาดแมกนีเซียม ในปัจจุบัน มีข้อมูลเกี่ยวกับการใช้แมกนีเซียมในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงอยู่น้อย มีหลักฐานบางชิ้นที่สนับสนุนว่า การรับประทานแมกนีเซียมขนาด 600-1000 มิลลิกรัมต่อวันจะช่วยลดความดันโลหิตได้ แต่ไม่ชัดเจนนัก โดยทั่วไปการรับประทานอาหารเสริมเหล่านี้ควรรับประทานภายใต้การดูแลของแพทย์ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเพาะกับตัวคุณควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
อย่าลืมนำรายการยาที่คุณรับประทานอยู่ทั้งหมดทั้งยาที่แพทย์สั่งและยาที่ซื้อมารับประทานเองไปปรึกษาแพทย์ก่อนที่แพทย์จะสั่งจ่ายยาชนิดใหม่ทุกครั้ง หากเป็นไปได้ควรใช้บริการร้านขายยาเพียงแห่งเดียว เพื่อให้เภสัชกรมีข้อมูลเกี่ยวกับยาที่คุณรับประทานอยู่ทั้งหมดและสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับปฏิกิริยาระหว่างยาและผลข้างเคียงของการใช้ยาได้
คำถาม : การรับประทานแมกนีเซียมในปริมาณที่มากเกินไปจะส่งผลต่อไตหรือไม่?
คำคอบ : แมกนีเซียมเป็นอาหารเสริมที่มักใช้รักษาโรคท้องผูก, อาหารไม่ย่อย, การขาดแมกนีเซียมและบางครั้งอาจใช้ในการรักษาโรคนิ่วในไตได้ ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของการรับประทานแมกนีเซียมนั้นประกอบด้วย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียและปวดท้อง การรับประทานแมกนีเซียมมากเกินไปนั้นเป็นเรื่องที่อันตราย อาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น กระหายน้ำมากขึ้น ง่วงนอน สับสน กล้ามเนื้ออ่อนแรง หายใจลำบาก หัวใจหยุดเต้น หมดสติและเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตหรือมีค่าการทำงานของไตที่น้อยกว่าปกติไม่ควรรับประทานแมกนีเซียมยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
เนื่องจากแมกนีเซียมจะถูกขับออกที่ไต และผู้ที่ไตทำงานได้น้อยกว่าปกติจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดการสะสมของแมกนีเซียมในร่างกายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ โดยทั่วไปแล้วการรับประทานอาหารเสริมเหล่านี้ควรรับประทานภายใต้การดูแลของแพทย์ อย่าลืมนำรายการยาที่คุณรับประทานอยู่ทั้งหมดทั้งยาที่แพทย์สั่งและยาที่ซื้อมารับประทานเองไปปรึกษาแพทย์ก่อนที่แพทย์จะสั่งจ่ายยาชนิดใหม่ทุกครั้ง หากเป็นไปได้ควรใช้บริการร้านขายยาเพียงแห่งเดียวเพื่อให้เภสัชกรมีข้อมูลเกี่ยวกับยาที่คุณรับประทานอยู่ทั้งหมดและสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับปฏิกิริยาระหว่างยาและผลข้างเคียงของการใช้ยาได้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเพาะกับตัวคุณควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
คำถาม : ประโยชน์ของการรับประทานแมกนีเซียมคืออะไร? ฉันมีปัญหาเรื่องการนอนหลับและมีคนบอกให้ฉันรับประทานแมกนีเซียม
คำตอบ : แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและจำเป็นต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายโดยเฉพาะกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นประสาท หัวใจและระบบภูมิคุ้มกัน National Institutes of Health แนะนำให้ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปีรับประทานแมกนีเซียมวันละ 320 มิลลิกรัมต่อวัน อาหารที่เป็นแหล่งของแมกนีเซียมประกอบด้วย ผักใบเขียว ถั่วต่าง ๆ และธัญพืช ปลาบางชนิด เช่น ปลาแมคเคอเรลก็เป็นแหล่งของแมกนีเซียมเช่นกัน มีประชาชนบางกลุ่มที่อาจเสี่ยงต่อการขาดแมกนีเซียมได้มากกว่าคนทั่วไป เช่นผู้สูงอายุ, ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี, ผู้ที่ติดสุรา และผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารเรื้อรัง
อาการแสดงเริ่มต้นของการขาดแมกนีเซียมประกอบด้วย คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย อ่อนแรง ชา และเป็นตะคริว การขาดแมกนีเซียมอย่างรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการที่รุนแรง เช่น อาการชัก หากคุณสงสัยว่าคุณขาดแมกนีเซียมควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม เพราะการได้รับแมกนีเซียมในปริมาณที่มากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้เช่นเดียวกัน อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หน้าแดง ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นช้า ง่วงนอน และหมดสติได้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเพาะกับตัวคุณควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกร
คำถาม : การรับประทานแมกนีเซียมขนาด 500 มิลลิกรัมในผู้หญิงที่มีสุขภาพแข็งแรงนั้นเป็นอันตรายหรือไม่? และมันทำให้เกิดเป็นตะคริวที่เท้าได้หรือไม่?
คำตอบ : แมกนีเซียม เป็นแร่ธาตุที่อาจรับประทานเป็นอาหารเสริมได้ในผู้ที่ขาดแมกนีเซียมจากการเจ็บป่วยหรือเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยา ปริมาณของแมกนีเซียมที่แนะนำให้ผู้หญิงรับประทานในแต่ละวันนั้นอยู่ที่ 280-300 มิลลิกรัม ผู้ที่ไตสามารถทำงานได้ตามปกตินั้นมักไม่เกิดอาการเมื่อได้รับแมกนีเซียมในขนาดที่มากเกินไปแม้ว่าจะได้รับมากกว่า 500 มิลลิกรัมต่อวันก็ตาม หากคุณรับประทานแมกนีเซียมในปริมาณที่สูง คุณควรรับประทานแคลเซียมในขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของแมกนีเซียม
โดยทั่วไป การรับประทานอาหารเสริมเหล่านี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเพาะกับตัวคุณควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร อย่าลืมนำรายการยาที่คุณรับประทานอยู่ทั้งหมดทั้งยาที่แพทย์สั่งและยาที่ซื้อมารับประทานเองไปปรึกษาแพทย์ก่อนที่แพทย์จะสั่งจ่ายยาชนิดใหม่ทุกครั้ง หากเป็นไปได้ควรใช้บริการร้านขายยาเพียงแห่งเดียวเพื่อให้เภสัชกรมีข้อมูลเกี่ยวกับยาที่คุณรับประทานอยู่ทั้งหมดและสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับปฏิกิริยาระหว่างยาและผลข้างเคียงของการใช้ยาได้
คำถาม : ผู้ที่มีอายุ 80 ปีควรรับประทานแมกนีเซียมขนาดเท่าไร?
คำตอบ : แมกนีเซีนม เป็นอาหารเสริมที่ใช้รักษาผู้ที่มีระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำ และบางคนพบว่าการรับประทานแมกนีเซียมนั้นช่วยลดอาการตะคริวของพวกเขาได้ การรับประทานแมกนีเซียมนั้น ควรรับประทานพร้อมอาหาร ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ ท้องเสีย ขนาดของแมกนีเซียมที่แนะนำให้ผู้ชายรับประทานนั้นอยู่ที่ 400 มิลลิกรัมต่อวัน อย่างไรก็ตาม คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มรับประทานแมกนีเซียม
คำถาม : ฉันจำเป็นต้องรับประทานแมกนีเซียม แต่ว่าแมกนีเซียมในรูปแบบใดที่มีประโยชน์ต่อหัวใจมากที่สุด?
คำตอบ : สำนักงานด้านอาหารเสริมของ National Institutes of health กล่าวว่า แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญที่ทำให้มีสุขภาพดี แมกนีเซียมมากกว่าครึ่งที่พบในร่างกายนั้นจะอยู่ที่กระดูก และส่วนที่เหลือจะพบอยู่ภายในเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย แมกนีเซียมเป็นสารที่จำเป็นต่อปฏิกิริยาชีวเคมีมากกว่า 300 ปฏิกิริยาที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาททำงานได้ตามปกติ ควบคุมให้หัวใจเต้นอย่างสม่ำเสมอ สนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันและช่วยให้กระดูกมีความแข็งแรง
นอกจากนั้นยัง ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต และมีส่วนในกระบวนการเผาผลาญพลังงานและสร้างโปรตีนอีกด้วย ทำให้ในปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการใช้แมกนีเซียมในการป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวาน อาหารที่มีแมกนีเซียมสูงประกอบด้วยผักใบเขียว (เช่นผักโขมและถั่ว) และธัญพืชที่ไม่แปรรูป นอกจากนั้น ยังอาจพบแมกนีเซียมในน้ำประปาได้อีกด้วยแต่ปริมาณของแร่ธาตุนั้นขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำ หากคุณมีระดับของแมกนีเซียมในเลือดนั้นต่ำกว่าปกติ แพทย์จะค้นหาสาเหตุ ความรุนแรง และผลที่เกิดขึ้นเพื่อหาวิธีทำให้แมกนีเซียมกลับเข้าสู่ระดับปกติ ผู้ที่เป็นโรคไตอาจไม่สามารถจัดการกับแมกนีเซียมส่วนเกินของร่างกายได้ ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานอาหารเสริมที่มีแมกนีเซียมยกเว้นแพทย์สั่ง
หากระดับแมกนีเซียมในเลือดนั้นต่ำมาก อาจต้องฉีดแมกนีเซียมเข้าไปทางเส้นเลือดดำ การรับประทานอาหารเสริมที่มีแมกนีเซียมนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น magnesium oxide, magnesium sulfate, magnesium carbonate ซึ่งแต่ละชนิดจะให้ปริมาณแมกนีเซียมที่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้แตกต่างกัน การศึกษาที่ทำการเปรียบเทียบแมกนีเซียมทั้ง 4 รูปแบบนั้นพบว่า magnesium chloride และ magnesium lactate นั้นจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีที่สุด หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเพาะกับตัวคุณควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ
คำถาม : คุณคิดว่าการรับประทานแมกนีเซียมเสริมนั้นมีประโยชน์ต่อการรักษาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาเช่นตะคริวหรือไม่?
คำตอบ : สำนักงานด้านอาหารเสริมของ National Institutes of health กล่าวว่า แมกนีเซียมนั้นเป็นแร่ธาตุที่สำคัญที่ทำให้มีสุขภาพดี แมกนีเซียมมากกว่าครึ่งที่พบในร่างกายนั้นจะอยู่ที่กระดูก และส่วนที่เหลือจะพบอยู่ภายในเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย แมกนีเซียมเป็นสารที่จำเป็นต่อปฏิกิริยาชีวเคมีมากกว่า 300 ปฏิกิริยาที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาททำงานได้ตามปกติ ควบคุมให้หัวใจเต้นอย่างสม่ำเสมอ สนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันและช่วยให้กระดูกมีความแข็งแรง นอกจากนั้น ยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต และมีส่วนในกระบวนการเผาผลาญพลังงานและสร้างโปรตีนอีกด้วย ทำให้ในปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการใช้แมกนีเซียมในการป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวาน อาหารที่มีแมกนีเซียมสูงประกอบด้วยผักใบเขียว (เช่นผักโขมและถั่ว) และธัญพืชที่ไม่แปรรูป
นอกจากนั้น ยังอาจพบแมกนีเซียมในน้ำประปาได้อีกด้วยแต่ปริมาณของแร่ธาตุนั้นขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำ หากคุณมีระดับของแมกนีเซียมในเลือดนั้นต่ำกว่าปกติ แพทย์จะค้นหาสาเหตุ ความรุนแรง และผลที่เกิดขึ้นเพื่อหาวิธีทำให้แมกนีเซียมนั้นกลับเข้าสู่ระดับปกติ ผู้ที่เป็นโรคไตอาจไม่สามารถจัดการกับแมกนีเซียมส่วนเกินของร่างกายได้ ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานอาหารเสริมที่มีแมกนีเซียมยกเว้นแพทย์สั่ง ปัจจุบันข้อมูลจาก National Institutes of Health กล่าวว่า ยังไม่มีหลักฐานมากพอที่สนับสนุนว่า แมกนีเซียมนั้นสามารถใช้รักษาการเป็นตะคริวหรือช่วยเพิ่มพลังงานและความทนทานของกล้ามเนื้อได้
คำถาม : มีแชมพูที่ทำมากจากแมกนีเซียมหรือไม่? และแชมพู DermaMag นั้นสามารถช่วยบำรุงหนังศีรษะได้จริงหรือไม่?
คำตอบ : มีแชมพูที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมหลายชนิดที่โฆษณาว่า สามารถช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเส้นผม ป้องกันผมร่วงและช่วยควบคุมการเกิดรังแค ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับแมกนีเซียมก่อน คำตอบจากสำนักงานด้านอาหารเสริมของ National Institutes of health กล่าวว่า แมกนีเซียมนั้นเป็นแร่ธาตุที่สำคัญที่ทำให้มีสุขภาพดี แมกนีเซียมมากกว่าครึ่งที่พบในร่างกายนั้นจะอยู่ที่กระดูก และส่วนที่เหลือจะพบอยู่ภายในเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย แมกนีเซียมเป็นสารที่จำเป็นต่อปฏิกิริยาชีวเคมีมากกว่า 300 ปฏิกิริยาที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาททำงานได้ตามปกติ ควบคุมให้หัวใจเต้นอย่างสม่ำเสมอ สนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันและช่วยให้กระดูกมีความแข็งแรง
นอกจากนั้น ยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต และมีส่วนในกระบวนการเผาผลาญพลังงานและสร้างโปรตีนอีกด้วย ทำให้ในปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการใช้แมกนีเซียมในการป้องกันโรคต่างอๆ เช่น ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวาน อาหารที่มีแมกนีเซียมสูงประกอบด้วยผักใบเขียว (เช่นผักโขมและถั่ว) และธัญพืชที่ไม่แปรรูป นอกจากนั้น ยังอาจพบแมกนีเซียมในน้ำประปาได้อีกด้วยแต่ปริมาณของแร่ธาตุนั้นขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำ DermaMag นั้น แมกนีเซียมเสริมประเภทหนึ่งที่สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้ และใช้ทาที่ผิวหนังหรือนำเท้าลงไปแช่เพื่อให้ร่างกายได้รับแมกนีเซียมโดยไม่ต้องรับประทาน แพทย์ของคุณอาจให้คำแนะนำได้ว่าคุณจำเป็นต้องรับประทานแมกนีเซียมเสริมหรือไม่โดยการเจาะเลือดตรวจ และหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเพาะกับตัวคุณควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนที่จะเริ่มใช้ยาใด ๆ
คำถาม : อาการของการขาดแมกนีเซียมคืออะไร?
คำตอบ : แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญ มีบทบาทในการทำงานของอวัยวะหลายชนิดทั้งการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อ, การสร้างโปรตีน การทำงานของเอนไซม์บางชนิด และการสร้างและส่งพลังงาน ร่างกายจะได้รับแมกนีเซียมผ่านการรับประทานอาหารประเภทผักใบเขียว ผลไม้ (กล้วย อะโวคาโด แอปริคอตแห้ง) ถั่วต่าง ๆ ถั่วเหลืองและธัญพืช ข้อมูลจากเว็บไซต์ของ National Institutes of Health กล่าวว่า ภาวการณ์ขาดแมกนีเซียมนั้นพบได้น้อย แต่หากเป็นแล้วอาจมีอาการดังต่อไปนี้ : ง่วงนอน กล้ามเนื้ออ่อนแรง และถูกกระตุ้นได้ง่ายกกว่าปกติ
อาการที่มักพบในระยะแรกของการขาดแมกนีเซียมประกอบด้วย เบื่ออาหาร สับสน ไม่มีอารมณ์ร่วมกับสิ่งต่าง ๆ อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย กล้ามเนื้อหดเกร็ง ความจำแย่ลง และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ลดลง อาการที่จะเกิดเมื่อมีการขาดแมกนีเซียมระดับปานกลางประกอบด้วย : มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด และหัวใจเต้นเร็ว
อาการที่พบเมื่อมีการขาดแมกนีเซียมอย่างรุนแรงประกอบด้วย กล้ามเนื้อมีการหดตัวอยู่ตลอดเวลา, สับสน, ชา และเห็นภาพหลอน ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการขาดแมกนีเซียมประกอบด้วย ผู้ป่วยที่ติดแอลกอฮอล์, ผู้ป่วยที่ถูกไฟไหม้ ผู้ป่วยที่รับประทานยาบางชนิด, ผู้ที่มีระดับแคลเซียมต่ำ ผู้ที่ดูดซึมสารอาหารได้ไม่ดี และผู้ที่เพิ่งเข้ารับการผ่าตัด หากคุณคิดว่าคุณขาดแมกนีเซียมคุณควรไปพบแพทย์ แพทย์จะตรวจเพื่อระบุว่า คุณขาดแมกนีเซียมจริงหรือไม่ และแนะนำแมกนีเซียมในขนาดที่เหมาะสมสำหรับคุณ
คำถาม : ขนาดของแมกนีเซียมที่ควรรับประทานคือเท่าไร? และแมกนีเซียมในรูปแบบไหนที่เหมาะสมกับผู้ที่มีอายุ 77 ปีซึ่งเป็นโรคเบาหวานและโรคหัวใจขาดเลือด
คำตอบ : ข้อมูลจากสำนักงานเกี่ยวกับอาหารเสริมนั้นระบุว่า แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญของร่างกายและจำเป็นต่อสุขภาพที่ดี แมกนีเซียมจะช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรง, สนับสนุนการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ และเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก นอกจากนั้น แมกนีเซียมยังมีบทบาทในการเผาผลาญพลังงานและกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย และยังพบว่า มีประโยชน์ในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมความดันโลหิตอีกด้วย
อาหารที่เป็นแหล่งของแมกนีเซียมประกอบด้วยผักใบเขียว ปลาฮาลิบัต ถั่วต่าง ๆ และธัญพืช ปริมาณของแมกนีเซียมที่แนะนำให้ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 31 ปีรับประทานนั้นอยู่ที่ 320 มิลลิกรัมต่อวัน บางคนอาจต้องการแมกนีเซียมในปริมาณที่มากกว่านี้ เช่น ผู้ที่ติดแอลกอฮอล์ เป็นโรคเบาหวานที่คุมน้ำตาลได้ไม่ดี มีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ (Lasix และ Bumex) และยาปฏิชีวนะ (เช่น Gentamicin และ amphotericin) และผู้ที่สูงอายุ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ได้บอกว่า คุณจำเป็นต้องรับประทานแมกนีเซียมเสริมหรือไม่ และการรับประทานอาหารเสริมเหล่านี้นั้นควรรับประทานภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น
คำถาม : ฉันเป็นตะคริวอย่างรุนแรงในช่วงตอนกลางคืน และตรวจพบว่ามีระดับแมกนีเซียมในเลือดที่ต่ำกว่าปกติเล็กน้อย ตอนนี้ฉันกำลังรับประทานแมกนีเซียมเสริมอยู่เนื่องจากฉันเป็นผู้ที่ได้รับการเปลี่ยนไต คุณมีคำแนะนำอย่างไรบ้างในเรื่องนี้?
คำตอบ : การเป็นตะคริวในตอนกลางคืนนั้นเกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อที่ขาอย่างกะทันหัน ซึ่งอาจเกิดได้สั้น ๆ ไม่กี่วินาทีหรืออาจเกิดอยู่นานหลายนาทีก็ได้ ส่วนมากมักเกิดในช่วงก่อนที่คุณกำลังจะนอนหลับหรือช่วงที่เพิ่งตื่น ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบว่าตะคริวนั้นเกิดจากอะไร ซึ่งสาเหตุที่เป็นไปได้ประกอบด้วย การออกกำลังกายหรือใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป, การได้รับแร่ธาตุโพแทสเซียม, แคลเซียมและอื่น ๆ ไม่เพียงพอ, การขาดน้ำ, การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาจิตเวช, ยาในกลุ่ม statin ยาคุมกำเนิด และยากลุ่มสเตียรอยด์ การมีเท้าแบน และการเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
มีบางคนที่รับประทานแมกนีเซียมเพื่อป้องกันการเกิดตะคริว ซึ่งแมกนีเซียมนั้นเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อหลาย ๆ ระบบในร่างกายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อและเส้นประสาท แต่ก่อนที่คุณจะเริ่มรับประทาน คุณจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อน รวมถึงนำยาทุกชนิดที่คุณกำลังรับประทานอยู่มาให้แพทย์ดู ผู้ที่เป็นโรคไตควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะรับประทานแมกนีเซียม การรับประทานแมกนีเซียมอาจทำให้ท้องเสีย มวนท้อง และคลื่นไส้ได้ และการได้รับแมกนีเซียมในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรง เช่น ความดันโลหิตต่ำ ง่วงนอน สับสน กล้ามเนื้ออ่อนแรง, หายใจช้า หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมดสติ หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและเสียชีวิตได้ คุณสามารถป้องกันการเกิดตะคริวได้โดยการยึดกล้ามเนื้อน่องก่อนเข้านอน, ดื่มน้ำมาก ๆ ในระหว่างวัน, รับประทานผลไม้และผักที่มีแคลเซียม โพแทสเซียมและแมกนีเซียมสูง และออกกำลังกายขาระหว่างวัน เช่น การปั่นจักรยาน คุณอาจลองปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับยาที่อาจทำให้เป็นตะคริว และหากคุณเป็นตะคริวบ่อย ๆ แพทย์อาจสั่งยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้
คำถาม : ฉันเป็นตะคริวที่นิ้วมือ นิ้วเท้าและที่ขา ฉันไปพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินและเขาบอกว่าฉันขาดแมกนีเซียม พวกเขาให้ฉันกินยาในระหว่างที่อยู่โรงพยาบาลแต่ไม่ได้ให้ยากลับมาบ้านด้วย ฉันควรจะทำอย่างไรเพื่อรักษาอาการดังกล่าว? นอกจากนั้น ฉันยังเป็นโรคกระดูกพรุนอีกด้วย
คำตอบ : แมกนีเซียมเป็นอาหารเสริมที่มักใช้รักษาอาการท้องผูก, อาหารไม่ย่อย และการขาดแมกนีเซียม ตัวอย่างผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยประกอบด้วย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และมวนท้อง การได้รับแมกนีเซียมในปริมาณที่มากเกินไปนั้นอาจเป็นอันตรายได้ อาจทำให้เกิดอาการกระหายน้ำมากกว่าปกติ ง่วงนอน สับสน กล้ามเนื้ออ่อนแรง หายใจลำบาก หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หมดสติและเสียชีวิตได้
ผู้ที่เป็นโรคไตหรือมีค่าการทำงานของไตที่น้อยกว่าปกตินั้นไม่ควรรับประทานแมกนีเซียมยกเว้นจะรับประทานภายใต้การดูแลของแพทย์ เนื่องจากแมกนีเซียมนั้นถูกขับออกทางไต และผู้ที่เป็นโรคไตจะมีความเสี่ยงต่อการมีระดับแมกนีเซียมในร่างกายสูงได้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเพาะกับตัวคุณควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ
คำถาม : แมกนีเซียมเกือบทั้งหมดของร่างกายฉันถูกขับออกไปทั้งหมด และฉันคิดว่าน่าจะเกิดจากยาตัวใดตัวหนึ่งที่กำลังรับประทานอยู่ ตอนนี้ฉันรับประทานยา glimepiride, metformin, Singulair, amitriptyline, Benicar และ hydrocodone ยาตัวใดที่ทำให้ฉันมีภาวะดังกล่าว?
คำตอบ : แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ ระบบประสาท หัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน และกระดูก แมกนีเซียมนั้นสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิด เช่น ผักใบเขียว ปลา ถั่วต่าง ๆ ถั่วเหลืองและธัญพืชที่ไม่แปรรูป National Institutes of Health (NIH) แนะนำให้ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ได้รับแมกนีเซียมวันละ 320 มิลลิกรัม การขาดแมกนีเซียมอาจเกิดได้จากหลายโรค เช่น โรคเบาหวาน โดยเฉพาะหากคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี การมีระดับน้ำตาลสูงจะทำให้ร่างกายขับแมกนีเซียมออกไปทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น, ท้องเสีย, Crohn’s disease, โรคทางระบบทางเดินอาหารอื่น ๆ และการติดแอลกอฮอล์
นอกจากนั้น NIH ยังกล่าวว่า ผู้สูงอายุอาจได้รับแมกนีเซียมจากอาหารน้อยกว่าผู้ที่มีอายุน้อย ดังนั้น ผู้สูงอายุควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรับประทานแมกนีเซียมเสริมหากจำเป็น ตัวอย่างยาที่อาจทำให้มีระดับแมกนีเซียมต่ำนั้นประกอบด้วย ยาขับปัสสาวะ, ยาปฏิชีวนะบางชนิด และยาเคมีบำบัด อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ยังไม่พบว่ายาที่คุณพูดถึงนั้นสามารถทำให้เกิดแมกนีเซียมต่ำได้
อาการของการมีแมกนีเซียมในเลือดต่ำนั้นประกอบด้วย คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย อ่อนแรง ชา เป็นตะคริว บุคลิกเปลี่ยน เป็นต้น และเนื่องจากอาการดังกล่าวอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ ดังนั้น หากคุณมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์เพื่อให้ได้การตรวจอย่างเหมาะสม หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเพาะกับคุณ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
คำถาม : การรับประทานแมกนีเซียมจำนวนมากเพื่อช่วยในการขับถ่ายนั้นทำให้เกิดหนังศีรษะแห้งได้หรือไม่?
คำตอบ : แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่พบได้ตามธรรมชาติและเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อหลาย ๆ ระบบในร่างกายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อและระบบประสาท การมีหนังศีรษะแห้งนั้นไม่น่าจะเป็นผลมาจากการรับประทานแมกนีเซียม การที่มีหนังศีรษะแห้งนั้นจะทำให้เกิดอาการคันและเกิดรังแคขึ้นได้ ซึ่งสามารถรักษาได้โดยการใช้แชมพูขจัดรังแคที่มีส่วนผสมของ pyrithione zine, salicylic acid, tar, selenium sulfide หรือ ketoconazole ภาวะหนังศีรษะแห้งนั้นอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้ เช่น โรคผิวหนังอักเสบหรือโรคสะเก็ดเงิน
คำถาม : ฉันเป็นโรคเส้นประสาทถูกทำลาย ฉันควรรับประทานแมกนีเซียมขนาดเท่าไร? นอกจากนั้น ฉันยังมีระดับ cholesterol สูงและเกือบจะเป็นโรคเบาหวานอีกด้วย
คำตอบ : แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ กระดูกและเส้นประสาท ซึ่งจะช่วยให้หัวใจเต้นได้เป็นปกติ สนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิต อาหารที่เป็นแหล่งของแมกนีเซียมนั้นประกอบด้วยผักใบเขียว ถั่วชนิดต่าง ๆ และธัญพืช
National Institutes of health (NIH) แนะนำให้ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 31 ปี ได้รับแมกนีเซียมวันละ 320 มิลลิกรัม การขาดแมกนีเซียมนั้นเป็นภาวะที่พบได้น้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ที่รับประทานยาขับปัสสาวะ ยาปฏิชีวนะบางชนิด และยารักษาโรคมะเร็ง ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมสารอาหาร (เช่น ผู้ที่เป็นโรค Crohn’s disease) โรคเบาหวาน หรือติดแอลกอฮอล์อาจจำเป็นต้องรับประทานแมกนีเซียมเสริม หากคุณสงสัยเกี่ยวกับระดับของแมกนีเซียมในร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวัดระดับ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเพาะกับตัวคุณควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรโดยเฉพาะก่อนการเริ่มรับประทานยาใด ๆ
คำถาม : แพทย์ให้ฉันรับประทาน magnesium citrate 1200 มิลลิกรัมต่อวัน ฉันตรวจพบว่าขาดแมกนีเซียมโดยไม่ทราบสาเหตุและกำลังกังวลเกี่ยวกับการรับประทานยาในขนาดที่สูง แพทย์บอกว่าจะทำการตรวจติดตามระดับแมกนีเซียมทุก ๆ เดือน แต่ฉันก็ยังรู้สึกกังวล การรับประทานแมกนีเซียมในขนาดนี้ถือว่าสูงเกินไปหรือไม่?
คำตอบ : Magnesium citrate เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายใช้เพื่อให้กล้ามเนื้อ หัวใจ และเส้นประสาททำงานได้เต็มที่ นอกจากนั้น ยังอาจใช้เพื่อช่วยเพิ่มน้ำในลำไส้ซึ่งจะช่วยในเรื่องการขับถ่ายได้อีกด้วย แมกนีเซียมดูดซึมได้ดีที่สุดผ่านการรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียม เช่น ชอกโกแลต, ถั่วต่าง ๆ, ผักใบเขียว เป็นต้น แต่หากไม่สามารถรับประทานได้เพียงพอก็อาจจำเป็นต้องรับประทานเสริมซึ่ง National Institutes of Health (NIH) แนะนำให้รับประทานวันละ 320-420 มิลลิกรัม เมื่อมีการขาดแมกนีเซียมก็จำเป็นที่จะต้องรับประทานในขนาดที่สูงขึ้น
หากใช้ Magnesium Citrate เพื่อเป็นยาระบาย แนะนำให้รับประทานครั้งละ 2800 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นขนาดที่มากกว่าปริมาณที่แนะนำต่อวันถึง 6 เท่า และควรรับประทานติดต่อกันไม่เกิน 5 วัน หากคุณยังคงมีอาการท้องผูกอยู่ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม ในกรณีที่มีการขาดแมกนีเซียม คุณควรตรวจหาสาเหตุเพื่อวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม แต่หากไม่สามารถทำได้ อาจต้องรับประทานแมกนีเซียมเสริมไปก่อน ซึ่งร่างกายจะดูดซึมแมกนีเซียมขนาด 300-400 มิลลิกรัมหรือน้อยกว่าได้ดี
ในความเป็นจริงแล้ว การรับประทานครั้งละ 100-200 มิลลิกรัมนั้นอาจเพียงพอ คุณอาจต้องลองสอบถามแพทย์อีกครั้งเกี่ยวกับขนาดที่คุณควรรับประทานและช่วงเวลาที่ต้องรับประทาน หากคุณมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรงและไม่สามารถทนได้ ควรแจ้งแพทย์ นอกจากนั้น คุณยังควรตรวจติดตามกับแพทย์อย่างใกล้ชิดอีกด้วย หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเพาะกับตัวคุณควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ
คำถาม : ฉันเป็นโรคหอบหืดอย่างรุนแรง การรับประทานแมกนีเซียมจะช่วยได้หรือไม่และฉันควรรับประทานขนาดเท่าไร? ตอนนี้ฉันอายุ 53 ปีและกำลังรับประทานยาลดความดันอยู่
คำตอบ : สำนักงานเกี่ยวกับการแพทย์ทางเลือกของ National Institutes of health กล่าวว่า ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดระดับไม่รุนแรงจนถึงรุนแรงปานกลาง อาจได้รับประโยชน์จากการรับประทานแมกนีเซียม มีงานวิจัยที่พบว่าการรับประทาน Magnesium Citrate 340 มิลลิกรัมต่อวันนั้นสามารถช่วยเพิ่มการทำงานของปอดและทำให้อาการของโรคดีขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มรับประทานยาใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะเมื่อคุณมีโรคประจำตัวอยู่ โดยทั่วไป การรับประทานอาหารเสริมเหล่านี้นั้นควรรับประทานภายใต้การดูแลของแพทย์ และเวลาเลือกซื้ออาหารเสริมนั้นให้เลือกจากร้านที่ไว้ใจได้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเพาะกับคุณควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ
คำถาม : ฉันเป็นตะคริวอย่างรุนแรง, เป็นโรคเบาหวานที่คุมได้ยาก, ตับถูกทำลายจากการได้เลือดและเป็นโรคเส้นประสาทถูกทำลาย และยังมีระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำอีกด้วย การรับประทานแมกนีเซียมจะช่วยหรือไม่และอย่างไร?
คำตอบ : แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์และช่วยให้มีระบบภูมิคุ้มกัน กล้ามเนื้อและเส้นประสาททำงานได้ตามปกติและช่วยสร้างความแข็งแรงให้แก่กระดูก
คำถาม : การรับประทานแมกนีเซียมสามารถช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานต่ำลงได้หรือไม่?
คำตอบ : แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาททำงานได้เป็นปกติ, ทำให้หัวใจเต้นในจังหวะปกติ ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและทำให้กระดูกแข็งแรง นอกจากนั้น ยังพบว่าแมกนีเซียมยังอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและทำให้ระดับความดันโลหิตนั้นเป็นปกติอีกด้วย อาหารที่เป็นแหล่งของแมกนีเซียมประกอบด้วยผักโขม ถั่วต่าง ๆ และธัญพืชที่ยังไม่แปรรูป
ในปัจจุบัน กำลังมีผู้ให้ความสนใจเกี่ยวกับบทบาทของแมกนีเซียมต่อการป้องกันและจัดการกับโรคต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิต โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวาน แต่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม The American Diabetes Association (ADA) แนะนำให้ตรวจระดับแมกนีเซียมเป็นประจำในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการขาดแมกนีเซียมสูงเท่านั้น และแนะนำให้รับประทานแมกนีเซียมเสริมในผู้ที่ตรวจพบว่ามีระดับแมกนีเซียมต่ำ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
คำถาม : ฉันรับประทานวิตามินรวมที่มีแคลเซียม แมกนีเซียมและสังกะสี ฉันรู้สึกว่าในช่วงที่ผ่านมา ฉันทำงานได้น้อยกว่าที่ควร มันเกิดจากการที่ฉันรับประทานแมกนีเซียมมากเกินไปได้หรือไม่?
คำตอบ : สำนักงานเกี่ยวกับอาหารเสริมของ National Institutes of Health กล่าวว่า การรับประทานแมกนีเซียมอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ท้องเสียและมวนท้องได้ โดยระดับแมกนีเซียมที่สูงที่สุดที่ผู้หญิงอายุมากกว่า 19 ปีควรรับประทานนั้นอยู่ที่ 350 มิลลิกรัม แพทย์อาจสั่งจ่ายแมกนีเซียมในขนาดที่สูงกว่านี้เพื่อรักษาบางโรค อาการของการได้รับแมกนีเซียมเกินขนาดประกอบด้วย มีการรับรู้ที่ผิดปกติ คลื่นไส้ ท้องเสีย เบื่ออาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง หายใจลำบาก ความดันโลหิตต่ำอย่างรุนแรง และหัวใจเต้นผิดจังหวะ
โดยทั่วไปแล้ว การรับประทานวิตามินและอาหารเสริมนั้นควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ หากคุณมีอาการผิดปกติ รู้สึกว่าทนไม่ได้ และกังวลเกี่ยวกับการได้รับแมกนีเซียมมากเกินไป ควรปรึกษาแพทย์ แมกนีเซียมนั้นเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย ซึ่งช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาททำงานได้อย่างปกติ ทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ, ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง
นอกจากนั้นยังพบว่า แมกนีเซียมอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้อีกด้วย NIH กล่าวว่า วิธีที่จะทำให้ได้รับวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ อย่างเพียงพอ คือ การรับประทานอาหารที่หลากหลายและสมดุล ตัวอย่างอาหารที่เป็นแหล่งของแมกนีเซียมประกอบด้วย ผักใบเขียว เช่น ผักโขม, ถั่วชนิดต่าง ๆ และธัญพืชชนิดที่ไม่แปรรูป หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเพาะกับตัวคุณควรปรึกษาแพทย์