ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง (Hyperkalemia) เป็นภาวะที่โพแทสเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ ตามปกติแล้วร่างกายต้องการโพแทสเซียมเพื่อให้เซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อรวมถึงหัวใจทำงานได้อย่างปกติและเหมาะสม แต่หากมีระดับโพแทสเซียมที่มากกว่า 7.0 mmol/L ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
บางครั้งอาจพบว่าระดับโพแทสเซียมที่สูงขึ้นเป็นไปแบบหลอกๆ ซึ่งเกิดจากการเจาะเลือดหรือเซลล์เม็ดเลือดที่แตก ทำให้โพแทสเซียมรั่วออกมาจากเซลล์ แล้วเข้าไปอยู่ในตัวอย่างเลือดที่นำมาตรวจ หากเป็นเช่นนี้แพทย์จะต้องตรวจซ้ำอีกครั้งว่าเกิดจากภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงจริงหรือไม่
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการของภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง
แพทย์มักจะตรวจไม่พบภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงจากการตรวจดูอาการภายนอกเพียงอย่างเดียว เว้นแต่จะมีการตรวจเลือด (Blood test) ที่ดำเนินการเพื่อตรวจโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่แล้ว หรือเพื่อติดตามผลการใช้ยารักษาอาการนั้นๆ ซึ่งไม่ใช่การตรวจเพื่อหาภาวะนี้โดยตรง
อย่างไรก็ตาม ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงอาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ร่างกายอ่อนแอ
- กล้ามเนื้ออ่อนล้า
- รู้สึกเสียวซ่านหรือชา
- หายใจลำบาก
- การเต้นหัวใจผิดปกติ (arrhythmia)
- อัมพาต (Paralysis)
สาเหตุของภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง
ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงจะเกิดขึ้นเมื่อไตไม่สามารถขับถ่ายโพแทสเซียมได้ หรือไม่สามารถขับเคลื่อนโพแทสเซียมจากกระแสเลือดไปยังเซลล์ร่างกายได้อย่างเหมาะสม หรือเมื่อภาวะทั้งสองเกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งมักเกิดจากความผิดปกติของไตดังนี้
- ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute kidney failure) เกิดจากไตหยุดกรองของเสียออกจากเลือด นำไปสู่การสะสมของเสียในเลือดในระดับที่น่าเป็นห่วง
- ภาวะไตวายเรื้อรัง (Chronic kidney disease) เกิดจากไตสูญเสียการทำงานตลอดเวลา เมื่อโรคนี้กำเริบหนักขึ้น ของเหลวต่างๆ รวมทั้งสารอิเล็กโทรไลต์ (Electrolytes) และของเสียจะสะสมในร่างกาย
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงเช่นกัน ได้แก่
- โรคแอดดิสัน (Addison's disease)
- โรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism)
- การใช้ยาบางประเภท
- การใช้ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACE inhibitor
- การใช้ยา Angiotensin receptor blockers (ARBs) ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคไต
- การบาดเจ็บหรือการเผาไหม้ที่ไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง
- การรับประทานผลิตภัณฑ์โพแทสเซียมเสริมที่มากเกินไป
- เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1)
- เซลล์แตกที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการทำเคมีบำบัดเพื่อรักษามะเร็งที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia)
การรักษาภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง
ผู้ป่วยที่มีภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงที่เกิดจากโรคไตวาย การรักษาด้วยการฟอกไต (Hemodialysis) เป็นวิธีที่ให้ผลดีที่สุดในการขับโพแทสเซียมออกจากร่างกาย นอกจากนี้แพทย์อาจสั่งยาบางชนิดให้รับประทานเพื่อเอาโพแทสเซียมที่อยู่ในกระแสเลือดกลับเข้าสู่เซลล์ และช่วยให้ร่างกายขับโพแทสเซียมส่วนเกินออกจากร่างกาย เช่น
- อินซูลิน (Insulin) มักเป็นแบบผสมกับกลูโคส
- โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate)
- สารในกลุ่มบีตา-อะโกนิสต์ (Beta-agonist)
- ยาขับปัสสาวะ (Diuretics)
- Binding resins เช่น Kayexalate (sodium polystyrene sulfonate)
ผู้ป่วยบางคนอาจต้องการแคลเซียมเพื่อช่วยดูแลหัวใจด้วย ในกรณีที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Dysrhythmias) จากภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง แพทย์อาจให้รับประทานหรือหลีกเลี่ยงอาหารและสมุนไพรบางชนิด ซึ่งแพทย์บางคนอาจแนะนำให้ใช้วิธีรักษาแบบทางเลือกร่วมด้วย เช่น การฝังเข็ม (Acupuncture) การนวด หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ เพื่อช่วยรักษาอาการ
ภาวะโพแทสเซียมต่ำใรหญิงที่ให้นมบุตรค่ะ