การล้างไต เป็นการทำงานแทนไตที่ไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ หรือเมื่อการทำงานของไตเหลือประมาณ 10-15% ในระหว่างการล้างไต เครื่องฟอกไตจะนำเกลือ น้ำ และของเสียต่าง ๆ ออกจากกระแสเลือด เพื่อช่วยควบคุมความดันโลหิต สมดุลของวิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ ในร่างกาย การล้างไตมักจะทำในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายระยะสุดท้าย และในผู้ป่วยที่เกิดภาวะไตวายแบบเฉียบพลัน
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
วิธีการล้างไต
ก่อนจะเริ่มทำการล้างไต แพทย์จะผ่าตัดเพื่อสร้างเส้นเลือดที่สามารถนำเลือดออกจากร่างกายเข้าสู่เครื่องล้างไต การผ่าตัดนี้มักทำบริเวณแขน เมื่อเข้าสู่การล้างไตแต่ละครั้ง แพทย์จะชั่งน้ำหนัก วัดความดัน ชีพจร และอุณหภูมิ และทำความสะอาดผิวหนังบริเวณเส้นเลือดที่จะใช้ล้างไต
การล้างไตสามารถทำในโรงพยาบาลหรือที่บ้านก็ได้ โดยแพทย์จะใช้เข็ม 2 เข็มที่เชื่อมกับท่อที่ต่อเข้าเครื่องล้างไตเจาะเข้าสู่บริเวณแขน เครื่องล้างไตจะนำเลือดออกมาทางเข็มที่หนึ่ง เพื่อนำสารน้ำส่วนเกินและของเสียออกจากเลือดเข้าสู่น้ำยาล้างไต ก่อนจะนำเลือดที่ฟอกแล้วกลับเข้าสู่ร่างกายทางเข็มที่สอง
ตามปกติแล้ว ผู้ป่วยโรคไตจะต้องล้างไตประมาณ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช้เวลาประมาณครั้งละ 3-4 ชั่วโมง ขณะล้างไต ผู้ป่วยสามารถนั่งดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ หรือนอนหลับได้
ในระหว่าง หรือหลังการล้างไต ผู้ป่วยอาจพบอาการดังต่อไปนี้ได้
- เป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อ
- ปวดหัว คลื่นไส้ เวียนหัว
- มึนงง
- ความดันโลหิตต่ำ หรือความดันโลหิตสูง
- มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
- ซีด
- มีโรคเกี่ยวกับกระดูก
- มีสารน้ำเกินในกระแสเลือด
- เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง
- มีการติดเชื้อหรือเกิดการอุดตันที่บริเวณเส้นเลือดที่ใช้ล้างไต
- ภาวะซึมเศร้า
- เกิดการสะสมของโปรตีนอะมีลอยด์ (Amyloid) ตามข้อหรือเอ็นกล้ามเนื้อ
- อ่อนเพลีย
อาหารสำหรับผู้ป่วยล้างไต
แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานอาหารบางประเภทเป็นพิเศษระหว่างที่ล้างไต เช่น อาหารที่มีโปรตีนสูง หรืออาหารที่มีโพแทสเซียม โซเดียม ฟอสฟอรัสและน้ำในปริมาณจำกัด