กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia)

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

ความหมายและประเภทของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ (Arrhythmia) คือ ภาวะที่อัตราการเต้นของหัวใจมีความผิดปกติไปจากเดิม โดยสามารถแบ่งอย่างง่ายๆ โดยใช้อัตราการเต้นหัวใจ ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. แบรดดีคาร์เดีย (Bradycardia) คือ หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ
  2. แทคคีคาร์เดีย (Tachycardia) คือ หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ

ซึ่งในกลุ่มหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติสามารถแบ่งย่อยได้ตามส่วนของหัวใจที่ผิดปกติ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • สาเหตุจากหัวใจห้องบน (Atrium) คือจุดเริ่มต้นของสัญญาณที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติมาจากหัวใจห้องบน ตัวอย่างของความผิดปกติได้แก่ Atrial fibrillation, Atrial flutter, Supraventricular tachycardia และ Wolff-Parkinson-White syndrome เป็นต้น
  • สาเหตุจากหัวใจห้องล่าง (Ventricle) คือจุดเริ่มต้นของสัญญาณที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติมาจากหัวใจห้องล่าง ตัวอย่างของความผิดปกติได้แก่ Ventricular tachycardia, Ventricular fibrillation และ long QT syndrome เป็นต้น

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดนั้นไม่ได้เกิดอันตรายต่อร่างกาย แต่ในบางภาวะก็มีอันตรายถึงชีวิตซึ่งหมายถึงทำให้หัวใจหยุดเต้น หรือหัวใจวายได้

สาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากสัญญาณไฟฟ้าที่ควบคุมการเต้นของหัวใจทำงานผิดปกติ โดยอาจเป็นผลมาจากเซลล์ประสาทที่คอยนำสัญญาณไฟฟ้าถูกทำลาย หรือมีประสิทธิภาพการนำสัญญาณไฟฟ้าลดลง จนไปรบกวนจังหวะการเต้นของหัวใจ 

นอกจากนี้ ผลข้างเคียงของยาบางชนิดยังทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้เช่นกัน แม้กระทั่งยาที่ขายตามร้านขายยาทั่วไป เช่น 

  • ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก (Tricyclic antidepressant) 
  • ยาแก้แพ้กลุ่มต้านฮิสทามีน (Antihistamine) 
  • ยากลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta blocker)  

นอกเหนือจากยาบางชนิดแล้ว ยาเสพติดบางประเภท เช่น โคเคน (Cocaine) เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamines) หรือยาบ้า รวมถึงสารจำพวกคาเฟอีนและนิโคติน ก็ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมักจะพบบ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือโรคอื่นๆ ที่จะทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้มากกว่า

อาการของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะหลายชนิดมักไม่มีอาการแสดงออกมา แต่ก็ยังมีอาการบางอย่างที่สามารถสังเกตได้ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ใจสั่น โดยผู้ป่วยอาจรู้สึกสั่นๆ ในอก หรือรู้สึกหัวใจเต้นรัวและแรงมาก
  • รู้สึกหัวใจหยุดเต้นเป็นพักๆ ไม่เต้นตามจังหวะปกติ หรือรู้สึกว่าจังหวะการเต้นไม่สม่ำเสมอ
  • เพลีย อ่อนแรง วิงเวียนศีรษะ
  • หัวใจเต้นช้า

หัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะในขณะที่หัวใจเต้นผิดจังหวะอยู่นั้น หัวใจจะไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้และอาจหยุดทำงาน ดังนั้น หากผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้ก็ควรเรียกรถพยาบาล หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉินทันที ได้แก่

  • แขนขาอ่อนแรงฉับพลัน เวียนศีรษะ หรือปวดศีรษะ
  • เป็นลมหรือหน้ามืด
  • หายใจไม่สะดวก
  • เจ็บแน่นหน้าอก

ปัจจัยเสี่ยงของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ปัจจัยเสี่ยงของหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบได้ทั่วไป ได้แก่

  • หัวใจวาย
  • หัวใจล้มเหลวหรือกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม
  • ลิ้นหัวใจผิดปกติ
  • หัวใจพิการแต่กำเนิด
  • ความดันโลหิตสูง
  • ภาวะหยุดหัวใจขณะหลับ
  • ยาบางชนิดที่ซื้อได้ตามร้านขายยา
  • ยาเสพติด เช่น โคเคนหรือยาบ้า
  • ได้รับคาเฟอีนหรือนิโคตินมากเกินไป
  • เครียดจัดหรือโกรธจัด

การวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ

มีวิธีการตรวจ และเครื่องมือหลายอย่างที่สามารถตรวจหาหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ แต่การจะวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดจังหวะได้นั้น จะต้องอาศัยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG หรือ EKG) เช่น

  • เครื่องโฮลเตอร์ มอนิเตอร์ (Holter monitor): มีลักษณะเป็นเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แบบพกพาได้ โดยมีแผ่นแปะ หรือสติ๊กเกอร์เล็กๆเป็นตัวรับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แพทย์จะแปะแผ่นดังกล่าวหลายตำแหน่งบนร่างกายและหน้าอก จากนั้นแผ่นตัวรับสัญญาณเหล่านี้จะสร้างภาพจำลองของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แล้วแพทย์จะตรวจดูว่ามีคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติอยู่ตำแหน่งใด ซึ่งโดยปกติแพทย์จะติดเครื่อง Holter monitor ประมาณ 24-48 ชั่วโมง
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram: ECHO): เป็นอัลตราซาวด์ประเภทหนึ่งที่ใช้คลื่นความถี่สร้างภาพจำลองของหัวใจ และสามารถใช้ในการวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ด้วยเช่นกัน
  • การตรวจสมรรถภายหัวใจด้วยการออกกำลังกาย (Stress test): เป็นการทดสอบโดยให้ผู้ป่วยออกกำลัง เช่น วิ่งสายพาน ปั่นจักรยาน ใช้ยากระตุ้นหัวใจให้คล้ายกับการออกกำลังกาย ซึ่งการออกกำลังนี้จะไปกระตุ้นให้หัวใจเกิดการเต้นผิดจังหวะ และแพทย์ก็จะสามารถวินิจฉัยอาการได้

การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถรักษาได้โดยการใช้ยา การทำหัตถการ หรือการผ่าตัด ตามสาเหตุของความผิดปกติ 

ตัวยาที่ให้ผู้ป่วยจะช่วยชะลอจังหวะการเต้นของหัวใจหากหัวใจเต้นเร็วเกินไป และช่วยทำให้การเต้นของหัวใจสม่ำเสมอขึ้น กลุ่มยาที่ใช้รักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ ได้แก่ 

  • ยากลุ่มเบตา บล็อคเกอร์ (Beta blocker) 
  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) 
  • ยากลุ่มแคลเซียม แชแนล บล็อคเกอร์ (Calcium channel blocker) 
  • ยากลุ่มแอนติอาร์ริทมิก (Antiarrhythmic Drugs)

ส่วนกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ สามารถรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จะใส่เข้าไปใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอก 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เครื่องจะตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าที่ไปกระตุ้นหัวใจ และควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ว่ามีความผิดปกติอย่างไร

สำหรับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD) ผู้ป่วยจะต้องรักษาด้วยการใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (intracoronary stent) หรือ ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft: CABG) ซึ่งนิยมเรียกกันสั้นๆ "ทำบายพาส" 

สำหรับวิธีการทำบายพาสนั้น ศัลยแพทย์จะผ่าตัดนำหลอดเลือดที่อยู่ในสภาพดี เช่น บริเวณที่แขน หรือขา แล้วนำมาทำทางเบี่ยง หรือบายพาสให้เลือดไหลในหลอดเลือดที่ดีกว่าแทนหลอดเลือดหัวใจที่อุดตัน

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับหัวใจเต้นผิดจังหวะ

นอกจากยาและการผ่าตัดแล้ว แพทย์ได้แนะนำให้ปรับพฤติกรรมง่ายๆ ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีไขมันและเกลือต่ำ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลิกบุหรี่
  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นภาวะที่นำไปสู่อันตรายถึงชีวิตได้ หากพบว่าตนเองมีความผิดปกติควรพบแพทย์โดยทันที และไม่ควรซื้อยารับประทานเองเนื่องจากยาที่ใช้รักษามีผลข้างเคียงที่จำเป็นต้องได้รับการปรับขนาดและประเมินผลข้างเคียงโดยแพทย์


25 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
About Arrhythmia. American Heart Association. (https://www.heart.org/en/health-topics/arrhythmia/about-arrhythmia)
Arrhythmia: Causes, symptoms, types, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/8887)
Arrhythmia | Irregular Heartbeat. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/arrhythmia.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ภาวะหัวใจเต้นกระตุกเเรง1ครั้ง แล้วก็เต้นปกติอีกประมาณ15-20นาทีก็จะเต้นเเรงอีก1ครั้งเกิดจากอะไร และเป็นภาวะเริ่มต้นของโรคหัวใจรั้วใช่หรือไม่คร้บ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
หัวใจเต้นผิดจังหวะต้องดูแลตัวเองอย่างไรดี
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
จะดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างไรคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ลูก 7 ขวบ เมื่อลูกหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรดูแลลูกอย่างไหร่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะอันตรายไหมคะ แล้วมีวิธีตรวจสอบให้ละเอียดอย่างไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)