การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือเรียกว่า อิเล็กโทรคาร์ดิโอแกรม (Electrocardiogram: ECG หรือ Elektrokardiogram: EKG) คือ การทดสอบจังหวะการเต้นและกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจ
ระหว่างการตรวจจะมีการติดเซนเซอร์บนผิวหนังเพื่อตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าที่มาจากการเต้นของหัวใจในแต่ละครั้ง ซึ่งสัญญาณเหล่านี้จะถูกบันทึกโดยเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และสามารถพิมพ์ออกมาในรูปแบบกระดาษได้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
จะต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเมื่อไร?
ผู้ที่เข้ารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมักถูกส่งมาจากแพทย์ทั่วไปหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจ เพื่อยืนยันข้อสงสัยว่า หัวใจของผู้ป่วยมีปัญหาหรือไม่ การทดสอบนี้ ส่วนมากจะดำเนินการในโรงพยาบาลหรือคลินิกของแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจ
โดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมักถูกใช้ร่วมกับการทดสอบอื่นๆ เพื่อช่วยวินิจฉัย และสอดส่องสภาวะหัวใจของผู้ป่วย และยังถูกใช้เพื่อตรวจสอบอาการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางหัวใจ หรือผู้ใช้ยาที่มีผลต่อหัวใจ เช่น อาการเจ็บหน้าอก เวียนศีรษะ หายใจสั้น หรือใจสั่น
โดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสามารถตรวจจับสภาวะผิดปกติกับหัวใจได้ ดังนี้
- โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ: อัตราการเต้นหัวใจช้าเกินไป เร็วเกินไป หรือผิดปกติ
- โรคหลอดเลือดหัวใจ: หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเกิดการอุดตัน หรือถูกขัดจากการสะสมกันของสารจำพวกไขมัน
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด: ไม่มีเลือดไปเลี้ยงหัวใจอย่างเฉียบพลัน
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม: ผนังหัวใจหนาหรือขยายขึ้น
ประเภทของการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีอยู่ 3 ประเภทหลักๆ คือ
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะพัก: เป็นการตรวจระหว่างที่คุณนอนอยู่ในท่าทางผ่อนคลาย
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย: การทดสอบขณะที่คุณใช้ลู่วิ่งหรือจักรยานออกกำลังกายอยู่
- การติดตั้งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง: จะมีการติดตั้งเครื่องมือขนาดพกพาที่ตัวของคุณเพื่อให้มีการเก็บข้อมูลคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอดเวลา อาจเป็นการทดสอบอยู่ที่บ้าน หรือโรงพยาบาลก็ได้ โดยการทดสอบนี้จะใช้เวลา 1-2 วัน
สำหรับประเภทที่เหมาะสมที่สุดนั้น แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกให้เข้ากับอาการและปัญหาทางหัวใจของคุณเอง ยกตัวอย่างเช่น
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย จะใช้ก็ต่อเมื่ออาการทางหัวใจของคุณแสดงออกมาเมื่อมีกิจกรรมทางร่างกาย (เวลาที่ออกแรง)
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง จะใช้ก็ต่อเมื่อแพทย์ไม่สามารถคาดการณ์เวลาที่หัวใจแสดงอาการออกมาได้
ความเสี่ยง หรือผลข้างเคียงของการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการทดสอบที่รวดเร็ว ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ และไม่มีการใช้กระแสไฟฟ้ากับร่างกายของคุณระหว่างการทำการตรวจ แต่ก็อาจทำให้มีผลข้างเคียงดังนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- คุณอาจรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัวเล็กน้อยจากการถอนอิเล็กโทรดออกจากผิวหนัง (ความรู้สึกเหมือนกับการดึงสติ๊กเกอร์ออกจากผิว) และบางคนอาจมีผื่นขึ้นตรงจุดที่ติดตั้งแผ่นอิเล็กโทรด
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกแรงมีโอกาสที่จะส่งผลต่อหัวใจของคุณได้ เช่น เกิดอาการเจ็บหน้าอก มีหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเกิดภาวะหัวใจขึ้นเฉียบพลัน
แต่ส่วนมากมักไม่เกิดขึ้น เนื่องจากระหว่างการตรวจจะมีแพทย์คอยสอดส่องกิจกรรมหัวใจของคุณตลอดการทดสอบ ซึ่งแพทย์จะยุติการทดสอบทันทีที่พวกเขาสังเกตเห็นความผิดปกติ
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
คุณไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอะไรก่อนเข้ารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หมายความว่า คุณสามารถดื่ม หรือรับประทานอาหารก่อนเข้าทดสอบได้ตามปกติ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีขั้นตอนอย่างไร?
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีอยู่หลากหลายวิธีการด้วยกัน โดยทั่วไปการทดสอบจะมีการใช้เซนเซอร์ขนาดเล็กหลายตัวที่เรียกว่า อิเล็กโทรด (Electrode) ติดบนผิวหนังช่วงอก ขา และแขนของผู้รับการทดสอบ ซึ่งเซนเซอร์เหล่านี้จะเชื่อมต่อไปยังเครื่องบันทึกผลอีกที
ก่อนที่จะติดตั้งปุ่มอิเล็กโทรด คุณต้องเปลื้องเสื้อผ้าส่วนบนออก และอาจมีการโกนขนบริเวณหน้าอกที่ต้องติดเซนเซอร์กับผิวด้วย หลังจากที่แพทย์ติดตั้งเซนเซอร์กับร่างกายผู้เข้ารับการตรวจแล้ว คุณก็สามารถสวมใส่เสื้อคลุมยาวที่ทางโรงพยาบาลจัดมาให้ได้
การทดสอบประเภทนี้กินเวลาไม่กี่นาที ซึ่งคุณสามารถกลับบ้าน หรือกลับไปยังห้องพักฟื้นได้หลังจากการทดสอบเสร็จสิ้น
การเข้ารับผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เครื่องบันทึกการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทั่วไปมักแสดงผลการเต้นและกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจของคุณบนหน้าจอ หรือบนกระดาษแสดงผล ส่วนการตรวจคลื่นไฟฟ้าตลอด 24 ชม. เครื่องบันทึกผลขนาดเล็กจะทำการบันทึกข้อมูลทางไฟฟ้าของหัวใจคุณเอาไว้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งให้แพทย์ประเมินหลังเสร็จสิ้นการทดสอบ
โดยหลังจากที่ได้ผลการตรวจ ผู้เชี่ยวชาญจะนำไปตีความเพื่อหาสัญญาณของปัญหาที่แสดงออกมา ซึ่งอาจมีการใช้การทดสอบอื่นๆ ร่วมด้วย เพื่อทำให้การวินิจฉัยโรคแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยคุณอาจรับฟังผลการตรวจได้ทันที หรือต้องเข้าพบแพทย์ตามนัดอีกครั้ง หลังจากการทดสอบไม่กี่วันเพื่อฟังผลการตรวจของคุณก็ได้
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
Q&A
1. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเหมือนกับการตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจหรือไม่
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรืออิเล็กโทรคาร์ดิโอแกรมนั้น ชื่อจะคล้ายคลึงกับการตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ หรือเอคโคคาร์ดิโอแกรม (Echocardiogram) ทำให้คนเข้าใจผิดว่า เป็นการตรวจเหมือนกัน แต่ทั้งสองนั้นเป็นกระบวนการตรวจที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจราคาเท่าไร?
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมักรวมอยู่ในแพ็กเกจการตรวจสุขภาพหัวใจทั่วไปของแต่ละโรงพยาบาล โดยคุณสามารถดูได้ที่ตารางการตรวจว่า มีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ECG หรือ EKG รวมอยู่หรือไม่ โดยราคาจะเริ่มตั้งแต่ 2,500 – 6,000 บาท
หาคุณสนใจตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือตรวจสุขภาพหัวใจทั่วไป สามารถเปรียบเทียบแพ็กเกจราคาตรวจหัวใจจากโรงพยาบาลชั้นนำได้ ที่นี่ เลย หรือแอดไลน์ @hdcoth เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือจองคิวตรวจหัวใจได้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง Echo