กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ. วรรณวนัช เสถียนธรรมมณี แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ. วรรณวนัช เสถียนธรรมมณี แพทย์ทั่วไป

การตรวจเอ็กโคคาร์ดีโอแกรม Echocardiogram

การตรวจนี้จะทำให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจสามารถมองเห็นหัวใจได้ชัดขึ้น
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 7 ธ.ค. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 ธ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การตรวจเอ็กโคคาร์ดีโอแกรม Echocardiogram

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • Echocardiogram หรือเรียกสั้นๆ ว่า เอ็กโค (Echo) คือ การส่งคลื่นเสียงเข้าไปในทรวงอก และรับเสียงสะท้อนออกมาแปลเป็นภาพ ซึ่งจะแสดงการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจว่าปกติไหม
  • การทำ Echo สามารถใช้วินิจฉัยภาวะของหัวใจได้หลายประเภท เช่น ความเสียหายจากโรคหัวใจ ปัญหาที่ลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม
  • การทำเอ็กโคมี 3 ประเภทหลักๆ คือ ตรวจหัวใจผ่านทางผนังหน้าอก ตรวจผ่านทางหลอดอาหาร โดยใส่ท่อขนาดเล็กที่มีหัวตรวจเข้าไปทางคอหอย และการตรวจระหว่างออกกำลังกาย เป็นการตรวจทั้งก่อนและหลังจากการเดินสายพานหรือการปั่นจักรยาน 
  • ก่อนการตรวจนี้สามารถรับประทานอาหาร ยา และกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ เว้นแต่แพทย์จะสั่งห้าม หากมีการใช้ยาชาในการตรวจ ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ร้อนจัด หรือเย็นจัด จนกว่าฤทธิ์ยาจะหมด
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหัวใจ

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง หรือเอ็กโคคาร์ดีโอแกรม (Echocardiogram) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ตรวจเอ็กโค (Echo) เป็นการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงที่หัวใจและแสดงการเต้นของหัวใจ

การตรวจนี้มีประโยชน์ในการระบุความผิดปกติภายในหัวใจและลิ้นหัวใจ โดยจะใช้คลื่นเสียงระหว่างการตรวจเพื่อสร้างภาพของหัวใจขึ้นมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตรวจ Echocardiogram คืออะไร?

การตรวจ Echocardiogram คือ การส่งคลื่นเสียงที่ปลอดภัยเข้าไปในทรวงอก และรับเสียงที่สะท้อนออกมาไปแปลเป็นภาพให้เห็นบนจอ ซึ่งจะแสดงถึงรูปร่าง ขนาด และการทำงาน ของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจว่าปกติหรือไม่

แพทย์จะใช้การตรวจ Echocardiogram เมื่อไร?

การตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจสามารถใช้วินิจฉัยและสอดส่องภาวะของหัวใจได้หลายประเภท โดยการตรวจโครงสร้างและหลอดเลือดรอบหัวใจ วิเคราะห์การไหลเวียนโลหิต และประเมินการเต้นของหัวใจแต่ละห้อง

ซึ่งแพทย์จะใช้เพื่อตรวจหาความผิดปกติ ดังนี้

  • ความเสียหายจากโรคหัวใจ: เกิดจากภาวะที่หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจเกิดอุดตันกะทันหัน
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว: หัวใจไม่สามารถสร้างแรงดันให้สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด: เกิดจากความผิดปกติที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจตั้งแต่กำเนิด
  • ปัญหาที่ลิ้นหัวใจ: ลิ้นหัวใจเป็นอวัยวะที่ใช้ควบคุมการไหลของเลือดภายในหัวใจ
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม: เป็นภาวะที่ผนังหัวใจเกิดการแข็งตัวหรือขยายออก
  • ภาวะเยื่อบุหัวใจอักเสบ: เป็นการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ
  • ตรวจเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมในการตัดสินใจเลือกแนวทางรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจต่างๆ

การตรวจ Echocardiogram แสดงผลอะไรบ้าง?

  • ขนาดของหัวใจ: แต่ละห้องของหัวใจหรือผนังกล้ามเนื้อของหัวใจอาจมีการโตขึ้นซึ่งเกิดจากลิ้นหัวใจที่ถูกทำลาย ความดันโลหิตสูง หรือโรคอื่นๆ
  • ลิ้นหัวใจ: การตรวจจะแสดงว่าลิ้นหัวใจของคุณมีรูปร่างปกติหรือไม่ เปิดและปิดเหมาะสมหรือไม่ หรือว่ามีการรั่วหรือไม่
  • อันตรายที่เกิดกับกล้ามเนื้อหัวใจ: หากคุณเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดหัวใจ หรือโรคอื่นๆ อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายได้
  • ความผิดปกติของหัวใจ: การตรวจนี้สามารถใช้ตรวจปัญหาที่เกิดขึ้นภายในห้องหัวใจ การไหลเวียนเลือดจากหัวใจและเส้นเลือดใหญ่ที่ผิดปกติ และความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิดได้ทั้งหมด
  • ความสามารถของหัวใจในการสูบฉีดเลือด: เมื่อหัวใจของคุณไม่สามารถปั๊มเลือดออกไปได้ในปริมาณที่เหมาะสม จะส่งผลทำให้เกิดภาวะหัวใจวายตามมา
  • การตรวจนี้สามารถระบุ Ejection Fraction (EF): EF คือ เปอร์เซนต์ของเลือดที่ถูกสูบฉีดออกจากห้องหัวใจเปรียบเทียบกับปริมาณเลือดในหัวใจห้องล่างในแต่ละครั้ง และปริมาณเลือดที่ร่างกายสูบฉีดออกไปภายใน 1 นาที นอกจากนี้ ลิ่มเลือด เนื้องอก และก้อนเนื้อที่เกิดจากการติดเชื้อก็สามารถมองเห็นได้จากการตรวจนี้เช่นกัน

เกิดอะไรขึ้นระหว่างการตรวจ Echocardiogram?

การตรวจนี้เป็นการตรวจที่ไม่เจ็บและไม่อันตราย โดยส่วนมากแล้ว คุณจะต้องนอนลงบนเตียงตรวจจากนั้นแพทย์อายุรกรรมหัวใจจะทาเจลลงบนหน้าอกและเก็บข้อมูลจากหัวเครื่องตรวจ (probe) ที่ส่งสัญญาณคลื่นเสียงออกไปและสะท้อนกลับมาส่งสัญญาณเป็นภาพ

โดยการตรวจ Echocardiogram จะใช้เวลาในการตรวจประมาณ 20-40 นาที 

ประเภทของการตรวจ Echocardiogram

  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางผนังหน้าอก (Transthoracic echocardiogram): เป็นการตรวจที่เป็นมาตรฐาน และจะใช้หัวตรวจเคลื่อนที่ไปทั่วๆ ผนังหน้าอกเพื่อให้เห็นภาพของหัวใจ
  • ารตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจผ่านทางหลอดอาหาร (Transesophageal echocardiogram): การตรวจนี้จะใส่ท่อขนาดเล็กที่มีหัวตรวจอยู่ภายในเข้าไปทางคอหอยและหลอดอาหาร การตรวจนี้จะทำให้ได้ภาพของหัวใจที่ชัดมากขึ้น โดยเฉพาะผนังด้านหลังของหัวใจ
  • การตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจระหว่างออกกำลังกาย (Stress echocardiogram): เป็นการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงก่อนและหลังจากการเดินสายพานหรือการปั่นจักรยาน การตรวจนี้จะช่วยให้สามารถระบุปัญหาที่เกิดขึ้นกับเส้นเลือดที่เลี้ยงหัวใจได้
    หากคุณไม่สามารถออกกำลังกายได้ คุณอาจจะต้องใช้การฉีดยาซึ่งจะเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อจำลองผลของการออกกำลังกาย

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ก่อนเข้ารับการตรวจ Echocardiogram

ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเข้ารับการตรวจหากคุณมีภาวะดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • มีประวัติเคยได้รับการฉายแสงที่บริเวณลำคอ หรือหน้าอก
  • เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดอาหารต่างๆ เช่น โรคหลอดอาหารตีบ โรคหลอดอาหารเป็นแผลรุนแรง
  • เป็นโรคที่เกี่ยวเนื่องกับกระดูกสันหลังบริเวณคอ

ภาวะดังกล่าวอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการตรวจได้ เช่น

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อึดอัด หายใจลำบาก
  • เลือดออกเล็กน้อยบริเวณช่องปาก หรือลำคอ
  • ชีพจรเต้นเร็ว หรือเต้นช้าผิดปกติ

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ Echocardiogram

  • งดอาหารและเครื่องดื่มจำพวกแอลกอฮอล์ หรือน้ำหวาน ก่อนการตรวจอย่างน้อย 4 ชั่วโมง (สามารถรับประทานน้ำเปล่าได้)
  • งดกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากก่อนการตรวจ เช่น การออกกำลังกาย
  • หากตรวจแบบ Stress echocardiogram หรือการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงร่วมกับการออกกำลังกาย ให้สวมใส่เสื้อผ้าและรองเท้าที่เหมาะสำหรับการออกกำลังกาย เพราะต้องเดิน หรือวิ่งบนสายพานด้วย
  • งดรับประทานยาประจำตัวในตอนเช้าก่อนเข้ารับการตรวจ ยกเว้นแพทย์สั่งไม่ให้งด อย่างไรก็ตาม หากเป็นยาที่จำเป็นต้องรับประทานเป็นประจำ เช่น ยารักษาโรคจิตเวช หรือยารักษาโรคเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
  • แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาที่กำลังรับประทานยา หรืออาหารเสริมก่อนเข้ารับการตรวจ (แนะนำให้นำยามาให้แพทย์ดูเลย)

ความเสี่ยง หรือผลข้างเคียงของการตรวจ Echocardiogram

การตรวจ Echocardiogram เป็นกระบวนการที่ปลอดภัย ไร้ความเจ็บปวด เนื่องจากการตรวจด้วยวิธีนี้ไม่มีการแผ่รังสีใดๆ อย่างไรก็ตาม ก็มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการตรวจ Echocardiogram บางประเภท ดังนี้

  • Stress echocardiogram อาจทำให้คุณรู้สึกคลื่นไส้ เวียนหัว และอาจมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วยระหว่างออกกำลังกาย อีกทั้งมีโอกาสเล็กน้อยที่การทดสอบจะทำให้หัวใจของคุณเต้นผิดจังหวะ หรือเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด
  • Transesophageal echocardiogram อาจทำให้ลำคอระคายเคือง และอาจมีอาการปวดเล็กน้อยไม่กี่ชั่วโมงหลังการทดสอบ อีกทั้งยังมีโอกาสที่แท่งตรวจจะสร้างความเสียหายแก่ภายในลำคออีกด้วย

แนวทางการปฏิบัติหลังการตรวจ Echocardiogram

  • สามารถรับประทานอาหาร ยา และทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ เว้นแต่แพทย์จะสั่งห้าม
  • หากมีการใช้ยาชาในการตรวจ ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ร้อนจัด หรือเย็นจัด จนกว่าฤทธิ์ยาจะหมด
  • หากเป็นการตรวจแบบ Transesophageal echocardiogram จะไม่สามารถขับขี่ยานพาหนะได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการทดสอบเนื่องจากฤทธิ์ของยาระงับประสาทยังไม่หมด

สามารถตรวจ Echocardiogram ได้ที่ไหน?

ปกติแล้ว การตรวจ Echocardiogram มักอยู่รวมในแพ็กเกจตรวจสุขภาพและหัวใจตามโรงพยาบาลชั้นนำต่างๆ ซึ่งก็มีราคาแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับจำนวนรายการตรวจของแต่ละที่ แต่ก็มีบางโรงพยาบาลที่มีโปรแกรมการตรวจเฉพาะ Echocardiogram เพียงอย่างเดียวเช่นกัน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหัวใจ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

บทความที่เกี่ยวข้อง

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง Echo
รีวิว ตรวจเอคโค่ (ECHO) หัวใจ ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตรวจ ECHO หัวใจคืออะไร จำเป็นไหม? อ่านสรุปได้ที่นี่, (https://hdmall.co.th/c/echocardiogram).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

ทำความรู้จักการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ใครบ้างที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด มีความเสี่ยงไหม ต้องเตรียมตัวอย่างไร หลังการผ่าตัดต้องดูแลตัวเองอย่างไร

อ่านเพิ่ม
การผ่าตัดหัวใจ
การผ่าตัดหัวใจ

การผ่าตัดหัวใจสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย

อ่านเพิ่ม
การผ่าตัดหัวใจ (Heart surgery)
การผ่าตัดหัวใจ (Heart surgery)

ทำความเข้าใจการผ่าตัดหัวใจ (Heart surgery) แบบต่างๆ

อ่านเพิ่ม