กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล แพทย์ทั่วไป

การผ่าตัดหัวใจ (Heart surgery)

ทำความเข้าใจการผ่าตัดหัวใจ (Heart surgery) แบบต่างๆ
เผยแพร่ครั้งแรก 17 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 30 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 17 ธ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การผ่าตัดหัวใจ (Heart surgery)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • หากมีภาวะหัวใจรุนแรง หรือมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้รับการผ่าตัดหัวใจเพื่อควบคุมอาการ แต่จะเลือกผ่าแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับแพทย์พิจารณา รูปแบบต่างๆ มีดังนี้
  • การผ่าตัดเปิดหัวใจ เป็นการผ่าเปิดหน้าอกลงไปถึงหัวใจเพื่อขยายหลอดเลือด หรือผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือด มักใช้เพื่อบรรเทาอาการแน่นหน้าอก
  • การผ่าตัดลิ้นหัวใจ ใช้เพื่อแก้ไขกรณีที่ลิ้นหัวใจเสียหาย โดยการใส่ลิ้นบอลลูนแก้ปัญหาลิ้นหัวใจตีบ ซ่อมแซมลิ้นหัวใจแก้ปัญหาโรคลิ้นหัวใจ  และเปลี่ยนลิ้นหัวใจในกรณีที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้
  • การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีหลายรูปแบบย่อยๆ เช่น การใช้สายสวนจี้กล้ามเนื้อหัวใจ ซิงโครไนซ์คาร์ดิโอเวอร์ชัน การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดฝัง อุปกรณ์พยุงการทำงานของหัวใจ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหัวใจ

การผ่าตัดหัวใจ เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาภาวะหัวใจที่มีความรุนแรง การผ่าตัดหัวใจมีหลายรูปแบบ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าการผ่าตัดแบบใดจะเหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด

ทำไมถึงต้องเข้ารับการผ่าตัดหัวใจ?

หากภาวะหัวใจที่คุณเป็นอยู่มีอาการรุนแรง หรือมีแนวโน้มว่า จะรุนแรงมากขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดเพื่อควบคุมอาการ หรือเพื่อลดโอกาสเกิดภาวะหัวใจในอนาคต โดยการผ่าตัดหัวใจมีหลายรูปแบบ และมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. การผ่าตัดเปิดหัวใจ (Open Heart Surgery)

การผ่าตัดเปิดหัวใจเป็นการผ่าตัดที่จะมีการผ่าเปิดหน้าอกเข้าไปให้ถึงหัวใจ แบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่

1.1 การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน และการดามถ่างหลอดเลือด (Coronary Angioplasty and Stenting)

การผ่าตัดชนิดนี้ทำเพื่อเปิดช่องของหลอดเลือดแดงที่อุดตันหรือตีบแคบออก หลอดเลือดที่ตีบแคบจะถูกถ่างออกด้วยบอลลูน (Angioplasty) และจะมีการสอดลวดโลหะเข้าไปในหลอดเลือดเพื่อดามผนังหลอดเลือดให้เปิดอยู่ตลอดเวลา ทำให้เลือดไหลผ่านได้อย่างอิสระ การรักษานี้มักจะทำเพื่อบรรเทาอาการเจ็บแน่นหน้าอก (Angina)

1.2 การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Heart Bypass หรือ Coronary Artery Bypass Grafting: CABG)

การผ่าตัดประเภทนี้เป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจและภาวะแน่นหน้าอก โดยนำหลอดเลือดจากส่วนอื่นของร่างกายมาเย็บติดเข้ากับหลอดเลือดหัวใจในตำแหน่งเหนือหรือใต้จุดที่เกิดการอุดตันเพื่อทำทางเบี่ยงช่วยให้เกิดการไหลเวียนของเลือดอ้อมหลอดเลือดที่มีการอุดตัน

2. การผ่าตัดลิ้นหัวใจ (Valve Surgery)

หากลิ้นหัวใจเกิดความเสียหาย ก็จำเป็นจะต้องมีการผ่าตัดโดยวิธีต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2.1 การผ่าตัดใส่ลิ้นบอลลูน (Balloon Valve Surgery)

ลิ้นหัวใจที่ตีบแคบสามารถถูกยืดออกด้วยการผ่าตัดใส่ลิ้นบอลลูน ซึ่งจะมีการสอดท่อสายสวนพลาสติก (Catheter) เข้าไปในหลอดเลือดแดงใหญ่ผ่านทางขาหนีบ แล้วค่อยๆ นำท่อไปยังหัวใจ จากนั้นจะมีการสอดบอลลูนที่พองลมขนาดเล็กผ่านสายสวนเข้าไป 

เมื่อบอลลูนไปถึงตำแหน่งของลิ้นที่เสียหายแล้ว บอลลูนจะพองลมออกและยืดลิ้นหัวใจออก จากนั้นบอลลูนจะหดขนาดลงก่อนถูกดึงออกมาจากหัวใจพร้อมสายสวน

2.2 การซ่อมแซมลิ้นหัวใจ (Valve Repair)

การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจส่วนมากจะดำเนินการเพื่อรักษาโรคลิ้นหัวใจ โดยจะทำการผ่าตัดเพื่อรักษาลิ้นหัวใจที่ทำงานผิดปกติที่ยังพอซ่อมแซมได้ เช่น ไมตรัลไหลย้อนกลับ (Mitral Valve Regurgitation)

2.3 การเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Valve Replacement)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากลิ้นหัวใจไม่สามารถซ่อมแซมได้ แพทย์จะทำการเปลี่ยนเป็นลิ้นหัวใจเทียมที่อาจทำมาจากโลหะหรือเนื้อเยื่อหัวใจตามธรรมชาติแทน

2.4 TAVI (Transcatheter Aortic Valve Implantation)

ผู้ที่เคยเข้ารับการผ่าตัดมาก่อน หรือมีสุขภาพไม่พร้อมรับการผ่าตัด จะมีกระบวนการที่เรียกว่า TAVI ในการรักษาแทน โดยมีหลักปฏิบัติดังนี้

  • ผู้ป่วยจะได้รับยาชาเฉพาะที่ (Local Anaesthetic) หรือยาสลบ (General Anaesthetic)
  • จะมีการสอดสายสวนพร้อมบอลลูนที่ปลายเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ บริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า หรือผ่านรอยกรีดที่ผิวหนังหน้าอกเข้าไป สายสวนจะเข้าไปยังหัวใจภายในช่องเปิดของลิ้นเอออร์ติก
  • บอลลูนจะค่อยๆ พองตัวออกจนสร้างพื้นที่สำหรับใส่ลิ้นหัวใจใหม่ ลิ้นหัวใจใหม่จะขยายตัวออกด้วยตัวเองหรือขยายออกด้วยการใช้บอลลูน ขึ้นอยู่กับประเภทของลิ้นที่นำมาเปลี่ยน
  • บอลลูนจะลดขนาดลงก่อนถูกนำออกพร้อมสายสวน ลิ้นหัวใจใหม่จะอยู่ในตำแหน่งภายในลิ้นหัวใจเดิมของคุณ

3. การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

มีการบำบัดมากมายที่สามารถใช้ในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบว่าสาเหตุเกิดจากการส่งสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจผิดปกติได้ เช่น

3.1 การบำบัดด้วยการใช้สายสวนจี้กล้ามเนื้อหัวใจ (Ablation Therapy)

วิธีการนี้เป็นหัตถการที่มีการปล่อยเลเซอร์ไปทำลายสัญญาณทางไฟฟ้าที่เข้าไปรบกวนเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจตามธรรมชาติ

3.2 ซิงโครไนซ์คาร์ดิโอเวอร์ชัน (Synchronized Cardioversion)

วิธีนี้จะทำการช็อตหัวใจด้วยไฟฟ้าที่ปล่อยมาจากเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (Defibrillator) เพื่อฟื้นคืนจังหวะการเต้นที่เป็นปกติของหัวใจ

3.3 เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemakers)

เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ควบคุมแก้ไขจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ เมื่อเกิดปัญหาขึ้น อุปกรณ์นี้จะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปกระตุ้นห้องของหัวใจให้ทำการบีบรัดและคลายตัวเองในจังหวะที่ควรจะเป็น

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจมักจะถูกฝังเข้าร่างกายระหว่างการผ่าตัด หรือหลังจากประสบภาวะดังต่อไปนี้

  • เมื่อกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจไม่ประสานงานกันจนไม่สามารถทำให้หัวใจเต้นได้เพียงพอ (Heart Block)
  • เมื่อหัวใจเต้นเร็วเกินไปบางช่วงเวลา ภาวะเช่นนี้สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาชะลอการเต้นของหัวใจ อย่างไรก็ตาม ระหว่างช่วงเวลาที่หัวใจไม่ได้เต้นเร็วเกินไป ยาจะยังคงมีผลอยู่จนทำให้หัวใจเต้นช้าเกินไป และทำให้ต้องมีการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจเพื่อเร่งการทำงานของหัวใจขึ้น
  • หากจังหวะการเต้นของหัวใจแบบเก่าของคุณหายไปไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจจะช่วยชดเชยการทำงานและกระตุ้นให้มีจังหวะการเต้นของหัวใจตามปกติขึ้น

3.4 เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดฝัง (Implantable Cardioverter Defibrillators: ICD)

คืออุปกรณ์ช่วยชีวิตที่ทำหน้าที่คล้ายกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemakers) อุปกรณ์นี้ถูกออกแบบมาเพื่อตรวจจับสัญญาณของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต และฟื้นคืนจังหวะของหัวใจให้กลับมาเป็นปกติ มักนิยมนำมาใช้กับภาวะดังนี้

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
  • ผู้ที่เคยรอดชีวิตมาจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตมาก่อน

3.5 เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดปรับการทำงานกล้ามเนื้อหัวใจให้บีบตัวประสานกัน (Cardiac Resynchronisation Therapy Pacemakers: CRT-P) และเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจชนิดปรับการทำงานกล้ามเนื้อหัวใจให้บีบตัวประสานกัน (Cardiac Resynchronisation Therapy Defibrillator device: CRT-D)

หากคุณเคยประสบกับภาวะหัวใจล้มเหลว คุณอาจต้องได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ชนิดพิเศษที่เรียกว่าเครื่อง CRT-D ที่จะปรับให้ห้องของหัวใจทำงานประสานกันใหม่และช่วยควบคุมกิจกรรมการสูบฉีดของหัวใจให้กลับสู่สภาพเดิม

และยังมีการรักษา CRT อีกประเภทที่ใช้หลักการเดียวกับข้างต้น แต่จะมีการปล่อยกระแสไฟฟ้าไปช็อตหัวใจ เพื่อรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิต และทำให้ห้องต่างๆ ของหัวใจทำงานประสานกันอีกครั้งแทน

3.6 อุปกรณ์พยุงการทำงานของหัวใจ (Left Ventricular Assist Device: LVAD) หรือ VAD

คืออุปกรณ์พยุงการไหลเวียนโลหิตด้วยการนำเลือดจากหัวใจห้องเวนตริเคิลซ้าย สูบฉีดเข้าไปในหลอดเลือดแดงเอออร์ตา (Aorta) เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงร่างกาย

4. การปลูกถ่ายหัวใจ (Heart transplant)

การปลูกถ่ายหัวใจคือ การผ่าตัดสำหรับเปลี่ยนหัวใจเก่าด้วยหัวใจใหม่ที่มีสุขภาพดีจากผู้บริจาค เป็นการรักษาที่มักมีการสำรองไว้กับผู้ที่ลองใช้ยา หรือรับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดอื่นๆ แล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น

แม้การปลูกถ่ายหัวใจจะเป็นการผ่าตัดใหญ่ แต่โอกาสรอดชีวิตจากการผ่าตัดนี้นับว่ามีประสิทธิภาพมาก หากคนไข้ได้รับการติดตามดูแลหลังการผ่าตัดอย่างเหมาะสม

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหัวใจ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

ทำความรู้จักการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ใครบ้างที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด มีความเสี่ยงไหม ต้องเตรียมตัวอย่างไร หลังการผ่าตัดต้องดูแลตัวเองอย่างไร

อ่านเพิ่ม
การผ่าตัดหัวใจ
การผ่าตัดหัวใจ

การผ่าตัดหัวใจสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย

อ่านเพิ่ม