การผ่าตัดบายพาสหัวใจ (Open Heart Bypass Surgery) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft Surgery: CABG) เป็นการรักษาจำเพาะสำหรับผู้มีหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
ทำไมจึงต้องผ่าตัดบายพาสหัวใจ?
เพราะ หัวใจเป็นอวัยวะที่คอยสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย โดยจะมีเลือดจำเพาะมาเลี้ยงที่หัวใจ (Coronary artery) ซึ่งหากเส้นเลือดนี้มีการอุดตันจะเกิดภาวะที่เรียกว่า “โรคหลอดเลือดแดงโคโรนารี (Coronary artery disease)”
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ภาวะดังกล่าว ทำให้ไม่มีออกซิเจนถูกขนส่งไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ สร้างความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งทำให้หัวใจทำงานผิดปกติจนส่งผลกระทบไปทั่วร่างกายนั่นเอง
ผู้ป่วยที่ภาวะโรคหลอดเลือดและหัวใจจึงต้องเข้ารับการผ่าตัดบายพาสหัวใจ เพื่อสร้างเส้นทางให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
การผ่าตัดบายพาสหัวใจคืออะไร?
การผ่าตัดบายพาสหัวใจ เป็นวิธีการรักษาสำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยเฉพาะ โดยการเพิ่มปริมาณเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับหัวใจได้
ขณะผ่าตัดบายพาสหัวใจจะมีการนำเส้นเลือดที่อุดตันออกไป หรือทำบายพาสเส้นเลือด (สร้างเส้นทางใหม่) โดยใช้เส้นเลือดที่เอามาจากตำแหน่งอื่นของร่างกายนั่นเอง
ในการผ่าตัดส่วนใหญ่จะมีการทำบายพาส 2-4 เส้น เพื่อให้มีเลือดไปเลี้ยงหัวใจเพียงพอ การผ่าตัดนี้จะเรียกชื่อตามจำนวนเส้นเลือดที่มีการทำบายพาสได้สำเร็จ เช่น
- 2 เส้น: ดับเบิลบายพาส (Double bypass)
- 3 เส้น: ทริปเปิลบายพาส (Tripple bypass)
- 4 เส้น: ควอดรูเปิลบายพาส (Quadruple bypass)
ข้อบ่งชี้ของการผ่าตัดบายพาสหัวใจ
- การปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร เลิกบุหรี่ และเพิ่มการออกกำลังกาย ไม่สามารถทำให้ภาวะเส้นเลือดหัวใจอุดตันลดลงได้
- การทำบอลลูนหลอดเลือดหัวใจล้มเหลว ไม่เหมาะสมในการรักษา หรือเกิดการอุดตันซ้ำหลังทำ
- เจ็บหน้าอกขณะออกกำลังกาย
- เกิดการอุดตันอย่างมากที่เส้นเลือดหัวใจใหญ่ข้างซ้าย (Left main coronary artery)
- พบการอุดตันของเส้นเลือดหัวใจหลายเส้นจากการทดสอบ
- การใส่ขดลวดถ่างเส้นเลือดหัวใจล้มเหลว หรือจำเป็นต้องใส่ขดลวดซ้ำ
- หัวใจห้องล่างซ้ายทำงานผิดปกติจากการขาดเลือด
- มีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อหัวใจ
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดบายพาสหัวใจ
การเตรียมตัวสำหรับการทำผ่าตัดบายพาสหัวใจ ศัลยแพทย์หัวใจหลายท่านจะสั่งให้คุณทำการทดสอบก่อนการผ่าตัด เพื่อหาว่าเส้นเลือดหัวใจเส้นใดที่เกิดการอุดตันและความรุนแรงของการอุดตัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตัวอย่างการทดสอบ มีดังนี้
- การฉีดสีหัวใจ: เป็นเป็นหนึ่งในการทดสอบที่สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล เป็นการใช้เอ็กซเรย์ (X-rays) เพื่อบอกความรุนแรงของการอุดตัน การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะได้รับการกระตุ้น
- การตรววจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการดูผลเลือด: เป็นวิธีที่จะทำให้ผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัด การดูผลเลือดอาจทำซ้ำอีกครั้งในวันก่อนผ่าตัด เพื่อประเมินการเสียเลือดระหว่างผ่าตัด ร่วมกับการประเมินสุขภาพทั่วไป
ศัลยแพทย์จะมีคำแนะนำจำเพาะสำหรับผู้ป่วยที่จะเข้ารับการผ่าตัดบายพาสหัวใจได้ปฏิบัติ โดยคำแนะนำนี้อาจรวมถึงการปรับยาบางชนิด อาหาร และเครื่องดื่มบางอย่าง รวมถึงการเลิกบุหรี่
หากคุณกำลังมองหาโรงพยาบาลชั้นนำเพื่อตรวจหัวใจ หรือตรวจสุขภาพประจำปี สามารถเปรียบเทียบราคาแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ ที่นี่ หรือแอดไลน์ @hdcoth เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลย
การผ่าตัดบายพาสหัวใจโดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม
การผ่าตัดบายพาสหัวใจ เป็นการผ่าตัดที่มีการดมยาสลบร่วมกับการใช้เครื่องช่วยหายใจในระหว่างการผ่าตัด ซึ่งศัลยแพทย์จะทำการเลือกเส้นเลือดที่จะใช้มาต่อทดแทนเส้นเลือดที่อุดตัน โดยมีรายละเอียดหลักๆ ดังนี้
การเลือกเส้นเลือด
เส้นเลือดที่นิยมใช้ที่สุดคือ เส้นเลือดดำที่ขา (Saphenous vein) เนื่องจากมีความยาวมากพอในการนำมาใช้ทดแทนเส้นเลือดเดิมได้หลายตำแหน่ง แต่หากเส้นเลือดดำที่ขาไม่สามารถนำมาใช้ได้ เรายังสามารถใช้เส้นเลือดบริเวณแขนมาแทนได้
เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณหน้าอก (Left internal mammary artery) นิยมใช้ในการทำเป็นเส้นเลือดทดแทนก็ต่อเมื่อต้องการเปลี่ยนเส้นเลือดเพียงเส้นเดียว เนื่องจากสามารถนำมาใช้ได้จากการผ่าตัดเปิดหน้าอกครั้งเดียวกัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ขั้นตอนหลังเลือกเส้นเลือดได้แล้ว
- หลังจากที่แพทย์ได้เส้นเลือดมาแล้ว (สมมุติว่าเป็นเส้นเลือดดำที่ขา) จะเริ่มทำการผ่าตัดเปิดหน้าอก โดยการผ่าตามความยาวของกระดูกอก (Sternum) เพื่อให้ได้ช่องว่างมากพอในการเข้าไปผ่าตัดหัวใจต่อไป
- ในการผ่าตัดบายพาสหัวใจทั่วไป จะมีการหยุดการทำงานของหัวใจด้วยสารละลายโพแทสเซียม (Potassium) เพื่อให้เส้นเลือดหัวใจอยู่นิ่งพอที่แพทย์จะสามารถจัดการกับเส้นเลือดนั้นๆ ได้ โดยในขณะนั้นเลือดจะไหลผ่านปอดและหัวใจเทียม (Heart-lung machine) แทน ในตอนนี้ปอดและหัวใจเทียมจะทำหน้าที่แทนอวัยวะเดิม โดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
- หลังจากนั้น แพทย์จะทำการวางเส้นเลือดใหม่ โดยเปลี่ยนเส้นทางของเลือดให้มาทางเส้นเลือดใหม่ หรืออาจจะนำเส้นเก่าออกและต่อเส้นใหม่เข้าไปแทน
- เวลาที่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียมจะขึ้นอยู่กับความเร็วในการเปลี่ยนหรือตัดต่อเส้นเลือดนั้นๆ และจำนวนเส้นเลือดที่ต้องเปลี่ยน
- หลังจากจัดการเส้นเลือดหัวใจเรียบร้อยแล้ว จะเริ่มทำให้หัวใจกลับมาทำงานอีกครั้ง แพทย์จะทำการมัดและจัดกระดูกอกเข้าที่เดิมโดยใช้ลวด เพื่อเพิ่มความแข็งแรงระหว่างที่รอกระดูกติด หลังจากนั้นจึงเย็บปิดแผลที่อก
ข้อดีของการผ่าตัดโดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม
- ศัลยแพทย์ทำงานได้เร็วขึ้นเนื่องจากหัวใจอยู่นิ่ง
- มีเลือดออกน้อย ทำให้แพทย์ทำงานได้รวดเร็วขึ้น
- เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่พร้อมเข้ารับการผ่าตัด
ข้อเสียของการผ่าตัดโดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม
- เพิ่มโอกาสการเกิดการอักเสบ หรือเลือดจับตัวเป็นก้อนหลังผ่าตัด
- มีโอกาสได้รับเลือดมากกว่าการผ่าตัดโดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม
- มีโอกาสเกิดสารน้ำคั่งในร่างกายได้มากกว่าการผ่าตัดโดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม
- มีความเสี่ยงต่อการเกิดไตวายได้มากกว่าการผ่าตัดโดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม
- ใช้เวลาในการนอนโรงพยาบาลนานกว่าการผ่าตัดโดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม
- เพิ่มโอกาสของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
การผ่าตัดบายพาสหัวใจโดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม
การผ่าตัดนี้จะไม่มีการหยุดการเต้นของหัวใจ โดยศัลยแพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดเดียวกันกับการผ่าตัดแบบใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม แต่จะยังคงมีการไหลเวียนของเลือดผ่านหัวใจในระหว่างที่ทำการผ่าตัด
ในขณะที่การผ่าตัดโดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียมนั้น หัวใจยังคงเต้นอยู่ภายใต้การควบคุมของเครื่องมือแพทย์ ทั้งนี้ มีการผ่าตัดบายพาสหัวใจโดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียมถึง 20%
ข้อดีของการผ่าตัดโดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม
- หัวใจยังเต้นอยู่ ทำให้การผ่าตัดช้าลง
- เสียเลือดน้อยกว่า และมีการให้เลือดน้อยกว่า
- ลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
- ลดระยะเวลาของการนอนโรงพยาบาล
- ค่าใช้จ่ายต่ำกว่า
ข้อเสียของการผ่าตัดโดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม
- 70% มีลักษณะทางกายภาพไม่เหมาะสม หรือมีโรคแทรกซ้อนมาก
- มักไม่นิยมในผู้ป่วยที่ไม่พร้อมเข้ารับการผ่าตัด
การพักฟื้นหลังการผ่าตัดบายพาสหัวใจ
การพักฟื้นหลังการผ่าตัดบายพาสหัวใจที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
1. หลังการผ่าตัดบายพาสหัวใจ
ในการผ่าตัดส่วนใหญ่จะมีการให้ยาเพื่อปลุกผู้ป่วยหลังการเย็บปิดแผลเรียบร้อยแล้ว แต่ศัลยแพทย์ที่ผ่าตัดบายพาสหัวใจส่วนใหญ่จะรอให้ผู้ป่วยตื่นขึ้นเองอย่างช้าๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักเมื่อผู้ป่วยตื่นเร็วเกินไป
หลังจากนั้นผู้ป่วยจะถูกย้ายไปยังห้องพักฟื้น โดยทั่วไปมักเป็นหอผู้ป่วยหนักสำหรับโรคหัวใจ หรือโรคทางศัลยกรรมโดยเฉพาะ เพื่อให้ฟื้นจากการดมยาสลบช้าๆ โดยที่นี้จะมีพยาบาลดูแลเฉพาะแต่ละคน และผู้ป่วยจะหายใจผ่านเครื่องช่วยหายใจในช่วงที่ยังหลับอยู่
ผู้ป่วยจะมีสายระบายออกมาจากอก เพื่อช่วยระบายเลือดที่คั่งอยู่รอบๆ หัวใจ ซึ่งสายนี้จะใส่ในช่วงหลังผ่าตัดเสร็จก่อนการเย็บปิด โดยอาจใช้เป็นสายน้ำเกลือเส้นใหญ่ที่เรียกว่า "สแวนแกน (Swan-Ganz)" แทนได้ เพื่อการให้ยาและติดตามการทำงานของหัวใจ
2. หลังจากฟื้นจากการดมยาสลบ
หลังจากผู้ป่วยฟื้นดีจากการดมยาสลบแล้ว จะมีการถอดท่อช่วยหายใจ (Extubation) และให้ผู้ป่วยหายใจด้วยตนเอง หลังถอดท่อช่วยหายใจช่วงแรก อาจมีการให้ออกซิเจนทดแทนแก่ผู้ป่วยทางจมูก และมีการตรวจวัดค่าออกซิเจนในเลือดอย่างใกล้ชิด
หากค่าออกซิเจนในเลือดมีค่าต่ำลง หรือผู้ป่วยไม่สามารถหายใจเองได้ จำเป็นต้องมีการใส่ท่อช่วยหายใจกลับเข้าไปใหม่อีกครั้ง
3. หลังจากผู้ป่วยตื่นดีและสามารถหายใจได้ด้วยตนเอง
หลังจากที่ผู้ป่วยตื่นดีและสามารถหายใจได้ด้วยตนเอง ผู้ป่วยจะได้รับการทำกายภาพบำบัดอย่างเข้มงวด เริ่มด้วยการนั่งห้อยขาขอบเตียง หรือยืนและเดินไปยังเก้าอี้ใกล้ๆ ผู้ป่วยจะได้รับการสอนวิธีการขยับตัวเพื่อให้มีอาการปวดน้อยที่สุด และวิธีการดูแลแผลผ่าตัด
โดยจะมีการให้ยาแก้ปวดอย่างเพียงพอเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวดมากเกินไป โดยทั่วไปผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดบายพาสหัวใจจะอยู่ในหอผู้ป่วยหนักอย่างน้อย 24 ชั่วโมง สายระบายทางช่องออกจะถูกเอาออกหลังผ่าตัดอย่างน้อย 48 ชั่วโมง ก่อนย้ายผู้ป่วยไปยังห้องพักฟื้นทั่วไป
นอกจากนี้ ผู้ป่วยส่วนมากยังพบว่า มีความเจ็บปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังเอาสายระบายออก
การใช้ชีวิตหลังผ่าตัดบายพาสหัวใจ
การผ่าตัดบายพาสหัวใจไม่ใช่การรักษาโรคหัวใจให้หายขาด แต่เป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไปหากไม่ทำตามคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนอาหาร การเลิกบุหรี่ การออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก หรือการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เส้นเลือดหัวใจที่ซ่อมแซมไปแล้วก็สามารถกลับมาตีบได้อีก
ผู้ป่วยบางรายอาจต้องการทำกายภาพบำบัดหลังออกจากโรงพยาบาล เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกายและหัวใจ โรงพยาบาลบางแห่งอาจมีโปรแกรมกายภาพบำบัดเฉพาะสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ บางแห่งอาจมีเฉพาะนักกายภาพบำบัดให้คำแนะนำ
Q&A
1. การผ่าตัดบายพาสหัวใจใช้สิทธิประกันสังคม หรือบัตรทองได้ไหม
การผ่าตัดบายพาสหัวใจสามารถใช้สิทธิประกันสังคม หลักประกันสุขภาพ หรือบัตรทองได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละโรงพยาบาล ซึ่งคุณสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับโรงพยาบาลได้โดยตรง
หรือตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพก่อนได้ที่เบอร์โทร 1330 กด 2 ตามด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก (ระบบอัตโนมัติ) หรือกด 0 ติดต่อเจ้าหน้าที่ (ให้บริการตลอด 24 ชม.)