"โรคหัวใจ" เป็นภัยเงียบที่หลายคนคิดว่า เป็นเรื่องไกลตัว ยังไม่แก่ ไม่ได้อ้วน ไม่ได้กินอาหารมันๆ มากมาย ฯลฯ จึงไม่ได้ใส่ใจ หรือเห็นความสำคัญของการตรวจหัวใจเท่าที่ควร แต่หากมาดูสถิติดังต่อไปนี้แล้วคุณอาจจะเปลี่ยนใจก็เป็นได้
องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยว่า ในปี 2558 กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
และจากสถิติเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย ได้เปิดเผยตัวเลขผู้ป่วยโรคหัวใจว่ามีมากกว่า 430,000 รายต่อปี และมีอัตราการเสียชีวิตถึง 20,855 คนต่อปี หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน
ดังนั้นการตรวจหัวใจจึงเป็นอีกหนึ่งในการตรวจสุขภาพที่คุณไม่ควรละเลย เพื่อป้องกันการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน
ความหมายของโรคหัวใจ
โรคหัวใจ (Heart Disease) หมายถึง ความผิดปกติใดๆ ก็ตามเกี่ยวกับหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นลิ้นหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ หรือระบบคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ
ความผิดปกติเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการทำงานของหัวใจและสุขภาพร่างกาย นั่นก็เพราะหัวใจ คือ อวัยวะสำคัญทำหน้าที่สูบฉีดเลือดและสารอาหารต่างๆ ไปเลี้ยงอวัยวะทุกๆ ส่วนของคนเรา
อาการโรคหัวใจที่สำคัญ และพบบ่อย ได้แก่ ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือหัวใจอ่อนกำลัง (Heart Failure) โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
อาการที่ควรไปตรวจหัวใจ
คุณควรรีบไปพบแพทย์ หากมีอาการที่อาจบ่งบอกถึงโรคหัวใจต่อไปนี้ เพราะยิ่งตรวจพบ และได้รับการรักษาเร็วก็จะยิ่งส่งผลดีต่อตัวคุณเอง
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- เจ็บหน้าอกร้าวไปไหล่ซ้าย
- แน่นหน้าอกคล้ายมีอะไรมาทับที่บริเวณหน้าอก
- เสียด หรือแสบร้อนบริเวณหน้าอก
- อ่อนเพลีย
- เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
- เหงื่อออกมากกว่าปกติ
- ใจสั่น
- หน้ามืด เป็นลม
- เหนื่อยมากเมื่อออกกำลังกาย
ส่วนผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจดังต่อไปนี้ ก็ควรเข้ารับการตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างร่วมกัน
- อายุมาก
- ผู้ชายจะมีความเสี่ยงของโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิงก่อนวัยหมดประจำเดือน
- สูบบุหรี่จัด
- ติดสุรา หรือมีพฤติกรรมเป็นนักดื่ม
- มีระดับไขมันในเลือดสูง
- เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหลอดเลือด
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หรืออัมพาต
- ขาดการออกกำลังกาย
- มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์
ดังนั้นคุณควรตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อช่วยระวังโรคร้ายและความเสี่ยงจากโรคอื่นๆ ที่ตามมาพร้อมปัญหาสุขภาพ
หากตรวจพบว่า มีความเสี่ยงโรคหัวใจดังข้างต้น แพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอล ออกกำลังกายเป็นประจำ
วิธีการตรวจหัวใจ
ในเบื้องต้น แพทย์จะซักประวัติสุขภาพ และพฤติกรรมการใช้ชีวิต สอบถามประวัติเจ็บป่วยของคนในครอบครัว น้ำหนัก ส่วนสูง เพื่อประเมินว่า มีภาวะน้ำหนักเกินหรือไม่ รวมทั้งวัดอัตราการเต้นของหัวใจ วัดความดันโลหิต และฟังเสียงหัวใจว่า มีความผิดปกติหรือไม่
จากนั้นขั้นตอนต่อไปคือการตรวจเพิ่มเติม ได้แก่
การตรวจหัวใจแบบพื้นฐาน
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ วิธีนี้สามารถบอกจังหวะการเต้นหัวใจที่ผิดปกติและวินิจฉัยโรคเยื่อหุ้มหัวใจบางชนิด หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย แต่ก็มีผลคลาดเคลื่อนได้
เพราะจะแสดงคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติเมื่อมีโรคหัวใจรุนแรงเท่านั้น เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจขาดเลือดรุนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจโต - เอกซเรย์ปอด จะช่วยให้เห็นการทำงานของปอด หลอดเลือดแดง และการกระจายของหลอดเลือดในปอด ภาวะน้ำท่วมปอด ภาวะหัวใจล้มเหลว และเงาของหัวใจหลังปอด และบอกขนาดหัวใจได้ดีพอสมควร
- ตรวจเลือด เป็นการตรวจหาสารต่างๆ ในเลือด เพื่อดูว่า มีโรค หรือภาวะสุขภาพที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคหัวใจ หรือไม่ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
การตรวจหัวใจแบบพิเศษ
1. อัลตราซาวด์หัวใจ (Echocardiogram: ECHO)
การตรวจหัวใจวิธีนี้จะใช้คลื่นเสียงความถี่สูงแต่มีความปลอดภัย เข้าไปยังบริเวณทรวงอก และรับเสียงที่สะท้อนออกมา
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
จากนั้นแพทย์นำข้อมูลจากคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับมาไปแปรเป็นภาพแสดงให้เห็นรูปร่าง ขนาด การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และลิ้นหัวใจของผู้ป่วยซึ่งสามารถบอกถึงความผิดปกติ ความรุนแรงของโรค และช่วยในการติดตามผลการรักษาได้
ข้อเสียของการอัลตราซาวด์หัวใจ คือ จะไม่เห็นหลอดเลือดหัวใจโดยตรง หากผู้ป่วยอ้วน หรือผอมมากไป หรือมีถุงลมโป่งพอง ก็อาจทำให้ได้ภาพที่ไม่ชัดเจน
2. การเดินสายพาน (Exercise Stress Test: EST)
เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกายด้วยการเดินสายพาน หรือปั่นจักรยาน แพทย์จะให้คุณเดินสายพานที่เคลื่อนไปเรื่อยๆ หรือปั่นจักรยานเพื่อให้หัวใจเต้นแรงขึ้น
ในขณะที่คุณกำลังวิ่ง หรือปั่นจักรยาน แพทย์จะต่อขั้วสายนำไฟฟ้าบริเวณหน้าอก 10 สายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้
หากคุณเกิดอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ เลือดก็จะไม่สามารถมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ ทำให้มีอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก อัตราเต้นของหัวใจผิดปกติ และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าให้แพทย์เห็นนั่นเอง
3. การตรวจหัวใจด้วยเตียงปรับระดับ (Tilt table test)
ทำโดยให้ผู้ป่วยนอนบนเตียงที่ที่ปรับระดับองศาของเตียงได้ จากนั้นแพทย์จะประเมินชีพจร ความดันโลหิต ลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และอาการอื่นๆ ของผู้ป่วยขณะที่เตียงมีการเปลี่ยนระดับ
วิธีนี้มักใช้ในการตรวจผู้ป่วยที่เป็นลม หรือหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ และเป็นลมบ่อยๆ หรือเป็นลมง่าย เช่น เห็นเลือดแล้วเป็นลม เปลี่ยนท่าแล้วเป็นลม ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาด้านสมอง หรือหัวใจก็ได้
4. การบันทึกคลื่นหัวใจไฟฟ้า (Holter monitoring)
แพทย์จะติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจไว้กับตัวผู้ป่วยประมาณ 24-48 ชั่วโมง โดยผู้ป่วยสามารถกลับไปบ้าน และทำกิจกรรมได้ตามปกติ เมื่อครบกำหนดเวลาจึงกลับมาโรงพยาบาลเพื่อถอดเครื่องออก และรอผลตรวจวิเคราะห์
วิธีตรวจแบบนี้เหมาะกับผู้ที่มีอาการใจสั่นผิดปกติเป็นครั้งคราว วิงเวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลม และหัวใจเต้นแรงผิดปกติบ่อยๆ
5. การตรวจระบบไฟฟ้าในหัวใจ (Electrophysiological studies)
เป็นการตรวจโดยใส่สายสวนหัวใจขนาดเล็กเข้าไปตามหลอดเลือดดำบริเวณขาหนีบ หรือใต้ไหปลาร้า เพื่อนำไปยังตำแหน่งต่างๆ ภายในหัวใจ ซึ่งจะช่วยในการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและดูว่า มีไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นในหัวใจหรือไม่
นอกจากนี้ แพทย์ยังสามารถส่งกระแสไฟฟ้าน้อยๆ ไปกระตุ้นให้มีอาการปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้แพทย์วิเคราะห์ความผิดปกติได้ละเอียดมากกว่าการบันทึกคลื่นหัวใจไฟฟ้า
6. การสวนหัวใจ (Cardiac catheterization) และการฉีดสี (Coronary angiography)
เป็นการใช้สายสวนขนาดเล็กใส่เข้าไปจากบริเวณขาหนีบ ข้อพับแขน หรือข้อมือตามแนวหลอดเลือดแดงจนถึงรูเปิดของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ แล้วใช้สารละลายทึบรังสีฉีดเข้าไปทางสายสวนด้วย เพื่อให้เห็นการตีบแคบของหลอดเลือดอย่างชัดเจน
วิธีนี้จะช่วยวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้อย่างแม่นยำ และใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1 วันก็สามารถกลับบ้านได้ โดยจะไม่มีการใช้ยาสลบ ใช้เพียงยาชาเฉพาะที่เท่านั้น
ผู้ที่เหมาะกับการตรวจอัลตราซาวด์หัวใจ (ECHO) และการเดินสายผ่าน (EST)
- การตรวจ ECHO เหมาะสำหรับทุกคน เพราะเป็นการตรวจที่มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง
- การตรวจ EST เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอก หรือผู้ที่เคยผ่าตัดบายพาสแล้วกลับมามีอาการอีก
ผลข้างเคียงจากการตรวจหัวใจ
การตรวจหัวใจด้วยวิธีสวนหัวใจ และฉีดสารละลายทึบรังสี มีโอกาสทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ แต่ก็พบได้น้อยมาก เช่น อาจทำให้มีเลือดออกตำแหน่งที่แทงเข็ม และบางคนมีอาการแพ้สีแบบไม่รุนแรง
ส่วนผลแทรกซ้อนที่รุนแรงนั้นพบได้น้อยกว่า 1% เท่านั้น เช่น อัมพาต แพ้สีรุนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง และอาจถึงขั้นเสียชีวิต แต่เมื่อประเมินข้อดีข้อเสียแล้ว ประโยชน์ที่จะได้จากการตรวจนั้นมักมีมากกว่าขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านอายุ และสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละราย
การใช้สิทธิ์ประกันสังคมกับการตรวจหัวใจ
มีโรงพยาบาลรัฐ และเอกชนหลายแห่งที่ให้บริการตรวจหัวใจ และมีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไป หากต้องการทราบราคาที่ชัดเจน คุณสามารถติดต่อสอบถามจากโรงพยาบาลได้โดยตรง
ส่วนสิทธิประกันสังคมนั้น รองรับทั้งผู้ที่มีอาการผิดปกติ มีความเสี่ยง และมีอาการที่ทำให้รู้สึกกังวลใจ ซึ่งหากตรวจพบความผิดปกติ คุณก็สามารถรักษาโดยใช้สิทธิประกันสังคมทีในสถานพยาบาลที่เลือกไว้
จากนั้นทางสถานพยาบาลจะทำการส่งตัวไปที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์เพื่อรักษาต่อไป ปัจจุบันการรักษาด้วยสิทธิประกันสังคมครอบคลุมทั้งหมด 7 รายการดังนี้
- การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ
- การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจและขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน
- การศึกษาสรีระวิทยาไฟฟ้าหัวใจ และการจี้ไฟฟ้าหัวใจ
- การจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ไฟฟ้าในการสร้างภาพ 3 มิติ
- การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวรชนิดสองห้อง
- การใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจถาวร
- การใส่เครื่องสมานฉันท์หัวใจในภาวะหัวใจล้มเหลว
เปรียบเทียบราคาตรวจหัวใจแต่ละโรงพยาบาล
ชื่อแพ็กเกจ |
||||||
---|---|---|---|---|---|---|
รายการตรวจ | ||||||
ตรวจร่างกายโดยแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจ | ||||||
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) | ||||||
ตรวจปัสสาวะ (UA) | ||||||
ตรวจระดับนํ้าตาลในเลือด (FBS) | ||||||
ตรวจการทํางานของตับ (SGPT) | ||||||
ตรวจการทำงานของตับ (SGOT, Alk phos, Albumin, Bilirubin, Globulin) |
||||||
ตรวจการทํางานของไต (Cr) | ||||||
ตรวจการทำงานของไต (BUN, eGFR) | ||||||
ตรวจระดับไขมันในเลือด (Chol) | ||||||
ตรวจระดับไขมันในเลือด (Triglyceride) | ||||||
ตรวจระดับไขมันเลวในเลือด (LDL) | ||||||
ตรวจระดับไขมันดีในเลือด (HDL) | ||||||
เอกซเรย์ปอด (Chest X-ray) | ||||||
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) | ||||||
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) | ||||||
ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงผ่านหน้าอก (ECHO) | ||||||
ตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Holter) | ||||||
ราคา | 699 | 6,800 | 7,100 | 7,600 | 9,700 | 3,500 |
*ราคาข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลง และอาจยังไม่รวมค่าแพทย์หรือค่ายา
โรคหัวใจยิ่งตรวจพบเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งส่งผลดีต่อการรักษาเท่านั้น การหมั่นสังเกตอาการผิดปกติและรับการตรวจอย่างทันท่วงทีถือว่า สำคัญอย่างยิ่ง
หากคุณเป็นกังวล หรือไม่แน่ใจว่า ตนเองมีอาการของโรคหัวใจหรือไม่ ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้องจะดีที่สุด
บทความที่เกี่ยวข้อง
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง Echo
รีวิว ตรวจเอคโค่ (ECHO) หัวใจ ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหัวใจ ตรวจก่อนแต่งจากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android