สุขภาพของคุณกำลังเป็นอย่างไร สามารถรู้ได้ผ่านการดูสีปัสสาวะ กล่าวได้ว่า ปัสสาวะสามารถบ่งบอกโรคหรือภาวะผิดปกติต่างๆ ได้มากกว่าที่คุณรู้ มาลองดูกันว่า การตรวจปัสสาวะได้ประโยชน์อะไร มีขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างไร และการตรวจปัสสาวะหาโรคอะไรได้บ้าง ไปติดตามอ่านกันได้เลย
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ประโยชน์ของการตรวจปัสสาวะ
การตรวจปัสสาวะ เป็นการทดสอบที่สำคัญ ใช้เวลาตรวจไม่นาน แต่ให้ข้อมูลทางการแพทย์หลายอย่าง ซึ่งมีประโยชน์ช่วยในการคัดกรองโรคบางชนิด ช่วยวินิจฉัยโรคเบื้องต้นร่วมกับอาการและการตรวจอย่างอื่น บอกความผิดปกติของโรคระบบทางเดินปัสสาวะได้ ช่วยในการแยกชนิดของโรคระบบทางเดินปัสสาวะออกจากโรคอื่นๆ รวมถึงช่วยในการพยากรณ์โรค และช่วยติดตามการดำเนินโรคได้อีกด้วย
การตรวจปัสสาวะ
การตรวจนี้จะแบ่งออกเป็นการตรวจทางกายภาพ ทางเคมี และทางกล้องจุลทรรศ์
การตรวจทางกายภาพ
- ตรวจสี
ปกติปัสสาวะจะมีสีเหลืองอำพัน ซึ่งความอ่อนหรือแก่ของสี ก็จะแตกต่างไปตามความเข้มข้นของปัสสาวะ แต่ถ้าสีปัสสาวะของคุณเป็นสีแดง สีน้ำตาล เขียว ส้ม หรืออื่นๆ อาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น อาหาร ยาบางประเภท สารสีต่างๆ หรือเป็นผลจากระบบเผาผลาญร่างกาย เป็นต้น ซึ่งสีปัสสาวะมักเป็นข้อบ่งชี้แแรกสำหรับโรคทางเดินปัสสาวะ - ตรวจความขุ่น
ปกติปัสสาวะจะเป็นสีใส แต่สามารถขุ่นได้เมื่อตั้งทิ้งเอาไว้หรือเก็บในตู้เย็น โดยระดับความจะมีตั้งแต่ขุ่นน้อย(1+) ไปจนถึงขุ่นมาก(4+) หากปัสสาวะออกมาแล้วมีสีขุ่นตั้งแต่แรก ถือว่าเป็นความผิดปกติ อาจเกิดจากเม็ดเลือดขาว แบคทีเรีย ไขมัน เป็นจำนวนมากได้ - ตรวจความถ่วงจำเพาะ
ความถ่วงจำเพาะเป็นการวัดความสามารถของไตในการควบคุมความเข้มข้นและส่วนประกอบของของเหลวในร่างกายให้คงที่ โดยค่าปกติ อยู่ที่ 1.005 – 1.030 สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามปริมาณน้ำที่ดื่มเข้าไป รวมถึงการออกกำลังกายและอุณหภูมิ
ความถ่วงจำเพาะสูง หมายถึง ร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ เช่น ดื่มน้ำน้อยมาก ท้องร่วงอย่างรุนแรง เป็นต้น จำเป็นต้องได้รับการชดเชยสารน้ำในกระแสเลือด ส่วนความถ่วงจำเพาะน้อย อาจเกิดจากร่างกายมีน้ำมากเกินไป ทำให้ต้องกำจัดออกทางปัสสาวะบ่อยครั้ง หรือเกิดจากโรคที่ทำให้น้ำออกทางปัสสาวะมากกว่าปกติ เช่น โรคเบาจืด เป็นต้น
การตรวจทางเคมี
เป็นการตรวจหาความเป็นกรด-ด่าง และสารเคมีต่างๆ เช่น กลูโคส โปรตีน คีโตน เป็นต้น
การตรวจตะกอนปัสสาวะทางกล้องจุลทรรศน์
การตรวจตะกอน สามารถช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคได้เป็นอย่างดี เพราะในบางครั้งการตรวจทางกายภาพและเคมีอาจไม่พบสิ่งผิดปกติได้ แต่เมื่อตรวจการตกตะกอนกลับพบสิ่งผิดปกติ ซึ่งตะกอนที่สามารถพบได้ในปัสสาวะ เช่น เซลล์ต่าง ๆ เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง แบคทีเรีย เชื้อรา พยาธิ ผลึกต่างๆ แท่งโปรตีน
ขั้นตอนการเตรียมตัวตรวจปัสสาวะ
- ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ หรือบริเวณปลายท่อปัสสาวะให้สะอาดโดยใช้น้ำสะอาดล้างก่อน หลีกเลี่ยงทาแป้งบริเวณอวัยวะเพศ เพราะอาจทำให้ผลตรวจคลาดเคลื่อนได้
- ควรเก็บปัสสาวะในตอนเช้า
- การกักเก็บปัสสาวะ ให้ปัสสาวะช่วงแรกทิ้งไปก่อน หลังจากนั้นเก็บปัสสาวะช่วงกลางใส่ภาชนะที่สะอาด โดยให้ได้ปริมาตร ประมาน 10-15 มิลลิลิตร แล้วปัสสาวะช่วงท้ายทิ้งไปในโถปัสสาวะ
- ในผู้หญิง ควรเก็บปัสสาวะในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน เพราะถ้าเก็บในช่วงมีประจำเดือน อาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้
- หลังจากเก็บตัวอย่างปัสสาวะเรียบร้อยแล้ว ควรส่งตรวจภายใน 1 ชั่วโมง หากไม่สามารถส่งตรวจภายใน 1 ชั่วโมงได้ ควรเก็บปัสสาวะไว้ในอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส แต่ก็ควรส่งไปห้องปฏิบัติการไม่เกิน 24 ชั่วโมง
โรคหรือภาวะอะไรบ้างที่พบได้จากการตรวจปัสสาวะ
1.โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
ปัสสาวะของคุณจะมีสีแดงหรือสีน้ำตาล หรือไม่ก็มีจุดแดงๆ หรืออาจเป็นสีเขียวและมีกลิ่นที่รุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากปัสสาวะที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะของคุณเอง
หากเชื้อแบคทีเรียอยู่ในระบบทางเดินปัสสาวะนานๆ อันเนื่องมาจากการกลั้นปัสสาวะ หรือการเช็ดทำความบริเวณอวัยวะเพศที่ผิดวิธี อาจนำไปสู่การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ ดังนั้น แพทย์จำเป็นต้องนำปัสสาวะของคุณไปตรวจ และหากพบว่าเป็นโรคดังกล่าว คุณสามารถรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาได้
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
2.ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
ภาวะนี้ เมื่อเกิดขึ้นร่างกายของคุณจะมีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงอาจแสดงผลผ่านปัสสาวะของคุณ อาจไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า แต่แพทย์จะตรวจสอบโดยการทดสอบปัสสาวะ ซึ่งนั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคเบาหวาน โรคไต และปัญหาอื่นๆ
3.โรคเบาหวาน
หากแพทย์พบว่าคุณเป็นโรคเบาหวาน เขาจะตรวจดูปัสสาวะของคุณว่ามีน้ำตาลหรือสารคีโตนอยู่หรือไม่ เพราะร่างกายของคุณจะปรากฏสารคีโตนก็ต่อเมื่อร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงานได้ ซึ่งพบบ่อยในผู้ที่เป็นเบาหวานและควบคุมปริมาณน้ำตาลไม่ได้
4.ภาวะขาดน้ำ
หากปัสสาวะของคุณมีสีเข้มขึ้น นั่นหมายความว่าร่างกายของคุณได้รับน้ำในปริมาณที่ไม่เพียงพอ คุณอาจรู้สึกเหนื่อยง่าย พะอืดพะอม หรือมึนงง เมื่อแพทย์ตรวจสอบแล้ว จะบอกคุณได้ว่า ร่างกายของคุณต้องการน้ำอีกเท่าใด
5.การตั้งครรภ์
ชุดเครื่องมือแถบสีตรวจสอบการตั้งครรภ์จากร้านขายยา ใช้ตรวจสอบการตั้งครรภ์ด้วยการวัดฮอร์โมนเพศหญิงจากปัสสาวะของคุณผู้หญิง ซึ่งผลตรวจจะแน่ชัดได้ก็ต่อเมื่อประจำเดือนขาดหายไป 5-10 วัน
6.โรคไตจากเบาหวาน
หากปัสสาวะของคุณมีลักษณะเป็นแผ่นโฟมมันๆ หรือมีฟองหลังจากปัสสาวะทิ้งไว้สักครู่ นั่นหมายความว่า ร่างกายของคุณมีโปรตีนในปัสสาวะมากกว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณขั้นต้นของโรคไตจากเบาหวาน
หากไม่สามารถควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในระดับเหมาะสม จะนำไปสู่ภาวะไตล้มเหลวได้ เพราะเบาหวานจะไปทำลายเส้นเลือดเล็กในไตของคุณ ทำให้ไตไม่สามารถกรองเลือดได้ ส่งผลให้มีเกลือ น้ำ และของเสียในร่างกายมากกว่าปกติ ซึ่งแพทย์จะตรวจสอบปัสสาวะของคุณเพื่อดูปริมาณโปรตีน(อัลบูมิน ) ถ้ามีปริมาณมาก อาจบ่งบอกความผิดปกติของไตได้
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
7.โรคไตอักเสบ
ปัสสาวะที่มีลักษณะเป็นแผ่นฟองมันๆ หรือมีเลือดผสม เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคไตอักเสบ ซึ่งโรคไตจะทำให้ใบหน้า หนังตาสองข้าง และข้อเท้าของคุณบวม รวมถึงมีการคันที่ผิวหนัง
โรคไต จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อส่วนกรองเล็กๆ ในไตของคุณเกิดการอักเสบ ของเหลวและของเสียในร่างกายไม่สามารถขับออกได้ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น ความดันเลือดสูง หรือไตล้มเหลว โรคเบาหวาน การติดเชื้อ และโรคภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
8.โรคหลอดเลือดอักเสบ
หากโรคนี้ส่งผลถึงไตของคุณ สีปัสสาวะจะมีสีเหมือนชา หรือสีเข้มเหมือนโค้ก คุณอาจมีไข้และอาจปวดเนื้อปวดตัวร่วมด้วย อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสารต้านโรคที่ร่างกายของคุณสร้างขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค กลับมาจู่โจมเส้นเลือดเล็กในอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งของคุณแทนเสียอย่างนั้น ซึ่งอาจส่งผลให้มีเลือดหรือโปรตีนในปัสสาวะของคุณได้ รวมถึงไตของคุณอาจหยุดทำงานด้วย
9.การอุดตัน
เมื่อคุณต้องการปัสสาวะ แต่คุณกลับปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะไม่สุด รวมถึงพบเลือดในปัสสาวะ กล่าวได้ว่า อาการเช่นนี้อาจเกิดจากต่อมลูกหมากโต นิ่วในไต มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติมจะดีที่สุด
10.นิ่วในไต
หากแพทย์สงสัยว่าคุณเป็นนิ่วในไต นั่นหมายความว่า แร่ธาตุในร่างกายของคุณอาจไปอุดตันท่อไต หรือท่อปัสสาวะที่มีหน้าที่ขับปัสสาวะ ทำให้ขับปัสสาวะไม่ออก และมักพบอาการปัสสาวะสีขุ่น หรือมีเลือดปน ร่วมกับปัสสาวะไม่ออกด้วย หรือบางคนพบการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะร่วมด้วยได้ โดยแพทย์จะใช้การตรวจสอบปัสสาวะของคุณเพื่อดูปริมาณแคลเซียมและชนิดของกรด หรือนิ่ว ที่เป็นสาเหตุของโรค
11.โรคผิวหนังลูปัส
โรคนี้เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายจู่โจมอวัยวะในร่างกายเอง เช่น ไต ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไต ทำให้ปัสสาวะมีเลือด และมีลักษณะเป็นฟองมันๆ อาจมีอาการร่วมกันในหลายระบบ เช่น มีปัญหาผิวหนังมีผื่นแพ้แสง ผื่นขึ้นที่หน้าเป็นรูปผีเสื้อ มีแผลในปาก ปวดตามข้อต่างๆ มีข้ออักเสบ เป็นต้น อย่างไรก็ตามควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยเพิ่มเติม
12.ปัญหาถุงน้ำดีหรือตับ
หากปัสสาวะของคุณมีสีเหลืองเข้มมาก อาจมีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นกับถุงน้ำดีของคุณ เช่น คุณอาจรับประทานยามากเกินไป เช่น พาราเซตามอล หรือมีก้อนเนื้อร้ายปิดทางเดินไปสู่ถุงน้ำดี หรือติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น
ของเหลวสีเหลืองที่เรียกว่า บิลิรูบิน จะทำให้ปัสสาวะมีสีเข้ม ซึ่งมันสามารถซึมและแพร่ออกมาจากตับไปสู่เส้นเลือด และทำให้ผิวหนังและดวงตาของคุณเป็นสีเหลืองได้ด้วย หรือที่เรียกกันว่า โรคดีซ่าน นั่นเอง ดังนั้น หากคุณเจอปัญหานี้ควรได้รับการตรวจค่าตับเพื่อประกอบการวินิจฉัย ร่วมกับการตรวจสอบปัสสาวะที่สามารถบ่งชี้ปริมาณบิลิรูบินของคุณได้
จากอาการและโรคต่างๆ ข้างต้น จะเห็นได้ว่าหลายๆ โรคต่างอาศัยการตรวจสอบจากปัสสาวะทั้งสิ้น ดังนั้น เราจำเป็นต้องรู้จักสังเกตร่างกายของเราอย่างสม่ำเสมอ อย่ามองข้ามหรือละเลยเพราะมองว่าเป็นเรื่องไม่สำคัญ เพราะหากทราบอาการได้ทัน เรามีโอกาสที่จะรักษาและหายขาดจากโรคได้ดีและเร็วกกว่าการปล่อยเวลาล่วงเลยไป อย่าลืมใส่ใจสี กลิ่น และลักษณะของปัสสาวะของคุณบ่อยๆ เพื่อสุขภาพร่างกายของคุณที่ดีและยืนยาว